รัฐบาลสยามลงนามใน “สนธิสัญญาเบอร์นี” (Burney Treaty) กับอังกฤษในวันนี้ นับเป็นสนธิสัญญาทางพระราชไมตรีและการพาณิชย์ฉบับแรกที่สยามได้ทำกับประเทศตะวันตกในสมัยรัตนโกสินทร์ ผลจากการทำสนธิสัญญาฉบับนี้ทำให้เกิดการขยายตัวทางการค้าทั้งในเรื่องของการเก็บภาษี และการผลิตสินค้าส่งออกให้มากขึ้น
ร้อยเอก “เฮนรี เบอร์นี” (Henry Burney) ทูตของอังกฤษ เข้ามาเจริญสัมพันธไมตรีกับสยามในปีพ.ศ. 2368 ซึ่งตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) โดยมีความประสงที่จะขอเปิดสัมพันธไมตรีกับสยาม และขอความสะดวกในการค้าได้อย่างเสรี โดยใช้เวลา 5 เดือนจึงสามารถทำสนธิสัญญากับสยามได้สำเร็จ และจัดทำขึ้นเป็น 4 ภาษาได้แก่ ไทย อังกฤษ โปรตุเกส และมลายู
• อนุญาตให้พ่อค้าสยามทำการค้ากับพ่อค้าอังกฤษได้อย่างเสรี
• รัฐบาลสยามจะเก็บภาษีจากพ่อค้าอังกฤษตามความกว้างของปากเรือ
• เจ้าพนักงานสยามมีสิทธิ์ลงไปตรวจสอบสินค้าของพ่อค้าชาวอังกฤษ
• ชาวอังกฤษที่เข้ามาค้าขายในประเทศสยามจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายสยามทุกประการ