หลักการแบ่งจำพวกของปลา
เนื่องจากในโลกเรานี้มีปลาชนิดต่างๆ อยู่มากกว่า ๒๐,๐๐๐ ชนิด นักวิทยาศาสตร์จึงได้หาวิธีการจำแนกแยกชนิดของปลา ออกเป็นจำพวก และเป็นชนิดต่างๆ เช่น
๑) แบ่งออกตามถิ่นฐานที่อยู่อาศัยและการแพร่กระจายของปลา ทางด้านนิเวศวิทยานี้ เราอาจแบ่งปลาชนิดต่างๆ ออกเป็นประเภทต่างๆ ได้ดังต่อไปนี้
(๑) ปลาทะเล
เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำที่มีความเค็มสูงกว่าน้ำจืด ปลาทะเลอาจแบ่ง ออกไปได้อีกเป็น ๒ จำพวกคือ
ก) ปลาผิวน้ำ (pelagic fishes) เป็นพวกที่อาศัยในทะเลตั้งแต่ระดับผิวน้ำลงไปถึงระดับ กลางน้ำ เช่น ปลาจำพวกปลาทู ปลาอินทรี ปลาโอ เป็นต้น
ข) ปลาหน้าดิน (demersal fishes) เป็นปลาที่อาศัยและหากินบนพื้นท้องทะเล หรือ อาจจะอยู่เหนือพื้นท้องทะเลเล็กน้อย เช่น ปลากระเบน ปลาตาเดียว ปลาทรายแดง และปลา สีกุน เป็นต้น
หรืออีกวิธีหนึ่งเรายังอาจแบ่งปลาทะเลออกเป็นจำพวกที่อยู่อาศัยในมหาสมุทรหรือทะเล หลวง (oceanic species) เช่น ปลานกกระจอก ปลาโอ ปลาทูนา พวกที่อาศัยและหากินใกล้ฝั่ง เช่น ปลาทู ปลาตามหินปะการัง และปลาที่อาศัยอยู่ในทะเลลึก (abyssal species) ซึ่งแสงแดด ส่องลงไปไม่ถึง
(๒) ปลาน้ำจืด
เป็นปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำจืดตลอดชีวิต อาจแบ่งออกเป็นสองจำพวกใหญ่ๆ คือ ปลาที่อาศัยอยู่ในน้ำนิ่ง เช่น ในบ่อบึง ได้แก่ ปลาสวาย ปลาเทโพ และปลาที่อาศัยใน ลำธารหรือแม่น้ำ เช่น ปลาตะเพียน ปลาเทพา และปลาสร้อย เป็นต้น
(๓) ปลาที่อพยพย้ายถิ่น
เป็นปลาที่วางไข่ในน้ำจืด แต่เดินทางออกไปหาอาหารเพื่อการ เจริญเติบโตในน้ำเค็ม เช่น ปลาตะลุมพุก ปลาแซลมอน หรือปลาที่วางไข่ในทะเลแต่กลับเข้า มาหากินในน้ำจืด เช่น ปลาตูหนา (Anguilla spp.) เป็นต้น
(๔) ปลาที่อาศัยในน้ำกร่อย
เป็นปลาที่ชอบอยู่อาศัยในน้ำที่ไม่ค่อยเค็มอยู่ตลอดชีวิต เช่น ปลาในบริเวณป่าไม้แสม โกงกาง ชายเลนที่มีลำน้ำจืดไหลผ่าน เช่น ในบริเวณปากแม่น้ำ ปลา จำพวกนี้ ได้แก่ ปลานวลจันทร์ทะเล ปลากะพงขาว (Lates calcarifer) ปลากระบอก (Mugil spp.) เป็นต้น
๒) การ
นักวิทยาศาสตร์ได้อาศัยรากฐานเกี่ยวกับรูปซากดึกดำบรรพ์ของปลา ความรู้ทางด้านโครง สร้าง (structure) อวัยวะต่างๆ และการเจริญเติบโตของปลา รวมทั้งความรู้ทางด้านวิวัฒนาการ และพันธวิทยา (genetic) สรีรวิทยา ในการจัดลำดับแสดงความสัมพันธ์ของปลากลุ่มต่างๆ ใน ปัจจุบัน ปลากลุ่มต่างๆ อาจจะแบ่งตามแผนผังกว้างๆ ได้ดังนี้
ตามหลักฐานของ ดร.ฮิวจ์ เอ็ม สมิท (Hugh M.Smith) ผู้ซึ่งมาดำรงตำแหน่งที่ปรึกษาทาง การประมงของรัฐบาลไทย ในระหว่าง พ.ศ. ๒๔๖๖-๒๔๗๘ ได้รายงานปลาน้ำจืดในประเทศไทย ไว้เป็นจำนวนทั้งสิ้น ๔๙ ครอบครัวด้วยกัน เป็นปลาทั้งหมด ๕๖๐ ชนิด สำหรับปลาทะเล หน่วย งานอนุกรมวิธาน (Taxonomic Unit) ของสถานวิจัยประมงทะเล กรมประมง ได้รวบรวม และจำแนกชนิดปลาทะเลไว้ได้มากกว่า ๙๐๐ ชนิด ปลาทะเลที่ได้จำแนกชนิดไว้เหล่านี้ ได้ถูกเก็บ รักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ของสถานวิจัยประมงทะเล และพิพิธภัณฑ์สัตววิทยา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนปลาน้ำจืดส่วนใหญ่ได้เก็บไว้ ณ พิพิธภัณฑ์สัตว์น้ำ ของคณะประมง มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และพิพิธภัณฑ์สัตว์ของสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์ประยุกต์แห่งประเทศไทย
วิวัฒนาการของปลา ตั้งแต่แรกกำเนิดของสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังพวกปลา จนถึงสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังอื่นๆ