วิศวกรรมเครื่องกล เป็นสาขาหนึ่งของวิศวกรรมที่ได้รับความนิยมมาก ๆ และถือเป็นหนึ่งสาขาหลักที่ได้ใช้ความรู้พื้นฐานทางวิศวกรรม ในการออกแบบ ควบคุม การทำงานของระบบกลไกต่าง ๆ เช่น ยานยนต์ เครื่องจักรกล หรือระบบพลังงานต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขด้านเวลาและเงินทุนทในการผลิตชิ้นงาน
เป้าหมายของวิศวกรเครื่องกล ถือเป็นผู้ที่ทำให้ชิ้นงานเครื่องยนต์กลไกเหล่านั้นใช้งานได้ สร้างสรรค์ชิ้นงานกลไกต่างๆ ให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ตอบโจทย์ความต้องการในหลากลายธุรกิจอุตสาหกรรม ทั้งวิศวกรรมพลังงาน ยานยนต์ เครื่องจักรกลในโรงงาน ระบบควบคุมอัตโนมัติ ระบบต่าง ๆ ในอาคาร อย่างระบบปรับอากาศ ระบบท่อต่างๆ
ลักษณะงาน
แม้ในสายงานวิศวกรรมเครื่องกล จะมีเป้าหมายคือการทำให้เกิดชิ้นงานทางวิศวกรรมหรือสิ่งประดิษฐ์ที่มีคุณภาพ แต่วิศวกรในสายนี้แต่ละส่วนก็จะทำงานแยกแตกต่างกันออกไป บางคนเป็นสายงานการผลิต โดยจะแบ่งเป็นทั้งออกแบบหรือที่เรียกว่า Design Engineering ทำหน้าที่คิดและออกแบบชิ้นส่วนกลไกต่าง ๆ เช่น ชิ้นส่วนรถยนต์ หรืออาจทำงานในสายโรงงานที่ออกแบบ ดูแล ควบคุมเครื่องจักรในการผลิตสินค้า เช่น ออกแบบหรือควบคุมเครื่องจักรในการผลิตกระป๋อง ผลิตชิ้นส่วนรถยนต์ หรือระบบควบคุมการผลิตพลังงาน เป็นต้น
ส่วนอีกสายงานที่วิศวกรเครื่องกลมักจะทำงานควบคู่กับวิศวกรโยธา นั่นคือ สายงานสาธารณูปโภคพื้นฐานภายในอาคารหรือสิ่งก่อสร้าง เช่น งานระบบปรับอากาศ ระบบน้ำ ลิฟท์ ไอน้ำ ต่าง ๆ เป็นต้น
ในวันนี้เราจะพาน้อง ๆ ไปเรียนรู้อาชีพวิศวกรเครื่องกล ในสายงานการผลิต ในอุตสาหกรรมรถยนต์กัน
ขั้นตอนการทำงาน
- เริ่มต้นในส่วนของการออกแบบชิ้นส่วนรถยนต์ จะมีการหารือกันในหลากหลายทีมย่อย
- เมื่อได้แบบแล้วจะมาถึงส่วนของการผลิต ซึ่งก่อนจะได้ชิ้นงานต้องมีการคิดต่อว่าจะต้องผลิตอย่างไร ใช้เครื่องจักรประเภทไหน แบบใด สำหรับการทำแม่พิมพ์ เพื่อผลิตชิ้นส่วนอีกทีหนึ่ง
- หลังจากนั้นต้องคอยดูแลและจัดการเรื่องการผลิตแม่พิมพ์เพื่อลดต้นทุนการผลิต แต่ทำอย่างไรให้แม่พิมพ์การผลิตชิ้นส่วนรถยนต์นั้นๆ มีคุณภาพดีเท่าเดิมหรือบางครั้ง อาจเป็นการลดต้นทุนด้านเวลา คือ ราคาต้นทุนการผลิตเท่าเดิม แต่ผลิตได้เร็ว
- เมื่อได้ตัวอย่างโมเดลแม่พิมพ์แล้ว จะนำไปผลิตที่เครื่องพิมพ์และส่งต่อให้โรงผลิต และออกแบบเป็นรถ ตามเวลาที่กำหนด
- อาจจะมีการดูแลรักษาตัวเครื่องบ้าง หากเกิดกรณีฉุกเฉินต่าง ๆ
สถานที่ทำงาน
ส่วนใหญ่จะทำงานในโรงงานผลิตชิ้นส่วน ซึ่งจะแยกย่อยออกไปตามสาขาต่าง ๆ ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร
ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
- ส่วนของการออกแบบ จะต้องทำงานร่วมกับแผนกมากมาย เช่น ฝ่ายเชื่อม ฝ่ายปั๊ม ผ่ายออกแบบstyling ฝ่ายทำสี ฝ่ายพลาสติก ฝ่ายโรงประกอบ (ทุกโรงงานที่ทำรถจะมี) ฝ่าย performance ต่าง ๆ
- ซัพพลายเออร์ที่รับผลิต บางแห่ง จะเรียกว่า Maker หรือ outsource ที่รับทำตัวแม่พิมพ์ของเรา
- เจ้าของโรงงานผลิตชิ้นส่วน ที่จะนำแม่พิมพ์ของเราที่ออกแบบ เพื่อไปทำเป็นชิ้นส่วนรถยนต์อีกต่อหนึ่ง
ทางเลือกอาชีพ
วิศวกรเครื่องกล มันคือ พื้นฐานของวิศกวกรทุกแขนง (ยกเว้นคอมพิวเตอร์) จึ่งสามารถต่อยอดไปทำงานได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายจัดซื้อ วิศวกรที่ปรึกษา ฝ่ายการขาย นอกจากนี้ยังอยู่ได้ในหลากหลายอุตสาหกรรม เช่น วงการผลิตรถยนต์ วงการผลิตอาหาร อุปกรณ์การแพทย์ สายงานก่อสร้าง หรือการผลิตพลังงาน เป็นต้น
ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต
เส้นทางการเติบโตในอาชีพวิศวกรเครื่องกล จะแตกต่างไปตามสายงานที่เลือก ตัวอย่างด้านล่างเป็นเพียงค่าประมาณของวิศวกรเครื่องกล สายโรงงานการผลิต
- Engineer – 20,000 - 25,000 บาท
- Senior Engineer – 35,000 – 40,000 บาท
- Assistant Manager 60,000 – 70,000 บาท
- Manager 100,000 – 120,000 บาท
การแข่งขันและความต้องการทางการตลาด
วิศวกรเครื่องกลในสายโรงงานการผลิตยังเป็นที่ต้องการสูงมาก แม้ว่าจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูง แต่หากหมั่นหาประสบการณ์และมีความมุ่งมั่นตั้งใจ จะสามารถอยู่ในสายงานการผลิตและเติบโตได้ดีมากกว่าวิศวกรเครื่องกลสายงานอื่น ๆ
- วิศวเครื่องกลหางานได้ง่าย โดยเฉพาะในสายโรงงานการผลิต เพราะว่าไม่ว่าจะในอุตสาหกรรมใด ของต้องการวิศวกรด้านนี้
- ในสายโรงงานการผลิต มักมีช่องทางให้เติบโตในสายอาชีพมากกว่าสายอื่น รวมทั้งมีรายได้ค่อนข้าง
- วิศวกรเป็นงานที่ทำงานกับคนที่หลากหลายฝ่าย ช่วยพัฒนาตัวเองให้การสื่อสารได้
- อาจมีเงื่อนไขที่ต้องทำงานไกลบ้าน ตามโรงงานต่าง ๆ ไม่ใช่งานนั่งในห้องแอร์ แต่ต้องอยู่หน้างานการผลิตเสมอ ต้องอดทนกับความเหนื่อยความร้อน
- เป็นอาชีพที่ต้องอาศัยความเชี่ยวชาญเฉพาะทางและประสบการณ์ที่หลากหลาย หากไม่คอยพัฒนาตัวเองจะล้าหลังและเติบโตได้ยาก
- วิศวกรรมในบ้านเรา ยังไม่ค่อยได้พัฒนาการผลิตสิ่งประดิษฐ์หลายอย่างของตัวเอง ทำให้งานวิศวกรเครื่องกลในสายงานออกแบบ คิดตั้งต้น ยังคงถูกจำกัดอยู่
- ความอดทน เป็นสิ่งที่วิศวกรควรมีติดตัว เพราะในกระบวนการทำงานแต่ละขั้นตอนจะช้าและค่อนข้างละเอียด
- มีไหวพริบ ในการจัดการแก้ป้ญหาทั้งเรื่องระบบกลไกและการแก้ปัญหาเรื่องคนทำงาน
- มีความชอบในวิชาฟิสิกส์ เพราะเป็นพื้นฐานสำคัญของการเรียนวิศวกรรมเครื่องกล
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytic Thinking) เป็นตัวช่วยของการออกแบบ ดูแล และควบคุมระบบกลไกต่าง ๆ
- ทักษะการคิดอย่างเป็นระบบ (System Thinking) คือหลักการสำคัญของงานวิศวกรรม
- ทักษะการสื่อสารและการถ่ายทอด เพื่ออธิบายให้คนทั่วไปเข้าใจในสิ่งที่เรากำลังทำ
- ทักษะคณิตศาสตร์ จำเป็นอย่างยิ่ง เพราะวิศวกรต้องอาศัยการคำนวณต่าง ๆ ที่ถูกต้องแม่นยำ
- ทักษะด้านภาษาอังกฤษ จำเป็นมาก เพราะในหลายโรงงานมีชางต่างชาติ และบางครั้งต้องมีการทำรายงานเป็นภาษาอังกฤษด้วย
- ทักษะการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการตัดสินใจ เป็นทักษะที่ต้องใช้เพื่อให้ได้งานออกให้มีประสิทธิภาพ
- ทักษะด้านเครื่องยนต์กลไก เป็นสิ่งพื้นฐานของงานวิศวกรรมเกือบทุกสาขาอยู่แล้ว
- ทักษะการวาดภาพพื้นฐาน เป็นการวาดลายเส้นในมุมมองต่าง ๆ เพื่อให้การทำงานร่วมกับช่างและทีมผลิตได้ง่ายยิ่งขึ้น
การศึกษา
- สายวิทย์คณิต เพื่อสอบเข้าเรียนในคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล
- สายอาชีวะ สามารถสอบเทียบเพื่อเรียนต่อได้ ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันกำหนด
Hard Skills
- วิชาของสายวิทย์ต่าง ๆ เช่น ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ โดยเฉพาะฟิสิกส์ ควรเน้นให้ดี รวมทั้งวิชาภาษาอังกฤษด้วย
- ฝึกทักษะการเป็นคนช่างรื้อช่างหา ชอบแก้ไข
- ฝึกการจัดลำดับความคิด และการทำงานเป็นระบบ
Soft Skills
- ฝึกสื่อสารและถ่ายทอด โดยเฉพาะในเรื่องกลไกที่ยากให้ผู้อื่นสามารถเข้าใจได้ และตามทัน
กิจกรรม
- หากิจกรรมทำเยอะให้ได้ประสบการณ์ ทั้งในระหว่างเรียน รวมทั้งชั้นปีที่ต้องฝึกงาน ให้ลองเลือกฝึกในสิ่งที่สนใจ เช่น สนใจขั้นตอนการผลิตเครื่องกลต่าง ๆ ก็ให้เลือกสถานที่ฝึกที่ได้ทำงานจริง
- การทำกิจกรรมจะทำให้ได้รู้จักกับผู้คนมากขึ้น เราจะได้เปรียบมากและมี connection ที่ไม่จำกัดแค่วงการวิศวกร แต่ยังรวมไปสายอาชีพอื่น ๆ ด้วย
วิชาที่เรียน
ตัวอย่างการเรียนของคณะวิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- ปี 1: เน้นเรื่องการเรียนวิชาพื้นฐาน ทั้งวิชาเลข ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา แคลคูลัส ที่เคยร่ำเรียนมาตั้งแต่ชั้นมัธยมปลาย จะถูกรวบรวมไว้ในปีนี้ ซึ่งถือเป็นปีแห่งการปรับพื้นฐาน และจะเริ่มเรียนวิชาเฉพาะทางวิศวกรรมบ้าง เช่น วิชาเทอร์โมไดนามิค (thermodynamics) วิชาแมคคานิคัลดีไซน์ (mechanical design) เป็นต้น
- ปี 2: จะเริ่มแบ่งการเรียนเป็นเรื่องของเหลว ของแข็ง เช่น ของเหลวจะแบ่งเป็น เรื่องความดัน แรงกดอากาศ อุณหภูมิ เน้นเรื่องการคำนวณ ส่วนพวกของแข็ง จะเป็นการเรียนเรื่องนิวเมติค เขียนระบบพื้นฐาน ระบบลม การจ่ายลมต่าง ๆ
- ปี 3 เป็นปีที่อาจจะเรียนตามโครงสร้างเดิม แต่เริ่มลงลึกเฉพาะมากขึ้น เช่น มีสูตรการคำนวณเฉพาะทางต่าง ๆ เช่น เรื่องรถ เรื่องแอร์ เรื่องการสั่นไหว vibration เรื่องความถี่
- ปี 4 จะเรียนน้อยลง แต่ควรให้เวลากับการทำ Project สำหรับจบการศึกษา โดยจะต้องทำเป็นชิ้นงานขึ้นมา คุยไอเดียกับอาจารย์ที่ปรึกษา รวมทั้งฝึกงานด้วย
เคล็ดลับการเรียน
- วิศวกรรมใช้ความเข้าใจ ถ้าเราเข้าใจแต่ละสูตรและหลักการจริงๆ ไม่ใช่แค่ท่องจำ มันจะทำให้เราเรียนได้ง่ายและประยุกต์ใช้ได้
- ทำเกรดให้เกิน 2.5 ไว้ จะสามารถหางานได้ง่ายขึ้น
- ภาษาอังกฤษจำเป็นอย่างยิ่งในปัจจุบัน หากสามารถสื่อสารได้ จะได้เปรียบ
ชีวิตนักศึกษา
คณะวิศวกรรมในแต่ละสถาบันอาจจะมีกิจกรรมหลากหลาย เช่น การประกวดต่าง ๆ รวมถึงการออกค่ายหาความรู้ เพื่อให้น้อง ๆ ได้ค้นหาแนวทางอะสิ่งที่ชอบ แม้ว่าปัจจุบันจะเป็นการเรียนออนไลน์แต่ก็ยังคงมีการจัดประกวด หรือการแข่งขันชิงรางวัลของทั้งเอกชนและภาครัฐ สิ่งเหล่านี้แม้จะไม่ได้รางวัล แต่จะทำให้เรามีประสบการณ์และมีคนรู้จักมากยิ่งขึ้น
ค่าเทอม
- ค่าเทอมประมาณ 16,000 ต่อเทอม
อาชีพใกล้เคียง
- วิศวกรไฟฟ้า
- วิศวกรโยธา
- วิศวกรโทรคมนาคม
- วิศวกรระบบราง
Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร