Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การทำไร่ยาสูบและการเก็บใบยาสดและการบ่ม

Posted By Plookpedia | 22 มิ.ย. 60
3,689 Views

  Favorite

การทำไร่ยาสูบ  

 

        ยาสูบเป็นพืชที่ต้องการน้ำฝน และความชุ่มชื้นในอากาศ ดังนั้นการปลูกยาในช่วงกลางถึงปลายฤดูฝน จึงจะได้ใบยาที่มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาด ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ สมัยก่อนชาวไร่จะปลูกยาสูบในนาหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว ซึ่งเป็นช่วงฤดู แล้ง ทำให้ใบยาแห้งที่ได้ขาดคุณภาพที่ดี

 

        ปัจจุบันชาวไร่เลื่อนเวลาเพาะปลูกให้เร็วขึ้น แต่ปัญหาที่ตามมาคือ โรคและแมลงมีมากตามขึ้นมาด้วย ดังนั้นการป้องกัน และกำจัดแมลง จึงมีความสำคัญต้องดูแลอย่างสม่ำเสมอ 

 

        ดินที่เหมาะสมกับการเพาะปลูกยาสูบต้องเป็นดินร่วนปนทราย ดินร่วน และดินร่วน
ปนดินเหนียว ควรเลือกที่สูง มีการระบายน้ำดี ค่าความเป็นกรด-เบสของดินอยู่ระหว่าง ๕.๖-๖.๕
การเตรียมดินควรไถให้ลึกอย่างน้อย ๖-๘ นิ้ว เพื่อให้รากหยั่งลึกไปในดิน และเจริญเติบโตได้ดี
ควรปลูกเป็นแถวเดี่ยวแบบยกร่อง

ความต้องการน้ำของต้นยาสูบในระยะเดือนแรกมีน้อยมาก แต่หลังจากปลูกแล้ว ๓๐-๔๐ วัน ต้องการความชุ่มชื้นสูง เพื่อการเจริญเติบโต 

 

ไร่ยาสูบเบอร์เลย์

 

การเลือกใช้ปุ๋ยเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะอาหารธาตุไนโตรเจนต้องไม่สูงเกินไป มิฉะนั้นจะทำให้คุณภาพใบยาแห้งลดลง 

การเก็บใบยาสดแต่ละครั้ง จะต้องรอให้ใบยาสุกจริง ๆ เพื่อให้ได้ใบยาแห้งที่มีคุณภาพตามที่ต้องการ 
 

ยาสูบพื้นเมือง 
        ยาพื้นเมืองที่โรงงานยาสูบนำมาใช้ในกิจการ ได้มาจากจังหวัดกาญจนบุรี และสุพรรณบุรี ปัจจุบันนำมาใช้ในลักษณะของยาเส้น 

 

ไร่ยาสูบพื้นเมือง
ไร่ยาสูบพื้นเมือง

 

 

การเพาะกล้า 
        วิธีการปฏิบัติคล้าย ๆ กับการเพาะกล้ายาสูบประเภทอื่นๆ โดยเริ่มหว่านเมล็ดประมาณเดือนกรกฎาคม - สิงหาคม เมื่อกล้ามีอายุประมาณ ๑ เดือน ถอนย้ายกล้าไปชำในแปลงใหม่อีกประมาณ ๑ เดือน ก่อนนำไปปลูกในไร่ 

 

ไร่ปลูก 
        ส่วนมากปลูกในที่ดินบุกเบิกใหม่ หรือที่ดินริมน้ำ ไม่นิยมใส่ปุ๋ย ไม่ใช้ยาป้องกัน หรือกำจัดโรคและแมลง พอดินจืด ก็ย้ายหาที่ปลูกใหม่ การปลูกยาสูบพื้นเมืองอาศัยธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่
ไม่ต้องให้น้ำมาก นอกจากในระยะแรก ๆ ที่ย้ายกล้าปลูกเท่านั้น การปลูกจะเริ่มกันในเดือนตุลาคม - พฤศจิกายน และเก็บใบยาสด เมื่อต้นยาสูบอายุประมาณ ๑๐๐-๑๒๐ วัน เสร็จสิ้นการเก็บใบยาประมาณเดือนมกราคม หรือประมาณ ๒ เดือน หลังจากเริ่มเก็บใบยาสดครั้งแรก

 

 

การเก็บใบยาสดและการบ่ม

 

        การเก็บใบยาสดในประเทศไทยยังใช้วิธีเก็บด้วยมือ โดยเก็บจากใบยาล่างขึ้นไปหายอด และควรจะเก็บในเวลาเช้า การเก็บให้เลือกเฉพาะใบยาที่เริ่มแก่หรือสุกเท่านั้น เพราะมีส่วนสัมพันธ์โดยตรงกับคุณภาพใบยาแห้ง การเก็บครั้งหนึ่ง ๆ ประมาณ ๓-๕ ใบต่อต้น แต่ละครั้งห่างกัน ๕- ๑๐ วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับประเภทของใบยา และตำแหน่งของใบบนลำต้น เช่น ใบยาชั้นล่างจะแก่หรือสุกเร็วกว่าใบยายอด เป็นต้น

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow