ซึ่งพฤติกรรมอาการหวงของของเด็กเป็นภาวะทางอารมณ์ประเภทหนึ่ง เป็นพัฒนาการตามวัยที่มักเกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน เด็กวัยนี้ไม่สามารถแยกแยะระหว่างความเป็นเจ้าของถาวรและความเป็นเจ้าของชั่วคราวได้ การที่เด็กไม่อยากแบ่งของเล่นให้พี่น้องหรือคนอื่น ๆ เพราะเข้าใจว่าของที่ให้ไปจะไม่ได้กลับคืนมาอีก ซึ่งกว่าเด็กจะเริ่มรู้จักและเข้าใจการแบ่งปันจริง ๆ ก็เมื่ออายุประมาณ 6 ปีขึ้นไป
ถึงแม้อาการหวงของในเด็ก จะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นเป็นปกติตามวัย แต่ก็ไม่ควรละเลยเพราะการสอนลูกให้รู้จักการแบ่งปันตั้งแต่ยังเด็กเป็นรากฐานสำคัญที่จะทำให้เขาเติบโตมาเป็นคนมีจิตใจดี มีน้ำใจ และเป็นคนดีในสังคม
เด็ก ๆ เรียนรู้จากการเห็นและเลียนแบบ ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่ต้องเป็นคนแบ่งปันให้ลูกเห็นก่อน เช่น การแบ่งอาหารให้กับเพื่อนบ้าน การแบ่งปันภายในครอบครัวโดยคุณพ่อคุณแม่อาจตักอาหารให้คุณตาคุณยายเวลากินอาหารร่วมกัน หรือแบ่งขนมที่กำลังกินอยู่ให้กับลูก เมื่อลูกเห็นบ่อยเข้าก็จะเกิดการเรียนรู้ว่าการแบ่งปันเป็นอย่างไร และจะทำตามได้ในที่สุด
เปิดโอกาสให้เขาคิดเองว่าอยากแบ่งของหรือไม่ คุณพ่อคุณแม่เพียงให้คำแนะนำ แต่ถ้าหากลูกไม่อยากแบ่งของก็อย่าบังคับ ควรค่อย ๆ ถามเหตุผลให้ลูกอธิบายว่าเป็นเพราะอะไร บางครั้งเหตุผลที่ลูกไม่ยอมแบ่งของอาจเป็นสิ่งที่เราคาดไม่ถึง เช่น กลัวของเล่นเสียใจ กลัวของพัง หลังจากรู้เหตุผลแล้วคุณพ่อคุณแม่ค่อยชี้แนะและสอนให้เห็นถึงประโยชน์ของการแบ่งปัน
โดยการพาลูกไปบริจาคสิ่งของตามวัด หรือมูลนิธิ เพื่อให้เขาได้รู้จักการแบ่งปันให้กับสังคมและส่วนรวม เขาจะได้เห็นว่าในสังคมยังมีคนที่ขาดอยู่อีกมากมาย ซึ่งจะทำให้เกิดความเห็นอกเห็นใจ และต่อไปเขาจะได้ไม่นึกถึงแต่ตนเอง
คุณพ่อคุณแม่ต้องหากิจกรรมสนุก ๆ ที่สามารถสอนการแบ่งปันควบคู่ไปได้ด้วยมาให้ลูกทำ เช่น พาไปให้อาหารสัตว์ที่สวนสัตว์ หรือซื้ออาหารปลาไปโปรยให้ปลากินตามวัดหรือสวนสารธารณะ การเรียนรู้ผ่านกิจกรรมที่ลงมือทำด้วยตัวเองจะสามารถทำให้ลูกได้เรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
เวลาที่ลูกแบ่งของเล่นหรือขนม ไม่ว่าจะแบ่งให้จริงหรือเป็นเพียงการเล่น คุณพ่อคุณแม่ต้องชื่นชมและแสดงความยินดีทุกครั้ง แม้ลูกจะป้อนเพียงขนมชิ้นเล็ก ๆ หรือป้อนช้อนเปล่าให้กิน เพื่อแสดงให้เห็นว่าการแบ่งปันของเขาทำให้ผู้รับเกิดความสุข จะทำให้เขาเกิดความภาคภูมิใจและอยากที่จะแบ่งปันอีกในครั้งต่อ ๆ ไป