Home
Education
Classroom
Knowledge
Blog
TV
ธรรมะ
กิจกรรม
โครงการทรูปลูกปัญญา

เคล็ดลับ สร้างสมาธิในวัยเรียน

Posted By Plook Panya | 15 ม.ค. 59
16,713 Views

  Favorite


ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด



 

            สมาธิ คือ การมีใจจดจ่อในสิ่งที่ทาอย่างแน่วแน่ พร้อมที่จะเรียนรู้

            การที่เราจะเล่าเรียนหรือทำการงานใด ๆ ให้สำเร็จ จำเป็นต้องมีสมาธิจดจ่อในการทำสิ่งนั้นเราจึงจะเข้าใจบทเรียนและสามารถใช้ความคิดในการทำงานให้สำเร็จ
 

            คนบางคนมีพื้นฐานสมาธิดีแต่กำเนิด แต่กระนั้นสมาธิของคนเราก็อาจไม่คงที่ ในบางช่วงเวลา เพราะเราหมกมุ่นกับเรื่องอื่น ๆ จนกระทั่งลืมจดจ่อกับงานตรงหน้า หรือ เราชอบทำหลายเรื่องในเวลาเดียวกัน เช่น ขณะที่ฟังครูสอน ก็อยากอ่านการ์ตูน หรือ อยากวาดรูปไปด้วย ความสนใจของเราก็จะกระโดดไปมาจากเรื่องโน้นไปเรื่องนี้ และไม่สามารถติดตามการเรียนได้ต่อเนื่อง


              บางครั้งเมื่อเราเจ็บป่วย หิว หรือง่วงนอน สมองเราก็จะซึมเซา ไม่รับข้อมูลใดๆที่ครูสอน ยามใดที่เรามีเรื่องเครียด กังวลใจ เราก็จะคิดวนเวียนแต่ปัญหานั้น และไม่มีจิตใจจะจดจ่อกับการเรียน และแม้ว่าเราจะมีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะอ่านหนังสือ แต่เมื่อมีเสียงดังรบกวน เราก็จะเริ่มหงุดหงิด ไม่สามารถอ่านหนังสือต่อไปได้            

            แม้ว่าสมาธิของคนเราจะไม่คงที่ แต่เราก็สามารถฝึกฝนและพัฒนาได้ด้วยตัวเราเอง ซึ่งจะเป็นคุณสมบัติภายในที่มีค่า ที่ช่วยส่งเสริมให้เราเป็นคนที่เก่ง มีความสามารถ และมีอนาคตที่ดี

            การที่เราจะมีสมาธิในการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ นั้น เราสามารถสร้างและพัฒนาได้ ทั้งจากปัจจัยภายนอก และปัจจัยภายในตัวเรา ปัจจัยทั้งสองด้านนี้มีความสำคัญพอ ๆ กัน และสามารถเกื้อหนุนให้เกิดความสงบ ความพร้อม การมีสมาธิต่อเนื่อง และความมุ่งมั่นทำงานให้สำเร็จ

 

 


ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด

 


            ปัจจัยภายนอก คือ ด่านแรกของการมีสมาธิที่เราทำได้ไม่ยากนัก หากเราจัดสิ่งแวดล้อมขณะเรียนรู้ให้เป็นสิ่งแวดล้อมที่สงบ ไม่สับสนวุ่นวาย ย่อมเอื้อให้เราสามารถใส่ใจ และจดดจ่อกับงานตรงหน้าได้ง่ายขึ้น

สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสมาธิ ได้แก่

   - หาสถานที่สงบ ปราศจากเสียงรบกวนในการศึกษาหาความรู้ อาจหามุมสงบในการทำการบ้าน ที่ไม่มีเสียงทีวี วิทยุ หรือคนกาลังพูดคุยกันให้รบกวนสมาธิ

   - หลีกเลี่ยงแสงสว่างที่เจิดจ้าแยงตา หรือแสงที่ริบหรี่ ในขณะที่อ่านหนังสือ ถ้าใช้โคมไฟอ่านหนังสือ ควรให้โคมไฟอยู่ด้านซ้ายมือ และมีความสว่างพอเพียง

   - เตรียมอุปกรณ์ในการทำงานให้พร้อม เช่น มีกระดาษ ดินสอ ยางลบ จัดวางให้ครบและเป็นที่เป็นทาง ให้พร้อมใช้โดยไม่จำเป็นต้องลุกเดินไปหยิบจากที่อื่นจนทำให้การทำงานไม่ต่อเนื่อง

   - เลือกเวลาดูหนังสือในขณะที่ร่างกายกระปรี้กระเปร่า เช่น การอ่านหนังสือในช่วงเช้า ซึ่งเป็นช่วงที่ร่างกายได้พักผ่อนเต็มที่และสมองปลอดโปร่ง ย่อมมีสมาธิดีกว่าอ่านหนังสือในช่วงดึกที่ร่างกายอ่อนล้าแล้ว

 

ภาพประกอบ : ลิขสิทธิ์ถูกต้องจาก Shutterstock
ลิขสิทธิ์ภาพขอสงวนเฉพาะสำหรับใช้งานในสื่อต่างๆ ของทรูปลูกปัญญา เท่านั้น ห้ามไม่ให้นำภาพไปเผยแพร่ผ่านช่องทางอื่นโดยเด็ดขาด

 

 

ปัจจัยภายใน คือ สุขภาพร่างกายและจิตใจ และอุปนิสัยในการทำงาน

สุขภาพร่างกายและจิตใจ

            สุขภาพร่างกายและจิตใจคืออุปกรณ์ในการเรียนรู้ เราย่อมไม่สามารถใส่ใจหรือจดจ่อกับการทำงานได้ หากเรารู้สึกไม่สบายกาย หรือจิตใจไม่สดชื่นแจ่มใสพอ เราควรเตรียมร่างกายและจิตใจให้พร้อมใช้ในการเรียนรู้ โดย

   - รับประทานอาหารอย่างเพียงพอ ไม่มากหรือน้อยเกินไป เพราะความหิวจะทำให้หงุดหงิด กระวนกระวาย แต่ถ้ารับประทานมากเกินไปก็จะทำให้อึดอัดและง่วงเหงาหาวนอน

   - รักษาร่างกายให้แข็งแรงและกระปรี้กระเปร่าอยู่เสมอ โดยนอนพักผ่อนให้พอ อย่างน้อยวันละ 7-8 ชั่วโมง และจัดเวลาออกกาลังกายให้ร่างกายแข็งแรง ฝึกทำสิ่งเหล่านี้ จนเป็นนิสัย

   - รักษาสภาพจิตใจ และฝึกพัฒนาอารมณ์ตนเองให้แจ่มใสอยู่เสมอ ควรเรียนรู้วิธีการคลายความเครียดและความกังวล เช่น การพูดคุยกับคนที่ไว้วางใจ และมีงานอดิเรกผ่อนคลายความเครียด

   - สร้างแรงจูงใจในการเรียน ด้วยการนึกถึงประโยชน์ และคุณค่าจากการเรียนรู้สิ่งต่าง ๆ วาดภาพความสำเร็จและเป้าหมายการศึกษาในอนาคต แล้วบอกตัวเองให้มุ่งมั่นตามเป้าหมายนั้น


อุปนิสัยในการทำงาน

      การทำงานได้สาเร็จ เราต้องมีความมุ่งมั่นที่จะทำงานนั้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเราจะทำเช่นนี้ได้เพราะเรามีวินัยในการทำงาน การฝึกฝนตัวเองให้มีวินัยในการทำงานก็คือการสร้างอุปนิสัยของความสำเร็จนั่นเอง เราพัฒนาตัวเองให้มีวินัยในการทำงานได้ โดย

   - ทำงานด้วยอิริยาบถที่เหมาะสม เช่น ควรนั่งทำงานมากกว่านอนพังพาบในการอ่านหรือเขียนหนังสือ

   - ฝึกทำอะไรให้เป็นเวลา และแบ่งเวลาในการทำสิ่งต่างๆ ให้ถูกต้อง ลองหัดทำตารางกิจวัตรประจาวันว่า เราจะทำอะไร เวลาใด ตั้งแต่เวลาตื่นนอน ถึงเข้านอน การทำอะไรเป็นเวลา จะทำให้เราไม่เร่งรีบในการทาสิ่งต่าง ๆ และเป็นบ่อเกิดของการมีสมาธิได้ง่าย

   - ฝึกนิสัย “มุ่งมั่นลงมือทำทันที” เมื่อคิดจะทาอะไรพยายามลงมือทำทันที อย่าผลัดวันประกันพรุ่ง จนกลายเป็นความเกียจคร้าน และตามมาด้วยการทำอะไรไม่สาเร็จ

   - จัดลำดับเรื่องที่จะทำ เมื่อจะลงมือทำสิ่งใด ควรตั้งสติ และพิจารณาว่า เราควรทำเรื่องใดก่อนหลัง ตามความสาคัญ หรือความเร่งด่วนของงานนั้น แล้วลงมือทำให้สาเร็จทีละเรื่อง ดีกว่าทำหลายๆ เรื่องในเวลาเดียวกัน ซึ่งทำให้ยิ่งเสียสมาธิ

     
        การฝึกฝนเหล่านี้ ถ้าน้องๆ เริ่มลงมือฝึกทันที ก็จะพบว่า ไม่ใช่สิ่งที่ยากที่จะทำ หากน้องคนใดบอกว่า “ยาก ทำไม่ได้หรอก” มันอาจจะยากก็ตรงที่เราไม่ได้ลงมือกระทำสักที และปล่อยให้ความขี้เกียจมาครอบงาชีวิตเรา การฝึกสร้างสมาธิจะเป็นพื้นฐานเบื้องต้นในการสร้างอุปนิสัยการเป็นผู้ชนะ ซึ่งเริ่มต้นด้วยการชนะใจตนเองนั่นเอง.

 



            

เว็บไซต์ทรูปลูกปัญญาดอทคอมเป็นเพียงผู้ให้บริการพื้นที่เผยแพร่ความรู้เพื่อประโยชน์ของสังคม ข้อความและรูปภาพที่ปรากฏในบทความเป็นการเผยแพร่โดยผู้ใช้งาน หากพบเห็นข้อความและรูปภาพที่ไม่เหมาะสมหรือละเมิดลิขสิทธิ์ กรุณาแจ้งผู้ดูแลระบบเพื่อดำเนินการต่อไป
Tags
  • Posted By
  • Plook Panya
  • 7 Followers
  • Follow