"ความโกรธนั้นคือไฟ แผดเผาใจผู้หลงยึด
เวลาโกรธแล้วขาดสติ แม้จะฉลาดแค่ไหน
#ก็กลายเป็นคนโง่"
แต่กระนั้น เราก็ไม่ควรไปด่วนตัดสินหรือเหมารวมว่า เขาเป็นคนดีหรือไม่ จากเหตุการณ์ที่เขาไม่สามารถระงับอารมณ์โกรธขึ้นมากได้ ซึ่งจริง ๆ แล้ว เหตุการณ์นี้ ก็อาจจะเกิดได้กับทุก ๆ คน แต่เชื่อเถอะว่า เหตุการณ์ครั้งนี้ จะเป็นบทเรียนที่ดี ที่เขานั้นจดจำไปจนวันตาย
ดังคำหลวงปู่ชา สุภัทโทสอนว่า
โดยพระอาจารย์ ว วชิรเมธี สำหรับบุคคลทั่วไปที่ไม่เคยฝึกสติ ดูตามทันอารมณ์โกรธ
1. ควรพาตัวเองออกจากสภาพแวดล้อมที่โกรธนั้นให้เร็วที่สุด
2. งดการพูดทุกถ้อยกระทงความ เพราะถ้าคุณพูด สิ่งที่ไม่ควรพูดจะหลุดออกจากปาก
3. งดการตัดสินใจทันที คนที่ตัดสินใจในนาทีที่มีความโกรธครอบงำกลุ้มรุมหัวใจนั้น การตัดสินใจจะด้อยประสิทธิภาพและเต็มไปด้วยอคติ
4. พาตัวเองเดินไปล้างหน้าล้างตาในห้องน้ำเพื่อเรียกสติ
5. ควรหาอะไรสักอย่างหนึ่งมาทำ เพื่อเป็นการถ่ายเทพลังความโกรธให้ไปอยู่ที่เนื้องาน
6. หางานอดิเรกมาทำ เพราะงานอดิเรกนั้นมักจะเป็นงานที่เรารัก พออยู่กับงานที่เรารัก จิตใจก็เริ่มแช่มชื่นเบิกบานฟื้นคืนกลับมาเป็นจิตใจที่มีประสิทธิภาพแล้ว
7. ขั้นตอนสุดท้าย ฝึกเจริญสติที่เรียกกันว่า "เมตตาพรหมวิหาร" คือ ฝึกตื่นรู้ดูใจไปพร้อมๆ กันนั้นก็ฝึกมองคนที่เราโกรธ ว่าเขาก็เป็นเพื่อนมนุษย์เช่นเดียวกับเรา ปลูกฝังเมตตาภาวนาอยู่เสมอพร้อมๆ กับที่ฝึกตื่นรู้ดูใจ
หากทำได้ถึงขั้นที่ 7 แล้ว ความทุกข์จากความโกรธจะไม่มาแผ้วพานเราอีกเลย และทุกครั้งที่ความโกรธมาเยือนเราก็สามารถพลิกความโกรธเป็นเมตตาได้ตลอดไป
การที่คนยังไม่สามารถละความโกรธออกได้ เพราะคิดว่าตัวเองไม่ได้รับความยุติธรรม จึงพยายามเรียกร้องหาความยุติธรรมให้ตัวเอง เมื่อพยายามเรียกร้องหาความยุติธรรมให้ตัวเองก็ไม่สามารถปล่อยวางความโกรธได้ กลายเป็นว่าในขณะที่เขากำลังหาความยุติธรรมให้ตัวเองนั้น เขาได้สร้างความอยุติธรรมให้ใจของตัวเองเรียบร้อยแล้ว
เห็นไหม นั่นแหละจึงเป็นรากฐานของการผูกโกรธ คือเราคิดว่าเราไม่ได้รับความเป็นธรรม จึงไปโกรธตอบ เพื่อให้คนนั้นได้รับผลแห่งการกระทำที่สาสมที่สุด
แท้ที่จริงคนสองจำพวกนี้ไม่มีใครเป็นฝ่ายชนะ เป็นคนแพ้ทั้งคู่ ฝ่ายหนึ่งโกรธคนอื่นหรือกระตุ้นให้คนอื่นโกรธก็แพ้ที่ไม่สามารถควบคุมตัวเองได้ ฝ่ายหนึ่งไปโกรธตอบ ด้วยอาการที่อยากเรียกร้องความเป็นธรรมให้เกิดขึ้นกับตัวเอง ก็แพ้ใจตัวเอง ทั้งฝ่ายที่กระตุ้นให้โกรธและฝ่ายที่โกรธ