คู่นั้นมีหลายแบบ ไม่ได้มีแต่คู่เวรกับคู่แท้
คำว่า ‘คู่แท้’ จะทำให้คุณนึกถึงเพศตรงข้ามที่ติดตามกันไปทุกภพทุกชาติ เป็นตัวเป็นตนจับจองกันอย่างถาวรไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งธรรมชาติไม่ได้มีอะไรอย่างนั้น ตามกฎเหล็กข้อแรกสุดคือ ‘ทุกสิ่งต้องเปลี่ยนแปลงไป’
หากหันมาใส่ใจกับคำว่า ‘คู่บุญ’ และ ‘คู่บาป’ แทน อย่างนี้จะเห็นอะไรกระจ่างขึ้น เพราะคนเราทำบุญทำบาปสลับกันได้ ไม่มีใครทำบุญทำบาปร่วมกันอย่างใดอย่างหนึ่งได้ตลอดไป และนั่นก็แปลว่า คู่บุญอาจหมายถึงคู่ที่ร่วมทำบุญกันมามากกว่าร่วมทำบาป ส่วนคู่บาปก็อาจหมายถึงคู่ที่ร่วมทำบาปกันมากกว่าร่วมทำบุญ
มองอย่างนี้อคติจะลดลงอย่างฮวบฮาบทันที ประเภทขัดเคืองใจนิดหน่อยก็เหมาว่านี่คู่เวรของเรา หรือประเภทต้องตาต้องใจเมื่อเริ่มพบก็เหมาว่านี่แหละคู่แท้ของฉัน เราจะเห็นตามจริงว่า ถ้าต้องตาเมื่อเห็น ถ้าเย็นใจเมื่อใกล้ อันนั้นก็เป็นคะแนนทางความรู้สึกด้านดีชั้นแรก ต่อเมื่อมีความผูกพันผ่านเหตุการณ์ดีร้าย หรือที่เรียกง่าย ๆ ว่าร่วมทุกข์ร่วมสุขด้วยกัน ตรงนั้นค่อยเป็นคะแนนสะสมในชั้นต่อ ๆ มา กระทั่งปักใจเชื่อได้ว่าเป็นคู่บุญกันจริง ๆ
เช่น ถือศาสดาองค์เดียวกัน เชื่อหรือไม่เชื่อเรื่องกรรมวิบากด้วยกัน เชื่อว่าโลกกลมหรือโลกแบนเหมือนๆกัน เชื่อแนวทางในการดำรงชีวิตรูปแบบเดียวกัน เป็นต้น
อันนี้คือความจริงที่เกิดขึ้นกับทุกรูปนาม ไม่จำเพาะเฉพาะคู่รักเท่านั้น ขนาดเพื่อนกันแต่เชื่อไม่เหมือนกันยังยากที่จะเป็นเพื่อนสนิทเลยครับ ศรัทธาที่ร่วมกันปลูกฝังให้มั่นคงย่อมทำหน้าที่สร้างสายตาที่มองไปในทิศ เดียวกัน ไม่ก่อความรู้สึกเป็นอื่นจากกัน
คือ มีความคิดงดเว้นข้อประพฤติผิดแบบเดียวกัน เป็นเหตุให้ไม่รังเกียจหรือหมั่นไส้กัน พรานหนุ่มกับพรานสาวทนกลิ่นอายฆ่าฟันของกันและกันได้ แต่ให้หมอศัลย์ที่มีรังสีช่วยชีวิตมาเป็นคู่ผัวตัวเมียกับมือปืนร้อยศพที่ ทะมึนด้วยรังสีเอาชีวิต อย่างไรก็คงทนกลิ่นอายที่เป็นตรงข้ามของกันและกันไม่ไหว
และนั่นก็เช่นเดียวกัน
ถ้าฝ่ายหนึ่งเจ้าชู้ ร้อยลิ้นกะลาวนไปเรื่อย โดยไม่สนใจความสกปรกหมกมุ่น ย่อมน่ารังเกียจยิ่สำหรับคนใจซื่อ ถือความสะอาดผัวเดียวเมียเดียว
อย่างน้อยต้องเป็นผู้ให้ซึ่งกันและกันในทางใดทางหนึ่ง ไม่ใช่มีแต่ฝ่ายหนึ่งคิดอยู่ข้างเดียว อีกฝ่ายเอาเปรียบตลอด เช่น อีกฝ่ายสละเงินให้ใช้ อีกฝ่ายสละแรงปรนนิบัติ เป็นต้น
การเอารัดเอาเปรียบเกิดจากจาคะที่ไม่เสมอกันเป็นมูล ยิ่งหากต่างฝ่ายต่างคิดเจือจานคนอื่น เห็นข้าวของอะไรไม่ใช้แล้วก็คิดตรงกันว่าน่าบริจาคแก่คนที่เขาไม่มี อย่างนี้ยิ่งไปกันได้ มีโอกาสร่วมบุญกันบ่อยๆ ยิ่งให้คนอื่นมากก็ยิ่งได้ความสุขในการสละมาเสริมใยแก้วร้อยสัมพันธ์ให้กัน แน่นแฟ้นขึ้น
กล่าวทางโลก คือ คุยกันรู้เรื่อง
กล่าวทางธรรม คือ มีระดับการเห็นตามจริงใกล้เคียงกัน หรืออย่างน้อยเป็นไปไปในทางเดียวกัน ไม่ใช่พูดคนละภาษา ฝ่ายหนึ่งทำก่อนคิด อีกฝ่ายคิดก่อนทำ หรือฝ่ายหนึ่งเอาอารมณ์พูด อีกฝ่ายพูดด้วยสติปัญญา หรือฝ่ายหนึ่งเห็นชัด ว่าอะไร ๆ ไม่เที่ยง ความยึดมั่นถือมั่นเหลือน้อย แต่อีกฝ่ายหนึ่งแค่เรื่องน้อยก็ยึดมั่นถือมั่นเป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โต ก็คงนึกระอาหรือหมั่นไส้ในกันเป็นอย่างยิ่ง
จากที่พระพุทธเจ้าท่านเคยตรัส ว่าหญิงชายจะพบกันทั้งชาตินี้และชาติหน้า ก็เพราะมีเหตุ คือต่างฝ่ายต่างมีศรัทธา ศีล จาคะ และปัญญาเสมอกัน คำว่า "เสมอกัน" นั้น อย่างน้อยที่สุด คือ ร่วมยินดีไปในแนวความเชื่อเดียวกัน มีใจปรารถนาจะรักษาศีล มีใจอยากสละให้ และอย่างน้อยพูดภาษาเดียวกันรู้เรื่อง ไม่ใช่ว่าฝ่ายหนึ่งเสนอ อีกฝ่ายนอกจากไม่สนองแล้วยังเอาแต่ขัดๆๆ
- ประการแรก คือ เคยอยู่ร่วมกันมาในอดีตชาติ
- ประการที่สอง คือ ชาตินี้ได้เกื้อกูลกัน
นั่นแหละความรักอย่างลึกซึ้งถึงจะเกิดได้
มองด้วยข้อสรุปนี้
แม้เราจะไม่รู้ว่าใคร คือ คู่บุญของเรา แต่หากต้องการเลือกชีวิตคู่ให้เหมาะสมนั้น แนะนำว่าให้ใช้หลักธรรมะ 4 ตัวเป็นตัวตั้ง คือ คนๆ นั้น หรือคู่ชีวิต จะต้องมีศีล จาคะ ปัญญา และศรัทธาที่ใกล้เคียงกับเราด้วย ชีวิตคู่ถึงจะไปด้วยกันได้ดี
๑) รู้สึกว่าใช่หรือเปล่า (เป็นเรื่องของสัญญาที่ฝังอยู่ในจิตใต้สำนึกล้วนๆ)
๒) เกิดแต่เรื่องดีๆเมื่ออยู่ด้วยกันหรือเปล่า (วัดผลของอดีตกรรมที่ให้เป็นวิบากฝ่ายดี)
๓) ร่วมกันเปลี่ยนอุปสรรค หรือเรื่องร้ายให้กลายเป็นดี ได้หรือเปล่า (ดูปัจจุบันกรรมที่เอื้อให้เกื้อกูลร่วมทุกข์ร่วมสุขกันได้แค่ไหน)
๔) เกิดแรงบันดาลใจให้คิด พูด ทำดี ๆ ต่อกันและต่อคนรอบข้างหรือเปล่า (ปัจจุบันกรรมที่จะให้ผลเป็นวิบากอนาคตที่สดใสหรือไม่ คู่ที่จรรโลงใจกันด้วยบุญ เลี้ยงใจกันด้วยบุญไม่ขาดสายเท่านั้น ที่ไม่เบื่อ ไม่แห้งแล้งต่อกันเสียก่อนตาย)
สรุป คือ เข้าคู่กันแล้วรู้สึกดีๆ เกิดเรื่องดี ๆ ก็ใช่เลยครับ และไม่ต้องไปหมายมั่นเอาว่านั่นคือเครื่องแสดงความถาวร เป็นเนื้อคู่นิรันดร์ เพราะสังสารวัฏไม่มีอะไรอย่างนั้นให้ มีแต่เปลี่ยนกับเปลี่ยนครับ จะเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นหรือเลวลงเท่านั้น
- ถ้าคู่ชีวิตคู่ไหน อยากให้อีกฝ่ายหนึ่งสนใจ หรือหันมามองตัวเอง ตัวเราต้องฝึกฝนให้ดีเสียก่อน โดยใช้วิธีปฏิบัติธรรม เจริญสติในชีวิตประจำวัน จะทำให้เราได้เห็น และรู้จักตัวเองดีขึ้น รู้จักตัวเองในที่นี้ คือ เวลาเกิดปัญหา จะไม่มอง และโทษคนอื่น หรือเห็นคู่ชีวิตเป็นฝ่ายผิดตลอด
- เมื่อฝึกฝนตัวเองดีแล้ว เช่น คุมอารมณ์ให้อยู่ และเข้าใจความต่างในตัวของคนที่เรารัก จะช่วยให้อารมณ์ดี และใจเย็นขึ้น ใจจะเห็นโลกตามความเป็นจริง และสติจะช่วยให้เรารักษาศีลได้ดีขึ้น มีเมตตาเป็นเครื่องหนุนให้ผู้ปฏิบัติและคนที่อยู่ใกล้ชิดมีความรู้สึกสบายใจ
สรุปว่า ถ้าอยากให้คนอื่นเข้าใจตัวเรา เราต้องเข้าใจตัวเองก่อนว่า ณ ขณะนี้ เราคือใคร กำลังทำอะไร ปัญหาเกิดขึ้นเพราะใคร ต้องยอมรับความจริงให้เป็น ที่สำคัญไม่ควรไปรื้อฟื้นอดีตที่เลวร้ายของกันและกันมาเป็นข้อถกเถียง แต่จงอยู่กับปัจจุบัน เพราะจะทำให้มีความสุขมากว่า
ที่มา:
1. ธรรมะเลือกคู่“ศีล-จาคะ-ปัญญา-ศรัทธา” (“ธนาคารความสุขสาขา 2” โดยคุณพิทยากร ลีลาภัทร์)
2.วาทะดังตฤณ ฉบับความรักหลากสี (คุณดังตฤณ)