แปลตรงตัวคือคนงานที่ทำได้ไม่ดีมักจะโทษเครื่องมือของเขา ตรงกับสำนวนไทย รำไม่ดีโทษปี่โทษกลอง ซึ่งหมายถึงคนเราเมื่อทำผิดแล้วไม่ยอมรับว่าเป็นเพราะตัวเอง แต่มักโทษว่าเป็นผู้อื่นเป็นสาเหตุแทน
ขนที่ดีทำให้นกดูสวย ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ไก่งามเพราะขน คนงามเพราะแต่ง หมายถึง คนจะดูดีได้ต้องรู้จักปรุงแต่ง
แปลตรงตัวคือ ที่ไหนมีความหวัง ที่นั่นมักมีหนทางเสมอ ตรงกับสำนวนไทย ความพยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
แปลตรงๆ ตัวได้ว่า เมื่ออยู่ในเมืองโรม จงทำอย่างที่คนโรมันทำ ตรงกับสำนวนไทย เข้าเมืองตาหลิ่วต้องหลิ่วตาตาม หมายความว่า ให้ประพฤติตนตามที่คนส่วนใหญ่ในสังคมทำกัน
แปลตรงตัวได้ว่า การเต้นแทงโก้ต้องอาศัยผู้เต้นสองคนจึงจะทำได้ ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า ตบมือข้างเดียวไม่ดัง หมายถึง การทำอะไรเพียงฝ่ายเดียวมักไม่เกิดผล (มักใช้กับเรื่องชู้สาว)
แปลตามประโยคภาษาอังกฤษได้ว่า ค่าของคำพูดเปรียบได้กับเงิน ในขณะที่ค่าของความเงียบเปรียบได้กับทอง ตรงกับสำนวนไทยที่ว่า พูดไปสองไพ่เบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง หมายถึง บางครั้งคำพูดของเราอาจจะทำร้ายคนอื่นหรือก่อให้เกิดความเสียหาย ดังนั้นเงียบไว้น่าจะดีกว่า
แปลตรงตัวได้ตรงตามสำนวนไทยว่า หมาเห่าไม่กัด หมายความว่า คนอวดเก่งเมื่อถึงสถานการณ์จริงมักไม่กล้าเผชิญหน้า
แปลตรงตัวได้ตามสำนวนไทยว่า น้ำนิ่งไหลลึก ใช้กับคนที่มีท่าทางเงียบขรึม ไม่ค่อยพูด แต่มีความคิดที่ล้ำลึกหรือร้ายกาจอยู่ภายใน
แปลตรงตัวได้ตามสำนวนไทยว่า แมวไม่อยู่ หนูร่าเริง หมายความถึง ผู้ที่อยู่ในปกครอง เมื่อผู้ที่มีอำนาจไม่อยู่ ผู้ที่อยู่ในปกครองจะสนุกสนานร่าเริง เพราะไม่มีคนคอยคุมนั่นเอง ซึ่งมีความหมายทางลบคล้ายกับอีกสำนวนหนึ่งของไทยคือ หน้าไหว้หลังหลอก