แนวทางการพัฒนาเป้าหมายสูงสุดของการปฏิรูปการศึกษา คือ การพัฒนาคุณภาพคนไทยให้มีศักยภาพในการนำความรู้และทักษะมาพัฒนาประเทศ ทำให้เกิด การปรับเปลี่ยนระบบพื้นฐานการทำงานปัจจัยที่เป็นกุญแจสู่ความสำเร็จก็คือ วัฒนธรรมการทำงานของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทั้งผู้บริหาร ครู และบุคลากรทางการศึกษาอื่นๆ ทั้งนี้ เนื่องจากระบบพื้นฐานเดิมได้หล่อหลอม กล่อมเกลา และสร้างค่านิยมในแต่ละองค์กรและแต่ละพื้นที่แตกต่างกัน รวมทั้งวัฒนธรรมองค์กรก็แตกต่างกัน การเปิดรับและปรับตัวให้เข้ากับระบบใหม่ด้วยการสร้างวิสัยทัศน์และค่านิยมร่วมกัน ( Share Vision & Share Value) จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะนำไปสู่การยกระดับคุณภาพการศึกษาของชาติ
การสร้างวัฒนธรรมคุณภาพเพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียน คุณภาพของการทำงาน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีความเชื่อมั่นศรัทธา และมีความพึงพอใจมีแนวทางการสร้างวัฒนธรรมคุณภาพของสถานศึกษาดังนี้
1. ด้านภาวะผู้นำคุณภาพ หมายถึง ความสามารถของผู้นำในการจูงใจ กระตุ้น และผลักดันให้บุคคลากรร่วมมือกันปฏิบัติงานให้บรรลุผลสำเร็จตามวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายด้านคุณภาพขององค์กรประกอบด้วยแนวทาง ดังนี้
1) การเปิดโอกาสให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องมีส่วนร่วมในการกำหนดปรัชญาวิสัยทัศน์ พันธกิจ อัตลักษณ์ เอกลักษณ์ของสถานศึกษาอย่างชัดเจน
2) ความมุ่งมั่นในการบริหารและการปฏิบัติงานอย่างมีคุณภาพ
3) ผู้นำร่วมกับบุคคลากร กำหนดยุทธศาสตร์ที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ตรงประเด็น
4) การสร้างบรรยากาศที่ดีในการทำงาน
2. ด้านการพัฒนาบุคลากร หมายถึง การที่ผู้บริหารเตรียมงานในการดำเนินการพัฒนาบุคลากร ให้มีความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้านคุณภาพ ให้บรรลุเป้าหมายที่วางไว้ และมีการปรับปรุงทักษะอย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยแนวทาง ดังนี้
1) การกำหนดตัวบุคคลที่เหมาะสมในการเข้ารับการพัฒนา
2) การกำหนดแผนงาน /โครงการพัฒนาบุคลากรที่ชัดเจน และการจัดกิจกรรม/หลักสูตรการให้ความรู้และพัฒนาทักษะด้านต่างๆ ที่เหมาะสมกับบุคลากร
3) การสนับสนุนงบประมาณ/วัสดุ/อุปกรณ์/สถานที่ในการพัฒนาบุคลากร และมีระบบและตัวชี้วัดการประเมินประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรที่ชัดเจน
4) ขวัญกำลังใจ และการสร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
3. ด้านการทำงานที่เป็นระบบ หมายถึง การทำงานที่เกิดจากการวางแผน มีกระบวนการ ขั้นตอนที่ชัดเจน เหมาะสม ครบทุกขั้นตอนในกระบวนการงานนั้นๆสื่อสารได้เข้าใจง่าย และมีความทันสมัย การทำงานที่เป็นระบบประกอบด้วยแนวทาง ดังนี้
1) การจัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปีที่มีองค์ประกอบครบถ้วนสมบูรณ์ โดยกระบวนการมีส่วนร่วม และ การประเมินผลการดำเนินงานตามโครงการ/ กิจกรรมและนำเสนอผู้บริหาร
2) การจัดทำแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตร ประกอบด้วย วัตถุประสงค์ วิธีการจัดการเรียนรู้ สื่อ การวัดและประเมินผล
3)การนำแผนงาน/โครงการสู่การปฏิบัติ
4) การจัดทำรายงานผลการดำเนินงานโครงการ/กิจกรรมเสนอผู้บริหาร
5) การปรับปรุงและพัฒนาระบบให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในการทำงานตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนแปลงไปตามบริบท
4. ด้านการทำงานเป็นทีม หมายถึง การที่บุคคลมารวมกลุ่มกัน มีเป้าหมายร่วมกัน ร่วมคิด ร่วมทำร่วมประสาน มีสัมพันธภาพระหว่างเพื่อนร่วมงาน รวมทั้งผู้บริหารและผู้เกี่ยวข้องอยู่เสมอ มีการกำหนดหน้าที่ชัดเจน และมีความรับผิดชอบในหน้าที่ของตน และให้ความสำคัญกับคำว่าทีมตลอดเวลา การทำงานเป็นทีมประกอบด้วยแนวทาง ดังนี้
1) การกำหนดโครงสร้างการปฏิบัติงานอย่างชัดเจน
2) ทีมงานรับรู้บทบาทหน้าที่ ความรับผิดชอบของตนเองอย่างชัดเจน
3) การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานตามบทบาทหน้าที่เต็มศักยภาพ
4) ขวัญและกำลังใจ การสร้างสัมพันธ์ในระหว่างการปฏิบัติงาน
5. ด้านการเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ หมายถึงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยวิธีต่างๆ อย่างหลากหลายที่มุ่งให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างแท้จริงเกิดการพัฒนาตนและสั่งสมคุณลักษณะที่จำเป็นสำหรับการ อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขใน สังคมต่อไป การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่มุ่งพัฒนาผู้เรียน จึงต้องใช้เทคนิควิธีการเรียนรู้รูปแบบการสอนหรือกระบวนการเรียนการสอนใน หลากหลายประกอบด้วยแนวทาง ดังนี้
1) การศึกษาเป็นรายบุคคล (Individual study)
เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนหรือเรียนตามความสามารถ ความสนใจของตนเอง โดยคำนึงถึงหลักของความแตกต่างระหว่างบุคคล ซึ่งได้แก่ความแตกต่างในด้านความสามารถ สติปัญญา ความต้องการ ความสนใจ ด้านร่างกาย อารมณ์และสังคมเทคนิคและสื่อการสอนให้สอดคล้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล ได้แก่ การเรียนการสอนแบบโปรแกรม ชุดการเรียนการสอน แบบการเรียนรู้ด้วยตนเอง คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการจัดตารางเรียนแบบยืดหยุ่น การสอนแบบโมดูล ซึ่งวิธีการเรียนเหล่านี้จะช่วยเสริมประสิทธิภาพของการดำเนินการจัดการเรียนการสอนได้อย่างเต็มที่
2) การจัดการเรียนรู้โดยใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ (Learning by technology)
เป็นการจัดการเรียนรู้โดย การใช้เทคโนโลยี สื่อแหล่งเรียนรู้ ภูมิปัญญาท้องถิ่นในการจัดการเรียนรู้ เพื่อให้สอดคล้องกับบริบททางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม ที่ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่ ทุกเวลา และสามารถแสวงหาความรู้ได้ด้วยตัวเอง เช่น การสืบค้นจากอินเทอร์เน็ต การเรียนรู้ทางไกลผ่านดาวเทียม การใช้สิ่งพิมพ์ ตำราเรียนและแบบฝึกหัดการใช้แหล่งทรัพยากรในชุมชน ศูนย์การเรียนชุดการสอน คอมพิวเตอร์ช่วยสอนบทเรียนสำเร็จรูปเป็นต้น
3) การจัดการเรียนการสอนแบบเน้นปฏิสัมพันธ์(Interactive Instruction)
ประกอบด้วยการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้เรียนการโต้วาทีการอภิปราย การระดมพลังสมอง กลุ่มแก้ปัญหา กลุ่มติวการประชุมต่าง ๆ การแสดงบทบาทสมมติ กลุ่มสืบค้นคู่คิดการฝึกปฏิบัติ เป็นต้น
4) การจัดการเรียนรู้ที่เน้นการปฏิบัติจริง (Learning by doing)
เป็นการจัดกิจกรรมในลักษณะปฏิบัติการที่เรียนรู้ด้วยประสบการณ์ตรงจากการเผชิญสถานการณ์จริงและการแก้ปัญหา เพื่อให้เกิดการเรียนรู้จากการกระทำ ผู้เรียนได้ปฏิบัติจริง ฝึกคิด ฝึกลงมือทำ ฝึกทักษะกระบวนการต่าง ๆ ฝึกการแก้ปัญหาด้วยตนเองและฝึกทักษะการเสาะแสวงหาความรู้ร่วมกันเป็นกลุ่ม ผู้เรียนได้เรียนรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติตามแนวประชาธิปไตยเช่น การทดลอง การฝึกปฏิบัติจริง การจัดการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เกม กรณีตัวอย่างสถานการณ์จำลองละคร กรณีตัวอย่าง บทบาทสมมติแบบค้นพบแบบแก้ปัญหา แบบตั้งคำถามแบบใช้การตัดสินใจ เป็นต้น
5) การเรียนรู้แบบร่วมมือ (Cooperation)
เป็นการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่นักเรียนมีความสามารถแตกต่างกันโดยแบ่งนักเรียนเป็นกลุ่มเล็ก ๆ ในการเรียนร่วมกัน มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน ยอมรับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น มีการช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ซึ่งนักเรียนจะบรรลุถึงเป้าหมายของการเรียนรู้ได้ก็ต่อเมื่อสมาชิกคนอื่น ๆ ในกลุ่มไปถึงเป้าหมายเช่นเดียวกัน ความสำเร็จของตนเองก็คือความสำเร็จของกลุ่มด้วยได้แก่ ปริศนาความคิดร่วมมือแข่งขันหรือกลุ่มสืบค้น กลุ่มเรียนรู้ร่วมกัน ร่วมกันคิด กลุ่มร่วมมือเป็นต้น
6) การเรียนรู้แบบบูรณาการ (integrated learning)
กระบวนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามความสนใจ ความสามารถ โดยเชื่อมโยงเนื้อหาสาระของศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องสัมพันธ์กันให้ผู้เรียนเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม สามารถนำความรู้ ทักษะ และเจตคติไปสร้างงาน แก้ปัญหาและใช้ในชีวิตประจำวันได้ด้วยตนเอง เช่นแบบสร้างแผนผังความคิดแบบใช้กรณีศึกษา การเรียนการสอนแบบเล่าเรื่อง ( Story line) และการเรียนการสอนแบบแก้ปัญหา (Problem-Solving)
6. ด้านการนำผลการประเมินไปใช้ เป็นการนำผลของประเมินที่จัดขึ้นภายในสถานศึกษา ว่ามีคุณภาพเหมาะสมสอดคล้อง เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการจัดการศึกษาหรือไม่ เป็นที่ต้องการของชุมชนหรือสังคมในขณะนั้นพียงใด เกิดผลดีและไม่ดีอย่างไรบ้าง เพื่อนำไปใช้ในการวางแผนงาน/โครงการของสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง แนวทางการนำผลการประเมินไปใช้ ได้แก่
1) การมีส่วนร่วมของบุคลากรในการรับรู้ผลการประเมินและข้อเสนอแนะเพื่อนำไปพัฒนาปรับปรุงงานในส่วนที่รับผิดชอบ
2) การนำผลการประเมินและข้อเสนอจากการประเมินคุณภาพสถานศึกษาจากต้นสังกัดไปใช้ในการพัฒนาแผนการดำเนินงานในปีถัดไป
3) การสรุปรายงานผลการปฏิบัติตามผลการประเมิน การนำเสนอผู้บริหาร และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาเป็นการ บริหารจัดการและการดำเนินกิจกรรมตามภารกิจปกติของสถานศึกษา เพื่อพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง สร้างความมั่นใจให้ผู้รับบริการทางการศึกษา ทั้งผู้รับบริการโดยตรง ได้แก่ ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้รับบริการทางอ้อม ได้แก่ สถานประกอบการ ประชาชนชุมชน และสังคมโดยรวม การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาจึงเป็นการให้หลักฐานข้อมูล แก่ประชาชนว่าบุคคลในโรงเรียนทำงานอย่างเต็มความสามารถและสามารถดำเนินการให้เกิดคุณภาพการศึกษาตามบทบาทหน้าที่ของครู พร้อมทั้งมีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
ขั้นตอนการดำเนินการประกันคุณภาพภายในมีรายละเอียด ดังนี้
1.ขั้นการเตรียมการ ประกอบด้วย
1.1 การเตรียมความพร้อมของบุคลากร โดยสร้างความตระหนักถึงคุณค่าของการประกันคุณภาพภายในและการทำงานเป็นทีม ซึ่งจะจัดทำการชี้แจงทำความเข้าใจโดยใช้บุคลากรภายในสถานศึกษาหรือวิทยากรมืออาชีพจากภายนอก โดยบุคลากรทุกคนในสถานศึกษาได้มีโอกาสเข้าร่วมประชุมรับทราบพร้อมกัน โดยเน้นเนื้อหาเกี่ยวกับการจัดทำแผนพัฒนาสถานศึกษาและแผนปฏิบัติการในแต่ละปี ต่อมาเน้นเนื้อหาการกำหนดกรอบและแผนการประเมิน การสร้างเครื่องมือประเมินและการรวบรวมข้อมูล ในช่วงท้ายเน้นเรื่องเกี่ยวกับการวิเคราะห์ข้อมูล การนำเสนอผลการประเมินและการเขียนรายงานผลการประเมินตนเอง (Self Study Report)
1.2 การแต่งตั้งคณะกรรมการผู้รับผิดชอบในการประสานงาน กำกับดูแล ช่วยเหลือสนับสนุนให้ทุกฝ่ายทำงานร่วมกันและเชื่อมโยงเป็นทีม โดยการตั้งคณะกรรมการควรพิจารณาตามแผนภูมิโครงสร้างการบริหารซึ่งฝ่ายที่รับผิดชอบงานใดควรเป็นกรรมการรับผิดชอบการพัฒนาและประเมินคุณภาพงานนั้น
2. ขั้นการดำเนินงานประกันคุณภาพภายใน ประกอบด้วยขั้นตอนหลัก 4 ขั้นตอน
2.1 การวางแผน จะต้องมีการกำหนดเป้าหมาย แนวทางการดำเนินงาน ผู้รับผิดชอบงานระยะเวลาและทรัพยากรที่ต้องใช้ สำหรับแผนต่างๆ ที่ควรจัดทำคือ แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา แผนปฏิบัติการประจำปี แผนการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรซึ่งสอดคล้องกับเป้าหมายของสถานศึกษา แผนการประเมินคุณภาพและแผนงบประมาณ เป็นต้น
2.2 การปฏิบัติตามแผน ซึ่งในขณะดำเนินการต้องมีการเรียนรู้เพิ่มเติมตลอดเวลาและผู้บริหารควรให้การส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทุกคนทำงานอย่างมีความสุข จัดสิ่งอำนวยความสะดวกสนับสนุนทรัพยากรเพื่อการปฏิบัติ กำกับ ติดตามการทำงานทั้งระดับบุคลากร รายกลุ่ม รายหมวด และให้การนิเทศและตาม กฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.๒๕๕๓ กำหนดให้สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายใน ตามหลักเกณฑ์และแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการประกันคุณภาพภายในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยกำหนดแนวดำเนินการ ดังนี้
1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
2) จัดทำแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษาที่มุ่งคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
3) จัดระบบบริหารและสารสนเทศ
4) ดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
5) จัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา
6) จัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
7) จัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน
8) จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
2.3 การตรวจสอบประเมินผล ซึ่งเป็นกลไกสำคัญที่จะกระตุ้นให้เกิดการพัฒนาเพราะจะทำให้ได้ข้อมูลย้อนกลับที่แสดงว่าการดำเนินงานที่ผ่านมาบรรลุเป้าหมายเพียงใด โดยการประเมินต้องจัดวางกรอบการประเมิน จัดหาหรือจัดทำเครื่องมือ จัดเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูล แปลความข้อมูล และการตรวจสอบปรับปรุงคุณภาพการประเมิน
2.4 การนำผลการประเมินมาปรับปรุงงาน เมื่อแต่ละฝ่ายประเมินผลเสร็จแล้วจะส่งผลให้คณะกรรมการรับผิดชอบนำไปวิเคราะห์ สังเคราะห์และแปลผลแล้วนำเสนอผลต่อผู้เกี่ยวข้องเพื่อนำไปปรับปรุงการปฏิบัติงานของผู้บริหารและบุคลากร นำไปวางแผนในระยะต่อไป และจัดทำเป็นข้อมูลสารสนเทศหรือการเขียนรายงานประเมินตนเอง
คำถามเพื่อการนำไปสู่ Action Learning
1. สภาพแวดล้อมทั้งภายในและภายนอกสถานศึกษาของท่านมีจุดเด่นในเรื่องใดบ้างที่ท่านคิดว่ามีส่วนสาคัญที่สามารถสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงไปสู่คุณภาพการจัดการศึกษาของสถานศึกษาให้ดีขึ้นได้
2. ท่านคิดว่าวัฒนธรรมการทางานในสถานศึกษาของท่านเรื่องใดบ้างที่เป็นอุปสรรคสาคัญต่อคุณภาพของการจัดการศึกษา และท่านมีแนวทางการบริหารอย่างไรบ้างเพื่อปรับเปลี่ยนวัฒนธรรมการทางานที่เป็นอุปสสรคให้เป็นวัฒนธรรมการทางานที่มีคุณภาพมากขึ้น
3. ในฐานะผู้บริหารท่านจะใช้ภาวะผู้นาของท่านอย่างไรในการบริหารงานสถานศึกษาให้ครู อาจารย์และบุคลากรทุกคนมีการพัฒนาคุณภาพการปฏิบัติงานอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน