ประโยชน์ของการนำเทคโนโลยีสมัยใหม่มาใช้ในวงการต่าง ๆ ทำให้วงการเหล่านั้นพัฒนาได้อย่างรวดเร็วไม่เว้นแม้วงการศึกษา ดังนั้นการศึกษาสมัยใหม่จึงถือว่าเป็นการศึกษาในยุคดิจิทัล ยุคที่ทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างไร้ขีดจำกัด ดังนั้นครูในยุคดิจิทัลจึงต้องปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และนำประโยชน์ของเทคโนโลยีเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในการจัดการเรียนรู้อย่างเหมาะสมเพื่อตอบสนองเป้าหมายที่สำคัญที่สุดของการศึกษา นั่นคือการพัฒนานักเรียนให้มีประสิทธิภาพ
ทักษะการพัฒนา 3 I นั้น เป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับการเป็นครูมืออาชีพในยุคปัจจุบัน 3 I (ตามแนวคิดของ เอกชัย กี่สุขพันธ์, 2559) นั้นประกอบด้วย การสร้างแรงบันดาลใจ ( Inspiration) ทักษะการใช้เทคโนโลยีและการสื่อสาร (IT& Communication skills) และการออกแบบการเรียนรู้ ( Instructional Design) เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคการเรียนรู้ในยุคดิจิทัล ( Digital learning) ครู จึงต้องเป็นผู้แสวงหาความรู้ให้ทันสมัยสมกับเป็นครูในยุคดิจิทัล (Digital teacher) อย่างแท้จริง
นักเรียนในยุคนี้ เป็นยุคที่ต้องเรียนรู้ว่าจะเรียนอย่างไร ( learn how to learn) เรียนรู้ว่าจะรู้ได้อย่างไร (learn how to know) และเรียนรู้ว่าจะทำอย่างไร (learn how to do) ครูในยุคนี้จึงต้องเรียนรู้ว่าจะสอนอย่างไร (learn how to teach) เรียนรู้ว่าจะคิดอย่างไร ( learn how to think) และเรียนรู้ว่าจะสังเคราะห์อย่างไร ( learn how to synthesize)
เมื่อเทคโนโลยีได้เข้ามาสู่วงการศึกษา ครูหลายท่านพยายามปฏิเสธสิ่งเหล่านี้ แต่จริง ๆ แล้วการรู้เท่าทันเทคโนโลยี สามารถทำให้เราเข้าใจนักเรียนได้มากขึ้น เข้าถึงนักเรียนได้มากขึ้น ดังนั้นการออกแบบระบบการเรียนรู้ทั้งหลายก็ควรมีการเปลี่ยนแปลงหรือพัฒนาเพื่อประโยชน์สูงสุด
การออกแบบการเรียนรู้ที่ครูสามารถใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ มาปรับใช้ได้นั้น ถือว่าเป็นการทำให้ครูทำงานง่ายขึ้นอย่างเป็นมืออาชีพ การนำเทคโนโลยีมาช่วยในการออกแบบการเรียนรู้นี้ สามารถช่วยเสริมตั้งแต่การวางแผนโดยบางโปรแกรมสามารถจัดการตารางสอนของครู และสามารถเลือกเวลาประชุมที่เหมาะสมได้โดยส่งผลกระทบต่อชั่วโมงสอนน้อยที่สุด ช่วยในการติดต่อสื่อสารไม่ว่าจะเป็นการแจ้งข้อมูลผ่านอีเมล เฟซบุ๊ก ไลน์ ซึ่งจะสามารถช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ช่วยในการประชุมโดยใช้การนำเสนอผ่านคอมพิวเตอร์ ทำให้การนำเสนอข้อมูลชัดเจนและกระชับขึ้น ช่วยในการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อต่าง ๆ ให้นักเรียนได้ประสบการณ์ทดแทนการเดินทางไปดูของจริง ช่วยในการทำแผนจัดการเรียนรู้โดยการใช้รูปแบบเอกสารโปรแกรมต่าง ๆ ที่สามารถเข้าไปดูเทคนิคการสอนที่หลากหลายได้ทุกวิชาทุกระดับชั้น พร้อมกับสื่อที่สามารถเลือกนำมาใช้ได้เป็นอย่างดี
เด็กในยุคอนาคตจึงสามารถเรียนได้ทุกที่รู้ได้ทุกเวลา ไม่มีข้อจำกัดด้านเวลาและสถานที่อีกต่อไป ครูจึงต้องเพิ่มหรือแนะนำแหล่งการเรียนรู้ให้มากกว่าใบความรู้หรือหนังสือ อาจต้องมีการหาแสวงหาแหล่งการเรียนรู้ใหม่ๆจากโลกกว้างผ่านอินเทอร์เนต และครูเป็นผู้แนะนำให้นักเรียนหลังจากที่ครูได้เข้าไปดูแล้วเห็นว่าเหมาะสมกับการเรียนของนักเรียน
การใช้สื่อ โปรแกรม และนวัตกรรมมาช่วยสนับสนุนการจัดการเรียนรู้ มีให้เลือกได้หลากหลาย ดังตัวอย่างต่อไปนี้
การใช้ระบบส่งงานบนการประมวลผลแบบกลุ่มเมฆ (cloud computing)
การใช้ระบบดังกล่าว คือการทำงานของคอมพิวเตอร์ทำงานร่วมกับอินเตอร์เน็ต ที่ให้บริการผู้ใช้ในการแบ่งปันข้อมูลซึ่งกันและกัน โดยข้อมูลจะถูกเก็บไว้ผ่านเครือข่ายไร้สาย ลักษณะของระบบดังกล่าวอาจเป็นรูปแบบแอปพลิเคชัน ในรูปของระบบการจัดเก็บข้อมูล หรือในรูปแบบอื่น ๆ ซึ่งจะสะดวกต่อการเข้าถึงข้อมูลได้ง่ายกว่าการส่งงานผ่านเอกสาร หรืออีเมล
ครูสามารถสั่งงานนักเรียน แล้วให้นักเรียนส่งข้อมูลเข้ามาในระบบดังกล่าว ซึ่งทำให้ครูและเพื่อนสามารถเข้าถึงข้อมูลดังกล่าวและพร้อมนำไปใช้ได้ทันที โดยนักเรียนสามารถส่งได้จากคอมพิวเตอร์ที่บ้าน คอมพิวเตอร์พกพาหรือแม้กระทั่งโทรศัพท์มือถือของตนเอง ครูก็สามารถเข้าถึงข้อมูลเหล่านั้นได้ทุกที่ทุกเวลาเช่นกัน นอกจากนี้ยังสามารถจำกัดการเข้าใช้ได้ตามความเหมาะสม
การสร้างรูปแบบแผนการสอนยุคใหม่นั้น ครูไม่จำเป็นต้องละทิ้งแนวคิดการศึกษาแบบดั้งเดิมที่ได้เรียนรู้มาแต่เป็นการเชื่อมโยงเครื่องมือดิจิทัลมาใช้ได้อย่างเหมาะสม ครูอาจใช้แบบฟอร์มที่ออกแบบจากโปรแกรมในการจัดทำแผนการเรียนรู้ รวมไปถึงจัดหาสื่อ หรือสร้างสื่อการสอนขึ้นใหม่เพื่อใช้ควบคู่กับแผนการเรียนรู้ที่ออกแบบขึ้นนอกจากนี้ในขั้นสอนครูอาจเลือกภาพเคลื่อนไหว เพลง หรือเกมที่มีเนื้อหาตรงกับเรื่องที่สอนมาให้นักเรียนได้ดู ได้ Benajmin P. Griner, Philip J. Butler เล่น ได้แสดงความคิดต่อยอดโดยครูต้องเปลี่ยนจากการให้ความรู้ มาเป็นการแลกเปลี่ยนความรู้ ให้นักเรียนรู้จักค้นคว้าด้วยตนเอง มาแลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน พร้อมกับครูเป็นผู้ชี้แนะแนวทาง
ระบบห้องเรียนออนไลน์ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ทำให้สามารถช่วยในการเรียนรู้ได้ในเวลาที่จำกัด โดยที่ครูสามารถนำความรู้ที่จะสอน อัพโหลดในรูปแบบต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นเอกสาร รูปภาพ วีดิทัศน์ รวมถึงแหล่งค้นคว้าหาความรู้เพิ่มเติมเตรียมไว้เป็นแนวทางให้กับนักเรียน ทั้งนี้ เพื่อให้ครูทำหน้าที่เป็นผู้ชี้แนะแนวทางการแสวงหาความรู้และให้นักเรียนได้ฝึกฝนทักษะการแสวงหาความรู้ และสรุปองค์ความรู้ด้วยตัวเอง เช่น บทเรียนแสวงรู้บทเว็บ (WebQuest) ซึ่งปัจจุบันกระทรวงศึกษาธิการก็ได้มีการพัฒนา และสนับสนุนด้านนี้อย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมการเรียนรู้ปัจจุบันสามารถพัฒนารูปแบบต่าง ๆ อย่างหลากหลาย เช่น การสอนโดยใช้สถานการณ์จำลอง ครูเลือกภาพยนตร์มาเปิดบางช่วงบางตอนผ่านคอมพิวเตอร์ แล้วให้นักเรียนสังเกต วิเคราะห์ ตอบคำถามหรือตัดสินใจภายใต้กระบวนการเหล่านั้น นอกจากนี้ครูยังสามารถปรึกษาผู้เชี่ยวชาญที่อาจไม่สะดวกในการเดินทางโดยให้ผู้เชี่ยวชาญสามารถเจอกับนักเรียน สนทนา และเปลี่ยนประสบการณ์ผ่านระบบออนไลน์ อาจเป็นผ่านแอปพลิเคชันต่าง ๆ เช่น สไกป์ เว็บแคม เฟซบุ๊กไลฟ์
บางครั้งอาจใช้คอมพิวเตอร์โรงเรียนในการเก็บข้อมูลที่คัดสรรมาแล้วในระบบอินทราเน็ต ( intranet) แล้วให้นักเรียนได้เข้าไปศึกษาหาความรู้จากแหล่งข้อมูลที่ครูจัดหามาให้ อาจมีทีมงานหรือเจ้าหน้าที่ของโรงเรียนที่หาข้อมูลที่ไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ โดยนักเรียนและครูร่วมหาข้อมูลเข้ามาใส่ในระบบภายใน โดยครูและเจ้าหน้าที่ ในอนาคตควรจะมีอัตราเจ้าหน้าที่ดูแลระบบคอมพิวเตอร์ เพื่อการตรวจสอบความถูกต้อง การอ้างอิงแหล่งข้อมูลอย่างไม่ละเมิดลิขสิทธิ์
ประเด็นปัญหา | ลักษณะปัญหาและอุปสรรค | แนวทางการแก้ไขปัญหา |
---|---|---|
1. ความเร็ว อินเตอร์เน็ต | การสอนเป็นอย่างมาก รวมถึง การดึงข้อมูลหลังจากดาวน์โหลด |
เป็นข้อมูลภายในเซฟเวอร์ของโรงเรียน |
2. การรู้เท่าทัน สื่อ รวมถึงการ ละเมิด | การมีวิจารณญาณในการใช้สื่อ ในปัจจุบันการเข้าถึงข้อมูลต่าง ๆ ในอินเตอร์เน็ตมีอิสระมาก นอกเหนือจากแหล่งข้อมูลที่ครู แนะนำให้ หรือนอกเหนือ บทเรียน นักเรียนสามารถค้นคว้า หาความรู้ได้ด้วยตัวเอง ซึ่งข้อมูล จากอินเตอร์เน็ตใช่ว่าจะถูกต้อง เสมอไป |
1) ครูจะต้องเป็นผู้ที่สอดแทรกเรื่องการรู้เท่าทันสื่ออยู่ในแต่ ละบทเรียนเสมอ ให้นักเรียนรู้จักแยกแยะ และมีวิจารณญาณ ในการเลือกแหล่งข้อมูล วิเคราะห์ความเหมาะสม ถูกผิด 2) ครูอาจยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าจะเป็น อุบัติเหตุ ภัยสังคม อาชญากรรม 3) ครูต้องสร้างความตระหนักในเรื่องความรุนแรงของ กฎหมาย โดยยกตัวอย่างจากข่าวที่ปรากฏในหัวข้อต่าง ๆ ไม่ ว่าจะเป็นประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ การละเมิดโดยการนำภาพ ผู้อื่นมาลงโดยไม่ได้รับอนุญาต |
3. การละเมิด | การละเมิดกฎหมาย เช่น การ เผยแพร่ภาพคน ภาพผู้ตาย ภาพ ลิขสิทธิ์ การโจรกรรมทางวิชาการ (Cyber-Plagiarism) ซึ่งในระดับ ห้องเรียน ถึงแม้จะเป็นเรื่อง เล็กน้อยที่นักเรียนลอกงานจาก อินเตอร์เน็ตมาส่งครู แต่แท้จริง แล้วเป็นเรื่องที่ไม่ควรละเลย |
1) การยกตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ว่าในเรื่อง การกระทำความผิดบนโลกออนไลน์มาประยุกต์ในการเรียนรู้ 2) การสอนหลักวิธีการอ้างอิงอย่างถูกต้อง ยกตัวอย่างการ อ้างอิงที่ไม่เป็นการละเมิดลิขสิทธิ์ 3) การให้ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายลิขสิทธิ์มาให้ความรู้แก่ นักเรียน 4) การสร้างทักษะนักเรียนควรมีทักษะในการประมวลความรู้ และถ่ายทอดความรู้ที่ได้ออกมาเป็นภาษาของตนเอง 5) นักเรียนควรมีทักษะในการประมวลความรู้ และถ่ายทอด ความรู้ที่ได้ออกมาเป็นภาษาของตนเอง ไม่คัดลอกงานมาโดย ไม่ผ่านกระบวนการวิเคราะห์ ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ในการฝึก ทักษะการคิดของนักเรียนเอง |
4. การอ่านออก เขียนได้ | แม้ว่าการศึกษาจะก้าวมาถึงยุค ดิจิทัล แต่เรายังพบปัญหาอย่าง หนึ่งที่สำคัญคือยังมีเด็กไทย จำนวนมากอ่านหนังสือไม่ออก แม้บางคนจะเรียนอยู่ในระดับ มัธยมศึกษาแล้วก็ตาม อาจเนื่องจากในยุคดิจิทัลนั้น ทุกคน ต้องการความเร็ว จึงทำให้หลาย ครั้งที่เด็กอาจดูเพียงรูปภาพ หรือ วีดิทัศน์มากกว่าที่จะอ่าน ตัวหนังสือยาว ๆ |
1) ครูใช้เกมหรือสื่อการเรียนรู้ในการพัฒนานักเรียนได้เป็น รายบุคคล 2) การท าวิจัยในชั้นเรียนเรื่องเกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้ 3) การหาเครื่องมือมาแก้ปัญหาเรื่องเหล่านี้ได้โดยใช้ เทคโนโลยีเข้ามาช่วย |
คำถามเพื่อนำไปสู่ Action Learning
1. การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีมีผลต่อการจัดการเรียนการสอนของครูอย่างไร และทัศนคติของครูที่มีต่อเทคโนโลยีควรเป็นอย่างไรจึงจะมีส่วนช่วยให้การจัดการเรียนการสอนของครูมีคุณภาพมากขึ้น
2. ท่านคิดว่านวัตกรรมการศึกษาในเรื่องใดบ้าง ที่สถานศึกษาหรือครูอาจารย์ได้นำมาใช้ในการจัดการเรียนการสอนที่ท่านคิดว่าสามารถพัฒนาผู้เรียนได้เป็นอย่างดี เพราะเหตุใด
3. คุณลักษณะสำคัญของครูอาจารย์ควรมีอะไรบ้าง ที่จะทำให้ครูอาจารย์สามารถปรับการเรียนของนักเรียนและเปลี่ยนการสอนของตนเองให้เหมาะสมกับยุคดิจิทัล
KPIs
1. ร้อยละของครูที่นำเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้
2. สัดส่วนของการนำเทคโนโลยีมาใช้ในคาบเรียน