นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี บอกถึงขั้นตอนพระราชพิธีสถาปนาสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 20 ว่า ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ (พศ.) จะอธิบายได้ชัดเจนกว่า โดยขั้นตอนมีอยู่แล้วเมื่อครั้งสถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ปี 2532 มาเป็นแบบอย่างและจะดำเนินการตามนั้นทุกขั้นตอน
ในอดีตเมื่อครั้งที่สมเด็จพระสังฆราชเป็นเจ้า ในสมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งเป็นน้องของพระเจ้าแผ่นดิน หรือบางองค์เป็นพระญาติ การสถาปนาถือว่ายิ่งใหญ่ เพราะทิ้งเวลาเว้นไป 30 ปี เรียกว่า "พิธีมหาสมณุตมาภิเษก" มาจากคำว่า "สมณ" บวกกับ "อุตม" คือ อุดม และอภิเษก แต่คราวอื่นเป็นพระราชพิธีสถาปนาเช่นเดียวกับในคราวนี้
สำหรับพระนามสมเด็จพระสังฆราช อาลักษณ์จะอ่านประกาศท่ามกลางที่ประชุมภายในพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
ในขณะที่คนทั่วไปเรียก สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งเป็นตำแหน่ง
ส่วน สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ เป็นชื่อ
และ สกลมหาสังฆปริณายก เป็นหน้าที่ แปลว่า ผู้เป็นใหญ่ที่ปกครองบังคับบัญชาสังฆมณฑลทั่วประเทศ
การปฏิบัติของบุคคลต้องใช้ราชาศัพท์ เรียกแทนตัวว่า เกล้ากระหม่อม และเรียกพระองค์ท่านว่า ฝ่าพระบาท
นายวิษณุ กล่าวว่า ส่วนการแสดงความยินดีของพุทธศาสนิกชนนั้น โดยธรรมเนียมทุกครั้งเมื่อมีการสถาปนาสมเด็จพระสังฆราช และเสร็จขั้นตอนพระราชพิธีในอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดารามแล้ว ประธานองคมนตรี , ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) , ประธานศาลฎีกา , นายกรัฐมนตรี และพระบรมวงศานุวงศ์ จะเข้าถวายสักการะ ณ ที่นั้น และเมื่อเสด็จกลับวัดจะมีพุทธศาสนิกชนไปรอที่วัด เพื่อแสดงมุทิตาจิตและถวายสักการะ
ส่วนการแสดงความเห็นทางโซเชียลมีเดีย ควรใช้คำว่า