พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ได้รับคำยกย่องว่า ท่านคือพระบรมครู ของมนุษย์โลกและเทวโลก เหตุด้วยท่านสร้างบารมีมาเป็นอสงไขย ลองผิดลองถูกมานับไม่ถ้วย ค้นคว้าวิชาพ้นทุกข์ แบบชนิดเอาชีวิตเป็นเดิมพัน กว่าจะทรงพบหนทางหนีออกจากคุก การเวียนว่ายตายเกิดได้
การสอนของพระพุทธเจ้าเป็นพุทธกิจประการหนึ่ง ในพุทธกิจห้าประการของพระพุทธเจ้า
กล่าวตามแบบแผนทั่วไป การสอนของพระพุทธเจ้าแบ่งออกเป็น 3 อย่าง คือ
ในที่นี้ข้าพเจ้า (อ.สุชีพ ปุญญานุภาพ) ประสงค์จะตั้งข้อสังเกตเป็นส่วนตนเองในการสอนของพระพุทธเจ้าโดยแบ่งหลักการสอนออกเป็น 3 ประการเหมือนกัน คือ
ทรงสั่งสอนโดยการปฏิวัติ
เป็นการ “เปลี่ยน” หลักคำสอน ดั้งเดิมของศาสนาพื้นเมืองอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
ทรงสั่งสอนโดยการปฏิรูป
เป็นการสอนโดยวิธีดัด “แปลง” ของเก่าที่ยังไม่ดีให้ดีขึ้นหรือของเก่ามีความหมายอย่างหนึ่งแต่นำมาแปลความหมายเสียใหม่เพื่อให้ตรงกับหลักเหตุผลยิ่งขึ้น
ทรงสั่งสอนโดยตั้งหลักขึ้นใหม่
ที่ยังไม่มีในที่อื่น แต่ก็เป็นไปตามหลักสัจธรรมที่ทรงค้นพบ
เพื่อที่จะขยายความแห่งหลักการสอน 3 ประการนี้ ข้าพเจ้าขอถือโอกาสอธิบายไว้ในที่นี่สักน้อย
ในที่นี้ขอพูดแทรกเรื่องการปฎิวัติ (Revolution) สักเล็กน้อยคำนี้ใช้ใกล้กับคำว่า วิวัฒน์ (Evolution)
ปฎิวัติ หมายถึง การเปลี่ยนอย่างหน้ามือเป็นหลังมือ
วิวัฒน์หรือวิวัฒนาการ หมายถึงความค่อย ๆ เจริญขึ้นทั้งในทางธรรมชาติ และความเป็นอยู่ของมนุษย์
การสอนศาสนาของพระพุทธเจ้าบางครั้งมีความจำเป็นจะต้องเปลี่ยนหลักการที่สอนกันอยู่ดั้งเดิมอย่างตรงกันข้ามก็ต้องสอนในทำนองนี้ เพื่อจูงใจให้เข้าใจหลักที่แท้จริงทางพระพุทธศาสนายิ่งขึ้น
เป็นสิ่งจำเป็น ในเมื่อพระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ตั้งขึ้นในท่ามกลางศาสนาอื่น ถ้าไม่มีอะไรเป็นของตนเองเลย ก็ไม่ควรนับเป็นศาสนาที่ตั้งขึ้นใหม่ เพราะการค้นพบความจริงที่ยังไม่มีใครพบ
เมื่อมองกว้าง ๆ การสอนของพระพุทธเจ้าแต่ละครั้ง จะดำเนินไปจนถึงผลสำเร็จ มีลักษณะซึ่งเรียกได้ว่าเป็นลีลาในการสอน 4 อย่างดังนี้
1. สันทัสนา อธิบายให้เห็นชัดเจนแจ่มแจ้ง เหมือนจูงมือไปดูเห็นกับตา
2. สมาทปนา ชักจูงให้เห็นจริงด้วย ชวนให้คล้อยตาม จนต้องยอมรับและนำไปปฏิบัติ
3. สมุตเตชนา เร้าใจให้แกล้วกล้า บังเกิดกำลังใจ ปลุกให้มีอุตสาหะแข็งขัน มั่นใจว่าจะทำสำเร็จได้ ไม่หวั่นระย่อต่อความเหนื่อยยาก
4. สัมปหังสนา ชโลมใจให้แช่มชื่น ร่าเริง เบิกบาน ฟังไม่เบื่อ และเปี่ยมด้วยความหวัง เพราะมองเห็นคุณประโยชน์ที่ตนจะพึงได้รับจากการปฏิบัติ
มี 5 แบบ ดังนี้
1. วิธีเอกังสลักษณะ คือ ทรงแสดงยืนยันไปข้างเดียว
เช่น ความดีมีผลเป็นสุข ความชั่วมีผลเป็นทุกข์ หรือกุศลเป็นสิ่งควรบำเพ็ญ อกุศลเป็นสิ่งควรละ
2. วิธีวิภัชชลักษณะ คือ ทรงแยกประเด็นให้ชัดเจน
เช่น มีผู้ถามว่า ผู้หญิงกับผู้ชายใครดีกว่ากันอย่างนี้ จะตอบยืนยันไปข้างเดียวแบบเอกังสะไม่ได้ ควรต้องตอบแยกว่า เป็นหญิงบางคนดีกว่าชายบางคน ชายบางคนดีกว่าหญิงบางคน ดังนี้เป็นต้น เป็นคำตอบหรือคำสอนที่มีเงื่อนไข
3. วิธีปฏิปุจฉาลักษณะ คือ ทรงถามย้อนเสียก่อนแล้วจึงตรัสสอน
เช่นที่ทรงสนทนากับสัจจกนิครนถ์ เรื่องอัตตา และอนัตตา สัจจกนิครนถ์ยืนยันว่า รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ เป็นตัวตน เป็นของตน เพราะมีตัวตน คนทั้งหลายจึงได้มีบุญมีบาป เปรียบเหมือนพืชพันธุ์ธัญญาหารอาศัยแผ่นดินจึงงอกงามไพบูลย์ ไม่มีแผ่นดินเสียแล้ว พืชพันธุ์ต่างๆ ก็ไม่มีที่อาศัยเจริญเติบโตได้
4. วิธีฐปนลักษณะ คือ พักปัญหาไว้ไม่ทรงพยากรณ์ คือ ไม่ทรงตอบเรื่องนั้น เพราะทรงเห็นว่าไม่เป็นประโยชน์ หรือยังไม่ถึงเวลาที่จะรู้
ตัวอย่างเรื่องพระมาลุงกยะมาทูลถามเรื่อง โลกเที่ยงหรือไม่เที่ยง ชีพกับสรีระเป็นอันเดียวกันหรือคนละอย่าง เป็นต้น
5. วิธีอุปมาลักษณะ คือ ทรงสอนแบบเปรียบเทียบ
เช่น ทรงเปรียบเทียบภิกษุด้วยผ้าเปลือกไม้และผ้ากาสี ทรงเปรียบเทียบลัทธิของมักขลิโคศาลว่า เหมือนผ้าที่ทำด้วยผมคน เป็นต้น
- พระพุทธเจ้ามีวิธีการสอน ให้ผู้เรียนได้รู้แจ้งเห็นจริง โดยอาศัยวิธีการต่าง ๆ หลากหลาย ให้เหมาะกับจริตนิสัยของแต่ละคน
- พระองค์สามารถยกเอาธรรมชาติใกล้ตัวมาเป็นสื่อในการสอน สามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจน เมื่อได้ทอดพระเนตรเห็นวัสดุสิ่งของ บุคคลหรือเหตุการณ์เฉพาะหน้าบางอย่างที่จะเป็นประโยชน์ในการสอน พระพุทธองค์จะทรงหยิบยกเอาขึ้นมาเป็นเครื่องมือในการสอนพระธรรมทันที แสดงว่าพระองค์ทรงเห็นคุณค่าของสิ่งที่เรียกว่า "โสตทัศนูปกรณ์ (Audio visual aids)" และแสดงให้เห็นว่าการสอนของพระองค์เป็นงานประจำที่ไม่เลือกเวลาและสถานที่ จะต้องสอดทุกโอกาสที่พอจะสอนได้
คราวหนึ่งพระพุทธองค์ประทับอยู่ ณ ที่แห่งหนึ่งบนฝั่งแม่น้ำคงคา ได้ทอดพระเนตรเห็นท่อนไม้ใหญ่ท่อนหนึ่ง ถูกกระแสน้ำพัดเข้ามาใกล้ฝั่ง พระพุทธองค์ได้ทรงชี้ให้ภิกษุทังหลายดูท่อนไม้นั้นแล้วตรัสสอนว่า
"ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าท่อนไม้จะไม่เข้ามาสู่ฝั่งนี้หรือฝั่งโน้น
จักไม่จมเสียในท่ามกลาง
จักไม่เกยบก ไม่ถูกมนุษย์หรืออมนุษย์จับเอาไว้ ไม่ถูกน้ำวน ๆ ไว้
จักไม่เน่าภายใน
...ท่อนไม้นั้นจะลอยไหลเลื่อนไปถึงสมุทรได้ ข้อนั้นเพราะเหตุไร
เพราะเหตุว่า กระแสน้ำแห่งแม่น้ำคงคาลุ่มลาดไหลไปสู่สมุทร ฉันใด
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
ถ้าท่านทั้งหลายจักไม่แวะเข้าฝั่งข้างนี้หรือฝั่งข้างโน้น
ไม่จมลงในท่ามกลาง... จักไม่เป็นผู้เสียในภายใน...
ท่านทั้งหลายจะโน้มน้อมเอียงไปสู่นิพพาน ข้อนั้นเพราะอะไร
เพราะเหตุว่าสัมมาทิฐิย่อมโน้มน้อมเอียงโอนไปสู่นิพพาน ก็ฉันนั้นเหมือนกัน...."