Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

การปลูกหม่อนเลี้ยงไหม

Posted By Plookpedia | 07 มิ.ย. 60
21,875 Views

  Favorite

ผ้าไหมเป็นสินค้าออกที่สำคัญอย่างหนึ่งของประเทศไทย มีผู้นิยมใช้ผ้าไหมทำเครื่องแต่งกาย และของใช้ต่างๆ กันมาก เพราะผ้าไหมมีสีสวยงามสะดุดตา มีเนื้อเป็นมันต่างจากผ้าฝ้าย หรือผ้าชนิดอื่น

 

 

 

 

เส้นใยซึ่งนำมาใช้ทอผ้าไหมนั้น เป็นเส้นใยที่ได้จากรังของหนอนไหม หนอนไหมเป็นตัวอ่อนของผีเสื้อชนิดหนึ่ง หลังจากผีเสื้อวางไข่ได้ ๑๐ วัน ไข่จะฟักออกมาเป็นตัวหนอน เรียกว่า "หนอนไหม""รังไหม" ในระยะแรกที่ออกมาจากไข่ หนอนไหมมีขนาดเล็ก หนอนไหมกินใบหม่อนเป็นอาหาร แต่หนอนไหมก็เจริญเติบโตได้เร็วมาก หนอนไหมจึงต้องลอกคราบเป็นระยะไป เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่จึงหยุดลอกคราบ หยุดกินอาหาร แล้วเริ่มทำรัง โดยพ่นของเหลวชนิดหนึ่งออกมาทางปาก เมื่อของเหลวนี้ถูกกับอากาศจะแข็งตัว เป็นเส้นไหมพันซ้อนกันเป็นชั้นๆ หุ้มตัวไหมไว้ เรียกว่า ขณะที่อาศัยอยู่ในรังไหม หนอนไหมจะเจริญไปเป็นดักแด้ เมื่อดักแด้โตเต็มที่จะมีลักษณะคล้ายผีเสื้อ แล้วเจาะรังไหมออกมาสู่ภายนอก การเจริญเติบโตของไข่เป็นตัวหนอน ดักแด้ และผีเสื้อตามลำดับนี้เรียกว่า "ชีพจักรของไหม"
เมื่อรังไหมมีอายุได้ประมาณ ๕ วัน ผู้เลี้ยงจะคัดเลือกรังที่ดีไว้ทำพันธุ์ และปล่อยดักแด้ให้เจริญต่อไปในรังไหม จนเป็นผีเสื้อ ส่วนรังไหมที่เหลือจะนำไปต้มแล้วสาวเป็นเส้นไหมด้วยมือ หรือเครื่องจักร สำหรับใช้ทอผ้าต่อไป

 

 

 

 

เนื่องจากหนอนไหมกินไปหม่อนเป็นอาหารเท่านั้น ผู้เลี้ยงจึงจำเป็นต้องปลูกหม่อนไว้ด้วย จะเลี้ยงแต่ไหมเพียงอย่างเดียวไม่ได้ เพราะถ้าเลี้ยงไหมโดยไม่ปลูกหม่อนก็จะไม่มีอาหารเพียงพอสำหรับเลี้ยงไหม

 

เนื่องจากหม่อนเจริญเติบโตได้ดีทั้งในเขตร้อนและอบอุ่น ดังนั้นการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม จึงเป็นอาชีพสำคัญของประชาชน ในหลายประเทศ ทั้งในเอเชีย และยุโรป เช่น จีน ญี่ปุ่น ไทย ฝรั่งเศส อิตาลี ฯลฯ

 

ต้นหม่อน

 

หม่อนเป็นพืชมีดอก เป็นพืชยืนต้น และเป็นไม้พุ่ม มีหลายพันธุ์ ทั้งพันธุ์พื้นเมือง และพันธุ์ที่มนุษย์ผสมขึ้นมา เพื่อให้ได้ลักษณะที่ต้องการ และให้ผลผลิตสูง พันธุ์ซึ่งใช้ปลูกสำหรับเลี้ยงไหม ควรเป็นพันธุ์ที่ปลูกได้ดีในท้องที่ทั่วไป โตเร็ว ทนทานต่อความแห้งแล้ง และโรคได้ดี ใบบาง ไม่หยาบ ขอบใบมีแฉกน้อย ฯลฯ ลักษณะเหล่านี้เป็นลักษณะสำคัญ ซึ่งทำให้หม่อนให้ผลผลิตสูง ได้ใบหม่อนมากพอที่จะนำมาเลี้ยงไหมได้อย่างเต็มที่ พันธุ์ที่ปลูกกันมากในบ้านเราส่วนใหญ่เป็นพันธุ์พื้นเมือง เช่น พันธุ์หม่อนน้อย พันธุ์ตาดำ เป็นต้น

 

ผลหม่อน

 

การขยายพันธุ์หม่อนทำได้หลายวิธี ทั้งใช้เมล็ดและกิ่ง แต่วิธีที่ให้ผลเร็ว และได้ต้นหม่อน ที่มีลักษณะเหมือนพันธุ์เดิมทุกประการก็คือ การตัดกิ่งปักชำ กิ่งที่จะใช้ขยายพันธุ์ควรมีอายุไม่ต่ำกว่า ๑ ปี มีตาไม่น้อยกว่า ๕-๖ ตา และยาวประมาณ ๒๕-๓๐ เซนติเมตร หลังจากปักชำกิ่งลงดินทรายแกลบเผา หรือขี้เลื่อยได้ ๑ เดือน จึงนำไปปลูกลงดิน ระยะเวลาที่เหมาะสมที่สุด สำหรับการปลูกต้นหม่อนคือ ระยะต้นฤดูฝน เพราะต้นหม่อนระยะนี้ต้องการ ความชื้นสูงมาก เมื่อต้นหม่อนตั้งตัวได้แล้ว ต้องคอยดูแลปราบวัชพืช ใส่ปุ๋ย ต้นหม่อนจึงจะเจริญเติบโตได้ดี หลังจากต้นหม่อนอายุ ได้ ๑ ปี จึงเริ่มตัดแต่ง กิ่งและเก็บใบไปเลี้ยงไหม การตัดแต่งกิ่งเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการทำสวน หม่อน เพราะจะช่วยให้หม่อนมีต้นเตี้ย เก็บใบได้สะดวก และมีใบมากกว่า ปล่อยให้เติบโตไปเองตามธรรมชาติ

เนื่องจากหนอนไหมกินใบหม่อนเพียงอย่างเดียวเท่านั้นเป็นอาหาร ดังนั้น การเลี้ยงไหมจึงควรเริ่มต้น ในระยะเวลาที่ต้นหม่อนมีใบมาก จึงจะมีอาหารพอ สำหรับเลี้ยงหนอนไหม นอกจากนี้การเลี้ยงไหมจะได้ผลดีหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ อุปกรณ์การเลี้ยง วิธีเลี้ยง และพันธุ์ที่นำมาเลี้ยงอีกด้วย เพราะปรากฏว่า การเลี้ยงไหมแผนใหม่ตามคำแนะนำ ของกองการไหม กรมวิชาการเกษตร โดยเลี้ยงไหมพันธุ์ผสมระหว่างพันธุ์จีนและญี่ปุ่น และใช้อุปกรณ์ โรงเลี้ยงที่ทันสมัย  ได้ผลดีกว่าการเลี้ยงด้วยวิธีของชาวบ้าน และเลี้ยงพันธุ์พื้นเมืองไทย เช่น พันธุ์นางขาว นางน้ำ ฯลฯ

 

กิ่งหม่อนชำ ที่ออกรากแล้ว พร้อมที่จะนำไปปลูก

 

นอกจากเลือกพันธุ์ การเอาใจใส่ดูแลสวนหม่อน และหนอนไหมระยะต่างๆ และการวางแผนกะเวลาเลี้ยงไหม ให้เหมาะสมกับดินฟ้าอากาศ และการเจริญเติบโต ของต้นหม่อนแล้ว การควบคุมโรคและแมลงหรือสัตว์ต่างๆ ที่ทำความเสียหายแก่หม่อนหรือหนอนไหม ก็เป็นสิ่งสำคัญ ที่จะทำให้การ ปลูกหม่อนเลี้ยงไหมได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดีอีกด้วย

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป

Content

1
ไหม (Silkworm: Bombyx mori L.)
แหล่งเลี้ยงไหม แหล่งเลี้ยงไหมที่สำคัญของประเทศไทย ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ได้แก่ จังหวัดขอนแก่น ร้อยเอ็ด บุรีรัมย์ นครราชสีมา สุรินทร์ อุบลราชธานี หนองคาย ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครพนม มหาสารคาม สกลนคร และกาฬสินธุ์ ส่
10K Views
2
ประวัติการปลูกหม่อนเลี้ยงไหม
มนุษย์รู้จักการปลูกหม่อนเลี้ยงไหมมาไม่ต่ำกว่า ๔,๐๐๐ ปีแล้ว จีนเป็นชาติแรกที่นำเส้นใยไหมมาทอเป็นอาภรณ์เครื่องนุ่งห่ม และเป็นผู้ผูกขาดทำสินค้าผ้าไหมส่งไปขายต่างประเทศเป็นเวลานานกว่า ๑,๐๐๐ ปี ความลับเรื่องไหมจึงได้แพร่ไปถึงประเท
6K Views
3
หม่อน (Mulberry: Morus alba Linn.)
การที่เราจะเลี้ยงไหมได้ สิ่งสำคัญอันดับแรกคือ ต้องมี อาหารของไหม หนอนไหมที่เราเลี้ยงกันอยู่นี้กินอาหารเพียง อย่างเดียวคือ ใบหม่อน เท่านั้น เราจำเป็นจะต้องปลูกหม่อน ให้เจริญงอกงาม มีใบมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ซึ่งก็ต้องอาศัย
17K Views
  • Posted By
  • Plookpedia
  • 15 Followers
  • Follow