แต่ที่น่าตกใจก็คือ โรคซึมเศร้าอยู่ใกล้ตัวเรามากกว่าที่คิด บางทีคนเป็นโรคนี้ยังไม่รู้ตัวเลยด้วยซ้ำไป บทความนี้จะชวนคุณมาคิดวิเคราะห์ สังเกตตัวเองและคนรอบข้าง ว่าเราเป็นโรคซึมเศร้ากันหรือเปล่านะ
โรคซึมเศร้าเป็นอาการป่วยชนิดหนึ่งที่เกิดขึ้นกับร่างกายและจิตใจ โดยอาจส่งผลต่อชีวิตประจำวันของเราได้มากทีเดียว ทางการแพทย์เชื่อว่า ต้นตอสำคัญมากจากกรรมพันธุ์ ซึ่งมียีนในร่างกายเป็นต้นเหตุ โดยเราสามารถสังเกตดูตัวเองและคนรอบข้างว่าเป็นโรคศึมเศร้าหรือไม่จากพฤติกรรมต่อไปนี้
1. รู้สึกเศร้า หงุดหงิด ก้าวร้าว ไม่มีความสุข
2. นอนไม่หลับ หรือนอนมากเกินไป
3. เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากเป็นพิเศษ น้ำหนักขึ้นหรือลดลงมาเกินไป
4. อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
5. สมาธิลดลง จิตใจลังเล
6. ไม่สนุกกับกิจกรรมที่เคยชอบทำเหมือนอย่างเคย ขาดความสนใจสิ่งรอบข้าง
7. คิดเรื่องความตายหรืออยากฆ่าตัวตาย
8. ทำอะไรเชื่องช้าไปหมด
9. ตำหนิตัวเอง
หากมีอาการเหล่านี้ 5 ข้อขึ้นไป นาน 2 สัปดาห์ขึ้นไป ให้สงสัยไว้ก่อนว่าอาจจะมีโรคซึมเศร้ามาเยือนเสียแล้วล่ะค่ะ ขอให้ไปพบคุณหมอเพื่อวิเคราะห์ บำบัดโรคต่อไป (แต่ก็อาจจะไม่ใช่โรคซึมเศร้าก็ได้นะ ข้อนี้คุณหมอจะพิจารณาโรคให้เราเองจ้า)
เมื่อคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า หลายคนอาจไม่เข้าใจ และคิดว่าเขาอ่อนแอ ไม่สู้ชีวิต จึงพยายามเข้าไปเตือน ดุ ว่า หรือพูดจาแรงๆ เพื่อหวังให้เขาดีขึ้น แต่วิธีนั้นมันเหมือนยิ่งไปทำร้ายเขาเข้าไปใหญ่ สิ่งที่เราควรทำก็คือ...
ผู้ป่วยโรคซึมเศร้ามักมองโลกในแง่ร้าย และมักคิดว่าตนเองไม่มีค่า คนใกล้ตัวต้องคอยพูดให้กำลังใจ แสดงให้เขาเห็นคุณค่าที่เขามีอยู่เสมอ เพื่อให้เขามองเห็นในสิ่งที่มองข้ามไป และมีกำลังใจสู้ต่อ
อย่าปล่อยให้คนที่เป็นโรคซึมเศร้าอยู่คนเดียว เพราะอาจจะทำให้่เขาจมลึกจนอาจทำอะไรที่ไม่ดีต่อตัวเองได้ ให้คอยใส่ใจ ดูแลเขาอย่างใกล้ชิดเสมอ
หากผู้ป่วยต้องกินยา ให้คอยดูแลให้เขากินยาให้ครบตามที่คุณหมอแนะนำ เพราะการหยุดยาเองอาจจะทำให้อะไร ๆ ยิ่งเลวร้ายลงได้นะคะ
สุดท้าย คุณต้องเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น ขอให้เชื่อว่าไม่มีใครอยากซึมเศร้า ทุกคนอยากมีความสุขด้วยกันทั้งนั้น การที่เขาเป็นแบบนี้เขาก็ไม่ได้อยากจะเป็น แต่อาการป่วยอาจจะต้องใช้เวลาในการเยียวยารักษา ขอให้คุณเข้าใจเขา และเชื่อมั่นว่า เขาจะต้องดีขึ้นได้อย่างแน่นอน