ประเทศแคนาดาใช้ภาษาอังกฤษกับภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาราชการ การรู้คำศัพท์ สำนวนภาษาอังกฤษในแบบฉบับแคดานาจะทำให้เราได้เรียนรู้ความคิดและวัฒนธรรมที่แตกต่างกับประเทศอื่นๆ ในแถบอเมริกาเหนือที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักด้วยเช่นกัน
loonie (ลูนนี่) = เหรียญ 1 ดอลลาร์
loonie คือ เหรียญ 1 ดอลลาร์แคนาดา มาจากคำว่า loon ที่หมายถึง นกน้ำลายดำ ซึ่งเป็นตราสลักอยู่บนเหรียญ นอกจากเหรียญ 1 ดอลลาร์แล้ว ยังมีเหรียญ 2 ดอลลาร์ และเหรียญเซนต์ด้วย สำหรับเหรียญ 2 ดอลลาร์แคนาดาเรียกว่า toonie (ทวูนนี่) มาจาก loonie x 2 (two)
**นกลายน้ำ (red-throated loon) มีถิ่นอาศัยและพบเห็นได้ในแคนาดา แต่ก็ยังไม่มากพอที่จะกำหนดให้เรียกว่าเป็นนกประจำชาติของแคนาดา**
ABM = ATM
ABM ย่อมาจาก Automatic Banking Machine เป็นเครื่องกดเงินสดอัตโนมัติ ซึ่งก็คือ ATM (Automatic Teller Machine) อย่างที่เรารู้จักคุ้นเคยกันดี อย่างไรก็ตามถึงที่แคนาดาจะใช้ ABM กันเป็นปกติทั่วไป แต่ถ้าเราไปเรียก ATM ส่วนใหญ่ก็เข้าใจนะ
stagette = ปาร์ตี้สละโสด
ในวัฒนธรรมต่างชาติก่อนจัดพิธีมงคลสมรส จะมีการจัดงานฉลองให้ทั้งฝ่ายเจ้าบ่าวเจ้าสาวเป็นการทิ้งทวนความโสดกันก่อน เรียกว่า ปาร์ตี้สละโสด โดยฝ่ายชายเรียกว่า stag party หรือ bachelor party ส่วนทางฝ่ายหญิงเรียกว่า Hen Party หรือ Bachelorette Party แต่ในบางพื้นที่ของแคนาดาจะใช้ว่า stagette ซึ่งมาจากคำว่า stag นั่นเอง
** bachelorette เป็นสรรพนามที่ใช้เรียกแทนสาวโสดในภาพยนตร์คอมเมดี้ของอเมริกาเรื่อง “Bachelorette” ที่มีชื่อเรื่องภาษาไทยชวนสะดุดหูว่า “ปาร์ตี้ชะนี โชคดีมีผัว”**
poutine (พูทีน) = เฟรนฟรายชีส
poutine เป็นของกินพื้นเมืองของแคนาดา ประกอบไปด้วยเฟรนฟรายคลุกเคล้าชีสแล้วราดด้วยน้ำเกรวี่
อาหารพื้นเมืองของแคนาดานอกจาก poutine แล้วยังมี butter tart และ nanaimo bar ของหวานประเภทช็อกโกแลตที่ไปแคดานาแล้วห้ามพลาดเด็ดขาด
bunnyhug = สเวตเตอร์มีฮู้ด
ที่แคนาดา โดยเฉพาะรัฐแคตเชวันจะเรียกเสื้อสเวตเตอร์มีฮู้ดว่า bunnyhug ถ้าเป็นภาษาอังกฤษแบบอเมริกันจะเรียกว่า hoodie หรือ hoody
tuque = หมวกถักไหมพรม
tuque หมวกถักไหมพรมขนาดเล็กพอดีศีรษะ เป็นคำมาจากภาษาฝรั่งเศส ซึ่งที่แคนาดาใช้เป็นภาษาราชการร่วมกับภาษาอังกฤษ ดังนั้นจะพบเห็นอิทธิพลของภาษาฝรั่งเศสได้ในคำต่างๆ
depanneur = ร้านสะดวกซื้อแบบแคนาดา / ร้านค้าขนาดเล็ก
depanneur เป็นคำภาษาฝรั่งเศส ใช้กันมากในเขตพื้นที่ที่ส่วนใหญ่พูดภาษาฝรั่งเศส หมายถึง ร้านค้าขนาดเล็กที่ขายของจุกจิกจิปาถะ มีความหมายคล้ายกับ convenience store
แต่ depanneur ในความหมายของภาษาฝรั่งเศส หมายถึง ช่างซ่อม ดังนั้นในความหมายว่า “ร้านค้าขนาดเล็ก” จะใช้เฉพาะที่แคนาดาเท่านั้น
double-double = การดื่มกาแฟแบบแคนาดา
double-double คือการชงกาแฟที่ใส่น้ำตาล 2 ช้อน ครีม 2 ช้อน ซึ่งเป็นการดื่มกาแฟในแบบของแคนาดา
มาลองสั่งกาแฟแบบแคนาดากันเถอะ
A : Can I take your order? (สั่งเครื่องดื่มเลยไหมคะ?)
B : Yes, I’ll have a medium double-double. (ค่ะ ขอ double-double ขนาดกลางค่ะ)
ตามปกติที่เรารู้กันว่าภาษาอังกฤษมีทั้งภาษาอังกฤษแบบบริติชและภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน แต่คราวนี้เพิ่มเลเวลความรู้มาดูภาษาอังกฤษแบบแคนาเดียนที่มีความหมายและวิธีการใช้เฉพาะที่แคนาดาเท่านั้นกันค่ะ
hydro = ไฟฟ้า
คำว่า hydro ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน หมายถึง “ไฟฟ้าพลังน้ำ” หรือ “โรงไฟฟ้าพลังน้ำ” แต่สำหรับภาษาอังกฤษแบบแคนาดาจะใช้ในความหมายว่า “ไฟฟ้า” (electricity)
riding = เขตการเลือกตั้ง
riding ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน หมายถึง ขี่ม้า แต่ภาษาอังกฤษแบบแคนาดา หมายถึง “เขตการเลือกตั้ง” (electoral district)
**คำว่า constituency ในภาษาอังกฤษแบบแคนาดาก็มีความหมายว่า เขตการเลือกตั้ง เช่นเดียวกับ riding
dart = บุหรี่
dart ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน หมายถึง เกมปาเป้า แต่ในภาษาอังกฤษแบบแคดานา หมายถึง บุหรี่ (cigarette) และสูบบุหรี่ (smoke a cigarette) ที่แคนาดาจะพูดว่า hack a dart
keener = คนที่กระตือรือร้น
keener ในภาษาอังกฤษแบบอเมริกัน หมายถึง คนที่ร้องไห้อยู่กับการไว้ทุกข์ แต่สำหรับในภาษาอังกฤษแบบแคนาดานั้นมีความหมายต่างกันอย่างสิ้นเชิง โดยจะหมายถึง คนที่มีความกระตือรือร้น มีความสนใจอยู่ในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง และยังเคยใช้พูดถึง เด็กนักเรียนที่มักจะตอบคำถามของคุณครูในห้องเรียนบ่อยๆ
sook = คนขี้แย
sook เป็นคำที่สื่อความหมายถึง คนขี้ขลาด คนขี้แย และสามารถใช้ในความหมายถึง ผู้ใหญ่ที่ทำตัวเป็นเด็กๆ ด้วย
แต่สำหรับในภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเป็นคำที่หมายถึง ปูตัวเมีย ที่พบเห็นได้ยาก
sook ในความหมายว่า คนขี้แย นอกจากที่แคดานาแล้ว ยังใช้ในออสเตรเลียและนิวซีแลนด์ด้วย