Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

portfolio: นักแต่งเคสคอมฯ รุ่นเยาว์

Posted By Plook Magazine | 06 มิ.ย. 59
4,876 Views

  Favorite

เรื่อง : วรรณวิสา สุภีโส


นักแต่งเคสคอมฯ รุ่นเยาว์

 

ยูกิ คิชิโมโตะ
ยูกิ คิชิโมโตะ

 

จากเด็กที่ชอบซื้อรถบังคับมาแกะเล่นแต่ประกอบกลับคืนไม่ได้ พอเริ่มโตก็ฝึกฝนลองผิดลองถูกจนซ่อมเองได้ การเรียนรู้ด้วยตัวเอง เลือกทำในสิ่งที่ชอบแล้วมีความสุข
จนกลายเป็นนักแต่งเคสคอมพิวเตอร์ที่มีอายุน้อยที่สุด ยูกิ คิชิโมโตะ ลูกครึ่งไทย-ญี่ปุ่น กับผลงาน “ชิโระ”


​Vmodtech's ASIA LAN Party 2015 รวมสุดยอดเคสม๊อดและโอเวอร์คล๊อกพีซี งานระดับแนวหน้าของประเทศ มีผู้เข้าร่วมแข่งขันโชว์ผลงานการโมดิฟายเคสคอมพิวเตอร์ออกมาหลากหลายตามความถนัดของผู้เข้าแข่งขันกว่าหนึ่งร้อยแบบ หนึ่งในนั้นคือหนุ่มน้อยยูกิ ที่นำพาความฝันกับผลงานชิโระ มาสู่งานระดับประเทศได้สำเร็จ งานนี้ทำให้ยูกิแจ้งเกิดในวัยเพียง 13 ปี กว่าชิโระจะเสร็จสมบูรณ์ยูกิเล่าว่า “ทำเสร็จก่อนที่จะไปงานคืนเดียว ซึ่งช่วงนั้นโรงเรียนก็เปิดเทอมอยู่ ต้องทำผลงานออกมาเองคนเดียว อุปกรณ์ซื้อเองหมดทุกอย่าง เลือกเองเพราะคอนเซ็ปต์งานจะใช้อะไรมั่ว ๆ ไม่ได้ ชิ้นนี้ต้องเป็นตามนี้เท่านั้น จะต้องเลือกชิ้นส่วนให้เข้ากับคอมพิวเตอร์ของผมมากที่สุด เพื่อเพิ่มความสวยงามและแปลกใหม่ครับ”
 

ผลงาน
ผลงาน

 

คอนเซ็ปต์ชิ้นงานได้แรงบันดาลใจจากโทนสีการ์ตูนเรื่อง Sword Art Online ที่นางเอกชื่อยูกิ อาสึนะ (Yuuki Asuna) ใส่ชุดสีขาวแดง ทำให้ได้เคสคอมพิวเตอร์มีสีขาวกับสีแดงตัดกัน และเป็นที่มาของชื่อผลงานว่า “ชิโระ” มาจากภาษาญี่ปุ่นแปลว่า ขาว หรือ สีขาว ส่วนการประกอบชิ้นงาน ยูกิอธิบายเพิ่มว่า “สิ่งสำคัญที่ต้องเลือกคือตัวของเคส เป็นตัว Cosmos ii เพราะเคสมีคุณสมบัติพิเศษอย่างขนาดที่ค่อนข้างใหญ่ ช่วยทำให้การติดตั้งอุปกรณ์เพิ่มภายในทำได้ง่าย ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งแผงวงจร การ์ดแสดงผลสองตัว มีระบบประมวลผลกราฟิกออกเป็นสองส่วน นอกจากนั้นก็ยังให้ความแข็งแรงทนทานสูง ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดความร้อนได้ดี ฐานตั้งมีการออกแบบให้สูงกว่าปกติ การกระจายอากาศเพื่อระบายความร้อนสะสมจากภายในเครื่องทำงานได้ดี มีด้ามจับบนตัวเครื่อง จึงทำให้การเคลื่อนย้ายตำแหน่งการติดตั้งตัวเคสเคลื่อนย้ายได้ง่ายขึ้นครับ”

 

ผลงาน
ผลงาน

 

“พวกอะไหล่จะหาซื้อ แต่อะคริลิคใช้มือตัด ไม่มีการร่างโมเดลแต่มีภาพอยู่ในหัวอยู่แล้ว โดยขั้นแรกตัวเคสจะเป็นชิ้น ๆ มา เราก็ต้องมาแกะทุกชิ้นออกมาเพื่อที่จะพ่นสี ประกอบแล้วก็ดัดแปลง ตัด เจาะ
เพื่อที่จะกลับตัวแผงวงจรที่เป็นแนวนอนให้เป็นแนวตั้ง จากนั้น ประกอบวางแนวอะคริลิค พอวางแนวอะคริลิคเสร็จก็เริ่มวางชิ้นส่วนต่าง ๆ เข้าไป” ยูกิอธิบายเพิ่มเติมในส่วนของการทำเคส

 

 

ผลงาน
ผลงาน



“ยากที่สุดคือการตัดแผ่นอะคริลิคเพราะว่าเครื่องตัดเพิ่งซื้อมายังไม่เคยใช้ ไม่ค่อยถนัดใช้เครื่อง เวลาตัดก็จะไม่ค่อยตรง แต่พอทำเคสคอมพิวเตอร์เครื่องนี้เสร็จก็เริ่มชิน เข้าใจการทำงาน
ของเครื่องเลยอยากทำไปเรื่อย ๆ ครับ” ยูกิเล่าถึงขั้นตอนที่ยากที่สุดในการสร้างผลงานชิ้นนี้ กว่าจะเป็นเคสคอมฯ ชิ้นปัจจุบัน

 

“เด็กผู้ชายครับบางคนชอบแต่งรถ บางคนชอบเล่นเกม แต่ผมชอบคอมพิวเตอร์ ก็ทำในสิ่งที่ผมชอบแล้วผมมีความสุขกับมัน แม้ว่าอายุสิบสามสิบสี่ เป็นนักแต่งเคสคอมพิวเตอร์ ผมว่าอายุไม่เกี่ยวครับเพราะว่า จะทำเมื่อไหร่ก็ทำได้ แค่มีใจรักก็พอ ผลพลอยได้คืองานชิ้นนี้เป็นการเปิดตัวให้คนมารู้จักผมด้วยแค่นี้ก็กำไรแล้วครับ”
ยูกิทิ้งท้าย

 

นิตยสาร Plook
นิตยสาร Plook

 

 

 

 

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
  • Posted By
  • Plook Magazine
  • 3 Followers
  • Follow