ภูมิสถาปนิก
ภูมิสถาปนิก
ภูมิสถาปนิก
ภูมิสถาปนิก

       ภูมิสถาปนิก มีที่มาจากคำว่า ภูมิศาสตร์ผสมกับสถาปนิก เป็นสาขาหนึ่งของอาชีพสถาปนิก เชี่ยวชาญการออกแบบจัดการพื้นที่ภายนอกตัวอาคารหรือบริเวณโดยรอบทั้งหมด รวมถึงสวนสาธารณะ สวนหย่อมต่าง ๆ จนไปถึงการออกแบบพื้นที่ขนาดใหญ่อย่างการวางผังเมือง โดยจะทำงานร่วมกับสถาปนิกที่ออกแบบตัวอาคารในโปรเจคต่าง ๆ

       สิ่งที่นักภูมิสถาปนิกต้องใส่ใจและให้ความสำคัญนั้นจะต่างจากสถาปนิกทั่วไปเล็กน้อย เพราะการออกแบบของพวกเขามีปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและสิ่งมีชีวิตข้องเกี่ยวด้วยค่อนข้างมาก ต้องศึกษาสภาพพื้นที่โดยคำนึงถึงสภาพดิน การระบายของน้ำ ลม สภาพอากาศ และพืชพรรณชนิดต่าง ๆ ที่จะถูกนำมาจัดลงพื้นที่นั้นก็ต้องผ่านการคัดเลือกมาให้เหมาะสมและดำรงอยู่ได้ทำให้หลายคนมักจดจำนักภูมิสถาปนิกว่าเป็นเหมือนผู้ที่คอย ‘จัดสวน’ ให้กับสถานที่ต่าง ๆ
       งานหลักของภูมิสถาปนิกจะเน้นไปที่การศึกษาธรรมชาติของพื้นที่ สภาพของพื้นที่ แล้วเลือกออกแบบให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้จ้าง โดยที่คำนึงถึงความเหมาะสมกับพื้นที่นั้นๆด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับธรรมชาติ พวกแสงแดด ลม พืช ดิน น้ำ ลักษณะพื้นที่แต่ละที่มีข้อจำกัดต่างกัน บางที่มีปัญหาเรื่องน้ำเค็ม บางที่ถ้าเป็นจัดสวนบ้าน ก็จะเจอปัญหาพื้นที่ไม่พอ แดดไม่ลง ต้นไม้ปลูกไม่ขึ้น จะทำอะไรได้บ้าง หรือบางทีเจอลูกค้าต้องการทุกอย่าง แต่มีงบจำกัด ก็ต้องนำทักษะที่มีมาแก้โจทย์
       งานสถาปัตย์หรือภูมิสถาปัตย์คือการเขียนพื้นที่ใหม่ลงบนพื้นที่เก่า ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะอยู่กับพื้นที่นั้น ๆ ไปตลอด ไม่ใช่แค่ปีสองปีดังนั้นนักภูมิสถาปนิกจึงจำเป็นต้องมีความรับผิดชอบต่อพื้นที่ที่ตนออกแบบด้วย

ภูมิสภาปนิก

ภูมิสภาปนิก

ภูมิสภาปนิก

 

ลักษณะงาน 

       งานหลักของภูมิสถาปนิกคือการประเมิน ออกแบบ จัดการ ควบคุม ดูแลพื้นที่บริเวณรอบนอกตัวอาคาร ตามโจทย์ที่ได้รับมาจากลูกค้า ให้พื้นที่เหล่านั้นกลายสภาพไปตามความต้องการของลูกค้า และบางครั้งอาจมีลูกค้าต้องเรียกไปเพื่อปรึกษาเรื่องการดูแลพืชบ้างเช่นกัน
       ภูมิสถาปนิกมักจะต้องทำงานร่วมกับสถาปนิกทุกครั้ง แต่อาจจะไม่ได้มีภูมิสถาปนิกในทุกโครงการก็ได้ขึ้นอยกู่ ับโครงสร้างพื้นที่ หรือว่าจะมีคนที่อยากรีโนเวทสวนจัดสวน มาจ้างโดยเฉพาะ นอกจากนั้นยังอาจต้องทำงานกับซินแสที่ช่วยดูเรื่องฮวงจุ้ยด้วย ก็จะคอยออกแบบตามทเี่ขาต้องการอีกที เช่นบอกให้มีน้ำ ก็ออกแบบน้ำตก ซึ่งปัญหาส่วนมากมักจะเป็นเรื่องข้อจำกัดของพื้นที่กับข้อจำกัดของคน
       ลูกค้าบางคนอาจบอกแค่ว่าอยากรีโนเวทที่ตรงนี้ออกแบบให้หน่อยแต่ไม่บอกอะไรเลยว่าอยากให้เป็นแบบไหน ออกแบบไปสามครั้งยังไม่ผ่าน เพราะทางลูกค้าไม่พูดความต้องการเขาออกมาจริง ๆ บอกแค่อะไรก็ได้การพูดคุยไปเรื่อย ๆ จึงจะทำให้เราเห็นความต้องการจริง ๆ ของเขาได้การพูดคุย และจับประเด็นเป็นอีกทักษะสำคัญที่ต้องฝึกไว้หากต้องเป็นคนที่เจรจากับลูกค้าด้วยตนเอง เช่น ลูกค้าบอกว่าไม่มีความคิดเท่าไรเลยรู้แค่ว่าอยากจัดสวนสำหรับพักผ่อน ก็ค่อย ๆ ถามต่อ ชวนคุยต่อ ว่าปกติเขาชอบทำอะไรเวลาพักผ่อน ถ้าเขาบอกว่าดื่มกาแฟ มองธรรมชาติ เราก็จะได้โจทย์มาละว่าต้องมีที่นั่งนะ เป็นต้น

ขั้นตอนการทำงาน

แบ่งเป็นสองช่วงการทำงาน ออกแบบ กับ ตรวจงานช่วงก่อสร้าง

  • คุยกับผู้ว่าจ้าง รับบรีฟงาน สอบถามข้อมูลความต้องการต่าง ๆ ของผู้ว่าจ้าง
  • เข้าสำรวจพื้นที่ หาจุดเด่นจุดด้อยในพื้นที่ สรุปโซนนิง และสรุปโปรแกรม (พื้นที่นี้เราจะพัฒนาพื้นที่ไปเป็นอะไรได้บ้าง เช่น โครงการบ้านจัดสรร ห้างสรรพสินค้า หรืออื่น ๆ)
  • แบ่งหน้าที่ทำงาน เช่น ใครออกแบบวางผัง (อาจเป็นภูมิสถาปนิกหรือสถาปนิกก็ได้แล้วแต่เจ้าของ)
  • ภูมิสถาปนิกจะรอผังโครงการที่มีเลย์เอาท์พื้นที่ทั้งหมด เมื่อได้รับมาแล้วก็จะได้พื้นที่ภายนอก ซึ่งส่วนใหญ่เราจะเรียกพื้นที่ที่เราต้องออกแบบว่าพื้นที่สีเขียว มาออกแบบต่อค่ะ
  • สถาปนิกจะพัฒนาในส่วนแบบอาคาร ส่วนภูมิสถาปนิกจะออกแบบส่วนพื้นที่ภายนอกอาคาร
  • เมื่อเริ่มก่อสร้างก็จะมีการเข้าไปตรวจดูความคืบหน้าในสถานที่จริง
  • ช่วงตรวจงานจะเริ่มจาก Hardscape และสุดท้ายก็ตรวจงาน Soft Scape
  • งาน Hardscape คืองานเช่นทางเดิน ศาลา กำแพงประดับ บ่อน้ำพุ งานที่ต้องมีงานเปียก(งานเปียกคือ งานที่มีการเทคอนกรีต) มีโครงสร้างลงเสาเข็ม  ส่วนงาน Softscape คืองานต้นไม้ไม้พุ่มต่าง ๆ
  • เรื่องแก้งานใหม่ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้เสมอ โดยจะมี shop drawing ออกมาเพื่อแก้ไขงาน ส่วนมากถ้างานยังดำเนินไปไม่ไกลจะสามารถแก้ได้

สถานที่ทำงาน 

  • บริษัท
  • บ้านหรือสถานที่ของลูกค้า
  • ไซต์งานก่อสร้างหรือพื้นที่จริง
  • ร้านค้าวัสดุ

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย 

  • ลูกค้า
  • ผู้รับเหมา
  • สถาปนิก
  • ซินแส
  • เจ้าของร้านค้าวัสดุหรือตัวแทนจำหน่าย

ทางเลือกอาชีพ 

  • นักจัดสวน 
  • นักจัดภูมิทัศน์

เส้นทางการเติบโตในสายอาชีพและรายได้

  • ทำงานบริษัทออกแบบ ก็จะเป็นงานออกแบบสวน
  • งานอสังหาริมทรัพย์ช่วยหาความต้องการของลูกค้าและสั่งนักออกแบบอีกที
  • เข้างานส่วนงานก่อสร้าง ตรงนี้ก็จะต้องลุย ๆ หน่อย
    • Junior เริ่มต้นทำงานที่ 17,000 ถึง 19,000+ บาทขึ้นไป
    • Senior 25,000+ บาทขึ้นไป
    • Manager 40,000+ บาทขึ้นไป
    • ผู้อำนวยการ 
  • บางคนอาจทำกิจการเป็นเจ้าของออฟฟิศเอง หรือเป็นฟรีแลนซ์จะรับเงินตามโปรเจคที่ทำ ก็จะมีเรตราคาเริ่มต้นของแต่ละคน อาจขึ้นอยู่กับรายละเอียด มีทั้ง
    แบบเหมาเป็นแพ็คเกจ ทั้งอ้างอิงตามมูลค่าการก่อสร้าง หรืออ้างอิงตามความกว้างของพื้นที่ คิดค่าออกแบบเป็นตารางเมตร ฯลฯ

การแข่งขันและความต้องการทางการตลาด 

       สายงานสถาปัตย์นั้นเรียกได้ว่าจบมา ถือว่ามีงานทำแน่นอน เพราะที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงานนั้นคือปัจจัยหลักในชีวิต จึงมีความต้องการที่จะสร้างหรือปรับปรุงเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา แต่งานอาจมีความผันผวนตามสภาพเศรษฐกิจด้วย

ภูมิสภาปนิก

 

  • รายได้ดีสำหรับเด็กจบใหม่สมน้ำสมเนื้อกับงานที่ต้องทำ
  • ช่วยให้มีหลักการคิดอย่างเป็นระบบ เป็นเหตุเป็นผล
  • สามารถนำความรู้ที่มีมาประยุกต์ใช้กับชีวิตประจำวันได้ทำให้เราเข้าใจธรรมชาติมากขึ้น
  • มีความหลากหลายในการไปต่ออาชีพทางเลือกอื่นๆ รวมถึงมีทางเลือกในการรับงานเอง
  • ข้อดีของการเรียนสถาปัตย์คือการได้ฝึกลำดับความคิด ทำอย่างเป็นระบบ และเติมเต็มด้วยศิลปะ ซึ่งทำให้สามารถปรับตัวกับทุกๆงานได้ง่ายมาก 

 

  • ปริมาณงานและความต้องการของลูกค้าอาจแปรผันตามสภาพเศรษฐกิจ เนื่องจากตัวงานที่ทำช่วยเพิ่มคุณค่าทางจิตใจมากกว่าเป็นปัจจัย 4 ดังนั้นงานอาจลดลงในช่วงที่คนไม่อยากจับจ่ายใช้สอยกัน
  • อาจต้องรับมือกับผู้คนเยอะ เพราะเป็นงานที่มีเป้าหมายในการตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า
  • -มีความคิดสร้างสรรค์จินตนาการ
  • ชอบและรักในธรรมชาติ ซึ่งความหลงใหลนี้จะเป็นแรงผลักดันให้เราอยากศึกษาเรียนรู้เกี่ยวกับต้นไม้หรือสภาพแวดล้อมเหล่านี้
  • มีความใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ ตามจุดต่าง ๆ
  • เปิดกว้างและพร้อมเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ อยู่เสมอ
  • มีความสามารถในการมองภาพเป็น Visualization คือสามารถมองภาพในหัวได้รอบด้าน ซึ่งเป็นพื้นฐานของนักออกแบบในเกือบทุก ๆ สาขา 
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์  คือการออกแบบพื้นที่ภายนอกโดยต้องการวิเคราะห์ถึงภูมิประเทศ ภูมิอากาศ ให้เข้ากับสิ่งแวดล้อมโดยรอบเช่น ตึก อาคาร หรือภูมิทัศน์ธรรมชาติอื่น ๆ 
  • ทักษะการสื่อสาร การจับประเด็น จับใจความสำคัญ
  • ทักษะการแก้ปัญหาตัดสินใจ ต้องรู้จักและเข้าใจถึงปัญหาของแต่ละพื้นที่ เข้าใจความต้องการของผู้ว่าจ้าง และตัดสินใจแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพ 
  • ทักษะการใช้เครื่องมือเฉพาะทางของงานสถาปัตย์ ไม่ว่าจะเป็นโปรแกรมการออกแบบ การเขียนแบบ หรือโปรแกรม SketchUp 3D Design ที่ช่วยเสนองานให้ลูกค้าให้ภาพอย่างชัดเจนขึ้น 

การศึกษา

  • ระดับมัธยมศึกษา เลือกเรียนสายวิทย์หรือคำนวณ

  • ระดับปริญญาตรี เลือกเข้าคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ หลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม

ตัวอย่างสถาบันที่เปิดหลักสูตรภูมิสถาปัตยกรรม

  • จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -
  • มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ -
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ -
  • มหาวิทยาลัยแม่โจ้ 

ภูมิสภาปนิก

 

 Hard Skills

  • ฝึกใช้โปรแกรมพื้นฐานที่ใช้สำหรับการออกแบบ เช่น Sketch up, Autocad
  • ฝึกการใช้ความคิดสร้างสรรค์นอกกรอบแบบมีหลักการและเหตุผลรองรับ
  • ลองหาโจทย์ข้อสอบเก่า ๆ มาลองทำ
  • ศึกษาเรื่องเกี่ยวกับต้นไม้ที่ใช้จัดสวนชนิดต่าง ๆ แต่ส่วนนี้สามารถหาเพิ่มได้ตอนเข้ามหาวิทยาลัยแล้ว (ไม่มีในการสอบเข้า)

Soft Skills

  • ฝึกการจับประเด็น จับใจความสำคัญ
  • ฝึกการใช้การสื่อสาร การพูด การพรีเซนต์งาน ที่ช่วยเพิ่มมูลค่างานของเราได้ ฝึกการเป็นผู้ฟังที่ดี เพราะจุดเริ่มต้นของงานคือการรับฟังความต้องการของลูกค้า
  • ฝึกบริหารจัดการเวลา

กิจกรรมต่าง ๆ 

  • ลองหาโจทย์ข้อสอบเก่า ๆ มาลองทำ
  • ลองหาเกมแนว simulation จำลองการสร้างสวนสนุก สวนสัตว์มาเล่นดู เกมสมัยนี้จะมีระบบที่ค่อนข้างสมจริงในเรื่องการออกแบบพื้นที่ให้ตอบโจทย์กลุ่มผู้ใช้จะช่วยให้มองเห็นภาพได้ระดับหนึ่ง

คำบอกเล่าของคนในสายอาชีพ

       "เราเหมือนนักจัดการสภาพแวดล้อมภายนอกอาคารให้มีทั้งความงามและสามารถตอบโจทย์และเหมาะสมสำหรับผู้ใช้งาน"

ทิพสุดา แดนจอหอ ภูมิสถาปนิก


IDOLสายอาชีพ

       คุณเอก จากบริษัท RAFA Design (ทีมออกแบบธันเดอร์โดมที่บุรีรัมย์)

วิชาที่เรียน

       โดยทั่วไปวิชาเรียนหลักจะแบ่งออกเป็น ทฤษฎี วิชาออกแบบ และวิชาออกแบบโครงกสร้าง ส่วนวิชาเสริมจะเป็นทักษะเสริม เช่น การวาดภาพ ความรู้เรื่องพรรณไม้ หรือ sketch design
       การเรียนจะเพิ่มระดับสเกลขึ้นตามบริบทของการใช้งาน ตั้งแตพ่ ื้นที่ขนาดไม่ใหญ่มากอย่างบ้าน ไปเป็นสวนสาธารณะ สนามกีฬา ตีมปาร์ค งาน urban design จนไปถึง แผนผังการท่องเที่ยวในจังหวัดเลยทีเดียว
ตัวอย่างวิชาภาคทฤษฎี

  • ประวัติศาสตร์สถาปัตยกรรม
  • ทฤษฎีศิลปะ
  • ความรู้เรื่องกฎหมายอาคาร
  • ทฤษฎีโครงสร้าง จะมีทั้งการสำรวจพื้นที่ วัดพื้นที่ทำถนน เทคนิกการทำกำแพงกันดิน ทำระบบน้ำในงานสวน ไปจนถึงระบบน้ำสนามกอล์ฟ การออกแบบพื้นที่สนามกีฬา ฯลฯ

ตัวอย่างวิชาเสริม

  • วิชาพรรณไม้เรียนรู้ต้นไม้ชนิดต่าง ๆ ลักษณะ วงศ์ต่าง ๆ
  • วิชาอุทยาน ของม.เกษตรจะเรียนรวมกับคณะวนศาสตร์เกี่ยวกับการจัดการพื้นที่ป่า เช่น ทำแนวกันไฟ
  • การออก field จะเป็นการลงพื้นที่สำรวจแล้วกลับมา discuss กันว่าพื้นที่สามารถพัฒนาเป็นอะไรได้บ้าง เอาวิชาความรู้ต่างๆมาสร้างโปรแรมการออกแบบด้วยการสำรวจของตัวเอง

เคล็ดลับการเรียน

       เคล็ดลับการเรียนของคณะสถาปัตย์คือ นอกจากความคิดสร้างสรรค์ในผลงานออกแบบแล้ว ต้องตรงต่อเวลา ห้ามเลท ห้ามสาย ไม่งั้นปรับตก F ทันที ต้องมีการวางแผนการทำงานและจัดสรรบริหารเวลาให้ดี และมีระเบียบวินัยในตัวเอง ถ้าวิชาโครงสร้างสอนอะไร ให้เอาเทคนิคนั้น ๆ เข้ามาใส่ในงานวิชาดีไซน์ เพราะเนื้อหาการเรียนแต่ละเทอมของแต่ละวิชาจะสอดคล้องกัน


ชีวิตนักศึกษา

  • ชั้นปี1 ในปีแรกนี้จะเรียนวิชาพื้นฐานรวมกับคณะสถาปัตย์หลัก จนจบปีจะสามารถออกแบบบ้าน 2 ขั้นได้และเรียนเรื่องโครงสร้างไม้โครงสร้างเหล็ก
  • ชั้นปี2 เริ่มแยกภาค ได้เรียนการออกแบบสวนบ้าน สวนร้านอาหาร สวนสาธารณะต่าง ๆ
  • ชั้นปี3 จะเป็นงานวางผังบ้านจัดสรร งานวางผังสนามกีฬา แล้วก็theme park จะมีตั้งแต่ออกแบบอุทยานเรียนรู้วิทยาศาสตร์ออกแบบสวนสัตว์หรือสวนสนุก ขึ้นอยู่กับโจทย์ที่ได้รับจากอาจารย์ผู้สอน
  • ชั้นปี4 ปีสุดท้ายนี้จะได้กลับมาเรียนรวมกับสถาปัตย์อีกรอบ คือเรียนร่วมกันเรื่องผังเมืองในทางทฤษฎี แล้วก็จะแยกออกมาทำงานดีไซน์ผังเมือง งานผังเมืองของภูมิสถาปนิกจะเป็นการวางผังเชื่อมต่อพื้นที่สีเขียวในเมือง และปรับแก้ปัญหาในจุดต่าง ๆ

ค่าเทอมตลอดหลักสูตร 

  • มหาวิทยาลัยรัฐบาล ภาคปกติ ประมาณ 20,000 - 35,000 บาท ต่อปี
  • ภาคอินเตอร์ประมาณ 60,000 บาท ต่อปี

 

 


Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร