เลขานุการถือเป็นคนสำคัญในการจัดการบริหารงานโดยเลขานุการเป็นตัวเชื่อมและผู้ประสานงานระหว่างผู้บริหารและคนอื่นๆ ทั้งในและนอกองค์กร เป็นเหมือนผู้ช่วยให้งานต่าง ๆ ดำเนินไปได้อย่างรวดเร็วและราบรื่น ประสบความสำเร็จได้โดยที่ผู้บริหารไม่จำเป็นต้องมาควบคุมด้วยตัวเอง เรียกง่าย ๆ ก็เหมือนเป็นมือขวาของผู้บริหารนั่นเอง โดยสามารถรับผิดชอบงานและตัดสินใจบางอย่างได้เบื้องต้น ตามขอบเขตอำนาจในเนื้องานหรือตามที่หัวหน้าได้รับมอบหมาย อีกมุมหนึ่งเลขานุการก็เหมือน เป็นศูนย์กลางการติดต่อสื่อสารในองค์กร ที่ช่วยจัดการ ลำดับความสำคัญของงาน ให้เป็นไปในทิศทางและเป้าหมายทีหัวหน้างานและองค์กรวางไว้
ลักษณะงาน
งานหลัก ๆ ของเลขานุการคือจัดการลำดับและลดภาระงานให้ผู้บริหารหรือหัวหน้าตรงของเรา เหมือนเป็นด่านหน้าให้หัวหน้าในการคัดกรองงานต่าง ๆ ก่อนให้เข้าถึงผู้บริหาร ซึ่งตัวเลขานุการต้องเข้าใจเป้าหมายและการให้ความสำคัญขององค์กรเป็นอย่างดีก่อน โดยเลขานุการควรทำงานเชิงรุก (Proactive) เพื่อเป็นหน่วยสนับสนุนให้กับหัวหน้ารวมทั้งจัดเก็บข้อมูลและความลับต่าง ๆ ที่เป็นของหัวหน้างานของเราอย่างเคร่งครัดด้วย
ขั้นตอนการทำงาน
แบ่งงานออกเป็นสามส่วนใหญ่ ๆ
- งานประจำวัน (Routine Operation)
- งานนัดหมาย/และจัดตารางนัดหมาย การประชุมต่างๆ
- ดำเนินการจัดประชุมและติดตามผลการประชุม
- ทำสรุปการประชุม
- คัดกรองผู้เข้ามาติดต่อเบื้องต้น
- งานอำนวยความสะดวก (Personal Convenience)
- งานต้อนรับแขกของผุ้บริหาร
- ดูแลความเรียบร้อยต่างๆ ของผู้บริหาร
- งานส่วนตัวของผู้บริหาร (Private Liaison)
- เตรียมการเดินทาง business trip อาทิ การจองตั๋ว จัดการเรื่องเช่ารถ การเดินทาง
- เตือนความจำในโอกาสต่างๆ ที่จำเป็นสำหรับการทำงาน หรือเรื่องส่วนตัว
สถานที่ทำงาน
- สำนักงาน หรือ ออฟฟิศหลักที่ทำงานเป็นประจำทุกวัน
- การทำงานนอกสถานที่ ขึ้นอยู่กับเนื้องานที่ได้รับมอบหมาย เช่น เดินทางไปประชุมนอกสถานที่ร่วมกับผู้บริหาร
ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
- ผู้บริหารที่เป็นหัวหน้าโดยตรง คือ คนสำคัญที่สุดที่เราต้องร่วมงานด้วย การช่วยจัดการ สนับสนุนการทำงานของหัวหน้าให้ราบรื่นและบรรลุเป้าหมาย
- คนอื่น ๆ ภายในองค์กร เพราะเราเป็น
- คนภายนอกองค์กร เช่น ลูกค้า, Supplier
ทางเลือกอาชีพอื่นๆ
เนื่องจากเลขานุการ เป็นอาชีพที่ต้องติดต่อประสานงานกับทุกฝ่ายเผื่อให้ได้ข้อมูลมา จึงสามารถนำไปสู่การต่อยอดในสายอาชีพอื่นได้ขึ้นอยู่กับความรู้ความสามารถ ความถนัด และโอกาสที่ได้รับ
- เจ้าหน้าที่ประสานงาน
- เจ้าหน้าที่ประชาสัมพันธ์
- เจ้าหน้าที่ธุรการ
- ผู้ช่วยผู้จัดการ
ตำแหน่ง และ เส้นทางการเติบโตในสายอาชีพ
เบื้องต้นอาจเริ่มจากการเป็นผู้ช่วยเลขานุการ เนื่องจากในบางองค์กรผู้บริหารอาจมีเลขานุการ หรือผู้ช่วยหลายตำแหน่ง จากนั้นจึงขยับเติบโตในสายงานตามทักษะและประสบการณ์ โดยการเป็นเลขานุการของผู้บริหารระดับกลางและในระดับสูงขึ้นเรื่อย ๆ นอกจากนั้น เลขานุการยังสามารถต่อยอดไปทำงานด้านการจัดการอื่น ๆ ได้ อาทิ หน่วยงานทรัพยากรบุคคล
เงินเดือน
- จบใหม่ 18,000 -25,000 บาท ผู้ช่วยเลขานุการ - เลขานุการ assistant or executive secretary
- 1-3 ปี 25,000 - 30,000 บาท secretary
- 3-4 ปี 35,000 - 60,000 บาท senior secretary
- 5 ปี ขึ้นไป 60,000 - 100,000 บาท เลขานุการอาวุโส หรือ senior secretary or Personal assistant
การแข่งขันและความต้องการของตลาด
เนื่องจากอาชีพนี้ เปิดรับบุคคลที่จบมาจากทุกสาขาเรียน ทำให้การแข่งขันค่อนข้างสูง แต่ความต้องการของตลาดก็สูงด้วย ปัจจุบันองค์กรทั้งที่เป็นองค์กรธุรกิจเอกชนหรือรัฐวิสาหกิจ ต้องการผู้มีความสามารถในการทำงานตำแหน่งเลขานุการเฉพาะด้านมากขึ้นตามประเภทของธุรกิจองค์กร
- ได้พัฒนาตัวเองให้เป็นคนที่ทำงานได้มีระบบแบบแผนมากยิ่งขึ้น
- เป็นคนที่มีความรอบรู้ และเข้าใจเป้าหมายของผู้บริหารหรือองค์ เพราะสามารถเป็นตัวกลางหรือตัวแทนเจ้านายในการสั่งงานหรือกระจายงานได้
- มีความกดดันสูง
- ต้องแม่นยำในการจัดลำดับงานและการตัดสินใจต่าง ๆ เพราะหากผิดพลาดอาจส่งผลเสียต่อผู้บริหารได้
- กระตือรือร้น หมั่นหาความรู้เพิ่มเติม โดยเฉพาะเรื่องที่เกี่ยวข้องกับองค์การที่เราทำงาน
- สามารถใช้ภาษาได้มากกว่าหนึ่งภาษาคือภาษาต่างประเทศ เช่น อังกฤษ ญี่ปุ่น หรือ จีน เป็นต้น ขึ้นอยู่กับการประกอบธุรกิจขององค์กรนั้นๆ ซึ่งต้องสื่อสารได้ทั้งเขียน และการพูด
- เป็นผู้มีบุคลิกภาพ และอุปนิสัยที่ดี มีกาลเทศะและมีปฏิภาณไหวพริบ คล่องแคล่วทุกด้าน
- มีความรับผิดชอบงานดี อดทน ทํางานภายในสภาพกดดันสูงได้ และมีมนุษย์สัมพันธ์ที่ดี
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีระหว่างบุคคล หรือองค์กรที่มาติดต่อ
- ทักษะการจัดการ สิ่งสำคัญที่สุดในการเป็นเลขานุการ คือการจัดการส่วนงานของผู้บริหาร ลำดับความสำคัญของงานใหถูกต้องเหมาะสม ตามเป้าหมายขององค์กร
- ทักษะการสื่อสาร อีกหนึ่่งทักษะสำคัญ ทั้งฟัง พูด อ่าน และการเขียน รวมท้้งการจับประเด็น ย่อยสรุป ต่าง ๆ
- ทักษะการแก้ปัญหาตััดสินใจ เป็นเรื่องที่เลขานุการควรทำได้ดี โดยเฉพาะในช่วงเวลาที่อาจต้องตัดสินใจแทนหหัวหน้าของเรา ดังนั้น ความเข้าใจในความคิด วิธีการทำงานของหัวหน้า และเข้าใจความเป็นองค์กร จึงเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เลขานุการเลือกตัดสินใจได้ถูกต้อง
- ทักษะการแก้ปัญหา สามารถให้คําปรึกษาแนะนําแก่ผู้บังคับบัญชา ตลอดจนการแก้ไขปัญหาอุปสรรคของงานใน ความรับผิดชอบของผู้บังคับบัญชา
- ทักษะด้านภาษาต่างประเทศ เป็นสิ่งที่จะช่วยเพิ่มข้อได้เปรียบในการทำงานมากขึ้น
การศึกษา
- ระดับ ปวช. ปวส. สาขาตรงด้านเลขานุการหรือเกี่ยวข้อง
- ระดับมัธยม สามารถเรียนได้ทั้งสายวิทย์และสายศิลป์ภาษา
- ระดับมหาวิทยาลัย สามารถเข้าเรียนได้ทั้งด้านสายการบริหาร เช่น คณะบริหารธุรกิจ คณะรัฐศาสตร์ หรือจะเป็นด้านสังคมและภาษาศาสตร์ อาทิ คณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์ หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
Hard Skills
- พยายามเพิ่มทักษะทางภาษาให้ได้อย่างน้อย 2 ภาษา เนื่องจากการใช้ความรู้ในการสื่อสารทั้งไทย อังกฤษ และภาษาที่สามอื่น ๆ มีความจำเป็น และช่วยให้น้อง ๆ ได้เปรียบกว่าคนในวงการเดียวกัน
- พัฒนาบุคลิกภาพภายนอกให้ดูดี เนื่องจากเลขานุการต้องต้อนรับแขกและเจอผู้คนทั้งนอกและในองค์กร
Soft Skills
- พัฒนาบุคลิกภาพด้านการสื่อสาร ทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน เพราะถือเป็นหัวใจหลักของงานเลขานุการ
- หัดจัดการเวลาและลำดับความสำคัญให้เป็น
- หากมีความรู้เรื่องจิตวิทยาเบื้องต้น ก็จะช่วยให้เราเข้าใจการทำงานร่วมกับผู้อื่น สื่อสารและต่อรองได้ราบรื่นขึ้น
กิจกรรม
กิจกรรมค่ายอาสา หรือ โครงการต่าง ๆ ที่ทางมหาวิทยาลัยจัดนั้น มักจะมีตำแหน่งเลขานุการโครงการ น้อง ๆ สามารถเริ่มต้นจากส่วนนี้ก่อน เพื่อเตรียมตัวและเรียนรู้การจัดการเบื้องต้น
ตัวอย่างวิชาที่เรียน เป็นตัวอย่างหลักสูตรจากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ในช่วงปีแรก เน้นการเรียนวิชาพื้นฐาน และวิชาบังคับต่าง ๆ หลังจากนั้นจะมีวิชาเลือกไปในแนวทางตามที่น้อง ๆ สนใจ เช่น
- ภาษาไทยเพื่อการสื่อสาร
- ภาษาอังกฤษเพื่อประสิทธิภาพการสื่อสาร
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารนานาชาติ
- ชีวิตในโลกดิจิทัล
- แนวโน้มเทคโนโลยีดิจิทัลและสังคม
- ธุรกิจในโลกดิจทัล
- หลักการจัดการสมัยใหม่
- การพัฒนาบุคลิกภาพ
- การคิดอย่างมีเหตุผลและจริยธรรม
ด้านภาษาศาสตร์ จะเน้นการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร เช่น
- การฟังและการพูด
- หลักการอ่าน
- ภาษาและทักษะการคิดวิเคราะห์วิจารณ์
- การเขียนเบื้องต้น
- เรียงความภาษาอังกฤษ
- ภาษาอังกฤษเพื่อการเตรียมพร้อมสู่อาชีพ
- ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับภาษาอังกฤษนานารูปแบบ
- English Phonetics
- การแปลอังกฤษ - ไทย
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารทางธุรกิจ
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านบริการสุขภาพ
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารมวลชนและสื่อสิ่งพิมพ์
- ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยวและการโรงแรม
- ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารด้านธุรกิจการบิน
- ภาษาอังกฤษเชิงกฎหมาย
- วิธีการสอนภาษาอังกฤษ
นอกจากนี้ยังมีส่วนของวิชาด้านวรรณคดีต่างๆ อีกด้วย เนื่องจากคณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ ไม่ได้เป็นหลักสูตรเฉพาะผู้ที่ต้องการเรียนด้านเลขานุการเท่านั่น จึงมีวิชาเรียนที่หลากหลายสำหรับน้อง ๆ ที่สนใจเรียนอาชีพที่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ
เคล็ดลับการเรียน
ฝึกทักษะทางภาษาให้ดี โดยเฉพาะด้านการพูดและการเขียน โดยพยายามหาประสบการณ์ใช้จริง เพื่อจะได้ใช้ได้อย่างคล่องแคล่วในช่วงเวลาการทำงาน
ชีวิตนักศึกษา
กิจกรรมออกค่ายอาสาต่าง ๆ รวมทั้งแนะนำให้หาโอกาสฝึกงานช่วงปิดเทอม ที่สามารถให้ได้ใช้ความสามารถด้านภาษา หรือฝึกงานเกี่ยวกับเลขานุการโดยตรง
ค่าเทอม
- ประมาณ 15,000 บาทต่อภาคเรียน
มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
- มหาวิทยาลัย อ๊อกซฟอร์ด (UNIVERSITY OF OXFORD)
- Del Mar College, USA
- นักการตลาด
- นักประชาสัมพันธ์
- เซลล์
- พนักงานฝ่ายบุคคล
Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร