เนื้อเพลง
เพลงลูกทุ่งมีเนื้อร้องที่สะท้อนความเป็นไปในสังคม ความคิด การดำเนินชีวิต ค่านิยมและคุณค่าทางด้านสังคม สถาบันชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ พระพุทธศาสนา ความเชื่อ ขนบธรรมเนียมประเพณี การบริโภค และแง่คิดต่างๆ ทั้งที่เป็นคติสอนใจ คำพูดกระทบกระเทียบเสียดสี เป็นเพลงที่สามารถพูดถึงได้ทุกเรื่องทุกเหตุการณ์ เปิดกว้างในการใช้ภาษา ทั้งภาษาชาวบ้าน ภาษากวี และคำแผลง ศัพท์ที่นิยมในช่วงเวลานั้นๆ จึงนับเป็นบันทึกประวัติศาสตร์สังคมไทยในแต่ละยุคสมัยได้เป็นอย่างดี
ตัวอย่างเนื้อเพลงที่บรรยายสะท้อนวิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวชนบท เช่น |
|
ตัวอย่างเพลงที่สะท้อนเหตุการณ์ของสภาพชีวิตความเป็นอยู่ เช่น ![]()
|
นอกจากนี้เพลงลูกทุ่งยังมีเนื้อหาของการใช้ถ้อยคำภาษาที่เข้าใจง่าย ไม่ต้องแปลความหมาย มีการสรรหาคำกระทบกระเทียบ เปรียบเปรย ประชดประชัน ใช้ถ้อยคำคารมคมคายถูกใจผู้ฟัง และมีการใช้คำคล้องจอง คำสัมผัส ภาษาที่ปรากฏ มีแหล่งที่มา ที่หลากหลาย ทั้งภาษาของภาคกลาง อีสาน เหนือ และใต้ โดยใช้ศัพท์ สำนวน สำเนียง ภาษาถิ่น ซึ่งแตกต่างกันไป ตามลักษณะของเพลงหรือตามสำเนียงของนักร้อง เช่น เสียงเหน่อแบบชาวสุพรรณบุรีของ สุรพล สมบัติเจริญ ถือได้ว่า การขับร้องด้วยสำเนียงถิ่นต่างๆ นั้น เป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของเพลงลูกทุ่ง และมักออกเสียงเพี้ยนไปจากเสียงวรรณยุกต์ ของภาษามาตรฐาน อาจเนื่องมาจากเป็นสำเนียงที่มากับตัวนักร้องเอง หรือเพื่อให้ดูโดดเด่นเป็นเอกลักษณ์ นักร้องแต่ละคนจึงต้องมีลีลาการร้องเฉพาะตัว เพื่อสร้างจุดสนใจ เช่น ชาย เมืองสิงห์ มีการออกเสียงนาสิก ฟังคล้ายเสียงบีบจมูก หรือรุ่งเพชร แหลมสิงห์ ในเพลง ฝนเดือนหก "ย่างเข้าเดือนหก ฝนก็ตกพรำพรำ" รุ่งเพชร ออกเสียงคำว่า ตก เป็น ต๊ก ซึ่งมีการเพี้ยนเสียงวรรณยุกต์ เอกชัย ศรีวิชัย ร้องเพลง โดยใช้สำเนียงภาคใต้ บางครั้งแม้นักร้องจะไม่ใช่คนพื้นถิ่นนั้น แต่ผู้แต่งเพลงก็แต่งให้นักร้องออกสำเนียงถิ่นนั้นไปด้วย ตัวอย่างเพลงที่มีศัพท์สำนวนภาษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ![]()
ตัวอย่างเพลงที่แทรกขนบธรรมนียมประเพณีไทย หรือคำสอนทางพระพุทธศาสนา ![]()
|