วิศวกรระบบราง
วิศวกรระบบราง
วิศวกรระบบราง
วิศวกรระบบราง

       รถไฟฟ้าได้เข้ามามีบทบาทสำคัญในการเดินทางมากขึ้นหลังจากมีการทำส่วนต่อขยายทำให้เราได้เดินทางอย่างสะดวกสบาย แถมยังประหยัดเวลา และผู้ที่มีส่วนสำคัญในการสร้างรถไฟฟ้าก็คือ วิศวกรระบบราง หรือที่เราเรียกว่า Railway Engineering ซึ่งรถไฟฟ้าหนึ่งขบวนที่เราเห็น กว่าจะประกอบเป็นรูปเป็นร่างและเปิดให้บริการนั้น ประกอบด้วยงานด้านวิศวกรรมหลายแขนงด้วยกัน โดยในคำเรียกรวม ๆ ว่า ‘วิศวกรระบบราง’ จะประกอบไปด้วยหลายส่วนที่ทำงานร่วมกัน แต่ที่เกี่ยวข้องกับระบบรางโดยตรงมี 3 ส่วนดังนี้ 

  • วิศวกรระบบรถไฟฟ้า (Rolling Stock Engineer) ทำหน้าที่จัดการระบบในขบวนรถไฟ ซึ่งก็จะมีวิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า เข้ามาเกี่ยวข้อง    
  • วิศวกรรางรถไฟฟ้า (Civil & Track Work) ทำหน้าที่วางโครงสร้างรางวิ่ง ทางโค้งของรถไฟฟ้า ซึ่งก็จะมีวิศวกรรมโยธาเข้ามาเกี่ยวข้อง  
  • วิศวกรระบบสัญญาณรถไฟฟ้า (Signalling System) ทำหน้าที่วางระบบอาณัติสัญญาณที่ควบคุมและกำหนดทิศทางการเคลื่อนที่ของรถไฟ ซึ่งก็จะมีวิศวกรไฟฟ้า วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรคอมพิวเตอร์เข้ามาเกี่ยวข้อง  

    วิศวกรระบบราง

    วิศวกรระบบราง

    วิศวกรระบบราง

     

ลักษณะการทำงาน 

       การทำงานจะเรียกว่า งานโครงการ โดยทำงานลักษณะเป็นโครงการหรือเรียกว่า หนึ่งโปรเจค โดยแต่ละโครงการจะใช้เวลาไม่เท่ากัน อาจใช้เวลาถึงหลายปี โดยจะการทำงานจะทำเป็นขั้นตอนตั้งแต่ออกแบบและติดตั้ง ซึ่งแต่ละขั้นตอนอาจกินเวลาหลายเดือนถึง 1 ปี โดยมีขั้นตอนการทำงาน 3 ขั้นตอนหลัก คือ การออกแบบ การติดตั้ง การเปิดให้บริการ และงานซ่อมบำรุง

ขั้นตอนการทำงาน

      ขั้นตอนการทำงานในแต่ละโครงการของวิศวะกรระบบรางจะแบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอนหลักดังนี้     
ขั้นตอนการดีไซน์ 
  • Supplier พบผู้รับสัมปทานเพื่อรับเงื่อนไขและสัญญา พูดคุยหารูปแบบของระบบโดยรวมของระบบรถไฟฟ้าที่ตรงความต้องการ และเหมาะสมที่สุดภายใต้เงื่อนไขที่กำหนดหรือตามความต้องการของผู้รับสัมปทานและเจ้าของโครงการ รวมไปถึงประเมินความเสี่ยงและราคาคร่าว ๆ    
  • เมื่อได้ระบบที่ต้องการแล้ว จะทำการร่างแบบรายละเอียดระบบย่อยแต่ละระบบเบื้องต้นด้วยคอมพิวเตอร์หรือร่างแบบด้วยมือ (Outline) เพื่อให้ผู้รับสัมปทานพิจารณา ก่อนจะลงดีเทลของแต่ละระบบซึ่งประกอบด้วย ขบวนรถไฟ ระบบไฟฟ้า ระบบสัญญาณและระบบอื่น ๆ ก่อนจะส่งไปสร้างเป็นดรออิ้ง (drawing) และชิ้นงานจริง     
  • สร้างเป็นชิ้นงาน ส่งแบบที่ได้รับอนุมัติแล้วไปสร้างเป็นชิ้นงานตามแบบ      
ขั้นตอนการติดตั้ง
  • ติดตั้งชิ้นงาน ลงมือประกอบชิ้นส่วนต่าง ๆ ในพื้นที่จริงให้ได้ตามแบบดรออิ้ง (drawing) ที่ดีไซน์ไว้   
  • ทดสอบระบบ (System Validation) ทำการทดสอบแต่ละระบบว่าสามารถใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้หรือไม่ ซึ่งหลังจากที่ทดสอบแต่ละระบบย่อยแล้วจะต้องนำมาทดสอบรวมกันทั้งระบบใหญ่โดยต้องคำนึกถึงความปลอดภัยและได้มาตรฐานที่กำหนดด้วย 

การเปิดให้บริการ

  • ติดตามงานคงค้างจากงานโครงการตลอดระยะเวลาประกันของ Supplier เพื่อให้ระบบมีความเสถียร

งานซ่อมบำรุง

  • หลังเสร็จงานโครงการพร้อมเปิดให้บริการและพร้อมให้ผู้โดยสารทั่วไปใช้งานแล้ว ต้องมีการดูแลรักษาระบบให้ทำงานได้อย่างราบรื่นไปเรื่อย ๆ โดยไม่ให้เสียกลางทางหรือเกิดปัญหาระหว่างเดินรถ ซึ่งจะดูแลโดยส่วนซ่อมบำรุงด้วยวิธีซ่อมบำรุงเชิงป้องกัน (Maintenance)          

สถานที่ทำงาน

  • ออฟฟิศหรือสำนักงาน ส่วนที่ต้องเอาไว้คุยงาน ประชุม วางแผน ออกแบบ รายงานผล       
  • โรงซ่อม ส่วนที่เป็นเวิร์กช้อปในการซ่อมแซมรถไฟฟ้า   

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย 

  • เจ้าของโครงการ ผู้ลงทุนในการดำเนินงาน จัดหาผู้รับสัมปทานเดินรถ กำหนดงบประมาณทั้งหมดซึ่งก็คือหน่วยงานภาครัฐที่กำกับดูแล 
  • วิศวกรโครงการ เมื่อต้องพิจารณาเลือกระบบของรถไฟฟ้า    
  • วิศวกรระบบรถไฟฟ้า ได้แก่  วิศวกรเครื่องกล วิศวกรไฟฟ้า เป็นต้น สามารถทำได้ทั้งงานโครงการและซ่อมบำรุง
  • วิศวกรระบบรางและทางวิ่ง ได้แก่ วิศวกรโยธา เป็นต้น  สามารถทำได้ทั้งงานโครงการและซ่อมบำรุง
  • วิศวกรระบบสัญญาณ ได้แก่ วิศวกรไฟฟ้า วิศวกรอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรคอมพิวเตอร์ เป็นต้น  สามารถทำได้ทั้งงานโครงการและซ่อมบำรุง
  • หน่วยงานภาครัฐ ตรวจงานร่วมกัน  
  • วิศวกรซ่อมบำรุง ต้องคุยงานกันเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ได้แก่ วิศวกรซ่อมบำรุง   
  • ซัพพลายเออร์ เมื่อต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์ในการก่อสร้างและติดตั้งงานระบบทั้งในและต่างประเทศ
  • ผู้รับเหมางานก่อสร้าง เป็นทีมก่อสร้างประกอบด้วยช่างหลายแขนง 
  • ที่ปรึกษา ผู้เชี่ยวชาญที่เป็นซึ่งเป็นตัวแทนของเจ้าของโครงการเพื่อช่วยกันดูภาพรวมของระบบร่วมกับผู้ได้รับสัมปทาน

 

 

เงินเดือน วิศวกรระบบราง

     วิศวกรระบบรางจะมีความก้าวหน้าทางอาชีพในลักษณะของการได้เลื่อนขึ้นไปในตำแหน่งที่สูงขึ้น หากตำแหน่งสูงขึ้นก็จะได้รับค่าตอบแทนสูงตามไปด้วย โดยรายได้เริ่มต้นจะอยู่ที่ 22k - 30k ขึ้นอยู่กับตำแหน่ง และบริษัทที่สังกัดอยู่ หากใครที่มีประสบการณ์มาก (ประมาณ 10 ปีขึ้นไป) ก็อาจจะผันตัวไปเป็นที่ปรึกษาซึ่งจะทำได้รายได้สูงถึงแสนบาทต่อเดือน

  • เป็นอาชีพที่มั่นคง เพราะเป็นสาขาวิชาที่เฉพาะมาก ต่อให้ลาออกไปบริษัทอื่นก็มักจะดึงตัวไปทำงานด้วย      
  • ได้ความรู้ใหม่ระหว่างทำงาน หากใครที่เรียนระบบรางมาโดยเฉพาะ เมื่อทำงานไปสักพักก็จะสามารถรู้เรื่องระบบไฟฟ้าเพิ่มเติม ได้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา 
  • ได้ไปดูงานต่างประเทศ โดยเฉพาะประเทศที่ต้องซื้อวัสดุอุปกรณ์ด้วย (Suppliers) เพื่อติดตามงานไม่ให้เกินไทม์ไลน์ หรือเพื่อไปดูการเทสต์อุปกรณ์ที่จะซื้อ   
  • งานไม่เป็นจำเจเป็น Routine บางวันอาจจะได้เข้าออฟฟิศ แต่บางวันก็จะได้ไปทำงานหน้างาน ทำให้ไม่จำเจ ซ้ำ ๆ เดิม ๆ  
  • เป็นงานที่น่าภาคภูมิใจ เพราะได้ช่วยให้ผู้คนได้เดินทางสะดวกมากขึ้น เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวม และภูมิใจที่ได้ใช้ในสิ่งที่ตัวเองสร้างเองกับมือ 
  • กินนอนไม่ตรงเวลา ในส่วนของวิศวกรซ่อมบำรุงที่ต้องทำงานเป็นกะ บางคนอาจต้องนอนเช้า ทำงานเย็น หรือทำงานข้ามวัน อาจจะทำให้เสียสุขภาพได้    
  • วันหยุดจะไม่เหมือนคนอื่น เสาร์ อาทิตย์ วันหยุดนักขัตฤกษ์ก็อาจจะไม่ได้หยุดเหมือนอาชีพอื่น แต่ไปหยุดวันธรรมดาที่คนอื่นไม่หยุดแทน   
  • ต้องเตรียมพร้อมเสมอ เพราะบางวันอาจเจอหมายที่ไม่ได้นัดล่วงหน้า ต้องไปทำเทสต์หน้างาน หรือไปตรวจเช็คเมื่อรถไฟมีปัญหา  
  • ต้องเดินตรวจงานหลายกิโล ต้องเดินตรวจงานตามความยาวของรางรถไฟฟ้า ยาวแค่ไหนในทางวิ่งก็ต้องเดินตรวจสอบเพื่อเช็คความปลอดภัย    
  • ต้องย้ายสถานที่ทำงาน ในอนาคตอาจจะต้องย้ายไปทำที่จังหวัดอื่นเมื่อมีโครงการเปิดสายรถไฟฟ้าใหม่ ๆ ทำให้ไม่ได้อยู่เป็นหลักเป็นแหล่ง 
  • มีความกดดันสูง เพราะเป็นงานเกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้คน  
  • เสี่ยงต่อความปลอดภัย อาจจะเกิดอันตรายระหว่างที่ทำงานได้ โดยเฉพาะหน้างานต้องระวังตัวเสมอ  
  • มีสปิริตในการทำงาน คือมีความมุ่งมั่น ตั้งใจที่จะทำให้สำเร็จ แม้ในวันที่ต้องทำงานล่วงเวลาก็ต้องสามารถที่จะอยู่ต่อได้ เพราะบางขั้นตอนของการทำงานต้องทำให้เสร็จ ไม่สามารถหยุดได้
  • มีวินัย อดทน ตื่น นอนเป็นเวลาได้ ไม่เลทจนทำให้เพื่อนร่วมงานเดือนร้อนหรือเสียงาน และบางขั้นตอนต้องทำงานแข่งเวลา ต้องทำให้เสร็จภายในเวลาที่กำหนดเท่านั้น
  • ละเอียดรอบคอบ ไม่ผิดพลาดระหว่างทำงาน เพราะอาจสร้างปัญหาทำให้รถไฟเสียได้  
  • ความรับผิดชอบสูง ต้องทำงานให้ได้ตามเป้าหมายหรือสูงกว่านั้น เพราะหากทำไม่ได้ อาจทำให้รถไฟมีปัญหาได้ 
  • ร่างกายแข็งแรง ทั้งผู้ชายและผู้หญิง เพราะหากต้องออกงานเทสต์รถไฟตอนดึก ๆ ร่างกายต้องแข็งแรง ไม่มีโรคประจำตัวที่ทำให้ทำงานหลายชั่วโมงติดต่อกันไม่ได้ 
  • เปิดรับสิ่งใหม่เสมอและเรียนรู้สิ่งเก่า ๆ ไม่ปิดกั้นตัวเองเหมือนน้ำไม่เต็มแก้ว เพราะเทคโนโลยีรถไฟเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ต้องเปิดรับสิ่งใหม่ ๆ อยู่เสมอ รวมถึงต้องศึกษาสิ่งเก่าๆไว้เนื่องจากพื้นฐานของรถไฟแม้เทคโนโลยีใหม่เข้ามาแต่ยังอยู่บนพื้นฐานของระบบรางดั้งเดิม  
  • กล้าพูด กล้าแสดงออกอย่างมีเหตุผล หากเกิดการถกเถียงกันก็ต้องทำเพื่อให้งานออกมาดีที่สุด    
  • ความรู้ด้านวิศวกรรมระบบราง วิศวกรรมขนส่งทางราง, เทคโนโลยีระบบรางหรือนวัตกรรมธุรกิจระบบรางที่เรียนเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ 
  • พื้นฐานด้านวิศวกรรม เช่นความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมโยธา เครื่องกล ไฟฟ้าเป็นต้น  
  • ทักษะภาษาอังกฤษ เพราะวัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการทำงานมักจะเขียนด้วยภาษาอังกฤษจึงต้องมีความรู้ภาษาอังกฤษในระดับดี อ่านออก เขียนได้ พูดได้ เพราะต้องไปดูงานต่างประเทศด้วย      
  • ทักษะการแก้ปัญหา รู้จักใช้เหตุผลและสติในการแก้ไขปัญหาอย่างรอบคอบ ภายใต้เงื่อนไขที่กำหนด เพื่อให้ปัญหาคลี่คลายไปในทางที่ถูกต้อง ทำให้งานเดินต่อไปได้ไม่มีปัญหา      
  • ทักษะการสื่อสาร ต้องสามารถที่จะพูดให้ทุกคนเข้าใจตรงกัน ไม่ทำให้เกิดความสับสนจนทำให้การทำงานผิดพลาดหรือล่าช้า ไปจนถึงพรีเซ้นต์งานได้อย่างคล่องแคล่ว    
  • การทำงานเป็นทีม เนื่องจากต้องทำงานเป็นทีมใหญ่ ต้องพบปะผู้คนหลายระดับ ต้องรู้จักรับฟังและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นได้ดี ไม่สร้างความขัดแย้ง 
  • การวางแผนและการบริหารจัดการเวลา รู้จักบริหารเวลาได้อย่างมีประสิทธิภาพ รู้ว่าอะไรควรทำก่อน-หลัง ไม่ใช้เวลาไปโดยเปล่าประโยชน์จนทำให้ไม่สามารถบรรลุเป้าหมายที่วางไว้ได้
  • ทักษะด้านความปลอดภัย เดินตรวจอยู่ในรางต้องระวังตัวเอง อย่าไปเดินใกล้ตัวรางที่มีการจ่ายไฟฟ้า หรือ Turn Out ที่อาจจะทำการสับได้ทุกเมื่อและทำให้เกิดอันตรายต่อตัวเองได้และคนรอบข้างได้ 
  • ทักษะคิดวิเคราะห์และการคำนวน สามารถที่จะคำนวนตามสูตรได้อย่างถูกต้อง เมื่อต้องใช้ในการทำงาน    
  • ทักษะการเป็นผู้นำ
 

เรียน วิศวระบบราง

 

     สำหรับคนที่สนใจ อยากจะเข้ามาทำงานด้านวิศวกรระบบรางจะต้องจบสายวิทย์คณิตและเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ระบบราง หรือคณะวิศวกรรมศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมระบบราง ซึ่งเป็นคณะที่ตรงสายอาชีพมากที่สุด หรือไม่ก็สาขาที่ใกล้เคียงอย่างเช่น วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมโยธาหรือวิศวกรรมไฟฟ้า โดยมหาวิทยาลัยฯ ที่เปิดสอนสาขาวิศวกรรมระบบรางโดยตรงมีรายละเอียดดังนี้            
  • สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง หลักสูตรวิศวกรรมข่นส่งทางราง      
  • มหาวิทยาลัยมหิดล หลังสูตรวิศวกรรมระบบขนส่งทางราง (หลักสูตรนานาชาติ ป.โท)
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ หลักสูตรวิศวกรรมระบบราง (ป.โท)          
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี หลักสูตรวิศวกรรมระบบราง 
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน หลักสูตรวิศวกรรมเครื่องกลวิชาเอก  
  • มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย หลักสูตรวิศวกรรมบัณฑิต 
  • มหาวิทยาลัยศรีปทุม หลักสูตรวิศวกรรมระบบราง   
  • มหาวิทยาลัยรังสิต หลักสูตรเทคโนโลยีระบบราง    
       การสัมภาษณ์เข้าทำงานตามบริษัทต่าง ๆ ก็จะคุยเชิงวิศวกรรม เกี่ยวกับโปรเจคจบที่ทำมา เพื่อเช็คว่าเรามีความรู้มากน้อยแค่ไหนและความรู้ที่มีนั้นสามารถเอาไปใช้งานได้ไหม และที่สำคัญคือเรื่อง นิสัย เพราะทำงานกันเป็นทีมใหญ่ ถ้าความรู้มี แต่นิสัยเข้ากับในทีมไม่ได้ ก็อาจจะทำให้ไม่ผ่านสัมภาษณ์ในส่วนซ่อมบำรุงเขาก็จะดูว่าซ่อมถูกวิธีไหม เชื่อฟังหัวหน้าหรือเปล่า หากทดลองงาน 4 เดือนแล้วเราไม่ผ่านเกณฑ์เราก็อาจจะถูกเลิกจ้างได้ ซึ่งแล้วแต่บริษัทว่าเขาจะมีระบบการประเมินยังไง 
 

Hard Skills 

  • ความรู้เชิงวิศวกรรม มีความรู้ด้านวิศวกรรมศาสตร์พื้นฐานหลายแขนง  
  • ความรู้เรื่องเทรนด์เทคโนโลยี มีความรู้ด้านเทคโนโลยีเดิมและเทคโนโลยีใหม่ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  • ภาษาอังกฤษ ฝึกให้อยู่ในระดับดี รู้ทั้งศัพท์ทั่วไปและศัพท์เทคนิคที่เกี่ยวกับรถไฟโดยเฉพาะ
  • ทำแบบจำลองข้อมูลได้ หรือ Data modeling ความสัมพันธ์กันระหว่างข้อมูลที่ซับซ้อนให้ผู้อื่นเห็นและเข้าใจภาพรวมได้ง่าย
  • พรีเซนต์งานได้ สามารถพูดต่อหน้าผู้คนได้และมีประสิทธิภาพ

Soft Skills 

  • Communication สื่อสารเป็น ตอบตรงคำถาม อธิบายงานให้ผู้อื่นเข้าใจได้ มีไหวพริบ 
  • Problem-Solving แก้ปัญหาที่ซับซ้อนได้และมีประสิทธิภาพ   
  • Critical thinking มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ คิดเป็นขั้นตอน
  • Organisation มีความสามารถในการจัดการงานได้ลงตัวและทันเวลา
  • Leadership มีทักษะการเป็นผู้นำ กล้าตัดสินใจ      
  • Teamwork ทำงานงานเป็นทีมได้ และเป็นผู้ร่วมงานที่ดี มองเห็นคุณค่าของเพื่อนร่วมงาน  

กิจกรรมต่าง ๆ 

  • ค่ายรางที่จัดโดยสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
  • การไปทัศนศึกษา ดูงานนอกสถานที่ เช่น ดูงานอุโมงค์รถไฟใต้ดิน โรงซ่อมเพื่อดูงาน
  • ทำโปรเจคแข่งกันเกี่ยวกับระบบรถไฟฟ้า เช่น โปรเจคที่จัดโดยมหาวิทยาลัยสุรนารี และสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง

       “รุ่นน้องหลายคนมาเรียนตามหนังรถไฟฟ้ามาหานะเธอ แต่พอมาเรียนจริงหลายคนก็พูดว่า ไม่เห็นเหมือนในหนังเลย เพราะในหนังเขาพูดไม่หมด วิศวกรระบบรางไม่ได้ทำงานตอนกลางคืนเสมอไป มีกลุ่มที่ทำงานในออฟฟิศ กลุ่มที่ออกแบบ และก็ยังมีกลุ่มที่ทำสัญญาณรถไฟ ดูแลระบบของรถไฟ เราไม่ได้มีแค่ซ่อมรถไฟอย่างเดียวเหมือนพี่ลุงในหนัง และผู้หญิงเองก็ทำงานด้านนี้กันเยอะไม่ได้มีแต่ผู้ชาย”

 

นพณัฐ ตีระพงศ์ไพบูลย์ วิศวกรระบบราง

วิชาที่เรียน 

       ใครที่กังวลว่า ไม่เก่งคำนวนเลยจะเรียนไหวไหม ต้องขอบอกว่าหากชอบและมีแพชชั่นเกี่ยวกับรถไฟฟ้าจริง ๆ เรียนกลาง ๆ ก็ยังไหวของแค่ใจรัก ไปดูกันว่าวิศวกรระบบรางเขาเรียนอะไรกันบ้างคร่าว ๆ

  • วิชา Introduction to Railway สอนพื้นฐานของระบบรางทั่วไป เบสิกพื้นฐานตั้งแต่ประวัติของรถไฟของโลก ระบบที่ใช้มีระบบไหนบ้าง รถไฟในโลกมีกี่ประเภทตามรูปแบบการบริการเพื่อให้รู้ความต่างของรถไฟแต่ละระบบ มันต่างกันยังไง
  • วิชา Track Work การออกแบบตัวราง การยกโค้งสำหรับรถไฟฟ้าโดยเฉพาะ
  • วิชา Introduction to signaling เบสิกพื้นฐานการทำงานของสัญญาณแต่ละแบบว่าทำงานยังไงเบื้องต้น
  • วิชา Rolling Stock Technology การเคลื่อนตัวของรถไฟฟ้า    
  • วิชาระบบขับเคลื่อนรถไฟ มอเตอร์มีกี่แบบ วิธีการคำนวนแรงในการขับเคลื่อน
  • วิชา High-Speed Railway ภาพกว้างของระบบ High-Speed ต้นกำหนด High-Speed ในโลกมีกี่แบบ ทำไมประเทศนี้ถึงใช้รูปแบบรถแบบนี้  
  • วิชา Tribology การสึกหรอของล้อและราง     

ค่าเทอมตลอดหลักสูตร

       17,000 บาท - 23,000 ขึ้นอยู่กับแต่ละสถาบันการศึกษา

  • วิศวกรรมเครื่องกล
  • วิศวกรรมไฟฟ้า
  • เจ้าหน้าที่ประจำโรงไฟฟ้า

Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร