จะดีกว่าไหม หากเรารู้ทันและรู้ทางด้วย “4 เทคนิคพิชิตหนี้บัตรเครดิต” เพื่อเอาชนะหนี้ของตัวเองให้ทันเวลา ดังนี้
หลายคนน่าจะเคยผ่านประสบการณ์การขออนุมัติสินเชื่อจากธนาคารต่างๆ เพื่อนำเงินทุนที่ได้มาเติมเต็มความฝันของตนเอง แต่บางครั้งอาจมีทั้งสมหวังและผิดหวัง เพราะธนาคารก็ต้องพิจารณาสถานะทางการเงินของผู้ขอสินเชื่ออย่างเข้มข้น เพื่อป้องกันการผิดนัดชำระหนี้จนเกิดหนี้เสียตามมาเช่นกัน
เริ่มต้นจากปรับพฤติกรรมการใช้จ่ายของตัวเอง หยุดใช้จ่ายในเรื่องที่ไม่จำเป็น จากนั้นจัดสรรเงินรายได้ให้เหมาะสม โดยแบ่งเป็นเงินก้อนแรกสำหรับค่าใช้จ่ายคงที่ต่าง ๆ เช่น ค่าผ่อนบ้าน ผ่อนรถ ประกันชีวิต เงินก้อนที่สองสำหรับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน เช่น ค่าอาหาร ค่าเดินทาง เงินที่เหลือก้อนสุดท้ายนำไปใช้หนี้บัตรเครดิตโดยพยายามจ่ายให้ได้มากที่สุด และไม่ควรจ่ายเฉพาะยอดขั้นต่ำ เพราะจะทำให้เราไม่สามารถแก้ปัญหาหนี้ในระยะยาวได้
โดยเฉพาะหนี้บัตรเครดิตที่มีค่าใช้จ่ายแพงที่สุดก่อน โดยเราต้องทราบว่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตมีอัตราสูงสุดถึง 20% ต่อปี และยอดหนี้จะเพิ่มขึ้นได้ตามระยะเวลาที่เป็นหนี้ การที่เราไม่จ่ายชำระหนี้บัตรเครดิตให้เร็ว ก็จะทำให้เกิดภาระหนี้จากดอกเบี้ยที่งอกเงยจนบางครั้งกลายเป็นดินพอกหางหมู จนเกิดความท้อแท้ไม่รู้ว่าจะชำระหนี้อย่างไรให้หมดได้ซักที
ตัวอย่าง : การคำนวณดอกเบี้ยบัตรเครดิต เมื่อชำระค่าสินค้าและบริการไม่เต็มจำนวน
หากเรารูดบัตรเครดิตซื้อสินค้า เมื่อวันที่ 1 เมษายน จำนวน 20,000 บาท โดยสรุปยอดรายการทุกวันที่ 10 ของเดือน และมีกำหนดชำระทุกวันที่ 30 ของเดือน ทำให้วันที่ 10 เมษายน ธนาคารสรุปยอดเป็นจำนวนเงิน 20,000 บาท เราจึงนำเงินไปชำระขั้นต่ำจำนวน 2,000 บาทในวันที่ 30 เมษายนซึ่งเป็นวันครบกำหนดชำระ
วิธีคำนวณดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม
= (ยอดรายการใช้จ่าย x อัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมต่อปี x จำนวนวันในงวด)/จำนวนวันใน 1 ปี
การคำนวณดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมบัตรเครดิตกรณีชำระค่าสินค้าและบริการไม่เต็มจำนวน
1 เมษายน | 10 เมษายน | 30 เมษายน | 10 พฤษภาคม | 30 พฤษภาคม | 10 มิถุนายน |
รูดซื้อสินค้า 20,000 บาท |
สรุปยอดบัญชีเดือน เม.ย. คือ 20,000 บาท |
ชำระขั้นต่ำ 2,000 บาท |
ชำระยอดเต็ม |
||
29 วัน ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม |
|
11 วัน ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนีียม (45,000x20%x11)/365 = 271 บาท |
19 วัน ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียม (18,000*20%*19)/365 = 187.40 บาท |
สรุปยอดบัญชีเดือน พ.ค. คือ 18,426.31 บาท
สรุปยอดบัญชีเดือน มิ.ย. คือ 187.40 บาท
ตั้งแต่วันที่รูดซื้อสินค้า 1 เม.ย. จนถึงวันก่อนครบกำหนดชำระ (29 เม.ย.) = 29 วัน
วันที่ชำระขั้นต่ำ 30 เม.ย. จนถึงวันสรุปยอดรายการในเดือน พ.ค. (10 พ.ค.) = 11 วัน
ดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมค้างจากวันที่ 11 พ.ค. ถึงวันก่อนครบกำหนดชำระ (29 พ.ค.) = 19 วัน
ที่มา : ธนาคารแห่งประเทศไทย
จะเห็นว่าถึงแม้เราจะจ่ายเงินครบตามใบสรุปยอดรายการไปแล้วเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม แต่ก็จะยังมีดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมค้างจากวันที่ 11 พฤษภาคมถึงวันที่ 29 พฤษภาคม (วันก่อนกำหนดชำระเงิน 30 พ.ค.) ดังนั้น สถาบันการเงินจึงมีการแจ้งยอดรายการอีกครั้ง ในวันที่ 10 มิถุนายน อีกจำนวน 187.40 บาท
ดังนั้น ทางที่ดีที่สุดก็คือ ควรชำระบัตรเครดิตยอดเต็มจำนวนทุกงวด เพื่อไม่ให้ถูกคิดดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมตั้งแต่วันทีใช้บัตรจนถึงก่อนวันที่เราชำระเงิน แต่หากไม่มีความสามารถจริงๆ อย่างน้อยก็ควรชำระยอดขั้นต่ำ เพราะหากผิดนัดชำระหนี้เกิน 3 เดือน นับจากวันครบกำหนดชำระ ธนาคารจะมิสิทธิยกเลิกการใช้บัตรเครดิตของเราได้ทันที และหากมีการทวงถามการชำระอยู่เรื่อยๆ อาจต้องติด Black list หรือถูกฟ้องร้องจนไม่สามารถทำธุรกรรมการเงินได้อีก
หากมีปัญหาหนี้บัตรเครดิตมากเกินกว่าที่จะชำระหมดได้ ให้ลองติดต่อเข้าไป พูดคุยกับทางธนาคารเพื่อหาทางประนอมหนี้ โดยตกลงกันว่าวิธีการชำระเงิน แบบไหนที่จะทำให้เราสามารถชำระหนี้ได้ อย่าปล่อยให้เนิ่นนานเพราะธนาคาร อาจจะส่งฟ้องศาลจนเกิดผลกระทบในด้านต่าง ๆ ตามมา
หากเราพลาดเป็นหนี้บัตรเครดิตไปแล้ว สิ่งแรกที่จะต้องดำเนินการก็คือ การตั้งเป้าหมายว่าจะไม่เป็นหนี้ หยุดใช้บัตรเครดิตมาสร้างหนี้เพิ่ม และวางแผนการเงินให้ดีว่าจะชำระหนี้บัตรเครดิตอย่างไร หากพบปัญหาและอุปสรรคในหนี้บัตรเครดิต ก็ควรพูดคุยกับทางธนาคาร เพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างเป็นระบบจนทำให้เราสามารถปลดหนี้ทั้งหมดได้ในที่สุด
ขอบคุณภาพจาก : Pixabay