อาหารไก่
อาหารเป็นค่าลงทุนสูงสุดของการเลี้ยงไก่ ไก่ต้องการอาหารที่มีคุณค่าทางพลังงาน ซึ่งวัดเป็น แคลอรี หรือกิโลแคลอรี ต่ออาหารผสมน้ำหนัก ๑ กก. ทางโปรตีน ซึ่งวัดเป็นร้อยละของโปรตีน รวมในอาหาร ทางแร่ธาตุต่างๆ ซึ่งวัดเป็นปริมาณน้ำหนักในอาหาร ทางวิตามิน ซึ่งวัดเป็นปริมาณ หน่วย หรือหน่วยน้ำหนักในอาหาร
พลังงานในอาหารมาจากอาหารแป้ง ได้แก่ ปลายข้าว ข้าวโพด ข้าวฟ่าง มันสำปะหลังชนิดเส้นหรืออัดเม็ด รำข้าว และจากไขมันต่างๆ ที่มีปนตัวอาหารอยู่ในรูปน้ำมันหรือไขสัตว์ ค่าของพลังงานเราวัดโดยความร้อนที่เกิด เมื่อเผาไหม้ จึงได้ค่าความร้อนเป็นแคลอรี แต่การเผาผลาญในตัวสัตว์ จะสมบูรณ์เท่ากับการเผาไหม้ไม่ได้ ไก่จึงได้ใช้เฉพาะพลังงานใช้ประโยชน์ในร่างกายได้ เป็นส่วนที่สัตว์นำไปใช้ประโยชน์ได้จริงๆ ส่วนพลังงานที่เหลือถ่ายทิ้งไปกับมูลไก่
โปรตีนในอาหารมาจากเนื้อ ปลา และ ถั่ว เป็นสำคัญ เศษเนื้อและเครื่องในจากโรงฆ่าสัตว์อบ แห้งแล้วบดใช้เป็นอาหารไก่ ปลาที่ราคาต่ำเรียกว่า ปลาเป็ดเมื่อบดอบให้แห้งก็เป็นอาหารโปรตีนอย่าง ดีของไก่ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง เมล็ดฝ้าย เมล็ดนุ่น เมล็ดงา ที่สกัดน้ำมันพืชแล้ว ก็เป็นอาหารโปรตีน ของไก่ คุณภาพของโปรตีนขึ้นอยู่กับองค์ประกอบ ย่อยเรียกว่า กรดอะมิโน ซึ่งมีอยู่หลายชนิด แต่ไก่มักต้องการกรดอะมิโนที่มีกำมะถัน เช่น เมไทโอนีน ในปริมาณสูงกว่าที่มีในกากถั่วต่างๆ เพื่อการเติบโต และเพื่อสร้างขน ไลซีนเป็นกรดอะมิโน อีกตัวหนึ่งที่ไก่ไข่ต้องใช้มากเพื่อสร้างขน
"เรโช แคลอรี/โปรตีน" คือ อัตราส่วนของพลังงานใช้ประโยชน์ภายในร่างกายได้ ในอาหาร ๑ กก. กับปริมาณโปรตีน คิดเป็นร้อยละในอาหารนั้น ซึ่งเป็นตัวเลขต่างหน่วยกัน จึงนับเป็นอัตราส่วนไม่แท้ แต่ปรากฏว่า ให้ประโยชน์แก่นักโภชนศาสตร์ของไก่มาก ในการจัดสูตรอาหารให้พอดีแก่ความต้องการของไก่แต่ละอายุ แต่ละจุดประสงค์ ไม่มีอาหารส่วนเกินต้องการที่สัตว์มักทิ้งไปโดยเปล่าประโยชน์ ทำให้สามารถประหยัดค่าอาหารโดยไม่เสียผล
ความต้องการโภชนะในอาหารผสม ในอายุ/จุดประสงค์ต่างๆ
๑. กรดอะมิโน (% ตามน้ำหนักอาหารแห้ง) ตามความต้องการขั้นต่ำ
ลูกไก่ | ไก่ไข่ | |
๐-๔ | อาทิตย์ | |
อาจินีน ไลซีน ฮิสติดีน ไอโซลูซีน ลูซีน เมไทโอนีน+ซีสติน๓ ฟีนิลอะลานีน+ไทโรซีน๓ ทรีโอนีน ทริพโตแฟน แวลีน |
๐.๘ |
- |
๒. วิตามินต่างๆ ที่ควรมีในอาหารไก่ตามภาวะต่างๆ (ต่ออาหาร ๑ กก.)
ชนิดของวิตามิน |
ลูกไก่และไก่กระทง ระยะแรก |
ลูกไก่และไก่กระทง ระยะหลัง |
ไก่ไข่ | ไก่พันธุ์ | ||
สภาพปกติ | สภาพเครียด | สภาพปกติ | สภาพเครียด | สภาพปกติ | สภาพเครียด | |
วิตามิน เอ, หน่วย วิตามิน ดี ๓, หน่วย วิตามิน อี, หน่วย วิตามิน เค ๓, มก. วิตามิน บี ๑, มก. วิตามิน บี ๒, มก. ไนอาซีน, มก. กรดแพนโทเทนิก, มก. วิตามิน บี ๖ วิตามิน บี ๑๒, มก. กรดโฟลิก, มก. ไบโอติน, มก. โคลีน, มก. วิตามิน ซี, มก. |
๑๕,๐๐๐ ๑,๕๐๐ ๓๐ ๓ ๓ ๘ ๕๐ ๒๐ ๗ ๐.๐๓ ๑.๕ ๐.๑๕ ๑,๕๐๐ ๑๕๐ |
๒๐,๐๐๐ ๒,๒๐๐ ๖๐ ๘ ๓ ๘ ๕๐ ๒๐ ๗ ๐.๐๓ ๑.๕ ๐.๑๕ ๑,๕๐๐ ๑๕๐ |
๑๐,๐๐๐ ๑,๒๐๐ ๒๕ ๒ ๓ ๖ ๔๐ ๑๒ ๕ ๐.๐๒ ๑.๒ ๐.๑๕ ๑,๓๐๐ ๖๐ |
๑๕,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๕๐ ๘ ๓ ๖ ๔๐ ๑๒ ๕ ๐.๐๒ ๑.๒ ๐.๑๕ ๑,๓๐๐ ๖๐ |
๑๐,๐๐๐ ๒,๐๐๐ ๓๐ ๒ ๓ ๖ ๔๐ ๑๕ ๕ ๐.๐๑๕ ๑.๕ ๐.๒ ๑,๑๐๐ ๒๐๐ |
๑๕,๐๐๐ ๓,๐๐๐ ๖๐ ๘ ๓ ๖ ๔๐ ๑๕ ๕ ๐.๐๑๕ ๑.๕ ๐.๒ ๑,๑๐๐ ๒๐๐ |
แหล่งที่มา : Vitamin Compendium, Roche, 1976, p.34.
๓. พลังงาน พลังงานใช้ประโยชน์ต่อวัน (กิโลแคลอรี/ตัว) สำหรับไก่ไข่
การไข่ของฝูง |
น้ำหนักตัวไก่ (กก.) |
||||
เพื่อดำรงชีวิต เพื่อดำรงชีวิตและการไข่ |
- ๒๐ % ๔๐ % ๖๐ % ๘๐ % |
๑.๔ ๑๖๕ ๑๙๐ ๒๒๐ ๒๔๕ ๒๗๐ |
๑.๘ ๒๓๐ ๒๕๕ ๒๘๐ ๓๐๕ ๓๓๐ |
๒.๓ ๒๘๕ ๓๑๕ ๓๓๕ ๓๖๐ ๓๘๕ |
๒.๗ ๒๓๕ ๓๖๐ ๓๘๕ ๔๑๐ ๔๓๕ |
๔. แร่ธาตุต่างๆ ในอาหาร ๑ กก.
ไก่กระทงระยะแรก และลูกไก่ ๐-๔ อ. |
ไก่กระทงและลูกไก่ ระยะหลัง |
ไก่ไข่ | ไก่พันธุ์ | |
แคลเซียม % ฟอสฟอรัส % คลอรีน % โพแทสเซียม % โซเดียม % ทองแดง มก./กก. ไอโอดีน เหล็ก แมกนีเซียม แมงกานีส สังกะสี มก./กก. |
๒.๒ ๑.๑ ๐.๓๓ ๐.๘๘ ๐.๓๓ ๑๑ ๐.๓๗ ๘๘ ๕๕๐ ๕๕ ๔๔ |
๑.๗๖ |
๘.๑๔ |
๘.๑๔ ๑.๒๑ ๐.๓๓ ๐.๘๘ ๐.๓๓ ๑๑ ๐.๓๓ ๔๔ ๕๕๐ ๓๓ ๒๒ |
หมายเหตุ
๑. ความต้องการอาหารแร่ธาตุย่อมเปลี่ยน แปลงตามจำนวนพลังงานในอาหาร ในที่นี้ถือเกณฑ์จากอาหารปกติซึ่งมี ๒,๘๐๐ กิโลแคลอรี ของพลังงานใช้ ประโยชน์ต่อกิโลกรัม
๒. ไก่ไข่ ในฤดูร้อนต้องการพลังงานต่ำ ลงราว ๕% และสูงขึ้นราว ๕% ในฤดู หนาว
การหาเปอร์เซ็นต์การไข่ = (จำนวนไข่ที่ได้ / จำนวนไก่ในเล้า ) x ๑๐๐
๓. เมไทโอนีนแทนด้วยซีสตินได้ไม่เกิน ๔๐% และฟีนีลอะลานีนแทนด้วย ไทโรซีนได้ไม่เกิน ๕๐%
๔. ปริมาณวิตามินอี ที่ต้องการสำหรับไก่ ยังไม่มีตัวเลขแน่นอน ๕. ไก่ไข่ต้องการแคลเซียมตามปริมาณ การไข่ เช่น ตัวละ ๒ กรัมต่อวัน สำหรับการไข่ ๔๐% และตัวละ ๔ กรัมต่อวัน สำหรับการไข่ ๘๐%
๕. ตัวอย่างแบบหนึ่งของการให้อาหารตั้งแต่ไก่เล็กจนไก่ใหญ่
อายุอาทิตย์ | ชนิดอาหาร | ที่ต้องเสริมพิเศษ เปลือกหอยหรือหินปูน |
๐-๘ ๘-๒๐ ๘-๒๐ ไก่ไข่ |
อาหารลูกไก่ โปรตีนไม่ต่ำกว่า ๒๐–๒๒ % อาหารป่นสำหรับไก่รุ่น โปรตีน ๑๖ % อาหารป่นกับอาหารหยาบ โดยให้อาหารป่นที่มีโปรตีน ๒๐ % ตั้งไว้ให้กินตลอดเวลา ส่วนอาหารหยาบใส่รางอาหารหรือ โปรยลงพื้นคอกมีให้กินได้ตลอดเวลา หรือวันละครั้ง อาหารป่นล้วน โปรตีน ๑๖–๑๗ % หรืออาหารป่นล้วน โปรตีน ๒๐% ผสมอย่างละครึ่งกับอาหารหยาบ |
ไม่ต้อง ไม่ต้อง ไม่ต้อง ตั้งไว้ตลอดเวลา |
วัตถุดิบ |
ไก่ ๑ อายุ ๐-๔ สัปดาห์ | ไก่ ๒ อายุ ๔-๘ สัปดาห์ | ไก่ ๓ ไก่รุ่น | ไก่ไข่ | ไก่พันธุ์ | ไก่ขุน | เป็ดรุ่น | เป็ดไข่ | ลูกนกกระทา ๐-๔ สัปดาห์ | นกกระทาไข่ | นกกระทาขุน | ห่าน |
ข้าวโพด ปลายข้าว รำหยาบ รำละเอียด กากน้ำตาล กากถั่วเหลือง กากเมล็ดนุ่น ใบกระถินป่น ปลาป่น กระดูกป่น ไดแคลเซียมฟอสเฟต เปลือกหอยป่น เกลือ น้ำมันพืช วิตามิน + แร่ธาตุ เมไทโอนีน รวม (กิโลกรัม) |
๔๖.๐ - - ๑๕.๐ - ๒๒.๐ - ๓.๐ ๑๒.๐ ๑.๑ - - ๐.๓๐ - ๐.๕ ๐.๑๐ ๑๐๐ |
๔๘.๐ - - ๒๐.๐ - ๑๘.๐ - ๓.๐ ๙.๐ ๑.๑ - - ๐.๓๕ - ๐.๐๕ ๐.๐๕ ๑๐๐ |
๔๔.๐ - - ๓๐.๐ - ๘.๐ ๕.๐ ๔.๕ ๕.๐ ๑.๕ - ๑.๐ ๐.๕ - ๐.๕ - ๑๐๐ |
๓๘.๐ - - ๒๔.๐ ๓.๐ ๑๒.๐ - ๕.๐ ๘.๐ ๒.๐ ๑.๐ ๖.๐ ๐.๕ - ๐.๕ - ๑๐๐ |
๔๐.๐ - - ๒๕.๐ - ๑๒.๐ - ๓.๔ ๑๐.๐ ๓.๕ - ๕.๐ ๐.๕ - ๐.๕ ๐.๑ ๑๐๐ |
๗๕.๐ - - - - ๘.๐ ๓.๐ ๕.๐ ๕.๐ ๑.๒ - ๒.๐ ๐.๓ - ๐.๕ - ๑๐๐ |
- ๑๐.๐ ๖๙.๕ ๑๐.๐ - - - ๔.๐ - - - ๕.๕ - - ๑.๐ - ๑๐๐ |
๒๐.๐ ๒๐.๐ ๒๙.๕ - - ๑๒.๐ - - ๑๒.๑ ๑.๘ - ๓.๖ ๐.๕ - ๐.๕ - ๑๐๐ |
๒๙.๐ ๗.๐ - ๘.๐ - ๓๑.๐ - ๓.๕ ๑๘.๐ - ๑.๐ - ๐.๕ ๑.๐ ๑.๐ - ๑๐๐ |
๒๙.๐ ๘.๐ - ๑๐.๐ - ๒๓.๕ - ๔.๐ ๑๖.๐ ๑.๐ - ๗.๐ ๐.๕ - ๑.๐ - ๑๐๐ |
๓๙.๐ ๓๙.๐ - ๑๘.๕ - - - - - ๑.๐ - - ๐.๕ ๒.๐ - - ๑๐๐ |
๔๒.๐ ๑๖.๐ - ๒๐.๐ - - - - ๖.๐ ๒.๐ - - ๐.๕ ๑.๐ - - ๑๐๐ |
เปอร์เซ็นต์โปรตีน โดยการคำนวณ |
๒๒.๖๙ |
๒๐.๒๕ |
๑๖.๒๙ |
๑๗.๑๙ |
๑๘.๐๗ |
๑๕.๒๕ |
๑๐.๒๕ |
๑๗.๙๔ |
๒๖.๙๗ |
๒๔.๐๑ |
๙.๒๔ |
๑๕.๗๑ |
ผู้คำนวณ ผศ. ดร. ประทีป ราชแพทยาคม, มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ชนิด |
ลูกไก่เล็ก |
ไก่รุ่น |
ไก่ขุน |
ไก่ไข่ |
ไก่ผสมพันธุ์ |
เอ ดี ๓ (๕๐๐/๑๐๐) บี ๑ (ไทอามินไฮโดรคลอไรด์) บี ๒ (ไรโบฟลาวิน) ไนอาซิน แพนโทเทนิก บี ๑๒ โคลีนคลอไรด์ (๕๐%) อี ๒๕ ซี เค เอ อะซิเตต |
๕.๐ |
๓.๐ |
๒.๐ |
๓.๐ |
๔.๐ |
รวมวิตามิน | ๑๙๐.๐ | ๑๑๕.๐ | ๗๐.๕ | ๑๔๘.๕ | ๒๒๐.๐ |
แมงกานีสซัลเฟต ซิงค์ออกไซด์ เหล็กซัลเฟต คอพเพอร์ซัลเฟต โคบอลต์ซัลเฟต โพแทสเซียมไอโอไดด์ |
๒๒.๐ ๘.๐ ๑๕.๐ ๑๐.๐ ๑.๐ ๒.๐ |
๑๕.๐ ๕.๐ ๑๐.๐ ๕.๐ - ๑.๐ |
๑๒.๐ ๕.๐ ๘.๐ ๑.๐ - ๑.๐ |
๒๐.๐ ๘.๐ ๑๕.๐ ๑.๐ - ๑.๐ |
๒๐.๐ ๘.๐ ๑๐.๐ ๕.๐ ๑.๐ ๑.๐ |
รวมแร่ธาตุ | ๕๘.๐ | ๓๖.๐ | ๒๗.๐ | ๔๕.๐ | ๔๕.๐ |
ยาผสม เปลือกหอยป่น กากถั่วเหลือง |
๗๐.๐ ๗๒.๐ ๑๑๐.๐ |
๖๐.๐ ๑๐๔.๐ ๑๘๕.๐ |
๙.๐ ๗๓.๐ ๓๒๐.๕ |
๒๐.๐ ๕๕.๐ ๒๓๑.๕ |
๑๕๕.๐ - ๘๐.๐ |
รวมอื่น ๆ | ๒๕๒.๐ | ๓๔๙.๐ | ๔๐๒.๕ | ๓๐๖.๕ | ๒๓๕.๐ |
รวม | ๕๐๐ | ๕๐๐ | ๕๐๐ | ๕๐๐ | ๕๐๐ |
ภาควิชาสัตวบาล มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ตารางความต้องการโภชนะในอาหารผสมในอายุ / จุดประสงค์ต่างๆ
จำนวนพลังงานที่ควรจะให้มีอยู่ในอาหาร ย่อมขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์โปรตีน ชนิดสัตว์ อายุ และประโยชน์
ที่จะได้จากสัตว์นั้นๆ ดังตารางต่อไปนี้
อาหารสำหรับ | โปรตีน | พลังงานใช้ประโยชน์ กิโลแคลอรี / กก. |
เรโช แคลอรี / โปรตีน เทียบจาก กก. |
ไก่ ลูกไก่ ไก่รุ่น ไก่ไข่ (ปล่อยเล้า) ไก่ไข่ (ขังกรงตับ) ไก่พันธุ์ ไก่กระทง ๐-๕ อ. ๖–๑๐ อ. ไก่งวง ลูกไก่ ๐-๔ อ. ไก่รุ่น ๕-๘ อ. ๙–๑๖ อ. ๑๗–๒๒ อ. ไก่กระทงระยะปลาย (หลัง ๒๓ อ.) ไก่พันธุ์นอกฤดูผสมพันธุ์ ไก่พันธุ์ในฤดูผสสมพันธุ์ ห่าน ๐-๓ อ. ๔ อ. ขึ้นไป ห่านพันธุ์ เป็ด ลูกเป็ด ๒ อ. เป็ดรุ่น ๓ อ. ขึ้นไป เป็ดพันธุ์ |
๒๑ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๑๖ ๒๔ ๒๐ ๒๘ ๒๕ ๒๐ ๑๗ ๑๔ ๑๕ ๑๖ ๑๙ ๑๔ ๑๐ ๑๘ ๑๖ ๑๖ |
๓๐๐๐ ๓๑๐๐ ๓๑๐๐ ๓๒๕๐ ๓๐๐๐ ๓๑๐๐ ๓๒๐๐ ๒๗๐๐ ๒๕๐๐ ๓๐๐๐ ๓๑๐๐ ๓๒๕๐ ๒๕๕๐ ๓๐๐๐ ๓๐๕๐ ๓๑๕๐ ๒๘๐๐ ๒๘๕๐ ๓๐๕๐ ๒๙๐๐ |
๑๔๐ ๑๗๘ ๒๐๐ ๑๙๑ ๑๘๙ ๑๓๐ ๑๖๓ ๙๕ ๑๐๘ ๑๔๗ ๑๗๖ ๒๔๐ ๑๗๖ ๑๘๓ ๑๕๔ ๒๐๐ ๑๗๘ ๑๕๖ ๑๗๘ ๑๘๐ |