มัคคุเทศก์หรือไกด์ เป็นมากกว่าแค่ผู้นำทาง แต่ยังเป็นทูตวัฒนธรรมที่ถ่ายทอดเรื่องราว แนะนำ บอกเล่า นำพานักท่องเที่ยวให้คล้อยตามไปกับชีวิตและจิตวิญญาณแห่งสถานที่นั้น ๆ และช่วยดูแลองค์ประกอบทุกอย่างให้การเดินทางทุกครั้งราบรื่น
ลักษณะการทำงาน
ศึกษาข้อมูลเรื่องการท่องเที่ยว กำหนดเส้นทาง ติดต่อประสานงานส่วนต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่ออำนวยความสะดวกนักท่องเที่ยวไปตามโปรแกรมที่กำหนดไว้ อย่างมีจรรยาบรรณ เพื่อให้นักท่องเที่ยวได้รับประสบการณ์ที่ดีตลอดการเดินทาง
ขั้นตอนการทำงาน
- ได้รับโปรแกรมจากบริษัททัวร์ ประชุมงานพร้อมรับรายละเอียดสถานที่ จำนวนวัน จำนวนคน อายุ เป้าหมายของการเที่ยว เตรียมเอกสารที่จำเป็น
- เตรียมข้อมูลด้านสถานที่ ศึกษาเนื้อหาความรู้ด้านประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ ประเพณี วัฒนธรรม เหตุการณ์สำคัญ เส้นทางต่าง ๆ
- รับข้อมูลการเดินทางจากบริษัท กำหนดการต่าง ๆ ที่พัก ร้านอาหาร การขอเข้าสถานที่ จัดเตรียมอาหารว่างน้ำ ขนม ของใช้จำเป็น โดยบางครั้ง ไกด์อาจจะช่วยบริษัทในการหา หรือช่วยแนะนำด้วย
- ปฏิบัติหน้าที่ตลอดการเดินทางตั้งแต่ต้นจนจบ รวมถึงให้บริการตามข้อมูลของนักท่องเที่ยวแต่ละคน เช่น อายุ เพศ โรคประจำตัว อาหารการกิน ความต้องการเฉพาะตัว
- ติดตาม ประเมินผลความพึงพอใจ รับทราบคำแนะนำ
สถานที่่ทำงาน
อาชีพมัคคุเทศก์ เป็นอาชีพที่ต้องเดินทางค่อนข้างบ่่อย และทำงานนอกสถานที่อยู่เป็นประจำ แต่ในช่วงเวลาที่ไม่มี TRIP การทำงานเป็นการเข้าออฟฟิศตามเวลาทำงานทั่วไป มีตารางค่อนข้างแน่นอนว่าแต่ละเดือนไปทริปไหนบ้าง หากเป็นมัคคุเทศก์อิสระ จะรับงานจากหลากหลายบริษัทและบริหารจัดการเวลาด้วยตนเอง
ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
- บริษัทจัดนำเที่ยว ที่จัดการโปรแกรมต่าง ๆ
- ทีมงานออแกไนซ์ ซึ่งช่วยติดต่อประสานงานส่วนต่าง ๆ ทั้งที่พัก ร้านอาหาร การขอเข้าสถานที่ การเตรียมน้ำ ขนม
- Staff บริษัททัวร์ เป็นคนที่จัดการกำหนดการ ดูแลความเรียบร้อยภาพรวมให้การเดินทางราบรื่นตามกำหนดการ และแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าต่าง ๆ
- พนักงานขับรถและผู้ช่วย หรือเจ้าหน้าที่สนามบิน เจ้าหน้าที่ตามด่านต่าง ๆ หรือเจ้าหน้าที่ตามสถานที่ท่องเที่ยว
ทางเลือกอาชีพ
- เจ้าของธุรกิจบริษัทจัดนำเที่ยว
- พนักงานต้อนรับ เครื่องบิน, โรงแรม, เรือสำราญ
- ธุรกิจ MICE
- นักออกแบบ หรือที่ปรึกษางานด้านบริการ
- เจ้าของธุรกิจที่พัก
- นักพัฒนาการท่องเที่ยว, นักส่งเสริมการท่องเที่ยว, นักวิชาการท่องเที่ยว
- นักออกแบบและวางแผนการท่องเที่ยว
ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต
มัคคุเทศก์แบ่งตามบัตรไกด้เป็น 3 ประเภท 6 ชนิด คือ
- มัคคุเทศก์ประเภททั่วไป บัตรสีบรอนซ์เงิน
- มัคคุเทศก์ประเภทเฉพาะภูมิภาค มี 4 ชนิด คือ
- เฉพาะภูมิภาค ภาคกลาง บัตรสีเหลือง
- เฉพาะภูมิภาค ภาคเหนือ บัตรสีเขียว
- เฉพาะภูมิภาค ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บัตรสีส้ม
- เฉพาะภูมิภาค ภาคใต้ บัตรสีฟ้า
- มัคคุเทศก์ประเภทท้องถิ่น บัตรสีน้ำตาล
และมัคคุเทศก์ยังสามารถแบ่งตามรูปแบบการท่องเที่ยวได้เป็น 3 ประเภท คือ
- Domestic การนำเที่ยวคนในประเทศ ท่องเที่ยวในประเทศ ซึ่งมัคคุเทศก์แบบ Domestic สามารถเพิ่มทักษะทางด้านภาษา และสอบเพื่อเพิ่มขอบเขตการทำงานให้สามารถรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ หรือไปต่างประเทศได้ ซึ่งจะได้รับค่าตอบแทนที่สูงขึ้น
- Outbound การนำเที่ยวคนในประเทศ ท่องเที่ยวนอกประเทศ
- Inbound การนำเที่ยวคนนอกประเทศ ท่องเที่ยวในประเทศ
รายได้
ได้รับเงินเดือนแบบงานประจำตามโครงสร้างของแต่ละบริษัท หรือสำหรับไกด์อิสระ เฉลี่ยเริ่มต้นตั้งแต่วันละ 1,000 บาท และอาจสูงถึง 40,000 บาทต่อวัน ขึ้นอยู่กับรูปแบบการเที่ยว ลักษณะลูกค้า บางครั้งก็ได้ค่านายหน้าจากการพานักท่องเที่ยวไปสถานที่ที่ได้รับการแนะนำที่มีการจำหน่ายตั๋ว การขายของที่ระลึก
การแข่งขันและความต้องการของตลาด
แม้ปัจจุบันนักท่องเที่ยวจะสามารถหาข้อมูลสถานที่และเส้นทางท่องเที่ยวได้ด้วยตนเอง แต่ในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ยังมีความต้องการผู้นำเที่ยวอยู่ เพราะผู้นำเที่ยวมีความได้เปรียบหลายด้าน ทั้งความชำนาญในกระบวนการ ขั้นตอนการเดินทาง การติดต่อ การรู้จักคนพื้นที่ และประสบการณ์เฉพาะซึ่งเป็นสิ่งที่มีมูลค่าและเป็นที่ต้องการของตลาดเสมอ
- ได้ทำความรู้จักและเจอคนมากมายหลายรูปแบบ
- งานไม่อยู่กับที่ ได้เดินทางเสมอ
- ได้มีพันธมิตรมากมายตลอดการเดินทางที่เกี่ยวข้อง
- มีความท้าทาย และโจทย์ใหม่เสมอในทุกโปรแกรมการเดินทาง
- ได้บริการ มอบข้อมูล ประสบการณ์ และความสุขให้กับนักท่องเที่ยวที่เราดูแล
- เวลาการทำงานไม่แน่นอน
- เวลาส่วนตัวน้อย เพราะหน้าที่ของงานบริการจะต้องคำนึงถึงผู้อื่นมากกว่าตนเองตลอดเวลา
- มีแรงกดดันสูง จากสถานการณ์เฉพาะหน้าที่คาดการณ์ไม่ได้ และคนที่หลายความคิดความต้องการ
- มีใจรักการเดินทาง
- ช่างสังเกต มีไหวพริบ สามารถแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
- ซื่อตรง ยึดมั่นในจรรยาบรรณของวิชาชีพ
- มีความเสียสละ รักงานบริการ
- รับแรงกดดันได้ดี
- มีทัศนคติแง่บวก บุคลิกภาพดี มีมนุษยสัมพันธ์ดี มั่นใจในตนเอง
- ตรงต่อเวลา
- ขวนขวายหาความรู้อย่างสม่ำเสมอ เพราะการท่องเที่ยวมักมีข้อมูลใหม่ที่ต้องอัพเดทอยู่เสมอ
- ทักษะการสื่อสาร ชอบการอธิบาย บรรยาย เป็นเรื่องสำคัญที่ต้องมี เพราะมัคคุเทศก์คือนักพูด นักสื่อสารข้อมูลการท่องเที่ยว รวมทั้งต้องใช้ในการประสานงานเรื่องต่าง ๆ ด้วย
- ทักษะการประสานงาน
- ทักษะการจัดการ ทั้งการบริหารเวลาได้ดี และจัดการคนเป็น
- ทักษะความเป็นผู้นำ ต้องมีความรอบคอบ คอยดูแลลูกทัวร์ให้ดี
- ทักษะการแก้ปัญหา ในการจัดทริปที่มีผู้คนจำนวนมาก หรือที่ต้องประสานงานหลายส่วน เหตุการณ์ไม่คาดฝัน หรือสิ่งที่ไม่เป็นไปตามแผนงานที่วางไว้ มัคคุเทศก์จึงต้
การศึกษา
- สายสามัญ หลังจากสำเร็จการศึกษาชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการหรือเทียบเท่า ให้เข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี สาขาวิชาธุรกิจการท่องเที่ยว สำหรับการจบออกมาเป็นมัคคุเทศก์โดยตรง หรืออาจเรียนในสาขาที่ใกล้เคียงแล้วสามารถนำมาประยุกต์ และไปสอบเป็น มัคคุเทศก์ได้ภายหลัง เช่น นิเทศศาสตร์, การโรงแรม
- สายอาชีพ ต้องจบการศึกษาอนุปริญญา ในสาขามัคคุเทศก์ หรือสาขาการท่องเที่ยวที่มีวิชาเกี่ยวกับมัคคุเทศก์ไม่น้อยกว่าที่คณะกรรมการกำหนด
หรือ ได้รับวุฒิบัตรหรือหนังสือรับรองว่าได้ผ่านการฝึกอบรมวิชามัคคุเทศก์ตามหลักสูตรที่กำหนด
มัคคุเทศก์เป็นอาชีพที่ต้องสอบ "บัตรมัคคุเทศก์" หรือที่เรียกสั้น ๆ ว่า บัตรไกด์ โดยจะการจัดการสอบโดยกรมการท่องเที่ยว ประเภทการสอบจะแบ่งได้ ดังนี้
- ใบอนุญาตมัคคุเทศก์ทั่วไป
- ใบอนุญาตมัคคุเทศก์เฉพาะภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคใต้
- ใบอนุญาตมัคคุเทศก์ท้องถิ่น
โดยเนื้อหาในการสอบ จะแบ่งออกเป็น หมวดความรู้ทั่วไปสำหรับอาชีพมัคคุเทศก์ ซึ่งจะเน้นหมวดนี้มากที่สุด และมีการแบ่งย่อยเป็นความรู้เชิงวิชาการและความรู้ด้านทักษะอาชีพ
ส่วนอีกหมวดหนึ่ง คือ การวัดความรู้ด้านภาษาต่างประเทศ โดยผู้สอบจะต้องได้คะแนนรวมทั้วหมดไม่ต่ำกว่า 60% จึงจะถือว่า “ผ่านการทดสอบ”
Hard Skills
การพัฒนาตัวเองสำหรับเป็นมัคคุเทศก์ต้องสั่งสมความรู้และประสบการณ์ด้านใดบ้าง
- การใช้ภาษาไทยอย่างถูกต้องในการสื่อสาร
- ภาษาอังกฤษ และภาษาอื่น ๆ ที่สนใจ
- เข้าใจระบบธุรกิจการท่องเที่ยวรูปแบบต่าง ๆ
- เข้าใจจิตวิทยาพื้นฐานสำหรับการติดต่อพูดคุยกับคน
- รู้กระบวนการท่องเที่ยว ขั้นตอนการเดินทาง
- ประสานงานได้ดี
- รู้วิธีจัดเก็บ และใช้งานข้อมูลได้ดี
- หาข้อมูลของสถานที่ต่าง ๆ ได้ครบทุกมิติ
Soft Skills
- ฝึกความเข้าใจในเรื่องงานบริการ
- รู้จักการบริหารจัดการเวลาที่ดี
- มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี
- มีไหวพริบ แก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้า
- ฝึกฝนความเป็นผู้นำ และการแก้ปัญหาตัดสินใจ
กิจกรรมต่างๆ
- ลองจัดทริปเดินทางท่องเที่ยวตามที่ต่าง ๆ อ่านหนังสือประวัติศาสตร์ ฝึกภาษา เข้าร่วมกิจกรรมสันทนาการ
คำบอกเล่าจากในสายอาชีพ
เป็นอาชีพที่โชคดี น่าอิจฉา ได้พบลูกค้าไม่ซ้ำหน้า ได้เจรจาปราศัยจับไมด์เพลิดเพลิน เดินทางท่องเที่ยวผูกมิตรสันธวไมตรี สร้างรอยยิ้มทั่วไป อ้อเราคืออาชีพ... #มัคคุเทศก์ ไงล่ะ บ้างถามว่าเป็นมาอย่างไร บอกเลยต้องใจรักนะ บริหารเวลา หน้าที่ สร้างสรรค์จรรณยาบรรณที่ดีสู่งานบริการ ให้ยั่งยืน
พงศ์สรร ทองอยู่
มัคคุเทศก์อิสระ
วิชาที่เรียน
เริ่มต้นที่วิชาพื้นฐานที่ทุกคนต้องได้เรียน จะมีส่วนของการท่องเที่ยว เช่น การจัดการธุรกิจท่องเที่ยว, มัคคุเทศก์และการนำเที่ยว, พฤติกรรมนักท่องเที่ยว, ภาษาอังกฤษเพื่อการท่องเที่ยว และส่วนของการโรงแรม เช่น จิตวิทยาการบริการ, การจัดเลี้ยง, การบริการอาหารและเครื่องดื่ม นอกจากวิชาที่เป็นหลักทฤษฎี ก็จะเป็นการฝึกปฏิบัติ ได้เรียนรู้งานในตำแหน่งต่าง ๆ
เคล็ดลับการเรียน
ให้ความสำคัญกับทั้งทฤษฏีและปฏิบัติ ขอให้ตั้งใจทำความเข้าใจทุกวิชา โดยเฉพาะจิตวิทยาการบริการสำคัญมาก ขอให้อ่าน ลองใช้จริง เรียนรู้ และปรับใช้จนกลายเป็นนิสัยของเรา เวลาเราทำพลาดเรื่องอะไร คำวิจารณ์นั้นคือสิ่งมีค่ามาก ให้มองหาว่าเราเรียนรู้และปรับอะไรได้บ้าง และตั้งใจทำครั้งต่อไปให้ดีขึ้น และอย่าลืมพัฒนาด้านบุคลิคภาพและภาษาเป็นสิ่งสำคัญ
ชีิวิตนักศึกษาในรั้วมหาวิทยาลัย
ปีแรกเป็นการปรับตัวด้วยวิชาพื้นฐาน ค่อย ๆ สำรวจตัวเองว่าชอบที่จะเป็นไกด์ ได้ออกโลกกว้าง หรือชอบไปแนวบริหารจัดการ คิด วางแผน จากนั้นความสนุกคือการได้ออกไปแหล่งท่องเที่ยวต่าง ๆ ได้เรียนรู้จากไกด์มืออาชีพ ได้ทดลองทำอะไรด้วยตัวเอง ได้เจอลูกค้าจริง จะเรียกว่าเรียนไปเที่ยวไปก็ได้
ค่าเทอมตลอดหลักสูตร
*ค่าเทอมแต่ละสถาบันอาจมีการเปลี่ยนแปลงได้
- มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ คณะศิลปศาสตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยวและสาขาวิชาการโรงแรม ประมาณ 7,700 บาท ต่อเทอม
- มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะมนุษยศาสตร์ สาขาวิชาการท่องเที่ยว 28,000 บาท ต่อเทอม
- มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ คณะวัฒนธรรมสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยวแบบบูรณาการ 22,000 บาท ต่อเทอ
- มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์ ภาควิชาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวและบริการ 12,900 บาท ต่อเทอม
- มหาวิทยาลัยสวนดุสิต โรงเรียนการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาวิชาการท่องเที่ยว, สาขาวิชาธุรกิจการโรงแรม, สาขาวิชาการจัดการงานบริการ 20,600 บาท ต่อเทอม
- มหาวิทยาลัยกรุงเทพ คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว 334,180 บาท ตลอดหลักสูตร
- มหาวิทยาลัยรังสิต วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาวิชาการจัดการการท่องเที่ยว 26,800 บาท ต่อเทอม
- มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย คณะการท่องเที่ยวและอุตสาหกรรมบริการ สาขาการท่องเที่ยว 316,100 บาท ตลอดหลักสูตร
- มหาวิทยาลัยศรีปทุม วิทยาลัยการท่องเที่ยวและการบริการ สาขาการจัดการการท่องเที่ยวและไมซ์ 300,800 บาท ตลอดหลักสูตร
- มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ คณะการท่องเที่ยวและการโรงแรม สาขาวิชาการท่องเที่ยว 292,000 บาท ตลอดหลักสูตร
- สถาบันการจัดการปัญญาภิวัฒน์ คณะวิทยาการจัดการ สาขาวิชาการจัดการโรงแรมและการท่องเที่ยว 34000 บาท ต่อเทอม
- วิทยาลัยดุสิตธานี สาขาวิชานวัตกรรมการบริการในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว 322,120 บาท ตลอดหลักสูตร
มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
- EU Business School
- University of Stirling
- Austrian Development Cooperation
- MBS College of Crete
- Cesar Ritz College
- HZ University of Applied Sciences
- Falmouth University
- Royal Roads University
- University of the Highlands and Islands
- United International Business Schools
Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร