เมื่อทราบว่า การจดจารึกข้อความในพระไตรปิฎกลงในใบลานกระทำเป็นครั้งแรก เมื่อประมาณ
พ.ศ. ๔๓๓-๔๕๐ ในประเทศศรีลังกา อักษรที่รองรับพระไตรปิฎก จึงเป็นอักษรของศรีลังกา
หรืออักษรสีหล และเมื่อมีการส่งพระไตรปิฎก ฉบับอักษรสีหล ไปสู่ประเทศต่าง ๆ เช่น ไทย มอญ พม่า แล้วก็มีการถ่ายทอดจากอักษรสีหล ลงสู่อักษรที่ประเทศนั้นใช้กัน ในชั้นแรกประเทศไทยได้ใช้อักษรขอม สำหรับบันทึกข้อความในพระไตรปิฎก แม้ในสมัยรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ก็ยังใช้อักษรขอมจารึกพระไตรปิฎกอยู่ตามเดิม เมื่อพิมพ์พระไตรปิฎกขึ้น ในสมัยรัชกาลที่ ๕ จึงได้ใช้อักษรไทยรองรับพระไตรปิฎก และใช้ตลอดมาถึงทุกวันนี้