นักวิเคราะห์สินเชื่อ
นักวิเคราะห์สินเชื่อ
นักวิเคราะห์สินเชื่อ
นักวิเคราะห์สินเชื่อ
รู้จักอาชีพ > นักวิเคราะห์ (Think) > นักวิเคราะห์สินเชื่อ

       ในงานการเงินการธนาคาร หนึ่งอาชีพที่เป็นที่รู้จักมากที่สุด คือ นักวิเคราะห์สินเชื่อ ผู้ซึ่งทำหน้าที่ประเมินและตัดสินใจอนุมัติสินเชื่อการกู้ยืมให้กับลูกค้า โดยที่ต้องคำนึงถึงนโยบายของธนาคารต้นสังกัดหรือหน่วยงานที่เราทำงานด้วย เพื่อให้หน่วยงานนั้น ๆ ได้กำไรและมีความเสี่ยงน้อยที่สุด 

นักวิเคราะห์สินเชื่อ

นักวิเคราะห์สินเชื่อ

นักวิเคราะห์สินเชื่อ

 

ลักษณะการทำงาน      

       หากพวกเราต้องการจะกู้เงินธนาคารหรือสถาบันการเงินใด ๆ  ผู้ที่ทำหน้าที่วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินว่าการกู้ยืมของเราจะได้การอนุมัติหรือไม่ คือ นักวิเคราะห์สินเชื่อ โดยพวกเขาจะต้องทำหน้าที่ รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ โดยเฉพาะทางการเงิน รายได้รายจ่าย เพื่อนำมาพิจารณาอนุมัติสินเชื่อ  พวกเขาต้องกรั่นกรองคำร้องขอสินเชื่อของบุคคลหรือบริษัทเหล่านั้น และวิเคราะห์เพื่อให้ธนาคารหรือหน่วยงานต้นสังกัดของตนได้กำไรมากสุด และมีความเสี่ยงน้อยที่สุด 

ขั้นตอนการทำงาน 

  • เจ้าหน้าที่การตลาด (Rm) จะทำประสานงานกับลูกค้า (ผู้ยื่นกู้) เข้ามา และจะประสานเรื่องต่อมายัง นักวิเคราะห์สินเชื่อ
  • ทางเจ้าหน้าที่การตลาดจะส่งเอกสารรายละเอียดของการกู้สินเชื่อมา เช่น วงเงินกู้เท่าไหร่ มีรูปแบบการชำระหนี้ต่าง ๆ อย่างไร มีระยะเวลาการผ่อนกีปี เป็นต้น 
  • นักวิเคราะห์สินเชื่อ ต้องทำการวิเคราะห์ ดูสินเชื่อรวมเงินต้นกับดอกเบี้ย จะมีการผ่อนเดือนเท่าไหร่ ทางผู้ยื่นกู้มีงบการเงินเท่าไหร่ สมเหตุสมผลหรือไม่ โดยต้องวิเคราะห์ว่าจะต้องทำอย่างไรให้ได้เรตติ้ง (รายได้ของแบงค์คือ ดอกเบี้ย) ตามที่ธนาคารต้นสังกัดของเราต้องการ โดยต้องทำ cash flow ประมาณการ เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้ยื่นกู้เค้าชำระหนี้ได้จริงหรือไม่ ซึ่งต้องวิเคราะห์จากปัจจัยหลายอย่าง ทั้งธุรกิจของเขา อายุ รายได้ หนี้สิ้นอื่น ๆ เพื่อประเมินศักยภาพของลูกคือหรือผู้ยื่นกู้
  • เมื่อสรุปการประเมินเรียบร้อยแล้ว จะส่งเรื่องไปยังสำนักงานใหญ่ เพื่อตรวจสอบอีกครั้งและทำการอนุมัติกลับมา เมื่อทางเราแจ้งผล หากทางทางผู้ขอสินเชื่อยอมรับข้อตกลงและเงื่อนไขเรียบร้อย ก็จะมีการส่งเรื่องต่อไปยังหน่วยงานทำเรื่องสัญญา 
  • จากนั้นทางธนาคารจะนัดวันจดจำนองกับผู้ยื่นกู้ งานของนักนัดวันจำนองกับลูกค้า ทางแบงค์จะมีเจ้าหน้าที่ไปติดต่อ งานของนักวิเคราะห์สินเชื่อต่อลูกค้า 1 รายเป็นอันเสร็จสิ้น 

* แต่ละเคสของผู้กู้จะแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับวงเงินของลูกค้า หรือหลักประกันของลูกค้า หากมีหลักประกันที่ดี น่าเชื่อถือ อาจจะดำเนินการภายในไม่กี่สัปดาห์ 

สถานที่ทำงาน 

  • สำนักงาน เป็นสถานที่ทำงานหลักเพื่อทำการวิเคราะห์และคำนวณ รวมทั้งจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ 
  • ดูงานนอกสถานที่ หากในกรณีที่เราต้องการทำความเข้าใจธุรกิจ หรือรายได้ของลูกค้า อาจจะมีการเดินทางเพื่อไปดูสถานที่ทำธุรกิจของลูกค้าท่านนั้น (เพื่อประเมินศักยภาพในการชำระหนี้) และทำความเข้าใจธุรกิจของลูกค้าด้วยตนเอง ร่วมกันฝ่ายการตลาด  

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย 

  • Relationship Manager หรือฝ่ายการตลาดจะเป็นผู้ที่ประสานงานกับลูกค้ามา เพื่อให้เราทำการวิเคราะห์สินเชื่อ 
  • ลูกค้าหรือผู้ที่มายื่นกู้กับธนาคารต้นสังกัดของเรา แม้จะมีการประสานผ่าน RM แต่หลายครั้งเราจะมีการพูดคุยสอบถามรายละเอียดกับลูกค้าเองโดยตรง 
  • หน่วยงานสำรวจและประเมินราคาหลักประกัน ซึ่งเป็นส่วนสำนักงานใหญ่ที่เราจะส่งเอกสารต่อไปให้ทางส่วนงานนี้อนุมัติกลับมา 
  • หน่วยงานนิติกรรม คอยดูแลเรื่องสัญญาทางกฎหมายต่าง ๆ ให้กับผู้ยื่นกู้กับธนาคารหลังจากที่เราทำการวิเคราะห์เรียบร้อยแล้ว 

ทางเลือกอาชีพอื่น ๆ 

  • นักวิเคราะห์การลงทุน  
  • Broker หุ้น
  • นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ 
  • พนักงานด้านการเงิน ดูเรื่องขาดทุนกำไรขององค์กรต่าง ๆ 

เงินเดือน นักวิเคราะห์สินเชื่อ

ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต 

  • พนักงานวิเคราะห์สินเชื่อ (ระดับ Junior) 
  • พนักงานวิเคราะห์ (ระดับ Senior) 
  • ผู้อนุมัติสินเชื่อส่วนกลางของหน่วยงาน 
  • ผู้บริหาร 

หากต้องการเปลี่ยนสายงานสามารถไปทำสายการขายหรือการตลาดได้ 

  • พนักงานทีมขาย 
  • ผู้จัดการฝ่าย RM (Relationship Manager)
  • ผู้จัดเขต
  • ผู้จัดการภาค 

รายได้

  • เริ่มต้น 16,000 บาท - 65,000 บาท 
  • หากย้ายสายงานไปเป็น Sale หรือ RM อาจมีโอกาสที่ 40,000 บาท และเพิ่มขึ้นตามประสบการณ์
  • ระดับผู้บริหารประมาณ 100,000 บาท 

การแข่งขันและความต้องการของตลาด 

       ในปัจจุบันหลายหน่วยงานด้านการเงินและธนาคารได้นำเทคโนโลยีเข้ามาใช้เป็นเครื่องมือในงานวิเคราะห์ค่อนข้างมาก ดังนั้นแม้ว่านักวิเคราะห์สินเชื่อจะยังจำเป็นแต่ อาจจะไม่เป็นที่ต้องการทางการตลาดเหมือนสมัยก่อนๆ แล้ว และอาจมีแนวโน้มลดลงหาก AI สามารถเข้ามาแทนที่ได้และวิเคราะห์ได้แม่นยำกว่า จึงขึ้นอยู่กับนโยบายของแต่ละธนาคารว่าจะลงทุนกับเทคโนโลยีมากเพียงใด 

  • หากทำสินเชื่อด้าน ธุรกิจ จะได้มีโอกาสพบเจอและทำความเข้าใจกับธุรกิจที่หลากหลาย เข้าใจ process และ cycle ธุรกิจ และได้ประสบการณ์ จนอาจนำมาปรับใช้กับธุรกิจของตนเองได้ 
  • ได้ใช้ความคิด วิเคราะห์ตลอดเวลา ได้เพิ่มประสบการณ์
  • ในแง่เศรษฐกิจ การให้สินเชื่อ SME ก็เป็นการสร้างโอกาสให้ผู้คน 
  • งานบางช่วง อาจมีปริมาณงานล้นมือ (ขึ้นอยู่กับแต่ละองค์กร) ต้องบริหารจัดการเวลาให้ได้ 
  • หากต่อไปเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในการวิเคราะห์ได้มากยิ่งขึ้น อาจทำให้อาชีพนี้มีความต้องการทางการตลาดลดลง จึงต้องเพิ่มทักษะปรับตัว เพื่อให้ตนเองสามารถปรับเปลี่ยนสายงานได้ด้วย 
  • ความรู้เรื่องการบัญชี งบการเงิน ถือเป็นองค์ความรู้หลักในการทำงาน 
  • ช่างสังเกต ช่างสงสัย ชอบหาคำตอบ เพื่อให้เข้าใจเพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ได้ 
  • ละเอียดรอบคอบ เพราะการทำงานเรื่องการเงินและสินเชื่อ เป็นเรื่องที่ต้องรอบคอบและไตร่ตรองอย่างถูกต้อง 
  • ทักษะคณิตศาสตร์ เป็นพื้นฐานที่จำเป็นต้องใช้ หากจะทำงานด้านการเงินการธนาคาร 
  • ทักษะการจัดการ ทั้งการจัดการเวลา และปริมาณงานที่มีจำนวนมาก 
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ เป็นทักษะสำคัญที่จำเป็นกับการทำงาน ทีต้องใช้ข้อมูลต่าง ๆ นำองค์ความรู้อื่นๆ มาใช้วิเคราะห์และคำนวณ
  • ทักษะการสื่อสาร ทั้งการรับฟัง พูดคุยเพื่อทำความเข้าใจ และการเขียน

เรียน วิเคราะห์สินเชื่อ

การศึกษา

  • มัธยมศึกษา
สายสามัญ:  จบการศึกษาสายใดก็ได้ (หากเป็นสายคณิตศาสตร์จะได้เปรียบกว่า) 
สายอาชีพ:  ปวช หรือปวส. สาขาวิชาการเงิน หรืออื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 
 
  • ปริญญาตรี 
ศึกษาต่อในระดับปริญญาตรี หลักสูตร 4 ปี คณะบริหารธุรกิจ คณะเศรษฐศาสตร์ พาณิชยศาสตร์หรือการบัญชี หรือคณะที่มีสาขาต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น
  • สาขาการเงินการธนาคาร
  • สาขาการบริหารการเงิน
  • สาขาการบัญชีและการจัดการ
  • สาขาเศรษฐศาสตร์
  • สาขาเศรษฐศาสตร์การเงินและการคลัง
  • สาขาเศรษฐศาสตร์ธุรกิจ
  • หรือสาขาอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง 

Hard Skills

  • ตั้งใจเรียนวิชาคณิตศาสตร์ เพราะเป็นพื้นฐานทีต้องใช้
  • หากมีโอกาสควรทำความเข้าใจเรื่องงบการเงิน และการบัญชี
  • ทำความเข้าใจพื้นฐานการกู้เงิน รวมทั้งพวกรายได้ของธนาคาร นั่นคือ ดอกเบี้ย ต่าง ๆ ของสินทรัพย์แต่ประเภท เช่น รถ ที่อยู่อาศัย สินเชื่อธุรกิจต่างๆ 

Soft Skills 

  • ฝึกการรับฟัง ทำความเข้าใจและ ประยุกต์ใช้ข้อมูลเหล่านั้นเพื่อมาวิเคราะห์

ตัวอย่างหลักสูตรการเรียนการสอนของ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ  คณะบริหารธุรกิจ สาขาการวางแผนทางการเงินและการลุงทุน 

วิชาที่เรียน

ในช่วงปีแรก จะเรียนวิชาศึกษาทั่วไป โดยจะยังไม่มีการแยกสาขาวิชา ตัวอย่าง 
  • วิชาภาษาอังกฤษ 
  • ทักษะเพื่อการเรียน 
  • พลเมืองกับสังคมพลวัตร 
  • การสร้างจิตวิญญาณการเป็นผู้ประกอบการ
  • เทคโนโลยีและนวัตกรรม
  • ทักษะการเป็นผู้นำเชิงสร้างสรรค์
  • นอกจากนี้ยังมีวิชาเลือกต่าง ๆ ให้สามารถเลือกได้ตามความสนใจ 

       เมื่อเริ่มเข้าสายงานอาชีพ จะมีกลุ่มวิชาต่าง ๆ ที่จำเป็น เช่น กลุ่มวิชาบัญชี กลุ่มวิชาเศรษฐศาสตร์ กลุ่มวิชากฎหมาย กลุ่มวิชาเชิงปริมาณ อย่างคณิตศาสตร์ธุรกิจและ การวิเคราะห์ทางสถิติเพื่อการตัดสินใจทางธุรกิจ กลุ่มวิชาบริหารธุรกิจ (การจัดการ, การตลาด ฯลฯ) กลุ่มวิชาการเงินธุรกิจ ตลาดการเงินและสถาบันการเงิน และกลุ่มวิชาการวางแผนการเงิน และหลักการลงทุน 

กลุ่มวิชาเฉพาะที่เจาะจงในสายอาชีพ โดยนักศึกษาต้องทั้งเรียนและปฏิบัติ อาทิ

  •  การวิเคราะห์รายงานทางการเงิน 
  • การวางแผนวัยเกษียณ, การลงทุน, ประกันภัย, ภาษี
  • กฎหมายการเงิน การธนาคาร และหลักทรัพย์ 
  • การสร้างแผนการเงินส่วนบุคคลแบบบูรณาการ 
  • การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ 
  • ทักษะทางวิชาชีพสำหรับนักวางแผนการเงินและการลงทุน 
  • การฝึกงานและการฝึกภาคปฏิบัติทางการวางแผนการเงิน 

       นอกจากนี้ยังมีวิชาเฉพาะด้านให้เลือก ไม่ว่าเป็นส่วนการลงทุนประเภทต่าง ๆ เฉพาะ เช่น หลักทรัพย์ ตราสารหนี้ ตลาดอนุพันธ์ เรื่องตลาดการเงินโลก ทักษะการขายแบบที่ปรึกษา เป็นต้น

เคล็ดลับการเรียน

       หากมีการวางแผนการเรียนที่ดี และได้ลองศึกษาว่าเราชอบที่จะเรียนรู้การลงทุน หรือการวิเคราะห์งานประเภทใด ก็สามารถเลือกลงวิชาเฉพาะได้ แต่ข้อสำคัญคือการประสบการณ์ในการฝึกงาน และฝึกภาคปฏิบัติจริง 

่ค่าเทอมตลอดหลักสูตร

ค่าเทอมตลอดหลักสูตร 4 ปี ประมาณ 393,880 บาท 


Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร