เมื่อพูดถึง "ห้องสมุด" เด็ก ๆ คงจะนึกถึงห้องใหญ่ ๆ ที่มีหนังสือมากมายวางเรียงรายกันอยู่บนชั้น แปลกนะทำไมจึงไม่เรียกว่าห้องหนังสือคงจะมีเหตุผลและที่มาอย่างแน่นอน เอาไว้เราค่อยมาหาคำตอบกันดีไหม ครั้งนี้เรามาหาความรู้เกี่ยวกับห้องสมุดอีกแบบหนึ่ง เด็ก ๆ คงรู้จักและคุ้นเคยกับห้องสมุดเป็นอย่างดีเพราะที่โรงเรียนก็มีและบางบ้านก็มี ในห้องสมุดนี้ เด็ก ๆ จะรู้สึกตื่นตาตื่นใจ และได้รับความสนุกสนานเพลิดเพลินจากหนังสือสารพัดประเภทที่มีอยู่ เหมือนกับว่าได้เข้าไปในห้องที่มีหลายร้อยหลายพันหน้าต่าง หน้าต่างแต่ละบานที่เด็ก ๆ เปิดออกไปจะมีสิ่งแปลก ๆ ใหม่ ๆ ซึ่งล้วนแต่ให้ความบันเทิงเริงรมย์และมีความน่าสนใจแตกต่างกันไป แต่เมื่อเอ่ยถึง "ห้องสมุดเสียง" เด็ก ๆ คงจะสงสัยและใคร่รู้ว่าห้องสมุดเสียงนี้เป็นอย่างไรจะเหมือนหรือต่างไปจากห้องสมุดที่เราเคยรู้จักหรือไม่ เรามาตามไปดูกันดีไหมว่าห้องสมุดเสียงที่ว่านี้คืออะไร อยู่ที่ไหนและมีลักษณะอย่างไร
ห้องสมุดเสียง คือ สถานที่เก็บรักษาวัสดุรวบรวมเสียงต่าง ๆ ที่ได้บันทึกลงแถบเสียงไว้ โดยจัดแยกเป็นหมวดหมู่ตามประเภทของรายการ บรรจุไว้ในตู้เก็บพร้อมทั้งรายละเอียดของแถบเสียงแต่ละม้วน คล้ายการจัดเก็บหนังสือในห้องสมุดถ้าเราต้องการเสียงแบบใดชนิดใดเราก็สามารถกดปุ่มแสดงความต้องการแล้วเราก็จะได้รับฟังเสียงที่เราอยากทราบพร้อมทั้งรายละเอียดเกี่ยวกับเสียงนั้น ๆ ในทันที
ห้องสมุดเสียงแห่งแรกของไทย นั้นเกิดขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรในบริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ผู้ริเริ่มก่อตั้งคือศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ผู้เป็นบรมครู และเป็นนักการศึกษาที่ต้องการนำเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและสืบสานวัฒนธรรมไทย
ห้องสมุดเสียงแห่งแรกของไทยเกิดขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยศิลปากร ณ พระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม ผู้ริเริ่มคือ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล การก่อตั้งมหาวิทยาลัยศิลปากรมีจุดมุ่งหมาย เพื่อ "ฟื้นฟูบำรุงศิลปกรรมของชาติให้เจริญรุ่งเรือง และเพาะศิลปินผู้ทรงวิทยาคุณให้แพร่หลายมากยิ่งขึ้น" โดยมีการตราพระราชบัญญัติไว้เมื่อวันที่ ๕ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๖ และประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ ๑๒ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๘๖
ได้กล่าวมาแล้วในตอนต้นว่าห้องสมุดเสียงแห่งแรกของไทยนั้นผู้ริเริ่มคือ ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ซึ่งโดยเนื้อแท้ท่านเป็นครูเป็นนักการศึกษาที่ต้องการนำเทคโนโลยีล่าสุดมาใช้เป็นเครื่องมือในการถ่ายทอดและสืบสานวัฒนธรรม ด้วยปณิธานนี้เมื่อท่านดำรงตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร "ห้องสมุดเสียง" จึงได้เกิดขึ้นพร้อมกับมหาวิทยาลัยศิลปากรแห่งใหม่ ณ บริเวณพระราชวังสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม อันที่จริงท่านได้มีความคิดในเรื่องนี้ก่อนที่จะมารับตำแหน่งอธิการบดีมหาวิทยาลัยศิลปากร แต่เพิ่งมีโอกาสได้ทดลองทำความคิดของท่านให้เห็นเป็นรูปธรรม ท่านได้สะสมแถบบันทึกเสียงที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์เอาไว้จำนวนหนึ่งซึ่งประกอบด้วยพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สุนทรพจน์ และปาฐกถาของบุคคลสำคัญในระดับนานาชาติเท่าที่จะหามาได้โดยติดต่อขอความร่วมมือจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการของมิตรประเทศและเอกอัครราชทูตของประเทศต่าง ๆ ท่านได้นำสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้มาเก็บไว้ที่ห้องสมุดเสียงนี้
"ห้องสมุดเสียง" คือ สถานที่เก็บรักษาวัสดุรวบรวมเสียงต่าง ๆ ที่ได้บันทึกลงแถบเสียงไว้โดยผ่านกรรมวิธีการจัดทำเป็นแถบบันทึกเสียงต้นฉบับ (Master Tape) แล้วและจัดแยกเป็นหมวดหมู่ตามประเภทของรายการ บรรจุไว้ในตู้เก็บพร้อมกับรายละเอียดของแถบเสียงแต่ละม้วนเพื่อให้สะดวกต่อการศึกษาค้นคว้าคล้ายกับการจัดเก็บหนังสือในห้องสมุด ทั้งนี้เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการศึกษาตามวัตถุประสงค์โดยมีจุดมุ่งหมายในการดำเนินงาน คือ
๑. เพื่อเสริมการสอนวิชาต่าง ๆ ตามหลักสูตรด้วย "เสียง" ตามที่ผู้สอนต้องการ
๒. เปิดโอกาสให้นักศึกษาได้ศึกษาตามลำพังนอกเวลาเรียนและให้ได้รับความบันเทิงตามสมควร
๓. รักษาสมบัติวัฒนธรรมทางเสียงไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าในอนาคต
โดยเฉพาะในเรื่องการรักษาวัฒนธรรมทางเสียงไว้เพื่อการศึกษาค้นคว้าในอนาคตนั้น ศาสตราจารย์ หม่อมหลวงปิ่น มาลากุล ได้เน้นมากโดยขยายความเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ใน "จดหมายจากเพื่อน" ลงวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๑๓ มีใจความว่า