วันนี้ผมจะนำพาทุกท่านย้อนเวลากลับไปในอดีต ไปดูประวัติศาสตร์สโมสรฟุตบอลในบ้านเราว่าในอดีตมีสโมสรไหนดังและยิ่งใหญ่มากเพียงใด สโมสรไหนยังอยู่หรือยุบหายจากสารบบฟุตบอลไทยไปบ้างแล้ว ติดตามได้ต่อจากนี้ ...
สโมสรธนาคารกสิกรไทยก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2530 โดย นายบัณฑูร ล่ำซ่ำ ผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเป็นอีกสายงานหนึ่งของธนาคารกสิกรไทย โดยสโมสรได้เริ่มต้นจาก ถ้วยพระราชทาน ง. มีการแต่งตั้ง นายชนะ รุ่งแสง เป็นผู้จัดการทีม และ แก้ว โตอดิเทพ เป็นเฮดโค้ชคนแรกของสโมสร แต่เมื่อแก้ว โตอดิเทพได้เสียชีวิตบอร์ดบริหารจึงแต่งตั้ง นายชาญวิทย์ ผลชีวิน ขึ้นมาดำรงตำแหน่งแทน และในปี พ.ศ. 2533 สโมสรฟุตบอลธนคารกสิกรไทย ได้เลื่อนได้สู่ลีกสูงสุดประเทศไทยและเพียงปีแรกก็สามารถคว้า ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ในทันทีและได้สิทธิ์เป็นตัวแทนสโมสรจากไทยไปแข่งขันรายการ “ เอเชียน คลับ แชมเปี้ยนชิพ ( ปัจจุบันคือ เอเอฟซี แชมป์เปียนส์ลีก ) ” ถ้วยใหญ่ที่สุดในระดับสโมสรเอเชีย
โดยในปี พ.ศ. 2537 สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทยสามารถคว้าแชมป์คลับ แชมเปี้ยนชิพจากการเอาชนะทีม โอมาน คลับ 2-1 ทั้งที่ผู้เล่นส่วนใหญ่ของสโมสรโอมาณ คลับในตอนนั้นเป็นผู้เล่นทีมชาติโอมาณเกือบทั้งหมดของทีมและในปี หลังจากคว้าแชมป์ คลับ แชมเปี้ยนชิพ สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทยได้สิทธิ์การแข่งขันรายการ แอฟโร่-เอเชีย ซึ่งเป็นการนำเอาแชมป์จากทวีปเอเชียและแอฟริกาโคจรมาพบกัน โดยนัดนี้ตัวแทนจากไทยและเอเชียเอาชนะ ซามาเลค ตัวแทนจากทวีปแอฟริกาไป 2-1
และะในปี พ.ศ. 2538 สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทยได้คว้าแชมป์เอเชียเป็นสมัยที่ 2 นับเป็นทีมแรกที่ป้องกันแชมป์เอเชียไว้ได้ โดยครั้งนี้สโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทยโคจรมาเจอกับสมาร อัล-อาราบี้ ตัวแทนจากกาตาร์ในรอบชิงชนะเลิศก่อนเอาชนะไปด้วยสกอร์ 1-0 จากการทำประตูของ เนติพงษ์ ศรีทองอินทร์ เป็นแชมป์อีกครั้งในหน้าประวัติศาสตร์สโมสรไทยและเอเชีย
หนึ่งปีให้หลังคว้าแชมป์สโมสรเอเชียสมัยที่สอง พ.ศ. 2539 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย ได้ทำการก่อตั้งลีกฟุตบอลอาชีพเป็นครั้งแรกภายใต้ชื่อ “ จอห์นนี่วอล์กเกอร์ไทยแลนด์ซอคเกอร์ลีก 2539 ” โดยในปีนั้นสโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทยไม่สามารถคว้าแชมป์ลีกมาครองได้ แต่ก็สามารถคว้าแชมป์ควีนส์ คัพ ซึ่งเป็นสมัยที่ 3 ติดต่อกันของสโมสรเป็นที่ปลอบใจไว้ได้ หลังจาก พ.ศ. 2540 สโมสรเข้าขั้นวิกฤตทางการเงินไม่สามารถคว้าแชมป์รายการใดได้เลย
ก่อนที่ปี พ.ศ. 2543 จะมาคว้าแชมป์ เอฟเอ คัพสมัยแรกของสโมสรและถ้วยพระราชทาน ก. ก่อนจะเป็นโทรฟี่ความสำเร็จสุดท้ายของสโมสร ซึ่งในเวลาต่อมาสโมสรฟุตบอลธนาคารกสิกรไทย ประกาศยุบทีมเหลือไว้เพียงร่องรอยความสำเร็จในอดีต และชื่อเสียงในระดับตนานสโมสรในประเทศไทยและทวีปเอเชีย
ผลงานประสบความสำเร็จ
สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2498 ในชื่อสโมสรธนาคารรวม ก่อนจะมีการย้ายถิ่นฐานในปี พ.ศ. 2506 จากหลังตึกกลางธนาคารกรุงเทพสาขาใหญ่ ไปสู่ซอยอุดมสุขพร้อมเปลี่ยนชื่อสโมสรเป็น สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพ โดยในช่วงแรกสโมสรได้ส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลระหว่างธนาคารภายใต้ประธานสโมสรคือ คุณบุญชู โรจนเสถียร และในปี พ.ศ. 2505 สโมสรได้เข้าร่วมการแข่งขันที่ทาง สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย จัดการแข่งขันโดยเริ่มต้นแข่งขันในระดับ ฟุตบอลพระราชทาน ข.
สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพเลื่อนชั้นมาแข่งขันฟุตบอลพระราชทาน ก. และสามารถคว้าแชมป์ได้ในปี พ.ศ. 2507 และชนะเลิศในถ้วยใบนี้อีกถึง 8 ครั้ง และหลังจากทางสมาคมฟุตบอลของประเทศไทยได้จัดตั้งลีกฟุตบอลอาชีพเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2539 สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพก็สามารถคว้าแชมป์มาได้ในทันที เป็นแชมป์ไทยลีกสมัยแรก และสมัยเดียวของประวัติศาสตร์สโมสร
เมื่อฟุตบอลลีกของไทยดำเนินต่อมาเรื่อย ๆ สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพก็ต้องประกาศยุบทีม เนื่องจาก “ ฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก ฤดูกาล 2551 " ทีมจบอันดับ 14 จากการเข้าร่วมแข่งขัน 16 ทีมทำให้ต้องตกชั้นลงไปเล่นในไทยลีกดิวิชั่น 1 และเมื่อประกอบกับสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยมีการประกาศว่าทุกสโมสรต้องมีการจดทะเบียนนิติบุคลซึ่งทำให้ขัดต่อระเบียบและนโยบายของธนาคาร ทางสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงเทพจึงได้ประกาศยุบทีมในเวลาต่อมา
ผลงานประสบความสำเร็จ
สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยก่อตั้งสโมสรขึ้นในปี พ.ศ. 2520 ภายใต้เจ้าของคือธนาคารกรุงไทย โดยเริ่มเข้าการแข่งขันจาก ถ้วยพระราชทาน ง. ก่อนค่อย ๆ ใช้เวลาและฝีมือในการไต่เต้าจนขึ้นมาถึงการแข่งขันในถ้วย พระราชทาน ก. และฟุตบอลไทยแลนด์พรีเมียร์ลีก โดยเกียรติประวัติของสโมสรเริ่มมีชื่อเสียงมากขึ้นในปี พ.ศ. 2545 - 2547 จากการคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2 สมัยซ้อน
ส่วนในปี พ.ศ. 2551 สโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยได้สิทธิ์เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลเอเอฟซี แชมป์เปียนส์ลีก ถ้วยที่ใหญ่ที่สุดในสโมสรเอเชีย จากการที่ทีมจากอินโดนีเซียโดนตัดสิทธิ์ และสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยเป็นรองแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2550 จึงได้ส่วมสิทธิ์แทนโดยอยู่ในกลุ่ม F ร่วมกับ คาชิม่า แอนต์เลอร์ ( ญี่ปุ่น ) , ปักกิ่ง กั๋วอัน ( จีน ) และนามดิ่ง ( เวียดนาม ) โดยเก็บชัยชนะได้ 2 นัดและเสมอ 1 แพ้ 3 จากการเล่นในบ้านเอาชนะนามดิ่งจากเวียดนาม 9-1 และนัดรองสุดท้ายเล่นในรังตัวเองเอาชนะตัวแทนจากจีนไป 5-3 อีกหนึ่งนัดคือบุกไปแบ่งแต้มจากนามดิ่งที่เวียดนาม 2-2 เก็บได้ 7 คะแนน ไม่เพียงพอต่อการเข้ารอบ
ช่วงปี พ.ศ. 2552 เกิดจากเปลี่ยนแปลงใหญ่ใครกับสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทยเนื่องจากสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยและเอเอฟซี ได้มีการประกาศกำหนดการจดนิติบุคคล ซึงทางสโมสรไม่สามารถทำได้จึงโอนสิทธิ์การทำทีมให้กับบริษัท BGFC SPORT จำกัด ซึ่งเป็นเจ้าของสโมสรบางกอกกล๊าส ที่แข่งขันอยู่ในระดับถ้วยฟุตบอลพระราชทาน ข. เข้ามาทำทีมแทน โดยรายการสุดท้ายที่ลงทำการแข่งขันภายใต้ชื่อสโมสรฟุตบอลธนาคารกรุงไทย คือ รายการควีนส์คัพ ในปี พ.ศ. 2552
ผลงานประสบความสำเร็จ
บีอีซี เทโรศาสนเริ่มก่อตั้งจาก นายวรวีร์ มะกูดี ในปี พ.ศ. 2535 ในชื่อโรงเรียนศาสนวิทยา ซึ่งเป็นโรงเรียนในเขตหนองจอก เริ่มต้นเข้าแข่งขันในถ้วยพระราชทาน ง. ก่อนค่อย ๆ ไต่เต้าขึ้นมาเล่นถ้วยพระราชทาน ก.
ในปี พ.ศ. 2538 สโมสรได้รับเงินสนับสนุนจาก บริษัท บุญรอด บริเวอรี่ จำกัด และบริษัท เทโร เอ็นเตอร์เทนเมนท์ ( จำกัด ) ทำให้เกิดการเปลี่ยนชื่อสโมสรเกิดขึ้นภายใต้ชื่อใหม่ “ สิงห์ – เทโรศาสน ” ก่อนที่อีกสองปีต่อมา หลังสโมสรได้สิทธิ์เลื่อนชั้นสู่ไทยลีกได้หนึ่งฤดูกาล พ.ศ. 2540 บริษัท บีอีซี เวิร์ด จำกัด ( มหาชน ) ได้เข้ามาซื้อกิจการและทำการเปลี่ยนชื่อสโมสรอีกครั้งเป็น “ บีอีซี เทโรศาสน ”
ภายหลังเปลี่ยนชื่อสโมสรสามปีให้หลังสโมสรจัดการคว้าแชมป์ ไทยพรีเมียร์ลีกในปี พ.ศ. 2543 เป็นสมัยแรกของสโมสรพร้อมกับ “ อนุรักษ์ ศรีเกิด ” คว้าตำแหน่งผู้เล่นยอดเยี่ยมแห่งปีพ่วงมาอีกด้วย การคว้าแชมป์ว่ายากแล้วแต่การป้องกันแชมป์ยากกว่าคงใช้ไม่ได้กับบีอีซี เทโรศาสน เพราะในฤดูกาลถัดมาสามารถป้องกันแชมป์ไว้ได้เป็นการคว้าแชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 2 สมัยติดต่อกัน
ในปี พ.ศ. 2556 ได้สิทธิ์ลงทำการแข่งขันฟุตบอลสโมสรระดับเอเชีย ( เอเอฟซี แชมป์เปี้ยนลีก ) และได้สร้างประวัติศาสตร์อีกหน้านึงให้กับประเทศไทยด้วยการเข้าชิงรายการใหญ่ระดับเอเชียครั้งนี้ โดยในรอบชิงชนะเลิศเจอสโมสรตัวแทนจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตน์อย่าง “ อัล ไอน์ ” โดยเป็นการแข่งขันแบบเหย้า – เยือน นัดแรกตัวแทนของไทยต้องออกไปเยือนก่อน และเป็นฝ่ายพ่ายแพ้กลับมา 2-0 นัดที่สองกลับมาเล่นที่กรุงเทพ ณ สนามราชมังคลากีฬาสถาน โดยบีอีซี เทโรศาสนขึ้นนำจากจุดโทษของ เทิดศักดิ์ ใจมั่น ในนาทีที่ 60 แต่ก็ไล่ไม่ทันแพ้ไปด้วยประตูรวม 2-1 ได้เพียงรองแชมป์ไปครอง
หลังจากห่างหายความสำเร็จไป 12 ปีเต็ม ๆ ในปี พ.ศ. 2557 “ มังกรไฟ ” บีอีซี เทโรศาสน ผงาดคว้าแชมป์โตโยต้า ลีกคัพ ด้วยการเอาชนะยอดทีมในยุคนี้อย่างบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดไปด้วยสกอร์ 2-0 จากการทำประตูของ 2 นักเตะต่างชาติอย่าง ไดกิ อิวามาสะ และจอร์จี้ เวลคัม และเป็นการแจ้งเกิดของดาวรุ่งดวงใหม่อย่าง “ ชนาธิป สรงกระสินธ์ ” ที่คว้ารางวัลนักเตะทรงคุณค่าในรายการนี้ หลังจากการคว้าแชมป์โตโยต้า ลีกคัพได้สำเร็จสโมสรบีอีซี เทโรศาสนจึงได้สิทธิ์ทำการแข่งขันกับตัวแทนจากประเทศญี่ปุ่นอย่าง ซากันโทสุ ในรายการ โตโยต้า พรีเมียร์คัพ ก่อนบีอีซี เทโรศาสนจะดวลจุดโทษเอาชนะ 4-3 หลังใน 90 นาทีเสมอกันไปแบบไม่มีประตู
และในช่วงต้นปี พ.ศ. 2560 สโมสรบีอีซี เทโรศาสนได้มีการออกมาแถลงข่าวพร้อมเปลี่ยนชื่อสโมสรอีกครั้งเป็น “ โปลิศ เทโร เอฟซี “ และแต่งตั้ง พล.ต.อ.จักรทิพย์ ชัยจินดา ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ขึ้นเป็นประธานสโมสร ซึ่งเป็นการร่วมมือกันของสโมสรตำรวจและบีอีซี เทโรศาสน พร้อมรังเหย้าแห่งใหม่นั้นคือ สนามบุญยะจินดา
ผลงานประสบความสำเร็จ
อีกหนึ่งตำนานสโมสรไทยที่อยู่คู่กับฟุตบอลไทยมากว่า 50 ปีเริ่มก่อตั้งสโมสรเมื่อปี พ.ศ. 2510 ภายใต้ชื่อ สโมสรฟุตบอลการท่าเรื่อแห่งประเทศ โดยมี พลตรี ประจวบ สุนทรางกูร ผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทยเป็นนายกสโมสรในขณะนั้น โดยในระหว่างนั้นสโมสรฟุตบอลการท่าเรื่อแห่งประเทศ คว้าแชมป์ได้หลายรายการไล่ตั้งแต่ ถ้วยพระราชทาน ข. ค. ง. และ ก.
ในปี พ.ศ. 2533 สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทย เปลี่ยนระบบการแข่งขันจากแบบ “ เซมิโปรลีก ” มาเป็นรูปแบบ ” คาร์ลเท็กซ์พรีเมียร์ลีก ” และเปลี่ยนแข่งขันเป็นระบบลีกจนถึงปัจจุบัน ทำให้การท่าเรือห่างหยจากการเป็นแชมป์ถึง 16 ปีจนทั้งทั่งปี พ.ศ. 2536 สโมสรฟุตบอลการท่าเรือได้คว้าแชมป์ ควีนส์คัพ และเป็นสมัยที่ 6 ของสโมสร
จนกระทั่งปี พ.ศ. 2552 สโมสรเกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ และได้ทำการแต่งตั้งนายพิเชฐ มั่นคง เป็นประธานสโมสร ซึ่งเป็นการดำรงตำแหน่งครั้งที่ 2 ของเจ้าตัวพร้อมเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย เอฟซี ถือเป็นนิมิตรหมายอันดีหลังเปลี่ยนชื่อทีมได้เข้าชิงฟุตบอลถ้วยเก่าแก่อย่างเอฟเอ คัพกับสโมสรืบีอีซี เทโรศาสน ที่สนามศุภชลาศัยจบ 120 นาทีเสมอกันที่ 1-1 ทำให้ต้องมีการดวลจุดโทษและเป็น “ สิงห์เจ้าท่า ” ที่แม่นโทษมากกว่าเอาชนะไปได้ 5-4 เป็นแชมป์เอฟเอ คัพ สมัยแรกของสโมสร
หนึ่งปีให้หลังจากแชมป์เอฟเอ คัพ สโมสรฟุตบอลการท่าเรือไทย เอฟซีก็จัดการคว้าแชมป์ฟุตบอลถ้วยรายการ โตโยต้า ลีกคัพมาครอบครองหลังเอาชนะสโมสรฟุตบอลบุรีรัมย์ พีอีเอ 2-1 จากการทำประตูของ วรวุฒิ วังสวัสดิ์และจีรวัฒน์ มัครมย์ พร้อมพ่วงสิทธิ์แข่งขันโตโยต้า พรีเมียร์ คัพพบกับทีม โชนัน เบลมาเร่จากญี่ปุ่นและเป็นทีมจากคลองเตยเอาชนะไป 2-1
ในปี พ.ศ. 2555 การท่าเรือ เอฟซีได้มีการเปลี่ยนชื่อเป็น “ พอร์ต เอฟซี ” แต่เพียงหนึ่งสัปดาห์ต่อมาก็ได้เปลี่ยนกลับไปใช้ชื่อเดิม การท่าเรือ เอฟซี เหมือนเดิมและในปีนี้เองที่ สโมสรแห่งนี้ต้องตกชั้นลงไปเล่นในดิวิชั่น 1
ในลีกระดับยามาฮ่า ลีกวัน2556 สโมสรการท่าเรือ เอฟซีได้มีการเปลี่ยนแปลงชื่ออีกครั้งโดยครั้งนี้ใช้ชื่อว่า “ สิงห์ ท่าเรือ ” และได้ พล.ต.ท คำรณวิทย์ ธูปกระจ่าง มาเป็นประธานกิตติมศักดิ์ และพวกเขาก็สามารถฟื้นคืนชีพกลับสู่ลีกสูงสุดไปอีกครั้งภายใต้การคุมทีมของดุสิต เฉลิมแสง
ในปี พ.ศ. 2557 สโมสรได้ทำการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งโดยใช้ชื่อ การท่าเรือ เอฟซี และตั้งบริษัทการท่าเรือ เอฟซี จำกัด ซึ่งเป็นนิติบุคคล โดยมี พล.ร.อ. อภิชาติ เพ็งศรีทอง เป็นประธานสโมสร พร้อมด้วย พลเรือโท ชัชรินทร์ ชูศรี เป็นผู้จัดการทีม
และในเมื่อปี พ.ศ. 2558 สโมสรฟุตบอลการท่าเรือได้รับการสนับสนุนจาก “ มาดามแป้ง ” นวลพรรณ ล่ำซ่ำ " พร้อมดำรงตำแหน่งประธานสโมสร
ที่แห่งนี้ยังเป็นที่ปลุกปั้นยอดนักเตะมาประดับวงการฟุตบอลไทยมาตลอดระยะเวลา อย่างเช่น อรรถพล บุษปาคม , รณชัย สยมชัย , ศรายุทธ ชัยคำดี เป็นต้น
สโมสรแห่งนี้ยังคงดำเนินไปตามเข็มนาฬิกา ตำนานสโมสรแห่งนี้ยังมีชีวิตและพร้อมเขียนเรื่องราวบนหน้าประวัติศาสตร์ฟุตบอลไทยต่อไป
ผลงานประสบความสำเร็จ
ต้นแบบสโมสรฟุตบอลสมัยใหม่ เป็นทีมท้องถิ่นที่มีรากฐานแฟนบอลที่แน่นหนา “ ฉลามชล “ ชลบุรี เอฟซี
สโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี แต่เดิมเป็นทีมสโมสรฟุตบอลของโรงเรียรอัสสัมชัญศรีราชา ได้เข้าร่วมแข่งขันฟุตบอลสโมสรชิงถ้วยพระราชทาน ต่อมาได้ถูกรวมเข้ากับทีม สโมสรสันนิบาตสมุทรปราการ โดยใช้ชื่อสโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ได้เข้าแข่งขันใน ดิวิชัน 1 และหลังจากเข้าร่วมการแข่งขันโปรวินเชยงลีก จึงทำการแยกกับทีมสโมสรฟุตบอลชลบุรี-สันนิบาตสมุทรปราการ ซึ่งเล่นในดิวิชัน 1 อยู่ โดยลงแข่งขันโปรวินเชียลลีกในนาม สโมสรฟุตบอลชลบุรี โดยใช้มีผู้เล่นหลักจากโรงเรียนอัสสัมชัญศรีราชา และโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี
ในปี พ.ศ. 2553 สโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซีจบเพียงอันดับ 3 ในตารางการแข่งขันฟุตบอลลีก แต่ได้แชมป์บอลถ้วยอย่างเอฟเอ คัพ สมัยแรกของสโมสรมาประดับสโมสรแทนโดยเป็นการเอาชนะสโมสรฟุตบอลเมืองทอง ยูไนเต็ดในช่วงต่อเวลาพิเศษ จากพิภพ อ่อนโม้หลังเสมอ 1-1 ในเวลาปกติ
นอกจากนั้นในปี พ.ศ. 2554 และ 2555 สโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซีสามารถคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ 2 สมัย ซึ่งถือเป็นโทรฟี่ล่าสุดที่สโมสรคว้ามาได้จนถึงในปัจจุบัน ซึ่งเวลานี้สโมสรฟุตบอลชลบุรี เอฟซี ยังคงยืนหยัดอยู่บนลีกสูงสุดเมืองสยามโดยมี เทิดศักดิ์ ใจมั่น เป็นผู้จัดการทีม รอคอยการกลับมาประสบความสำเร็จและนำชื่อเสียงกลับสู่จังหวัด ชลบุรีอีกครั้ง
ผลงานประสบความสำเร็จ
แชมป์ไทยพรีเมียร์ลีก 4 สมัยเริ่มก่อตั้งสโมสรเมื่อปี พ.ศ. 2532 โดยใช้ชื่อทีมว่า “ หนองจอกพิทยานุสรณ์ ” เริ่มแข่งขันในถ้วยพระราชทาน ง. จนกระทั่งการแข่งขันไทยลีกดิวิชั่น 1 ในปี พ.ศ. 2545 - 46 ได้ทำการเปลี่ยนชื่อเป็น สโมสรไข่มุกดำหนองจอก ต่อมาในปี พ.ศ. 2546 – 47 ทีมได้ทำการเปลี่ยนชื่ออีกครั้งภายใต้นายทุนใหม่คือ สโมสรฟุตอบลหลักทรัพย์โกลเบล็ค หนองจอก แต่ผลงานไม่ได้ดีขึ้นจนกระทั่งตกชั้นไปเล่นในถ้วยพระราชทาน ข. ในฤดูกาล 2547 – 48 กลับไปใช้ชื่อเดิมนั้นคือ โรงเรียนหนองจอกพิทยานุสรณ์
ต่อมาสมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยได้ทำการนับถ้วยพระราชทาน ข. และ ค. รวมกันในชื่อใหม่ ลีกภูมิภาค ดิวิชั่น2 และนี้เป็นอีกครั้งที่สโมสรทำการเปลี่ยนชื่อ โดยครั้งนี้ใช้ชื่อสโมสร “ เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ” โดยได้รับการสนับสนุนจากนาย ระวิ โหลทอง และนั่งแท่นประธานสโมสร และนี่คือจุดเริ่มต้นของความยิ่งใหญ่ต่อจากนี้
ในปี พ.ศ. 2550 เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด สามารถคว้าแชมป์ดิวิชั่น 2 ทำให้ทีมได้เลื่อนชั้นสู่ดิวิชั่น 1 พร้อมแต่งตั้ง “ โค้ชหมี ” สุรศักดิ์ ตังสุรัตน์ เป็นผู้ฝึกสอน และคว้าแชมป์ดิวิขั่น 1 ได้ตามเป้าหมายของสโมสรเลื่อนชั้นสู่ลีกสูงสุด เป็นประวัติศาสตร์ทีมแรกที่สามารถเลื่อนชั้น 3 ปีติดต่อกันได้
เพียงปีแรกของ เมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ก็สามารถหักปากกาเซียนปาดหน้าคู่แข่งตัวเต็งทั้ง ชลบุรี เอฟซี , บางกอกกล๊าส เอฟซี เข้าวินเป็นแชมป์ประวัติศาสตร์ของสโมสร พร้อมป้องกันแชมป์ในปีถัดมาได้อย่างสมเกียรติคว้าแชมป์ลีกสูงสุด 2 สมัยซ้อน
พ.ศ. 2554 สโมสรเมืองทองหนองจอก ยูไนเต็ด ได้ทำบิ๊กเซอร์ไพร์สด้วยการเซ็นสัญญากองหน้าระดับตำนานทีมชาติอังกฤษและสโมสรลิเวอร์พลู “ ร็อบบี้ ฟาวเลอร์ ” แต่กลายเป็นฤดูกาลที่ กิเลนผยอง ต้องอกหักผิดหวังกับฟอร์มการเล่นพลาดแชมป์ทุกรายการ ล่วงเลยมาถึงปี พ.ศ. 2555 เอสซีจีได้เข้ามาเป็นสปอนเซอร์หลักภายใต้มูลค่าสัญญา 600 ล้านบาท พร้อมพ่วง ชื่อสินค้าเข้าไปในชื่อสโมสรในรูปแบบใหม่ “ เอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด ” และนี้ถือเป็นอีกปีประวัติศาสตร์ของสโมสร ภายใต้การคุมทัพของ สลาวิซ่า โยคาโนวิช กุนซือชาวเซอร์เบีย การคว้าแชมป์ว่ายากแล้วแต่สโมสรแห่งนี้ทำในสิ่งเหนือความคาดหมายคือ คว้าแชมป์แบบไม่พ่ายแพ้ให้กับสโมสรใดเลย เป็นทีมแรกในประวัติศาสตร์ฟุตบอลลีกเมืองไทย
หลังจากห่างหายแชมป์ลีกไป 3 ปีเต็ม ๆ สโมสรเอสซีจี เมืองทอง ยูไนเต็ด เลยทำการเสริมตัวครั้งยิ่งใหญ่หวังกลับมาเป็นใหญ่อีกครั้งพร้อมกุนซือคนใหม่อย่าง ธชตวัน ศรีปาน และก็สามารถทวงคืนแชมป์จากบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดได้จริง ๆ พร้อมพ่วงด้วยแชมป์โตโยต้า ลีกคัพร่วมกับบุรีรัมย์ ยูไนเต็ดอีกหนึ่งรายการ
ผลงานประสบความสำเร็จ
กว่า 70 ปีที่สโมสรแห่งนี้ได้เขียนหน้าประวัติศาสตร์ต่าง ๆ มากมายไว้ในวงการฟุตบอลเมืองไทยสโมสรฟุตบอลทหารอากาศเริ่มก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2489 โดย ท่านจอมพลทหาร เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร ซึ่งเป็นผู้บัญชาการทหารอากาศในขณะนั้น ซึ่งถือเป็นช่วงยุคสมัยทองของสโมสรฟุตบอลทหารอากาศประสบความสำเร็จคว้าแชมป์ถ้วยพระราชทาน ก. ได้ถึง 12 สมัย และเป็นถึง 7 สมัยซ้อนจนกระทั่งปัจจุบันก็ยังไม่มีสโมสรไหนทำลายสถิตินี้ลงได้
“ ลูกทัพฟ้า ” ยังสร้างสถิติเป็นสโมสรที่คว้าถ้วยพระราชทานครบทุกถ้วย ตั้งแต่ถ้วยพระราชทาน ก. ข. ค. และ ง. รวมไปถึงคว้าแชมป์รายการอื่น ๆ ถ้วยพระราชทานควีนส์คัพ , มวก. คัพ , แชมป์ไทยลีก , แชมป์เอฟเอ คัพ , แชมป์โตโยต้า คัพ และรายการอื่นอีกมากมาย
สโมสรแห่งนี้ยังเป็นที่ขัดเกลานักเตะชื่อดังระดับเอเชียอย่าง “ เพชฌฆาตหน้าหยก ” ปิยะพงษ์ ผิวอ่อน ตำนานศูนย์หน้าทีมชาติไทยที่ได้ออกไปค้าแข้งยังประเทศเกาหลใต้กับทีม ลักกี้โกลสตาร์ ( เอฟซี โซล ในปัจจุบัน ) และปาหัง ( มาเลเซีย ) รวมไปถึงนักเตะดาวดังทีชาติที่ผ่านการรับใช้สโมสรนี้อีกมายมาย เช่น ไพโรจน์ พ่วงจันทร์ , นราศักดิ์ บุญเกลี้ยง , ประทีป ปานขาว เป็นต้น
เมื่อยุคทองของสโมสรได้ผ่านพ้นไปไม่มีโทรฟี่แวะมาเยี่ยมเยียน “ ธูปะเตมีย์ ” สนามเหย้าของสโมสรฟุตบอลทหารอากาศ แต่สโมสรยังส่งทีมเข้าร่วมการแข่งขันอยู่เรื่อยไป ไม่ได้ย่อท้อหรือหมดสิ้นหวัง และด้วยความมุงมั่นที่จะนำสโมสรฟุตบอลทหารอากาศกลับมายิ่งใหญ่อีกครั้ง
วันที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553 สโมสรฟุตบอลทหารอากาศได้ปรับปรุงเพื่อก้าวสู่มืออาชีพมากขึ้น ตามกฏเกณฑ์และระเบียบต่างๆที่สมาคมฟุตบอลแห่งประเทศไทยและสมาคมฟุตบอลแห่งเอเชียได้กำหนดไว้ถึงการเป็นนิติบุคคลอย่างสมบูรณ์เพื่อให้เข้าสู่มาตรฐานการแข่งขันหนึ่งเดียวกับนานาชาติ ทางสโมสรฟุตบอลทหารอากาศถึงทำการเปลี่ยนแปลงตราสโมสรและชื่อใหม่คือ สโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี จวบจนถึงปัจจุบัน
ซึ่งในปัจจุบันสโมสรฟุตบอลแอร์ฟอร์ซ เซ็นทรัล เอฟซี ทำการแข่งขันอยู่ในระดับ “ Thai League 2 M-150 Championship ” คุมทีมโดยยอดโค้ชอย่าง สะสม พบประเสริฐ ลุ้นการเลื่อนชั้นสู่ไทยพรีเมียร์ลีก ( T 1 ) ลีกสูงสุดบนเวทีฟุตบอลอาชีพบ้านเรา
ที่กล่าวมาเป็นเพียงแค่ส่วนหนึ่งของสโมสรตำนานที่ยังมีลมหายใจ โลดแล่นบนเวทีฟุตบอลไทยในปัจจุบันรอคอยวันที่ก้าวขึ้นมาสานต่อตำนานบทเก่า อีกไม่นานคงได้เห็นสโมสรฟุตบอลทหารอากาศกลับมาเกรียงไกรอีกครั้ง