森 - mori (โมริ) หมายถึง ป่า (forest)
คำว่า 森 ประกอบไปด้วยตัวคันจิที่หมายถึงต้นไม้ 木 – ki (คิ) ถึง 3 ตัว (ต้นไม้รวมกันเยอะๆ ก็กลายเป็นป่า จริงมั้ย?)
父 – chichi (ชิชิ) หมายถึง พ่อ (father)
จำง่ายๆ เลยว่า พ่อคือผู้ชายที่ถือไม้เรียว 2 อันไว้เหนือศีรษะ
雨 – ame (อาเมะ) หมายถึง ฝน (rain)
เมื่อเจอคำว่อาเมะ ให้นึกภาพฝนตกที่หน้าต่างได้เลย
川 – kawa (คาวะ) หมายถึง แม่น้ำ (river)
เส้นสามเส้นเรียงกันเหมือนสายน้ำกำลังไหล
東 – higashi (ฮิงาชิ) หมายถึง ทิศตะวันออก (east)
คำนี้มาจากคันจิ 2 ตัวรวมกันคือคำว่า 日- hi (ฮิ) ที่แปลว่า พระอาทิตย์ กับ 木– ki (คิ) ที่แปลว่า ต้นไม้ วิธีจำง่ายๆ เลยว่า พระอาทิตย์ขึ้นจากทิศตะวันออกที่ด้านหลังต้นไม้
男 – otoko (โอะโตะโคะ) หมายถึง ผู้ชาย (man)
เราสามารถแยกตัวคันจิออกจากคำนี้ได้อีก 2 ตัวคือ 田 – ta (ตะ) แปลว่า นา และ 力 – chikara (ชิคะระ) แปลว่า พลัง อธิบายได้ว่า ผู้ชายที่มีกำลังวังชากำลังทำนา
姉 – ane (อะเนะ) หมายถึง พี่สาว (older sister)
คิดง่ายๆ เลยว่าหน้าที่ของพี่สาวคือไปตลาด ดังนั้นคันจิคำว่า 姉 จึงเป็นการรวมกันระหว่างคำว่า 女- onna (อนนะ) ที่แปลว่า ผู้หญิง กับ คำว่า 市 – ichi (อิชิ) ที่แปลว่า ตลาด
虹 – niji (นิจิ) หมายถึง รุ้ง (rainbow)
คำนี้เป็นอักษรคันจิที่มีลักษณะเฉพาะ ซึ่งแสดงให้เราเห็นว่าผู้คิดค้นประดิษฐ์ภาษาขึ้นมานั้นรับรู้เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติโดยที่พวกเขาไม่เข้าใจ อย่างเช่น รุ้ง
ส่วนคันจิคำว่า 虫- mushi (มุชิ) หมายถึง แมลง แต่มันกลับถูกนำไปใช้ในคำที่หมายถึง งู 蛇 – hebi (เฮะบิ) และยังเป็นส่วนหนึ่งของคำว่า 爬虫類- hachuurui (ฮะชูรุย) ที่หมายถึง สัตว์เลื้อยคลาน ซึ่งรวมถึงสัตว์ในตำนานอย่างมังกรด้วย
สำหรับจีนโบราณคิดว่ารุ้งมีลักษณะเหมือนมังกร และตัวอักษรคันจิ 工 - kou (โค) ก็อธิบายถึงการเคลื่อนไหวที่กำลังพุ่งทะลุผ่านไป และรุ้งก็คือมังกรที่พุ่งผ่านท้องฟ้านั่นเอง
上下 – jouge (โจเกะ) หมายถึง ขึ้นลง (up down)
คำนี้จำง่ายมาก เมื่อโยนขึ้นไป 上 (ขึ้น) มันก็จะตกลงมา 下 (ลง)
凸凹 – dekoboko (เดะโคะโบะโคะ) หมายถึง ขรุขระ (bumps)
ลองนึกถึงเกมเตตริส (Tetris) ดูสิ เราอาจจะจำคำนี้ได้แม่นเลย
ภาพปก : Stocksnap