เรือนไทยภาคเหนือ ![]()
|
|
เรือนมีรูปร่างลักษณะแบบแผนของแต่ละหลังแน่นอน และคล้ายคลึงกันเป็นส่วนใหญ่ จะแตกต่างกันบ้าง เช่น ขนาดของเรือน การวางครัว การจัดชาน แบบฝาแต่ละชนิด และการวางบันได รวมทั้งส่วนปลีกย่อยอื่นๆ เล็กน้อยเท่านั้น
|
|
เรือนประเภทนี้ มีวิธีการก่อสร้าง และ ฝีมือช่างที่ละเอียดประณีต เป็นเรือนที่ถาวร และทนทาน มีอายุอยู่ได้ถึง ๑๐๐ ปีขึ้นไป จะพบได้ในเขตอำเภอเมือง และอำเภอใกล้เคียง ในจังหวัดเชียงใหม่ และในจังหวัดลำปาง เรือนประกอบด้วย อาคารอย่างน้อย ๒ หลัง หลังใหญ่ใช้เป็นที่หลับนอน มีห้องนอน และระเบียง (เติ๋น) ส่วนหลังเล็กใช้ทำเป็นครัวปรุงอาหาร เชื่อมเรือนทั้งสองด้วยชาน ด้านหนึ่งของชานเป็นบันได และร้านน้ำ (ร้านน้ำ คือ เรือนหลังเล็กๆ มีหลังคา อยู่ริมนอกชานชั้นบน ใช้สำหรับตั้งตุ่มน้ำดื่ม)
|
เรือนชั่วคราว หรือเรือนเครื่องผูก ภาษาพื้นเมืองเรียกว่า "ตูบ" หมายถึง เรือนที่สร้างขึ้นด้วยไม้ไผ่เป็นส่วนใหญ่ ใช้เสาไม้ไผ่ พื้นทำด้วยไม้สาน หรือฟากสับ ฝาทำด้วยไม้ไผ่ขัดแตะ หรือแผงไม้ซางสานเป็นลายต่างๆ เช่น ลายอำ โครงหลังคาก็ทำด้วยไม้ไผ่เช่นกัน การยึดโครงสร้างต่างๆ คล้ายเรือนพื้นบ้านภาคกลาง เรียกว่า เรือนเครื่องผูก ใช้วิธีเจาะรู และฝังเดือย ผูกด้วยตอกหรือหวาย หลังคามุงด้วยหญ้าคา หรือใบตองตึง มีห้องนอน ๑ ห้อง ไม่แยกเรือนครัวออกจากเรือนนอน ใช้เป็นสิ่งปลูกสร้างชั่วคราว เช่น กระต๊อบเฝ้าทุ่ง หรือสร้างเป็นเรือนชั่วคราว สำหรับครอบครัวหนึ่งๆ ก่อนที่จะสร้างเรือนถาวรขึ้นภายหลัง ![]()
![]()
|
|
เรือนถาวรหรือเรือนไม้จริง
|
ตัวเรือน ประกอบด้วยห้องนอน เป็นห้องสี่เหลี่ยมตั้งอยู่ด้านในสุดของเรือน ปิดด้วยฝาสี่ด้าน ส่วนบนเว้นช่องระบายอากาศ ไม่นิยมเจาะหน้าต่าง อาจมีบางหลังเจาะไว้เป็นช่องเล็กๆ บ้าง มีประตู ๑ บาน พื้นใช้ไม้จริงปูเรียบ
|
|
ระเบียง อยู่ส่วนหน้าของห้องนอน เป็นส่วนที่กึ่งเปิดโล่ง ใช้เป็นที่นั่งเล่น รับแขก พักผ่อน และใช้เป็นที่นอนของแขกที่มาพัก หากมีลูกสาว ก็ให้ลูกสาวนอนในห้องนอน ส่วนพ่อแม่นั้นจะออกมานอนที่ระเบียงนี้ บางหลังมีระเบียงขนาดยาวเลยไปถึงหน้าห้องครัว ใช้ส่วนนี้เป็นที่รับประทานอาหาร พื้นเป็นไม้จริงเหมือนกับพื้นห้องนอน ชาน อยู่ส่วนหน้าสุดของตัวเรือน เป็นที่ เปิดโล่งมีรั้วโปร่งเตี้ยๆ สูงประมาณ ๘๐ เซนติเมตรกั้นโดยรอบ สำหรับไว้นั่งเล่นตอนเย็น ตากผลไม้ หรือตากผ้า พื้นชานใช้ไม้จริงตีเว้น ร่องโปร่ง เรือนพื้นบ้านแบบเรือนถาวรอาจจะ ไม่มีชานก็ได้ ครัวไฟ อยู่ด้านหลังสุด ซีกด้านข้างกั้น ด้วยฝาเป็นบางส่วน ด้านบนทำช่องระบายควันไฟ มุมหนึ่งของห้องทำพื้นยกขอบใส่ดินเรียบเป็นที่วางเตาไฟ ที่ฝาผนังอาจทำชั้นไว้ของยื่นออกไปนอกตัวเรือนตรงส่วนบน บันได ถอยร่นเข้าไปในตัวเรือน ๑ ช่วงเสา หรือพาดขึ้นตรงด้านหน้าติดกับชาน ยื่นหลังคากันสาดออกมาคลุม ใช้ไม้จริงเข้าเดือย และตอกสลัก ไม่นิยมหันลงมาทางทิศตะวันตก ที่เชิงบันไดตั้งตุ่มดินใส่น้ำไว้ล้างเท้า ร้านน้ำ ต่อชั้นไม้ยื่นออกมา สูงจากระเบียงหรือชาน ๐.๘-๑ เมตร ตั้งอยู่ใกล้บันได เพื่อตั้งตุ่มดินใส่น้ำดื่ม |