Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การดูแลรักษา

Posted By Plookpedia | 19 เม.ย. 60
4,405 Views

  Favorite

การดูแลรักษา

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง ดังนั้น ในรายที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อนจึงไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส เพียงแต่ให้การดูแลรักษาตามอาการ เช่น รับประทานยาลดไข้พาราเซตามอล ดื่มน้ำอุ่นบ่อยๆ พักผ่อนให้เพียงพอ อาการก็จะทุเลา ภายในวันที่ ๓ หรือ ๔ และควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพรินเพื่อลดไข้ โดยเฉพาะในผู้ที่อายุน้อยกว่า ๑๘ ปี สิ่งที่สำคัญมากคือ การพักผ่อน และควรแยกผู้ป่วยเพื่อไม่ให้แพร่เชื้อ

 

ดื่มน้ำมากๆ

 

ผู้ที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงมากที่จะมีการดำเนินโรครุนแรง และควรได้รับยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุด ได้แก่ หญิงมีครรภ์ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหืด โรคปอดเรื้อรัง โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคตับ โรคไต โรคเบาหวาน โรคที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง (โรคเอชไอวีระยะเอดส์ โรคมะเร็ง โรคเอสแอลอี) โรคธาลัสซีเมีย โรคระบบประสาท รวมทั้งโรคลมชัก และผู้ที่มีอายุต่ำกว่า ๑๘ ปีซึ่งกำลังใช้ยาแอสไพรินรักษาโรคอื่น ผู้ที่จัดอยู่ในกลุ่มเสี่ยงน้อย ได้แก่ เด็กที่มีอายุน้อยกว่า ๒ ปี ผู้ที่มีอายุมากกว่า ๖๕ ปี หรือผู้ป่วยที่โรคอยู่ในภาวะสงบ เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคระบบประสาทที่ผู้ป่วยรับรู้ และดูแลตัวเองได้ดี ผู้ป่วยกลุ่มนี้จำเป็นต้องดูแลใกล้ชิด และให้ยาต้านไวรัสทันทีถ้าแสดงอาการรุนแรง

ผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ที่แสดงอาการรุนแรง ต้องไปพบแพทย์โดยเร็วที่สุด เช่น อาการไข้สูง หนาวสั่น กินยาลดไข้แล้วไข้ไม่ลด ไอติดต่อกันเป็นชุด เจ็บหน้าอก ไอมีเสมหะปนเลือด หายใจเร็ว อาการหอบเหนื่อย เบื่ออาหาร อาเจียน ท้องเสีย อ่อนเพลียมาก หมดแรง ซึม หรืออาการป่วยมีมาแล้ว ๔๘ ชั่วโมง แต่ยังไม่ดีขึ้น ผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงกลุ่มนี้ ควรได้รับการรักษาในโรงพยาบาล และให้ยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุด

 

รับประทานยาลดไข้

 

 

ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่

ยาต้านไวรัสที่ใช้ในปัจจุบันมี ๒ กลุ่ม ได้แก่ 

กลุ่มที่ ๑ กลุ่มอนุพันธ์เอดาแมนเทน มีโครงสร้างเป็นสารประกอบเคมี cycloalkane (C10H16) ตัวอย่างกลุ่มอนุพันธ์เอดาแมนเทน ที่ใช้ในทางแพทย์ ได้แก่ อะแมนทาดีน และริแมนทาดีน ซึ่งใช้ได้ผลเฉพาะไข้หวัดใหญ่เอ แต่ใช้ไม่ได้ผล ในไข้หวัดใหญ่บี

อะแมนทาดีน 

มีสูตรเคมี C10H17N ได้รับอนุมัติจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สหรัฐอเมริกา ให้ใช้ได้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๐๙ ปัจจุบันมีจำหน่ายในชื่อการค้า Symmetrel Symadine และ Lysovir รูปแบบเภสัชภัณฑ์มีทั้งเป็นยาเม็ดหรือยาแคปซูล ขนาด ๑๐๐ มิลลิกรัม และยาน้ำใส หรือยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ขนาด ๕๐ มิลลิกรัม/ช้อนชา

 

ผักพ่อนให้เพียงพอ

 

ริแมนทาดีน 

มีสูตรเคมี C12H21N ได้รับอนุมัติให้ใช้ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๕๓๖ ปัจจุบันมีจำหน่ายในชื่อการค้า Flumadine ยานี้ มีข้อบ่งใช้ สำหรับไข้หวัดใหญ่เอที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน แต่มักพบการดื้อยา จึงควรใช้เป็นสูตรผสม ร่วมกับยากลุ่มยับยั้ง นิวรามินิเดส รูปแบบเภสัชภัณฑ์เป็นยาเม็ดเคลือบฟิล์ม ขนาด ๑๐๐ มิลลิกรัม และยาน้ำใสหรือยาน้ำเชื่อมสำหรับเด็ก ขนาด ๕๐ มิลลิกรัม/ช้อนชา

กลุ่มที่ ๒ ยาต้านไวรัสกลุ่มยับยั้งนิวรามินิเดส ได้แก่ แซนามิเวียร์ และโอเซลทามิเวียร์ ใช้ได้ทั้งไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์เอและบี การใช้ในทุกกรณีควรให้ยาภายใน ๔๘ ชั่วโมงหลังจากผู้ป่วยเริ่มมีอาการ ในกรณีของผู้ป่วยภูมิคุ้มกันบกพร่อง หรือผู้ที่เสี่ยงต่อภาวะแทรกซ้อน จำเป็นต้องให้

แซนามิเวียร์ 

ยาโอเซลทามิเวียร์

 

โอเซลทามิเวียร์ มีสูตรเคมี C16H28N2O4 รูปแบบเภสัชภัณฑ์อยู่ในรูปของเกลือฟอสเฟต ชื่อการค้า Tamiflu ใช้ได้ในผู้ที่มีอายุ ๑ ปีขึ้นไป โดยขนาดยาขึ้นกับอายุและน้ำหนักตัว ในทุกกรณีต้องให้ยาภายใน ๔๘ ชั่วโมงหลังผู้ป่วยเริ่มมีอาการ และให้ติดต่อกัน ๕ วัน ขนาดยาสำหรับการป้องกันใช้ขนาดเดียวกันกับการรักษา แต่ให้เพียงวันละครั้ง รูปแบบเภสัชภัณฑ์ของผู้ใหญ่เป็นยาแคปซูล ๗๕ มิลลิกรัม รับประทานวันละ ๒ ครั้ง ส่วนเด็กหรือผู้ที่กลืนยาแคปซูลไม่ได้ ก็ให้ใช้ยาผงผสมน้ำที่มีตัวยา ๑๒ มิลลิกรัม/มิลลิลิตร 

ยาต้านไวรัสไข้หวัดใหญ่กลุ่มใหม่นี้ ทั้งยาแซนามิเวียร์ และโอเซลทามิเวียร์ ได้รับอนุมัติให้ใช้ได้เมื่อ พ.ศ. ๒๕๔๒ มีข้อบ่งใช้ทั้งในการรักษาและป้องกันไข้หวัดใหญ่ทั้งชนิดเอและชนิดบี ผลข้างเคียงของยากลุ่มนี้มีน้อยมาก เช่น วิงเวียน หน้ามืด กระตุก นอนไม่หลับ
เป็นยาขนานแรกในกลุ่มนี้ มีสูตรเคมี C12H20N4O7 ปัจจุบันมีจำหน่ายในชื่อการค้า Relenza ใช้โดยการสูดหายใจทางปากด้วยอุปกรณ์จานหมุน ขนาดรักษาสำหรับผู้ป่วยอายุ ๗ ปีขึ้นไป คือ สูดยา ๒ ครั้ง ครั้งละ ๕ มิลลิกรัม วันละ ๒ ครั้ง ขนาดป้องกันสำหรับผู้ที่มีอายุ ๕ ปีขึ้นไป คือ สูดยาวันละ ๒ ครั้ง ไม่แนะนำให้ใช้ในผู้ป่วยโรคระบบทางเดินหายใจเรื้อรัง เพราะอาจเกิดการหายใจลำบาก

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow