ทาสแมวทั้งหลายต้องยอมใจกับสายตาเว้าวอนชวนลงไปนอนกอดรัดฟัดเจ้าเหมียวแน่นอน สำหรับคำว่านอนในภาษาอังกฤษเราคุ้นเคยกันดีคือ ‘sleep’ แต่คราวนี้เป็นการนอนแบบ “นอนกอดกัน นอนอิงแอบซุกกายด้วยกัน” มันยิ่งกว่านอนหลับธรรมดาๆ ดังนั้นเราจึงใช้คำว่า ‘cuddle’ ในสำนวนว่า Let’s cuddle
นอกจากนี้ยังใช้คำว่า ‘snuggle’ ในสำนวน Let’s snuggle ซึ่งความหมายเหมือน ‘cuddle’ ได้ด้วยเช่นกัน
เมื่อเจ้าเหมียวทำหน้าตาตกใจ คงกำลังสื่อบอกทาสว่า Did you just…O.M.G!
เวลาที่รู้สึกตกใจ ประหลาดใจเรามักพูดออกมาว่า Did you just…O.M.G! ซึ่งมีโครงสร้างประโยค Did + ประธาน (subject) + just + คำอุทาน (interjection) หรือเปลี่ยน subject เป็น it ก็พูดได้ว่า “Did it just…”
เหมียวโกรธ เหมียวไม่สบอารมณ์ “ไปให้พ้นๆ เลย” เจอคำนี้ส่วนใหญ่จะนึกถึง “Go away” ขึ้นมาทันที จริงๆ ก็ไม่ผิดหรอก แต่ในสถานการณ์คราวนี้อารมณ์มาเต็มๆ ประมาณรีบๆ ออกไปให้พ้นหน้าเถอะ ดังนั้นใช้ Get out of my face! จะดูเป็นธรรมชาติกว่า
เมื่อใดที่เจ้าเหมียวจ้องหน้าส่งสายตางงๆ มาล่ะก็มันกำลังบอกว่า ‘What was that?’ (หือ...อะไรอะ?) วลีนี้ใช้ได้ในหลายกรณี เช่น เวลาที่ได้ยินเสียงอะไรแปลกๆ เราก็จะพูดว่า "What was that?" (นั่นเสียงอะไรอะ?) หรือเวลาที่จู่ๆ ก็เห็นสิ่งแปลกๆ หรือถูกกระทำเรื่องประหลาด "What was that?" จะหมายความว่า เมื่อกี้นี้ อะไรอะ?
‘look good in….’ ใช้พูดว่าเราเหมาะกับสีหรือสไตล์นั้นๆ โดยใช้ preposition “in” อย่างเช่นเจ้าเหมียวตัวนี้ที่กำลังบอกเหล่าทาสว่า I look good in blue. ฉันเหมาะกับสีฟ้านะ (จงซื้อชุดสวยๆ สีฟ้ามาให้ข้าเยอะๆ)
นอกจากนี้เราสามารถใช้ “nice” แทน “good” ก็ได้ และในกรณีที่จะชื่นชมสไตล์เสื้อผ้าของบุคคลอื่นๆ ที่ไม่ใช่สีสันจะใช้ preposition “on” และประธานก็เปลี่ยนจากคนเป็นสิ่งของก็ได้ เช่น That green bikini is good on you. บิกินีสีเขียวตัวนั้นเหมาะกับคุณดีนะ
ถึงเจ้าเหมียวจะมีความอินดี้ในตัวเอง แต่มันก็ไม่อยากให้เหล่าทาสห่างไกลหรือหายไปจากมันหรอก มันอาจจะกำลังตะโกนบอกเราในใจอยู่ก็ได้ว่า Don’t go too far! อย่าไปไกลเกินไปนะ...ทาส
Don’t go too far! มีโครงสร้างประโยคคือ รูปปฏิเสธ + too + คำคุณศัพท์ (adjective)
นอกจากนี้สามารถใช้คำว่า disappear แทนได้ในประโยคว่า "Do not disappear on me!" (อย่าหายหน้าหายตาไปจากฉัน)
ฉันเหนื่อยจัง ไม่ได้พูดได้แค่ I am tired. ถ้ารู้สึกเหนื่อยจนร่างจะพัง พูดไปเลยว่า I’m so worn out. (ดูท่าเจ้าเหมียวจะเล่นซนซ่าจนหมดสภาพเลยสินะ)
worn คือรูปอดีตของ wear (สวมใส่) เมื่อมาในโครงสร้าง V to be + wear out จะหมายถึง เหนื่อยมาก เหนื่อยจนร่างพังกันเลยทีเดียว และยังใช้ในความหมายว่า เสื้อผ้าที่ใช้งานมานานจนเก่าทรุดโทรม ได้ด้วย
....right? เป็นคำคุณศัพท์ แปลว่า ถูกต้อง มักใช้ประกอบในประโยคคำถามเพื่อถามยืนยันให้แน่ชัดว่า ถูกต้องใช่ไหม โดยในการถามจะขึ้นเสียงสูงที่คำว่า right ด้วย
เช่น เจ้าเหมียวถามเหล่าทาสให้แน่ใจว่า “This is fish, right?” นี่มันปลาใช่มั้ย?
นอกจาก right เราสามารถใช้คำว่า correct แทนได้ แต่เมื่อใดที่เป็นสถานการณ์ที่เป็นทางการควรใช้ correct จะดีกว่า เช่น ‘This is rat, correct?’ นี่คือหนูใช่ไหมครับทาส?
ทาสๆ คงจะเคยเห็นท่าทางเจ้าเหมียวตะปบของเล่นจนชินตา ในจังหวะตะปบน่ะลองฟังดีๆ จะได้ยินเสียงตุบ ซึ่งภาษาอังกฤษเราใช้คำว่า ‘thump’
นอกจากนี้ ‘thump’ ยังใช้เลียนเสียงเท้า ‘ตึง ตึง’ หรือเสียงเคาะสิ่งของ ‘ก๊อกๆ’ ได้ด้วย
wink ที่เป็นคำนาม จัดอยู่ในคำนามนับได้ เช่น Tom gave me a wink. (ทอมขยิบตาให้ฉัน)
wink ที่เป็นคำกริยา จะใช้กับ preposition ‘at’ เช่น He is winking at me. (เขากำลังขยิบตาให้ฉัน)
“Winking right at you.” ฉันกำลังขยิบตาให้เจ้าอยู่นะทาส
wink ใน Winking right at you ตามรูปประโยคแล้วทำหน้าที่เป็นคำกริยา และระหว่าง wink กับ at เราสามารถเติม ‘right’ หรือคำอื่นที่มีความใกล้เคียงกันเช่น ‘only’ หรือ ‘just’ เข้าไปเพื่อเพิ่มน้ำหนักของประโยคด้วยก็ได้