โลหิตจางหรือซีดเป็นภาวะที่ร่างกายมีระดับเฮโมโกลบินในเลือดต่ำกว่าปกติสาเหตุอาจเกิดจากการขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างเฮโมโกลบินหรือไม่เกี่ยวกับด้านโภชนาการเลยก็ได้โลหิตจางพบได้ในทุกอายุและทั้งสองเพศการศึกษาในประเทศไทยพบว่าเด็กซีดมีร้อยละ ๑๑-๔๑ ผู้ชายซีดร้อยละ ๑๕-๔๐ หญิงไม่ตั้งครรภ์ซีดมีร้อยละ ๓๕-๔๐ หญิงตั้งครรภ์ซีดมีร้อยละ ๒๑-๓๙
สารอาหารที่จำเป็นต่อการสร้างฮอร์โมนโกลบิน ได้แก่ เหล็ก วิตามิน โฟเลท บีสิบสอง บีหก อี ซี กรดอะมิโนและทองแดงการขาดสารอาหารนี้อาจขาดตัวเดียวหรือหลายตัวก็ได้อย่างไรก็ตามปัญหาที่สำคัญในประเทศไทยเกิดจากการขาดเหล็ก
เหล็กเป็นองค์ประกอบที่สำคัญของเฮโมโกลบิน ไมโอโกลบิน (myoglobin) และเอนไซม์หลายชนิด เฮโมโกลบินเป็นตัวนำออกซิเจนจากปอดไปยังอวัยวะต่าง ๆ และเก็บเอาของเสีย คือ คาร์บอนไดออกไซด์มาคืนให้ปอดกำจัดออกไปไมโอโกลบินทำหน้าที่เช่นเดียวกับเฮโมโกลบินแต่จำกัดความรับผิดชอบอยู่ในกล้ามเนื้อเท่านั้นส่วนเอนไซม์หลายชนิดที่มีเหล็กเป็นองค์ประกอบก็ทำหน้าที่เกี่ยวกับการหายใจของเซลล์ดังนั้นเมื่อเกิดการขาดเหล็กจึงมีผลร้ายต่อร่างกายดังนี้
๑. ประสิทธิภาพของการทำงานด้อยลงจากการศึกษาพบว่าผู้ที่ซีดจากการขาดเหล็กมีประสิทธิภาพการทำงานสู้คนปกติไม่ได้ซึ่งมีผลกระทบกระเทือนต่อการทำมาหากินของครอบครัวและย่อมส่งผลไม่ดีต่อเศรษฐกิจของประเทศชาติ
๒. ผลเสียต่อการตั้งครรภ์หญิงตั้งครรภ์ที่มีอาการซีดอย่างรุนแรงจะมีผลกระทบกระเทือนต่อตัวแม่เองและลูกที่อยู่ในครรภ์ด้วยแม่ที่ซีดจะทนต่อการตกเลือดในระหว่างคลอดได้น้อยมีโอกาสเป็นโรคติดเชื้อในระหว่างหลังคลอดและเสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนด
๓. ความต้านทานต่อโรคชนิดติดเชื้อน้อยลงการขาดเหล็กมีผลกระทบกระเทือนต่อกลไกของร่างกายที่ทำหน้าที่ต้านทานเชื้อโรคทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่ายขึ้น
๔. ผลร้ายอื่น ๆ การขาดเหล็กทำให้หน้าที่หลายอย่างของร่างกายเลวลง เช่น การหลั่งน้ำย่อยในกระเพาะอาหารและลำไส้น้อยการเจริญเติบโตทั้งร่างกายและจิตใจของเด็กด้อยลงเป็นต้น
ผู้ที่ขาดเหล็กและซีดแล้วอาจมีอาการและอาการแสดงต่อไปนี้กินสิ่งที่ไม่เคยกินเป็นประจำในจำนวนที่ผิดสังเกตกลืนอาหารลำบากลิ้นมีลักษณะเลี่ยนและซีดเล็บเปราะมีลักษณะเป็นรูปซ้อน เส้นผมร่วงหลุดง่ายถ้าซีดมากหัวใจจะโตและเกิดภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในผู้หญิงอาจมีเลือดประจำเดือนมากกว่าปกติ
การที่คนไทยประสบปัญหาโลหิตจางจากการขาดเหล็กนั้นเกิดจากสาเหตุใหญ่ ๓ ประการ คือ
๑. ได้เหล็กจากอาหารไม่เพียงพอคนไทยในชนบทกินข้าวและพืชผักเป็นส่วนใหญ่ได้เนื้อสัตว์น้อยปริมาณของเหล็กจากอาหารและสภาพที่เหล็กดูดซึมในลำไส้จึงอยู่ในเกณฑ์ต่ำ
๒. การเสียเลือดอย่างเรื้อรังการเป็นโรคพยาธิปากขอหรือแผลที่กระเพาะอาหารทำให้มีการสูญเสียเหล็กออกจากร่างกาย
๓. ร่างกายต้องการเหล็กมากขึ้นเด็กที่อยู่ในวัยเจริญเติบโตหญิงที่มีประจำเดือนหญิงตั้งครรภ์และให้นมลูกล้วนต้องการเหล็กมากขึ้นจึงเป็นบุคคลที่เสี่ยงต่อการขาดเหล็ก
เรื่องการขาดเหล็กมิใช่พบเฉพาะในประเทศไทยแต่เป็นปัญหาทุพโภชนาการที่พบได้ในทุกประเทศการส่งเสริมให้ประชาชนกินอาหารที่มีเหล็กมากขึ้นทำยากเพราะอาหารที่ให้เหล็กมีไม่มาก องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดแนวทางการแก้ไขการขาดเหล็กไว้ ๒ วิธี คือ
๑. การเสริมเหล็ก (iron supplementation) หมายถึง การให้เหล็กในรูปของเม็ดยาหรือสารละลายแก่ประชาชนเพื่อทำให้ภาวะโภชนาการของเหล็กดีขึ้นในท้องถิ่นใดถ้าปัญหาการขาดเหล็กสูง การที่จะแก้ไขปัญหาการขาดเหล็กให้รวดเร็วทันการต้องใช้วิธีการเสริมเหล็ก
๒. การเติมเหล็กในอาหาร (iron fortification) เป็นวิธีการเติมเหล็กลงในอาหารเพื่อเพิ่มปริมาณเหล็กที่กินในชีวิตประจำวันแก่ประชาชนที่ได้เหล็กจากอาหารไม่พอวิธีนี้เป็นวิธีการเลียนแบบธรรมชาติในการนำเหล็กเข้าสู่ร่างกายโดยไม่มีความรู้สึกว่ากินยาแบบการเสริมเหล็กการเติมเหล็กในอาหารนี้อยู่ในขั้นการวิจัยทดลองอยู่โดยมุ่งหวังว่าเป็นวิธีควบคุมปัญหาโรคโลหิตจางจากการขาดเหล็กได้ดีในระยะยาว