ล่าสุด เมื่อ 7 ธ.ค.59 ราชบัณฑิตยสภาเผยแพร่ คำอ่านพระนาม และ การใช้ถ้อยคำในการถวายชัยมงคลแด่สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณฯ รัชกาลที่ 10
(ที่มา : เฟซบุ๊กราชบัณฑิตยสภา)
คำถาม โดยคุณ Karaked Sud :
"ถ้าเราจะใส่ว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร แล้วต้องใส่คำว่า "รัชกาลที่ 10 ด้วยไหมคะ ? "
คำตอบ :
"ใส่ก็ได้ค่ะ ในกรณีที่ต้องการขยายความ แต่จะขานพระนามอย่างเดียวหรือขานว่า สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ก็ได้ค่ะ"
(ที่มา : เฟซบุ๊กราชบัณฑิตยสภา)
คำถาม โดยคุณ Udomluk Kluaytong :
"เคยรู้มาว่าคำว่า"ถวายพระพรชัย"ผู้ใช้กล่าวต้องเป็นพระหรือนักบวช...ถ้าบุคคลทั่วไปใช้กล่าวว่าต้องใช้ว่า"ถวายชัยมงคล"...รบกวนช่วยอธิบายให้ได้ไหมค่ะ...ไม่แน่ใจว่าที่รู้มานั้นจริงหรือเปล่าคะ.."
คำตอบ :
" ตามแบบแผนโบราณ ถ้าผู้อวยพรเจ้านายเป็นพระภิกษุ ใช้ ถวายพระพร ถ้าผู้อวยพรเป็นสามัญชนใช้ว่า ถวายชัยมงคล
ต่อมาในรัชกาลที่ 9 พบการใช้ในกรณีที่สามัญชนอวยพรว่า ถวายพระพรชัยมงคล ส่วนพระภิกษุยังคงใช้ ถวายพระพร
นอกจากนี้ คำว่า ถวายพระพร ต้องพิจารณาใชเตามบริบท เช่น ลงนามถวายพระพร ไม่ใช้ว่า ลงนามถวายพระพรชัยมงคล
ดังนั้น ขณะนี้หากสามัญชนอวยพรเจ้านาย ใช้ถ้อยคำว่า ถวายพระพรชัยมงคล ได้ค่ะ"
"ไม่ต้องมีขอเดชะต่อท้ายค่ะ"
หมายเหตุเพิ่มเติม จากแอดมินเพจ ราชบัณฑิตยสภา :
ขอเรียนปรับแก้ไขเพิ่มเติมข้อมูลในข่าวประชาสัมพันธ์เรื่อง ราชาศัพท์ของคำว่า "ขออนุญาตให้" และ "ให้" ซึ่งประชาสัมพันธ์เมื่อวันที่ ๗ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ค่ะ
ราชาศัพท์ของคำว่า “ขออนุญาตให้” ใช้แก่พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ใช้ว่า “ขอพระราชทานถวาย”
ราชาศัพท์ของคำว่า “ขออนุญาตให้” ใช้แก่พระอนุวงศ์ชั้นพระองค์เจ้าจนถึงหม่อมเจ้า ใช้ว่า "ขอประทานถวาย"
ซึ่งใช้ได้ทั้งสิ่งที่เป็นนามธรรม สิ่งของที่ยกขึ้นให้ได้ หรือสิ่งของที่ยกขึ้นไม่ให้ได้
ส่วนข้อมูลอื่น ๆ ยังคงเดิมค่ะ
ต้องขออภัยไว้ ณ โอกาสนี้ด้วยค่ะ