Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ระบบประสาทอัตโนมัติ ซิมพาเทติกและพาราซิมพาเทติก

Posted By Plook Creator | 27 มิ.ย. 60
530,046 Views

  Favorite

เคยเห็นคนยกตุ่มน้ำเวลาไฟไหม้ไหม พวกเขาทำได้อย่างไรทั้งที่เวลาปกติยังยกตุ่มเปล่าไม่ขึ้นด้วยซ้ำ สิ่งนี้เกิดจากการทำงานของระบบประสาทที่เรียกว่า ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System)

 

ระบบประสาทซิมพาเทติก (Sympathetic Nervous System) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติหรืออัตโนวัติ (Autonomic Nervous System-ANS) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่าง ซึ่งทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจ มีศูนย์กลางอยู่ที่ไขสันหลังระดับอกและเอว โดยเซลล์ประสาทในระบบนี้จะมีขนาดสั้น เรามักรู้จักระบบประสาทซิมพาเทติกในแง่ของการทำงานเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เช่น ไฟไหม้ หรือกำลังจะมีอันตรายเกิดขึ้น ระบบจะสั่งให้สู้หรือหนี โดยเมื่อระบบถูกกระตุ้น มันจะสั่งให้ต่อมหมวกไตชั้นใน (Adrenal Medulla) หลั่งฮอร์โมนออกมาเพื่อไปกระตุ้นกล้ามเนื้อหรือต่อมเป้าหมายให้ทำงานตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้น

โดยทั่วไประบบประสาทซิมพาเทติกจะทำงานควบคู่ไปกับระบบประสาทพาราซิมพาเทติก เมื่อเปรียบเทียบกันแล้ว หากระบบประสาทซิมพาเทติกทำงานในเชิงของการต่อสู้หรือความตื่นตัว ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกจะทำงานในเชิงของความผ่อนคลาย

 

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติก (Parasympathetic Nervous System) เป็นส่วนหนึ่งของระบบประสาทอัตโนมัติหรืออัตโนวัติ (Autonomic Nervous System-ANS) มีหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะบางอย่าง ซึ่งทำงานอยู่นอกเหนืออำนาจจิตใจเช่นเดียวกับระบบประสาทซิมพาเทติก

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกมีศูนย์กลางอยู่ที่เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3, 7, 9, 10 (บริเวณเมดัลลา ออบลองกาตา) และไขสันหลังส่วนกระเบนเหน็บ (ก้นกบ) โดยจะทำงานควบคู่กับระบบประสาทซิมพาเทติก เพื่อให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติหรือภาวะผ่อนคลาย (Rest and Digest)

 

ระบบประสาทซิมพาเทติกควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ดังนี้

ภาพ : Shutterstock

 

ระบบประสาทพาราซิมพาเทติกควบคุมการทำงานส่วนต่างๆ ดังนี้

ภาพ : Shutterstock

 

ตารางเปรียบเทียบการทำงานของระบบประสาทซิมพาเทติกกับพาราซิมพาเทติก

Sympathetic อวัยวะ

Parasympathetic

ม่านตาขยาย ตา ม่านตาหด
กระตุ้นให้หลั่งน้ำตาออกมามากกว่าปกติ ต่อมน้ำตา ควบคุมการหลั่งน้ำตาให้เป็นปกติ
ยับยั้งการหลั่งน้ำลาย ต่อมน้ำลาย กระตุ้นการหลั่งน้ำลาย
เพิ่มอัตราการเต้นและการบีบของหัวใจ หัวใจ ชะลออัตราการเต้นของหัวใจ
กระตุ้นให้ท่อลมฝอยขยายตัวคลายตัว ปอด กระตุ้นให้ท่อลมฝอยหดตัว
ยับยั้งการบีบตัวและการหลั่งน้ำย่อย
ของกระเพาะอาหาร
กระเพาะอาหาร กระตุ้นการบีบตัวและการหลั่งน้ำย่อย
ของกระเพาะอาหาร
กระตุ้นให้ตับทำงานพื่อเพิ่มปริมาณกลูโคส
ในกระแสเลือด
ตับ กระตุ้นการหลั่งน้ำดี
กระตุ้นให้ต่อมหมวกไตหลั่งอะดรีนาลิน
(Adrenalin หรือ Epinephine)
ต่อมหมวกไต -
กระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะคลายตัว กระเพาะปัสสาวะ กระตุ้นให้กระเพาะปัสสาวะหดตัว

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 15 Followers
  • Follow