นักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่น
นักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่น
นักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่น
นักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่น
รู้จักอาชีพ > นักโน้มน้าว (Convince) > นักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่น

       นักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่น (Fashion Buyer) เป็นอาชีพที่มีความสำคัญกับแบรนด์แฟชั่นต่าง ๆ ทั่วโลก เพราะจะทำหน้าที่บริหารจัดการ วางแผนจัดซื้อสินค้าตามความต้องการของลูกค้า อาทิ เนื้อผ้า สี ขนาด ราคา จำนวน ตามกระแสความนิยม (Trend) ต่าง ๆ เพื่อให้เหมาะสมกับจุดที่จะไปวางขาย โดยจะต้องสามารถสร้างผลกำไรกลับมาให้แบรนด์ได้ 

Fashion Buyer

Fashion Buyer

Fashion Buyer

 

ลักษณะการทำงาน 

        นักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่นจะต้องทำการวางแผนและจัดซื้อสินค้าเกี่ยวกับเสื้อผ้า เช่น สินค้าแฟชั่นพื้นฐาน (Basic Fashion) ภายใต้งบประมาณที่แต่ละแบรนด์ตั้งเอาไว้ พร้อมกับวางแผนแก้ไขปัญหาได้ในกรณีที่สินค้าชิ้นไหนขายได้น้อย หรือขายไม่ออก เพื่อสร้างผลกำไรให้แบรนด์ได้มากที่สุด และทำให้แบรนด์เป็นที่รู้จัก 

ขั้นตอนการทำงาน 

       ตัวอย่างขั้นตอนการทำงานนี้ จะเป็นกรณีการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (imported brand) 

  • จัดสรรงบที่แบรนด์ตั้งไว้ เพื่อที่จะนำเงินก้อนนี้มาบริหารจัดการ เช่น กำหนดว่าจะซื้อสินค้าที่เป็นผู้หญิงกี่เปอร์เซ็นต์ ผู้ชายกี่เปอร์เซ็นต์ในปีนี้ ลงลึกไปถึงดีเทลว่าจะแบ่งเป็นแบบเบสิค แฟชั่นอย่างละกี่เปอร์เซ็นต์ ขนาดหรือไซส์แบบไหนอย่างละเท่าไหร่ ซึ่งจะต้องมีการวิเคราะห์ว่าสินค้าที่เอามาตรงกับกลุ่มเป้าหมายของคนในย่านนั้นหรือไม่
  • วิเคราะห์ตลาด เทรนด์ วัฒนธรรมการแต่งกาย กระแสตอนนี้และอนาคต เพราะมีผลโดยตรงกับเสื้อผ้าแฟชั่นแต่ละครั้งที่จะนำเข้ามา เพื่อดึงจุดเด่นให้สินค้าขายได้
  • เดินทางไปดูสินค้า และจัดซื้อสินค้า ทั้งเมืองไทยและต่างประเทศ ตาม Connection ที่วางแพลนไว้ ซึ่งวิธีการซื้อขายจะมี FOB หรือการคำนวณราคานำเข้ามาให้เราเป็นคอร์สว่า สินค้าราคาตัวนี้เท่าไหร่ คอร์สแบบไหนถึงเหมาะกับสินค้า สาขาแบรนด์ และกลุ่มผู้บริโภคของเรา
  • เมื่อขายได้สักระยะจะต้องทำไลฟ์ไทม์สินค้าในระยะเวลาประมาณ 1-2 เดือน เพื่อให้แบรนด์ดูตัวเลข ว่าสินค้าที่วางจำหน่ายเป็นอย่างไรบ้าง หากสินค้าตัวนั้นขายออกไปช้า แสงดว่าสินค้าตัวนั้นมีปัญหา เราก็จะต้องทำอะไรสักอย่าง เช่น ทำโปรโมชัน ลดราคา จูงใจให้สินค้าตัวนั้นขายได้ แต่ถ้าสินค้าตัวไหนขายดี ก็ต้องดูว่าจะสั่งเพิ่มหรือต้องการแบบไหนเข้ามาเพื่อแทนที่ตัวที่กำลังจะหมดหรือหมดไปแล้ว
  • ลักษณะการทำงานจะเป็นเช่นนี้เรื่อยๆ  คือ จัดสรรงบประมาณ วางแผนจัดซื้อสินค้า ดูผลตอบรับ และกระตุ้นการขาย

สถานที่ทำงาน 

  • บริษัทเอกชนในประเทศไทย

  • บริษัทเอกชนในต่างประเทศ

  • ห้างสรรพสินค้า ร้านค้าสินค้าแฟชั่นต่างๆ เพื่อทำการสำรวจตลาด

  • ห้องตัดเย็บเสื้อผ้า

  • สาขาร้านค้าของแบรนด์ที่ทำงานด้วย 

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย 

  • เจ้าของแบรนด์

  • โอเปอร์เรเตอร์

  • พนักงานขาย

  • ช่างตัดเย็บเสื้อผ้า

  • ฝ่ายการเงิน

ทางเลือกอาชีพอื่น ๆ 

  • นักออกแบบแฟชั่น

  • เจ้าของแบรนด์เสื้อผ้า

  • ผู้เชี่ยวชาญด้านแฟชั่น

  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพสินค้าแฟชั่น

  • นักการตลาดด้านสิ่งทอและผลิตภัณฑ์

  • นักออกแบบลายผ้า

  • สไตล์ลิสต์

 

ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต

       ตัวอย่างการเติบโตในเส้นทางขององค์กร (ขึ้นอยู่กับโครงสร้างแต่ละองค์กร)

  • Fashion Merchandiser
  • Fashion Buyer
  • Senior Fashion Buyer
  • Assistant Product Manager
  • Product Manager

รายได้

เริ่มต้น 18,000 - 20,000 บาท (*ตำแหน่ง และเงินเดือนขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์การทำงานของแต่ละคน)

การแข่งขันและความต้องการของตลาด

       อาชีพนักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่น เป็นอาชีพที่เปิดกว้าง และเป็นที่ต้องการของตลาดงาน ซึ่งในประเทศไทยยังขาดแคลนและมีจำนวนน้อยที่ไปทำงานด้านนี้โดยตรง และในสายอาชีพนี้จะแข่งขันกันตรงที่คุณภาพผลิตภัณฑ์ เอกลักษณ์เฉพาะ ราคา การวิเคราะห์ตลาด ตามและนำเทรนด์ได้ หากมีจุดเด่นเหล่านี้จะยิ่งเป็นที่ต้องการอย่างมาก

 

  • ได้เรียนรู้วิธี กระบวนการจัดการสินค้าแฟชั่นทั้งหมด
  • มีโอกาสทำงานต่างประเทศ ได้เดินทางบ่อย เห็นวัฒนธรรมของแต่ละที่ เป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์แบรนด์ต่อได้
  • เข้าใจหลักวิธีการขาย และได้พัฒนาทักษะการบริการลูกค้า
  • รายได้ตอบแทนสูง หากมีประสบการณ์และ Connection ที่ดี

 

  • ต้องแก้ปัญหากับผู้คนและสถานการณ์ใหม่ๆ ตลอดเวลา
  • เดินทางบ่อย
  • เนื้องานและสโคปงานค่อนข้างเยอะ
  • เวลาทำงานน้อย ต้องทำงานแต่ละ จึงต้องบริหารจััดการให้ดี 
  • การตัดสินใจต่าง ๆ ต้องรวดเร็วและแม่นยำ

 

  • มีความชอบและสนใจด้านแฟชั่นทั้งของไทยและต่างประเทศ
  • มีความเข้าใจเกี่ยวกับการตลาด การบริหารจัดการ จัดซื้อสินค้า
  • มีความถนัดทางด้านภาษาอังกฤษ อ่าน เขียน สื่อสาร ในระดับดี 

 

  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ เพราะการเป็นนักวางแผนต้องรู้จักคิดวิเคราะห์จากข้อมูลที่มี มีการประเมินสถานการณ์จากอดีต เพื่อนำไปใช้คาดการณ์ในอนาคต 
  • ทักษะการจัดการ ถือเป็นสิ่งสำคัญในการทำงาน เพราะอาชีพนี้นอกจากจะต้องวางแผนได้ดีแล้ว ยังต้องจัดการเรื่องงบประมาณให้ถูกต้องเหมาะสม และคุ้มค่าที่สุด 
  • ทักษะการสื่อสาร เพราะนอกจากการวางแผนและจัดซื้อแล้ว ยังต้องสื่อสารกับคู่ค้าได้เป็นอย่างดี 
  • ทักษะเชิงธุรกิจ การจัดซื้อและการขายที่ดี ต้องเข้าใจทักษะทางธุรกิจเบื้องต้น เป็นเรื่องดีที่จะทำให้ทำงานได้อย่างเข้าใจ และมีผลลัพธ์ที่ดีมากขึ้น 
  • ทักษะการตลาด เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ Fashion Buyer ที่ต้องเข้าใจเทรนด์แฟชั่น และความต้องการของลูกค้าเป็นอย่างดี 

 

       อาชีพนักวางแผนและจัดซื้อสินค้าแฟชั่นไม่จำกัดว่าต้องจบด้านไหนเป็นพิเศษ จอแค่เพียงเป็นนักวางแผนและจัดการที่ดี มีความรู้ด้านแฟชั่นก็สามารถที่จะทำงานด้านนี้ได้ สายการเรียนที่ใกล้เคียงจะมีทั้งด้านการออกแบบแฟชั่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ เศรรษฐศาสตร์ การตลาด ฯลฯ ล้วนสามารถปรับเปลี่ยนพลิกแพลงมาทำงานได้หลากหลาย 

การศึกษา 

  • จบการศึกษาระด้บม.6 สายใดก็ได้ หรือสายวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง
  • เข้าศึกษาในคณะที่เกี่ยวข้อง เช่น การออกแบบแฟชั่น อุตสาหกรรมสิ่งทอ ด้านบริหารธุรกิจ การจัดการ เศรษฐศาสตร์ การตลาด เป็นต้น

 

       สำหรับเส้นทางอาชีพของผู้ให้สัมภาษณ์ในบทความนี้ จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษา แผนการเรียนวิทย์-คณิต ใช้คะแนนรับตรง ใช้ GAT รหัสวิชา 85 PAT1 รหัสวิชา 71 และ PAT2 รหัสวิชา 72 (เฉลี่ย 3 วิชา ไม่ต่ำกว่า 30%) และ GPA สะสม 5 ภาคการศึกษา ไม่ต่ำกว่า 2.75 เพื่อเข้าคณะคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ หลักสูตร 4 ปี 

 

ตัวอย่างสถาบันในประเทศไทยที่เปิดหลักสูตรด้านด้านแฟชั่นและสิ่งทอ

  • คณะมัณฑนศิลป์ สาขาออกแบบเครื่องแต่งกาย มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขามัณฑนศิลป์ (แฟชั่นดีไซน์) จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบเครื่องแต่งกาย มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
  • คณะเทคโนโลยีคหกรรมศาสตร์ สาขาออกแบบแฟชั่นและการจัดการสินค้า มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี
  • คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สาขาวิชาการออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนยรังสิต
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่นและสิ่งทอ มหาวิทยาลัยกรุงเทพ วิทยาเขตรังสิต
  • คณะศิลปกรรมศาสตร์ สาขาการออกแบบแฟชั่น มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์
  • คณะศิลปะและการออกแบบ สาขาแฟชั่นดีไซน์ มหาวิทยาลัยรังสิต

Fashion Buyer

 

็Hard Skill

  • ศึกษาด้านแฟชั่นอยู่ตลอด เพื่อจะเป็นคนนำเทรนด์ ไม่ใช่ตามเทรนด์

  • หากมีโอกาสได้ติดต่อ ประสานงานกับต่างประเทศ ให้รักษา Connection ไว้ดี ๆ เพราะอาจมีการบอกต่อ มีผลต่อความก้าวหน้าในชีวิตได้อีก

  • รักษาคุณภาพงานให้คงที่ และพัฒนาอยู่เสมอ

Soft Skills 

  • หมั่นพัฒนาการจัดการเรื่องงบประมาณ และการจัดการต่าง ๆ ให้รอบคอบ ไม่ผิดพลาด 
  • ฝึกฝนการแก้ปัญหาตัดสินใจให้รวดเร็วฉับไวและมีประสิทธิภาพ 

กิจกรรมต่าง ๆ 

  • ติดตามข่าวสารงานด้านแฟชั่นต่าง ๆ หรือลองหาที่ฝึกงานเพื่อเข้าใจหลักการจัดซื้อสินค้าด้านแฟชั่นกับแบรนด์ชั้นนำที่เปิดรับนักศึกษาฝึกงาน 

 

       ตัวอย่างการเรียนการสอนจาก สาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ คณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตร 4 ปี ได้รับปริญญาวิทยาศาสตรบัณฑิต

โดยสาขาวิชานี้ได้รับความร่วมมือกับต่างประเทศทั้งด้านการศึกษาและวิจัย มีโครงการแลกเปลี่ยนกับประเทศต่างๆ เช่น University of Tennessee, Institute of Agriculture ประเทศสหรัฐอเมริกา, National Pingtung University of Science and Technology (NPUST) ประเทศไต้หวัน, Kagawa University ประเทศญี่ปุ่น, University of Reading ในสหราชอานาจักร, Agrosup Dijon (University of Burgundy) ประเทศฝรั่งเศส, Nanyang Polytechnic (NYP) ประเทศสิงคโปร์ University of Reading ประเทศอังกฤษ คนที่เข้าร่วมโครงการจะเข้าเรียนชั้นปีที่ 1 ถึงปีที่ 3 ที่มหาวิทยาลัยเกษตร์ศาสตร์ และเดินทางไปเรียนชั้นปีที่ 4 ที่ University of Reading เป็นเวลาประมาณ 8-10 เดือน โดยจะได้รับปริญญาจากคณะอุตสาหกรรมเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และประกาศนียบัตรจาก University of Reading, UK

วิชาที่เรียน 

       จะเรียนเกี่ยวกับสิ่งทอ ตั้งแต่วัสดุที่เลือกใช้ เส้นใยผ้า เรียนแฟชั่นเชิงธุรกิจกับการใช้วิทยาศาสตร์สมัยใหม่ พัฒนากระบวนการคิด วิเคราะห์ ทุกกระบวนการ ตั้งแต่การผลิตวัตถุดิบแฟชั่น วิจัยและพัฒนาการตลาด ออกแบบ รวมถึงการสร้างแบรนด์สินค้าที่มีความแตกต่างให้ตรงกับกลุ่มเป้าหมาย

เคล็ดลับการเรียน

  • วิชาที่เกี่ยวกับปฏิบัติการเทคนิคการพัฒนาสิ่งทอให้ศึกษาอย่างเข้าใจจริง ๆ เพื่อการพัฒนาต่อยอดตอนทำงานแล้ว ที่สำคัญถ้ามีความรู้เรื่องพวกนี้แน่นๆ สิ่งนี้จะกลายเป็นจุดแข็งที่ทำให้สู้กับคู่แข่ง และทำราคาได้ดี
  • ถ้ามีโอกาสไปฝึกงานที่ต่างประเทศก็อยากให้คว้าเอาไว้ เพราะเป็นประตูสำคัญที่จะสามารถทำงานในต่างประเทศได้ มีประสบการณ์ฝึกงานที่ต่างประเทศ เวลาสมัครทำงานที่ไทยจะได้รับการพิจารณาพิเศษ

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย 

  • ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1: ภาษาอังกฤษ์เป็นสิ่งที่ต้องเรียนในเทอมแรก และจึงเรียนวิชาที่ช่วยปูพื้นฐานของวิทยาศาสตร์และเรื่องสิ่งท่อ เช่น วิชา หลักการออกแบบสิ่งทอและแฟชั่น เคมี ชีวทั่วไปกับภาคปฏิบัติ อุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่นเบื้องต้น ตั้งแต่ภาพรวมอุตสาหกรรมสิ่งทอและแฟชั่น ห่วงโซ่การผลิต วิชานี้จะได้รุ่นพี่และผู้ประกอบการมาให้ความรู้ด้วย รวมถึงมีการศึกษานอกสถานที่ 
  • ชั้นปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 2:  จะเข้าสู่วิชา เทคนิคการพัฒนาสิ่งทอ เข้าถึงเส้นใยผ้าเลย ว่าทำจากวัสดุสิ่งทอ เส้นใยธรรมชาติ เส้นใยสังเคราะห์แบบไหน โครงสร้างทางเคมีของเส้นใยธรรมชาติและเส้นใยประดิษฐ์ มีสมบัติทางกายภาพและทางเคมีอย่างไร แล้วก็จะได้เรียนกระบวนการผลิตผ้า ปัจจัยที่มีผลต่อสมบัติทางกายภาพ การออกแบบโครงสร้างผ้าทอ และการดูแลรักษาผ้า ปฏิบัติการเทคนิคการพัฒนาสิ่งทอ เทคโนโลยีเครื่องนุ่งห่ม

 

  • ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 1: เรียนแคลคูลัส เทคนิคการพัฒนาสิ่งทอ ปฏิบัติการเทคนิคการพัฒนาสิ่งทอ การจัดการสินค้าสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ จะได้เรียนแบบวางแผนจริงๆ ตั้งแต่กระบวนการจัดการสินค้าสิ่งทอและผลิตภัณฑ์ในอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม และได้รู้จักการวางแผนและการควบคุมงานในระบบการจัดการสินค้า
  • ชั้นปีที่ 2 ภาคเรียนที่ 2: เรียนหลักการตลาด หลักสถิติ ซึ่งเป็นวิชาที่จำเป็นที่ใช้อย่างแน่นอน เพราะเวลาต้องวางแผนหรือจัดซื้อสินค้า จะต้องเข้าใจตลาด วิเคราะห์ตลาดได้ด้วย

 

  • ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1: เรียนด้านการจัดการกิจกรรมทางการค้าแฟชั่น วิชานี้จะช่วยตอนที่วางจำหน่ายสินค้าจริงแล้ว คือเมื่อเกิดปัญหาสินค้าระบายไม่ได้ ก็ต้องมีการจัดกิจกรรมทางการตลาด เพื่อกระตุ้นยอดขายกลับมา ได้เรียนการจัดการโซ่อุปทานและลอจิสติกส์ในอุตสาหกรรมแฟชั่น ตั้งแต่อุตสาหกรรมต้นน้ำ กลางน้ำ ปลายน้ำจนถึงอุตสาหกรรมแฟชั่น จากนั้นจะมีเรียนวงจรของความต้องการวัสดุ การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขายและการส่งมอบ การจัดหาวัสดุทั่วโลกและลอจิสติกส์แบบบูรณาการ
  • ชั้นปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 2: มีสามวิชาที่หลัก ๆ และนำมาใช้ได้จริง คือ การจัดการนวัตกรรมและการพัฒนาผลิตภัณฑ์สำหรับสิ่งทอและแฟชั่น การสร้างแบรนด์และการตลาดสินค้าแฟชั่น ผู้ประกอบการรุ่นใหม่

 

  • ปิดเทอมภาคฤดูร้อน: ฝึกงานไม่น้อยกว่า 300 ชั่วโมง เช่นในโรงงานอุตสาหกรรม สถานประกอบการ และยังมีโครงการส่งไปฝึกงานในต่างประเทศด้วย เช่น National Pingtung University of Science and Technology ประเทศไต้หวัน, Institut superieur d'agriculture de Beauvais ประเทศฝรั่งเศส, University of California, Davis ประเทศสหรัฐอเมริกา

 

  • ชั้นปีที่ 4: วิชาสัมมนา โครงงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีสิ่งทอ เรียนวิชาผู้ประกอบการและการจัดการธุรกิจสำหรับสิ่งทอและแฟชั่น เน้นหนักไปทางเชิงธุรกิจ หลักการของความเป็นผู้ประกอบการ การวิเคราะห์รูปแบบธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่น การเป็นผู้นำธุรกิจ การพัฒนาศักยภาพบุคลากร การจัดหาเงินทุนของผู้ประกอบการ กลยุทธ์ทางการตลาด เทคนิคการจัดหาสินค้า การวิเคราะห์วงจรชีวิตธุรกิจจากเริ่มก่อตั้งธุรกิจไปจนถึงกลยุทธ์การออกจากตลาด การวิเคราะห์ธุรกิจขนาดเล็ก การเขียนแผนธุรกิจ การนำเสนอแผนธุรกิจใหม่ของธุรกิจสิ่งทอและแฟชั่น

 

ค่าเทอมตลอดหลักสูตร 

ค่าเทอมตลอดหลักสูตรโดยประมาณ คือ 140,000 บาท (ค่าเทอมอาจมีการเปลี่ยนแปล ขึ้นอยู่กับสถาบันการศึกษานั้น ๆ )

มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก 

  • นักออกแบบด้านแฟชั่น
  • เจ้าหน้าที่ฝ่ายควบคุมคุณภาพ
  • นักการตลาด
  • นักบริหารจัดการในธุรกิจสิ่งทอ

 

 

 


Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร