สรุปสาระสำคัญของระบบย่อยอาหาร
ภาษาอังกฤษ ใช้คำว่า Digestion System
ความสำคัญของการย่อยอาหาร
อาหารที่บริโภคเข้าไปไม่ว่าจะเป็นชนิดใดก็ตาม จะนำเข้าสู่เซลล์ได้ก็ต่อเมื่ออยู่ในรูปของสารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดเล็ก คือ กรดอะมิโน น้ำตาลโมเลกุลเดี่ยว กลีเซอรอล และกรดไขมัน
ลำดับการเดินทางของอาหาร
เริ่มจากปาก > ลิ้น > คอหอย > หลอดอาหาร > กระเพาะอาหาร > ลำไส้เล็ก > ลำไส้ใหญ่ > ไส้ตรง และทวารหนัก
เอนไซม์กับการย่อยอาหาร
เอนไซม์มีโครงสร้างที่ประกอบขึ้นด้วยกรดอะมิโน แต่มีคุณสมบัติต่างจากโปรตีนตรงที่ เอนไซม์สามารถเร่งปฏิกิริยาทางเคมีในเซลล์ได้ โดยที่สารที่จะเป็นเอนไซม์ได้ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้
1. สามารถเร่งปฏิกิริยาเคมีภายในเซลล์ได้
2. เมื่อเกิดปฏิกิริยาแล้วเอนไซม์จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างและจำนวน ในขณะที่สารเริ่มต้นถูกเปลี่ยนไปเป็นสารผลิตภัณฑ์
3. อุณหภูมิมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ ซึ่งจะทำงานได้ดีในช่วง 25-40 องศาเซลเซียส
4. สภาพความเป็นกรด-ด่างมีผลต่อการทำงานของเอนไซม์ โดยขึ้นอยู่กับชนิดของเอนไซม์นั้น ๆ
1) ต่อมน้ำลาย (Salivary Gland)
ผลิตน้ำย่อยอะไมเลส (Amylase) หรือไทยาลิน (Ptyalin) ย่อยแป้งให้เป็นน้ำตาลมอลโทส
2) กระเพาะอาหาร (Stomach)
ผลิตน้ำย่อยเพปซิน (pepsin) ย่อยโปรตีนให้เป็นโปรตีนสายสั้น (เพปไทด์) และ
ผลิตน้ำย่อยเรนนิน ย่อยโปรตีนในนมให้เป็นโปรตีนเป็นลิ่ม ๆ
ตับ (Liver) ผลิตน้ำดี ช่วยให้ไขมันให้เป็นไขมันแตกตัวเป็นเม็ดเล็ก ๆ
น้ำดี (Bile) สร้างจากตับ (Liver) แล้วถูกนำไปเก็บไว้ที่ ถุงน้ำดี (Gall Bladder) ไม่ถือว่าเป็นเอนไซม์ เพราะจะเปลี่ยนสภาพไปจากเดิม เมื่อปฏิกิริยาสิ้นสุดลงแล้ว (น้ำดีไม่มีน้ำย่อย) มีส่วนประกอบ 3 ส่วน คือ
- เกลือน้ำดี (Bile Salt) มีหน้าที่ตีให้ไขมัน (Fat) แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ ไขมันที่ถูกตีให้แตกตัวเป็นหยดเล็ก ๆ เรียกว่า อีมัลชั่น (Emulsion) จากนั้นถูก Lipase ย่อยต่อให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
- รงควัตถุน้ำดี (Bile Pigment) เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบิน (Hemoglobin) โดยตับเป็นแหล่งทำลายและกำจัด Hemoglobin ออกจากเซลล์ เม็ดเลือดแดงที่หมดอายุ โดยเก็บรวบรวมเข้าไว้เป็นรงควัตถุในน้ำดี (Bile Pigment) คือ บิริรูบิน (Bilirubin) จึงทำให้น้ำดีมีสีเหลืองหรือเขียวอ่อน และจะถูกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมน้ำตาลโดยแบคทีเรียในลำไส้ใหญ่เกิดเป็นใสในอุจจาระ
- โคเรสเตอรอล (Cholesterol) ถ้ามีมาก ๆ จะทำให้เกิดนิ่วในถุงน้ำดี เกิดการอุดตันที่ท่อน้ำดี เกิดโรคดีซ่าน (Janudice) มีผลทำให้การย่อยอาหารประเภทไขมันบกพร่อง
ตับอ่อน (Pancreas)
ผลิตน้ำย่อยลิเพส ย่อยไขมันแตกตัวให้เป็นกรดไขมันและกลีเซอรอล
ผลิตน้ำย่อยทริปซิน ย่อยโปรตีนให้เป็นพอลิเพปไทด์และไดเพปไทด์
ผลิตน้ำย่อยคาร์บอกซิเพปพิเดส ย่อยเพปไทด์ให้เป็นกรดอะมิโน
ผลิตน้ำย่อยอะไมเลส ย่อยเช่นเดียวกับน้ำย่อยอะไมเลสในปาก