เกิดจาก 2 สาเหตุหลักคือ
เนื่องจากมีการเปลี่ยนแปลงของเคมีในสมอง เช่นความผันผวนของระดับฮอร์โมนที่สำคัญ สืบทอดจากพ่อแม่สู่ลูก
เป็นผลมาจากสถานการณ์ความตึงเครียดทางอารมณ์ เช่น หากเป็นภาวะซึมเศร้าในวัยเด็ก (Childhood Depression) อาจมีสาเหตุจากความตึงเครียดในครอบครัว เหตุการณ์สะเทือนใจอย่างรุนแรง หรือความคาดหวังทางการศึกษาเล่าเรียนที่สูงส่งเกินความสามารถของตน
• ภาวะซึมเศร้าในโรคประสาท (Neurotic depression) ซึ่งอาจพบร่องรอยว่าถูกบีบคั้นอย่างมากในวัยเด็ก แล้วปะทุออกมาในช่วงชีวิตภายหลัง
• ภาวะซึมเศร้าเพราะความชรา (Depression of age) เกิดเพราะความสามารถในการปรับตัวลดน้อยลง มีชีวิตโดดเดี่ยว
- ปัญหาช่องว่างระหว่างวัยหรือปัญหาที่เรียกกันว่า ภาวะสะเทือนใจหลังเกษียณ (สูญเสียคุณค่าในตนไม่มีงาน ความรู้สึกว่าไร้สมรรถภาพ)
• ภาวะซึมเศร้าจากปฏิกิริยาทางใจ (Reactive depression) เช่น อาการซึมเศร้าภายหลังจากคู่แต่งงานเสียชีวิต ตกงาน หย่าร้าง ภาวะซึมเศร้าเพราะสภาพจิตใจอ่อนล้า (Depression of fatigue) เป็นการตอบสนองทางใจต่อสภาวะความเครียดเรื้อรัง เช่น ชีวิตสมรสมีปัญหาขัดแย้งไม่รู้จบ ความกดดันจากงานที่ต้องรับผิดชอบ การเปลี่ยนงาน ภาระมากเกินไป ภาวะซึมเศร้าชนิดนี้มักเกิดในหญิงซึ่งต้องรับภาระทั้งในครอบครัวและทำงานนอกบ้าน และในชายที่อยู่ในช่วงอายุ 50 – 60 ปี ซึ่งถูกกดดันจากการไม่อาจขึ้นสู่จุดสูงสุดในอาชีพการงานของตนได้
อาการเริ่มต้นของโรคซึมเศร้า
– อารมณ์ไม่สนุกสนาน ไม่ร่าเริงเหมือนเดิม ไม่มีความสุข เบื่อ ท้อแท้ เครียด หงุดหงิดและเศร้า
– หมดความสนใจในสิ่งต่าง ๆ เบื่อสิ่งที่เคยทำแล้วสนุก มีความสุข ไม่อยากทำอะไร ไม่อยากเจอใคร
– เบื่ออาหาร น้ำหนักลดลงมาก (หรือบางคนกินมากเพื่อให้หายเครียด น้ำหนักเพิ่มขึ้น)
– นอนไม่หลับ หลับ ๆ ตื่น ๆ หรือตื่นเร็วกว่าเดิม 2-3 ชั่วโมงแล้วนอนต่อไปไม่ได้ (แต่บางคนนอนมากขึ้นเนื่องจากไม่อยากทำอะไร นอนแต่ก็ไม่หลับ)
– เหนื่อยหน่าย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง ไม่อยากทำอะไร
– ความคิดช้า การเคลื่อนไหวช้า
– สมาธิความจำเสีย ตั้งใจทำงานไม่ได้ ลังเลตัดสินใจลำบาก
– คิดว่าตัวเองไร้ค่า ทำผิด ทำไม่ดี คิดต่อตัวเองไม่ดี
– อยากตายและฆ่าตัวตาย
ภาวะซึมเศร้า ที่นำไปสู่การฆ่าตัวตาย ในขั้นต้น จะเริ่มมีสัญญาณ ที่เป็นจุดสังเกตให้คนสามารถช่วยกันเฝ้าระวังได้ ดังนี้
1. ช่วงนี้ดูเหงามากกว่าปกติ
2. เก็บตัว ไม่พูดคุยสุงสิงกับใคร
3. พฤติกรรมเปลี่ยนไป ไม่ชอบทำอะไรในสิ่งที่เคยทำประจำ
พฤติกรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางความคิด
คือ มักจะมีความคิดไปในทาง Negative Thinking หรือความคิดที่เป็นด้านลบตลอดเวลา มักสิ้นหวังมองโลกในแง่ร้าย รู้สึกผิด รู้สึกตัวเองไร้ค่าไม่มีความหมาย และไม่มีทางเยียวยาได้ จนอยากทำร้ายตัวเอง ในที่สุดก็จะคิดทำร้ายตัวเอง คิดถึงแต่เรื่องความตาย พยายามที่จะฆ่าตัวตาย
พฤติกรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางการเรียนรู้หรือการทำงาน
มักไม่สนใจสิ่งแวดล้อม ความสนุก งานอดิเรก หรือกิจกรรมที่เพิ่มความสนุก รวมทั้งกิจกรรมทางเพศ รู้สึกอ่อนเพลีย ไม่มีพลังงาน การทำงานช้าลง การงานแย่ลง ไม่มีสมาธิ ความจำเสื่อม ตัดสินใจแย่ลง
พฤติกรรมที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางอารมณ์
คือ มักจะมีความรู้สึกซึมเศร้า กังวล อยู่ตลอดเวลา มักหงุดหงิดฉุนเฉียว โกรธง่าย อยู่ไม่สุข กระวนกระวาย เป็นต้น
พฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปอย่างเด่นชัด
เช่น นอนไม่หลับ ตื่นเร็ว หรือบางรายหลับมากเกินไป บางคนเบื่ออาหารทำให้น้ำหนักลด บางคนรับประทานอาหารมากทำให้น้ำหนักเพิ่ม มีอาการทางกายรักษาด้วยยาธรรมดาไม่หายเช่น อาการปวดศีรษะ แน่นท้อง ปวดเรื้อรัง ความสัมพันธ์กับบุคคลอื่นแย่ลง
บางทีแสดงออกเป็นพฤติกรรมให้รู้ได้ เช่น
• บางคนเปรย ๆ ให้คนใกล้ชิดฟัง เช่น “รู้สึกเบื่อจัง ไม่รู้จะอยู่ไปทำไม”
• บางคนพูดเป็นเชิงฝากฝัง สั่งเสีย เช่น “ฝากดูแลลูกด้วยนะ”
• บางคนดำเนินการบางอย่าง เช่น ทำพินัยกรรม โอนทรัพย์สมบัติให้ลูกหลาน
1. อย่าตั้งเป้าหมายในการทำงาน และปฏิบัติตัวที่ยากเกินไป หรือรับผิดชอบมากเกินไป
2. แยกแยะปัญหาใหญ่ ๆ ให้เป็นส่วนย่อยๆ จัดเรียงความสำคัญก่อนหลังและลงมือทำ เท่าที่สามารถทำได้
3. อย่าพยายามบังคับตนเอง หรือตั้งเป้ากับตนเองให้สูงเกินไป เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกล้มเหลวในภายหลัง
4. พยายามทำกิจกรรมต่าง ๆ ร่วมกับบุคคลอื่น ซึ่งดีกว่าอยู่เพียงลำพัง
5. เลือกทำกิจกรรมที่จะสร้างความรู้สึกที่ดีขึ้น หรือเพลิดเพลินและไม่หนักเกินไป เช่น ออกกำลังกายเบา ๆ ชมภาพยนตร์ ทำกิจกรรมทางสังคม
6. อย่าตัดสินใจในเรื่องที่สำคัญต่อชีวิตมาก ๆ เช่น การลาออกจากงาน การแต่งงาน หรือ การหย่าร้าง โดยไม่ได้ปรึกษาผู้ใกล้ชิดที่รู้จักผู้ป่วยดี และ ต้องเป็นบุคคลที่สามารถพิจารณาเหตุการณ์นั้นอย่าง ที่ยงตรง มีความเป็นกลาง และ ปราศจากอคติ ดีที่สุด คือ เลื่อนการตัดสินใจออกไปจนกว่าภาวะโรคซึมเศร้าจะหายไปหรือดีขึ้น มากแล้ว
7.ไม่ควรตำหนิ หรือลงโทษตนเองที่ไม่สามารถทำ ได้อย่างที่ต้องการ เพราะ ไมใช่ความผิดของผู้ป่วย ควรทำเท่าที่ตนเองทำได้
8. อย่ายอมรับว่า ความคิดในแง่ร้ายที่เกิดขึ้นในภาวะ ซึมเศร้าว่าเป็นส่วนหนึ่งที่แท้จริงของตนเอง เพราะโดยแท้จริงแล้วมันเป็นส่วนหนึ่งของโรค หรือ ความเจ็บป่วย และ สามารถหายไปได้เมื่อรักษา
9. ในขณะที่ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ากลายเป็นคนที่ต้องการ ความช่วยเหลือจากบุคคลอื่น แต่อาจมีบุคคลรอบตัวๆ ที่ไม่เข้าใจในความเจ็บป่วยของผู้ป่วย และ อาจสนองตอบในทางตรงกันข้ามและกลายเป็น การซ้ำเติมโดยไม่ได้ตั้งใจ
โรคซึมเศร้ามีโอกาสเกิดขึ้นได้กับทุกคน ทุกเพศ ทุกวัย หากเห็นคนใกล้ชิด มีพฤติกรรมที่เปลี่ยนแปลงไปและเข้าข่ายของภาวะซึมเศร้าหรือเป็นโรคซึมเศร้าแล้ว อย่ามองว่าเป็นความคิดแง่ลบที่สร้างขึ้นมาเอง มองโลกในแง่ร้ายเอง แต่ควรเปิดใจรับฟังและพยายามหาทางช่วยเหลือเท่าที่จะทำได้ เพราะโรคนี้ส่งผลรุนแรง แม้อาการอาจดูเหมือนคนมีอารมณ์วิตกกังวลเพียงเท่านั้น หลักควรปฎิบัติมีดังนี้
• ช่วยพยุง หรือประคับประคองทางอารมณ์นับเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดอัน ได้แก่ การรับฟัง ความเข้าใจ ความอดทน ความห่วงใย
• สนับสนุนและให้กำลังใจการรับฟังผู้ป่วยอย่างตั้งใจ โดยแทนที่จะแสดงท่าทีรำคาญ หรือดูแคลนผู้ป่วย แต่ควรจะชี้ให้เห็นถึงความเป็นจริงตลอดจนความหวัง
• ชักชวนผู้ป่วยเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม หรืองานอดิเรกที่เคยให้ความสนุกสนานต่อผู้ป่วยมาก่อน เช่น เดินเล่น ชมภาพยนตร์ หรือเล่นกีฬา แต่ไม่ควรผลักดันมากเกินไป และเร็วเกินกว่าที่ผู้ป่วยจะรับได้เพราะอาจไปเพิ่มความรู้สึกไร้ค่าไร้ความ สามารถให้มากขึ้น
• อย่าเรียกร้องให้ผู้ป่วยต้องหายจากโรคอย่างรวดเร็ว อย่ากล่าวโทษผู้ป่วยซึมเศร้าว่าแสร้งทำ หรือขี้เกียจ เพราะถึงแม้ผู้ป่วยที่ได้รับการรักษาก็ยังต้องใช้เวลา ช่วงหนึ่งจึงจะมีอาการดีขึ้น
คนที่ภาวะจิตใจอ่อนไหวง่าย เสี่ยงฆ่าตัวตาย และมีภาวะซึมเศร้าได้ง่ายกว่าคนปกติ เนื่องจากในสมองจะหลั่งสารที่เรียกว่า ซีโรโทนิน ออกมาเป็นสารที่เกี่ยวกับอารมณ์ ทั้งสุขใจ เสียใจ โดยสารนี้ออกฤทธิ์ มีผลกับความคิดการกระทำ ซึ่งกลุ่มที่ทำอาชีพเกี่ยวกับอารมณ์ เช่น นักแสดง หรือนักร้อง ก็จัดอยู่ในกลุ่มคนที่มีอารมณ์อ่อนไหว ได้ง่าย
เราอาจคิดว่าการที่เขาฆ่าตัวตายแสดงว่าเขาได้ตัดสินใจแน่นอนแล้ว คงเปลี่ยนใจเขายาก แต่จริง ๆ แล้วจากการศึกษาพบว่าส่วนใหญ่คนที่ฆ่าตัวตายจะมีความรู้สึกสองจิตสองใจ จริง ๆ แล้วเขาอยากมีชีวิตอยู่ แต่เขาทนความปวดร้าว ความทุกข์ทรมานที่เกิดขึ้นไม่ไหว ถ้าความทุกข์นี้ลดลงหรือได้รับการช่วยเหลือหรือมีคนชี้แนะ ความคิดอยากตายมักหายไปในที่สุด
เรื่องความไม่สมหวังในความรักเป็นอีกสาเหตุใหญ่สาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้วัยรุ่นมักตัดสินใจฆ่าตัวตาย
สัญญาณก็คือ นิสัยจะเปลี่ยนไป มีอาการซึมเศร้า ชอบเก็บตัวอยู่คนเดียว และอาจจะมีการพูดตัดพ้อถึงการฆ่าตัวตาย ทั้งการพูดตรง ๆ และการพูดอ้อม ๆ ซึ่งเรื่องแบบนี้ครอบครัวหรือคนใกล้ชิดไม่ควรเพิกเฉยหรือปล่อยผ่าน ถ้าได้ยินควรเข้าไปดูแล พูดคุย หรือชวนทำกิจกรรมอื่น ๆ พยายามให้คนที่มีอาการแบบนี้หลีกเลี่ยงการอยู่คนเดียว เพราะจะนำไปสู่ความกดดันหา ทางออกไม่ได้ จนนำไปสู่การคิดสั้น
–สาเหตุการณ์ของการฆ่าตัวตายเกิดจากอะไรได้บ้าง ?
การศึกษาของศาสตราจารย์ Schneidman พบว่า คนเราไม่ได้ฆ่าตัวตายเพียงเพราะสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง แต่เป็นการเก็บความทุกข์มากมาย หลายเรื่องจนถึงจุดที่รู้สึกว่าเก็บต่อไปไม่ไหวและไร้ทางออก การมีอาการของโรคซึมเศร้ารุนแรง (มาจากความคิดว่าตัวเองไร้ค่า)
–ทำไมการฆ่าตัวตายมักถูกผูกโยงกับโรคซึมเศร้า ?
เพราะคนเป็นโรคซึมเศร้าจะมีความคิดอัตโนมัติ ที่ควบคุมได้ยากว่า เราก็แย่ คนอื่นไม่ดี โลกนี้ไม่น่าอยู่ จึงมีโอกาสสูงที่จะมีความคิดฆ่าตัวตายเพื่อให้พ้นจากความรู้สึกเศร้า
–โรคซึมเศร้ากับความเศร้าต่างกันอย่างไร ?
ความเศร้าเป็นภาวะ เหตุมีก็เศร้า เหตุหายก็หายเศร้า โรคซึมเศร้าเป็นความรู้สึกเศร้าที่ฝังลึก ยากจะจางหาย เป็นต่อเนื่องยาวนานแม้ไม่มีเหตุของความเศร้า
–เราควรช่วยเหลือคนที่พยายามฆ่าตัวตายอย่างไร ?
“รับรู้” “รับฟัง” “เข้าใจ”
“รับรู้” รู้ว่าเค้ากำลังทุกข์ที่สุดในชีวิต รู้ว่าเขามีความคิด รู้ว่าอย่ากลัวกับการถามอย่างตรงไปตรงมาว่า “มีความคิดทำร้ายตัวเองใช่ไหม?”
“ทำอย่างไร?” แค่รู้ว่ามีคนรับรู้ความทุกข์ ใจก็เบาไปกว่าครึ่ง
“รับฟัง” เปิดโอกาสให้เค้าระบายความอัดอั้นตันใจอย่างเต็มที่ พูดให้น้อยตั้งใจฟังให้มาก
“เข้าใจ” เข้าใจสาเหตุของความทุกข์ จนเป็นที่มาของความคิดฆ่าตัวตาย และแสดงความเข้าใจนั้นออกมาให้เขารับรู้ เช่น โอบกอด ท่าทีห่วงใย น้ำเสียงนุ่มนวล
โรคซึมเศร้ารักษาไม่ยากเนื่องจากโรคนี้เกิดจากการแปรปรวนของสารสื่อนำประสาท ที่สามารถแก้ไขได้ด้วยยารักษาโรคซึมเศร้าร้อยละ 80 หายได้เมื่อได้รับยาร่วมกับการรักษาทางจิตใจ เวลาหายจะเป็นปกติเหมือนคนเดิม โรคนี้มิใช่โรคจิต โรคประสาท เป็นโรคทางอารมณ์ที่รักษาหายได้เหมือนเดิม
ผู้ที่สงสัยว่าตนเองหรือคนใกล้ชิดอาจเสี่ยงป่วยเป็นโรคซึมเศร้า สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่สายด่วนสุขภาพจิต 1323 โทรฟรี 24 ชั่วโมง หรือรีบพาพบจิตแพทย์ ขอรับบริการได้ที่โรงพยาบาลจิตเวช สังกัดกรมสุขภาพจิตทั่วประเทศ หรือติดต่อที่เบอร์ดังต่อไปนี้
ขอบคุณข้อมูลจากจิตแพทย์ :
นพ.พิชัย อิฏฐสกุล จิตแพทย์ โรงพยาบาลมนารมย์
พญ.วิมลรัตน์ วันเพ็ญ รองผอ.สถาบันสุขภาพจิตเด็กและวัยรุ่น
นพ. มาโนช หล่อตระกูล