Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

ยาปราบศัตรูพืชยังจำเป็นอยู่ไหม

Posted By Plook Creator | 15 ก.พ. 60
3,720 Views

  Favorite

หนึ่งหน้าบันทึกในประวัติศาสตร์เกี่ยวกับการสูญเสียครั้งยิ่งใหญ่ต้องมีเหตุการณ์ความสูญเสีญที่เกิดจากความอดอยากของไอร์แลนด์ในช่วงปี 1845 ผู้คนล้มตายจากความอดอยาก และอีกมากต้องอพยพย้ายถิ่นหนีออกไปจากเกาะเพื่อหาแผ่นดินที่อุดมสมบูรณ์กว่าอยู่ ต้นเหตุของภัยพิบัติที่คร่าชีวิตไปกว่าล้านคน และอีกกว่าล้านคนต้องอพยพ คือ รามันฝรั่ง Potato Blight ชุลชีพขนาดเล็กที่คุกคามไร่มันฝรั่ง แหล่งอาหารหลักของผู้คนในยุคนั้น

ยุคที่ทุกคนต่างพึ่งพิงการเกษตรและการอยู่รอดต้องพิจารณาปีต่อปีที่ผลผลิตออกสู่ตลาด นับจากเหตุการณ์ครั้งนี้ทำให้มนุษย์เราตื่นตัวเรื่องการใช้ Pesticide ยาปราบศัตรูพืช แม้จะแปลเป็นไทยว่ายา แต่มันก็เป็นยาสำหรับพืชที่เราต้องการ และเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตอื่น มันฆ่าสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่มาคุกคาม ไม่ว่าจะเป็นแมลง สัตว์ขนาดเล็ก วัชพืช เชื้อรา และแบคทีเรียต่าง ๆ

 

ภาพ : Pixabay

 

อันที่จริงมนุษย์เราใช้ยาปราบศัตรูพืชมานานแล้ว มีการค้นพบว่าเราใช้มันกว่าหลายพันปีก่อนคริสกาล มีการค้นพบการใช้ผงกัมมะถันกับพืชตั้งแต่ยุคเมโสโปเตเมียโบราณ การใช้พืชที่มีพิษเพื่อควบคุมแมลงศัตรูพืช การค้นพบธาตุและสารเคมีต่าง ๆ ก็นำมาสู่การใช้มันในหลากหลายวิธี มีการเริ่มใช้สารหนู ตะกั่ว และสารปรอทเพื่อการปราบศัตรูพืชในช่วงคริศตวรรษที่ 15 มีการใช้สารที่หลากหลายในการปราบศัตรูพืชแต่ไม่มีอะไรเป็นที่น่าจดจำในความรุนแรงและผลกระทบได้เท่ากับ ดีดีที DDT ​Dichlorodiphenyltrichloroethane สารไม่มีสี ไม่มีรส และแทบไม่มีกลิ่น มันถูกใช้เพื่อกำจัดแมลงศัตรูพืช ถูกค้นพบหรือปรุงขึ้นโดยนักเคมีชาวสวิส Paul Hermann Müller ในช่วงต้นคริศตวรรษที่ 19 โดยมีจุดเริ่มต้นเพื่อใช้ในการควบคุมโรคมาลาเรียและไข้รากสาดใหญ่ ต่อมาได้รับการปรับปรุงเพื่อให้ใช้ฆ่าแมลงศัตรูพืช​ ซึ่งทำให้มุลเลอร์ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสรีรวิทยาหรือการแพทย์

 

อย่างไรก็ตามผลกระทบต่อยาปราบศัตรูพืช โดยเฉพาะอย่างยิ่ง DDT ก็มีมากกว่าแค่การกำจัดแมลง มันส่งผลต่อสัตว์ต่าง ๆ ในระบบนิเวศน์ มันเป็นพิษต่อสัตว์น้ำอย่างเช่น กุ้ง ปู สัตว์มีเปลือกหุ้มในไฟลั่ม Arthopod ต่าง ๆ รวมถึงปลาบางชนิด นอกจากนั้นมันยังทำให้เปลอกไข่ของหลายสปีซี่ส์บางลง และนั่นทำให้อัตราการเกิดของหลายชนิดลดลงอย่างรวดเร็ว นกอินทรีหัวขาว สัตว์สัญลักษณ์ของสหรัฐอเมริกาได้รับผลกระทบโดยตรงจากสารดีดีทีนี้ มันเกือบสูญพันธุ์ในวันที่กฏหมายห้ามการใช้ดีดีทีผ่านสภา นกอีกหลายชนิดได้รับผลกระทบนี้เช่นกัน และแม้ว่าแมลงต่าง ๆ ซึ่งถูกฆ่าไปโดยดีดีทีก็ได้รับผลกระทบ แต่หากเป็นในทิศทางที่ดีสำหรับสายพันธุ์ของมันเพราะหลายสปีซี่ส์ได้ปรับตัวให้สามารถทนทานต่อยาฆ่าแมลงได้

เช่น แมลงเต่าทองมันฝรั่งสายพันธุ์โคโรลาโด ซึ่งทนทานต่อยาฆ่าแมลงกว่า 50 ชนิด มนุษย์เองก็ได้รับผลกระทบจากการใช้ดีดีทีระบบภูมิคุ้มกันและระบบสืบพันธุ์ของคนเองก็ได้รับผลกระทบ และปัจจุบันยังพบว่ามีสารดีดีทีตกค้างอยู่ในสภาพแวดล้อมรวมถึงสัตว์ต่างๆอยู่ และคาดว่าดีดีทีจะยังวนเวียนอยู่ในระบบนิเวศน์ไปอีกอย่างน้อย 150 ปีจึงจะสลายไป เป็นโศกนาฏกรรมที่ทำให้โลกเราตื่นตัวเรื่องระบบนิเวศน์และห่วงโซ่อาหาร เมื่อสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งลดจำนวนลงอย่างรวดเร็ว สัตว์ที่มีความสัมพันธ์กับมันอย่างเช่น เป็นเหยื่อ เป็นผู้ล่า หรือพึ่งพาอาศัยเองล้วนได้รับผลกระทบเช่นกัน

 

ภาพ : Pixabay

 

แต่หากว่ายาปราบศัตรูพืชเป็นสิ่งอันตรายแล้วเราต้องใช้อะไรในการควบคุมคุณภาพและปริมาณผลผลิตทางการเกษตรอันเป็นแหล่งอาหารหลักที่ขับเคลื่อนประชาคมโลก นับตั้งแต่วันที่เรารู้ถึงพิษของยาปราบศัตรูพืชและการใช้สารเคมี มีการถอยย้อนไปวิวัฒน์ภูมิปัญญาทางการเกษตรกรรมแต่อดีตเพื่อปรับใช้กับปัจจุบันรวมถึงการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ทางเลือกอื่นๆเพื่อให้ผลิตผลทางการเกษตรดีขึ้นทั้งเชิงคุณภาพและปริมาณ และไม่ส่งผลกระทบสภาพแวดล้อม สิ่งมีชีวิตอื่นๆ รวมถึงผู้บริโภค เทคนิคและวิธีมีหลากหลายตั้งแต่การปลูกพืชหมุนเวียน ซึ่งช่วยให้ศัตรูพืชไม่สามารถอยู่ในพื้นที่ได้นาน

รวมถึงคุณภาพและสารอาหารในดินมีการปรับเปลี่ยนหมุนเวียน การปลูกพืชสลับหว่างโดยการนำพืชที่เป็นพืษต่อแมลงมากั้นพืชที่แมลงศัตรูพืชชอบ หรือการปลูกพืชที่ดึงดูดแมลงไปปลูกให้ห่างจากพืชที่มีมูลค่าทางการเกษตรเพื่อแยกแมลงออกจากแหล่งอาหารของมัน การทำเกษตรอินทรีย์ใช้ยาปราบศัตรูพืชที่มาผลิตจากอินทรีย์สาร ลดการใช้สารเคมี ไปจนถึงการปรับปรุงพันธุกรรมและพันธุ์พืชเพื่อให้ทนต่อโรคและศัตรูพืชมากขึ้น มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมและอากาศมากขึ้น เป็นต้น


จุดเปลี่ยนของเราในตอนนี้คือการมองย้อนไปดูความสำเร็จของอารยธรรมเก่าก่อนที่สร้างขึ้นมาโดยปราศจากการใช้สารเคมีจำนวนมาก กอปรกับเทคโนโลยีที่เรามีในปัจจุบัน การใช้แมลงเต่าทองเพื่อการกำจัดเพลี้ย การใช้น้ำสะเดาเพื่อฆ่าแมลง กลายเป็นวิถีที่ปลอดภัยและมีคุณค่ากว่า คำถามสำหรับตอนนี้คือ ยาปราบศัตรูพืช สารเคมีต่าง ๆ เหล่านั้น ยังคงจำเป็นอยู่หรือ ไม่ใช่แค่สารดีดีทีที่เป็นเสมือนไก่ที่ถูกเชือดให้ลิงดูไปแล้ว สารอื่น ๆ หรือแม้แต่ปุ๋ยเคมีเอง ก็อาจจะไม่จำเป็นอีกต่อไป

 
ขอบคุณภาพปก : Pixabay
เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Creator
  • 0 Followers
  • Follow