ในการบอกเพียงละติจูด เช่น จุดที่หนึ่งอยู่ที่ละติจูด ๑๐ องศาเหนือ และ จุดที่สองอยู่ที่ละติจูด ๒๐ องศาเหนือ ก็เท่ากับบอกเพียงว่าจุดที่สองอยู่เหนือจากเส้นศูนย์สูตรมากกว่าจุดที่หนึ่ง ๑๐ องศา อย่างเดียวแต่เรายังบอกไม่ได้ว่าจุดที่สองอยู่ทิศตะวันออกหรือทิศตะวันตกของจุดที่หนึ่งเราจึงต้องวัดหาลองจิจูดซึ่งมีหลักหรือวิธีการหาดังนี้
ถ้าที่จุดใดจุดหนึ่งบนผิวโลกเราตั้งเสาให้ได้ดิ่งขึ้นเงาของเสานั้นจะอยู่ทางทิศตะวันตกของเสาในเวลาเช้า และ จะอยู่ทางทิศตะวันออกของเสาในเวลาบ่ายมีอยู่เวลาหนึ่งที่เงาอยู่ในแนวเหนือ และ ใต้ ซึ่งตรงกับเวลาเที่ยงวัน และ เป็นเวลาเดียวกันสำหรับจุดทั้งหมดที่อยู่ในแนวเหนือ และ ใต้ของจุด ๆ นั้นวงกลมใหญ่ซึ่งผ่านขั้วโลกทั้งสองขั้ว และ ผ่านจุดที่กำหนดให้เรียกว่าเมริเดียน (meridian) และ เป็นเวลาเที่ยงวันที่จุดทุก ๆ จุดซึ่งอยู่บนเมริเดียนนี้
สมมุติว่าเราตั้งนาฬิกาเชิงกลซึ่งเดินถูกต้องดีที่จุดซึ่งกำหนดไว้ให้อ่านเที่ยงวันแล้วยกไปตั้งไว้อีกแห่งหนึ่งเมื่อถึงเที่ยงวันอ่านนาฬิกาเป็นเวลาเท่าใดความแตกต่างกันในเวลาที่อ่านได้ขณะเที่ยงวันที่จุดที่สองจะเป็นสัดส่วนได้สัมพันธ์กันกับเส้นรอบวงของโลกระหว่างจุดแรกกับจุดที่สอง เช่น อยู่ทางตะวันออกหรือตะวันตกซึ่งกัน และ กัน เช่น นาฬิกาอ่าน ๑๕ นาฬิกา เมื่อมาถึงจุดที่สองเมริเดียนซึ่งผ่านจุดที่สองจะเป็น ๑/๘ ของรอบโลกจากจุดแรกไปทางตะวันตกซึ่งเป็นจำนวนแน่นอน
เพื่อให้การเปรียบเทียบบอกเวลามีระเบียบก็ต้องมีศูนย์การตั้งต้นวัดเวลาโดยทั่วไปนิยมการแบ่งเส้นศูนย์สูตร (ตั้งต้นที่เมริเดียนมาตรฐานผ่านเส้น ศูนย์สูตร) นับไป ๑๘๐ องศาตะวันออก และ ๑๘๐ องศาตะวันตกถือเอาเมริเดียนซึ่งผ่านกรีนิช Greenwich) เป็น ๐ องศา
เมื่อตั้งนาฬิกาตามเวลากรีนิชแล้ววัดเวลาเที่ยงวันที่จุดต่าง ๆ ก็จะคำนวณลองจิจูดของแต่ละจุดนั้น ๆ ได้ ๑๕ องศาของลองจิจูดเท่ากับเวลา ๑ ชั่วโมง เพราะโลกหมุนรอบตัวตามแกนรอบวง ๓๖๐ องศา ใน ๒๔ ชั่วโมง
การหาตำแหน่งจุดในสมัยนั้นจึงมีความต้องการใช้นาฬิกาที่แม่นยำโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับการหาลองจิจูด