การแพ้ (Allergic Contact Dermatitis) เป็นปฏิกิริยาส่วนบุคคล มีอาการแสบ แดง หรือคันเมื่อสัมผัสสารเคมี ทางการแพทย์จะใช้วิธีการทำ Patch Test ในห้องแล็บเพื่อทดสอบว่าเราแพ้สารเคมีชนิดนั้น ๆ หรือไม่ โดยอาการแพ้จะเกิดขึ้นกับผิวหนังทุกส่วนในร่างกาย เช่น หากเราทดสอบแล้วพบว่าเราแพ้สารชนิดนี้ที่บริเวณแผ่นหลัง ไม่ว่าเราจะนำสารนี้ไปทาที่ส่วนอื่นใด ๆ ของร่างกายก็จะมีอาการแพ้เช่นเดียวกัน
ซึ่งเรามักจะสับสนอาการแพ้กับการระคายเคือง (Irritant Contact Dermatitis) ซึ่งมีอาการแสบ แดงหรือคันเช่นเดียวกัน แต่ไม่ได้เป็นกับทุกส่วนของร่างกาย และมักจะเกิดขึ้นกับคนส่วนใหญ่ โดยมีปัจจัยหลายอย่าง เช่น ความแข็งแรงสมบูรณ์ของผิวในช่วงนั้น หรือความเข้มข้นของสารเคมีที่สัมผัส
ทาผลิตภัณฑ์ที่ต้องการทดสอบลงบนท้องแขนข้างใดข้างหนึ่งบาง ๆ วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น จุดเดิมทุกครั้ง ติดต่อกัน 3-ถึง 7 วัน ถ้ามีอาการคันหรือผื่นขึ้นทั่วบริเวณที่ทา แปลว่าเราแพ้ผลิตภัณฑ์นั้น ไม่ควรนำมาใช้ทาหน้า
ควรสังเกตส่วนประกอบ (Ingredient Lists) ของผลิตภัณฑ์ ว่าเรามักจะแพ้ผลิตภัณฑ์ที่มีสารชนิดไหน และหลีกเลี่ยงสารที่แพ้ โดยสารที่มักก่อให้เกิดอาการแพ้และระคายเคือง เช่น
1. สารชำระล้างชนิด Sodium Lauryl Sulfate (SLS) เป็นสารชำระล้างที่ดีและราคาไม่แพง แต่ก็ทำให้เกิดการแพ้และระคายเคืองได้ง่าย ควรเลือกใช้สารชำระล้างที่อ่อนโยนกว่าแทน เช่น Sodium Lauryl Ether Sulfate (SLES หรือ Sodium Laureth Sulfate) หรือสารชำระล้างกลุ่ม “Coco” เช่น TEA Cocoyl Glutamate, Sodium Cocoyl Isethionate, Disodium Cocoamphodiacetate
2. น้ำหอม ทำให้เกิดการแพ้ได้ง่าย ควรเลือกเครื่องสำอางที่ระบุว่า “ปราศจากน้ำหอม (Fragrance Free หรือ Unscented)” แต่ถ้าบนฉลากไม่ระบุไว้ ให้สังเกตส่วนผสมที่ฉลากด้วยตัวเอง มองหาคำว่า Fragrance หรือ Perfume ถ้าเจอก็ควรหลีกเลี่ยง นอกจากน้ำหอมปรุงแต่ง ผลิตภัณฑ์บางยี่ห้อยังแต่งกลิ่นด้วยน้ำมันหอมระเหยที่มาจากธรรมชาติ เช่น Geranium Oil , Lavender Oil , Peppermint Oil ซึ่งก็ก่อให้เกิดการระคายเคืองได้เช่นกัน
3. สารกันเสียกลุ่มพาราเบน (Parabens) ก่อให้เกิดการแพ้ได้สูงกว่าสารกันเสียกลุ่มอื่น ถ้าอ่านฉลากแล้วเจอคำว่า Paraben ต่อท้าย เช่น Propylparaben, Methylparaben หรืออื่น ๆ ที่ลงท้ายด้วย -Paraben ควรหลีกเลี่ยง ปัจจุบันมีสารกันเสียบางชนิดที่สกัดมาจากธรรมชาติ เช่น Phenoxyethanol หรือสารอย่าง Tea Tree Oil ก็ถือเป็นสารจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อสามารถนำมาใช้เพื่อช่วยกันเสียในผลิตภัณฑ์ได้
4. สารกันแดด ที่ควรเลี่ยงคือ สารที่ชื่อว่า PABA (Para-Amino Benzoic Acid) PABA เป็นสารกันแดดที่แม้ใช้ในความเข้มข้นต่ำ (5%) ก็พบว่าสามารถก่อให้เกิดการแพ้ได้บ่อย ๆ ปัจจุบันจึงไม่นิยมใช้ นอกจาก PABA แล้ว สารกันแดดประเภทเคมี (Chemical Sunscreen หรือ Organic Sunscreen) กลุ่มอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Cinnamates, Benzophenones, Salicylates หรือ Anthranilates ก็สามารถกระตุ้นให้เกิดการแพ้ได้เช่นกัน ดังนั้นคนผิวแพ้ง่ายควรหลีกเลี่ยงการใช้ผลิตภัณฑ์กันแดดที่มีสารกันแดดประเภทเคมี และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีเฉพาะสารกันแดดประเภทกายภาพ (Pysical Sunscreen หรือ Inorganic Sunscreen) นั่นคือ Titanium Dioxide และ Zinc Oxide แทน ซึ่งผลิตภัณฑ์แบบที่ว่านี้มักจะเป็นผลิตภัณฑ์กันแดดสำหรับเด็กค่ะ
_____________________________________
นอกจากนี้อย่าลืมบำรุงผิวของเราให้สวยใส สุขภาพดีจากภายใน อยากรู้ว่าทำอย่างไร เข้าไปอ่านกันได้ที่นี่เลยค่ะ
อะไรเอ่ย ลูกแดงๆ ช่วยให้ผิวสุขภาพดี มีแก้มสีชมพู๊ชมพู
Mizumi ครีมกันแดดญี่ปุ่น เหมาะสำหรับสาว ๆ ผิวบอบบาง