รุกขกร หรือที่ใครหลายคนชอบเรียกกันว่า “หมอต้นไม้ในเมือง” แม้ว่าจะเป็นอาชีพที่ยังไม่แพร่หลาย แต่กลับเป็นสายงานที่ช่วยสร้างสมดุลระหว่างชีวิตผู้คนและต้นไม่ใหญ่ในเมืองให้อยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุข เพราะรุกขกรทำหน้าที่ครอบคลุมทั้งตัดแต่ง ดูแล และจัดการปัญหาหรือความเสี่ยงอันเกิดจากต้นไม้ใหญ่ในเมือง เพื่อให้ต้นไม้สามารถสร้างประโยชน์แก่ผู้คนในพื้นที่และโลกต่อไป รวมทั้งเป็นคุณหมอที่ดูแลสุขภาพของต้นไม้เหล่านั้นให้กลับมามีชีวิตชีวาอีกครั้ง
ลักษณะการทำงาน
อาชีพรุกขกรในต่างประเทศ จะเรียกว่า Arborist ซึ่งต้องใช้องค์รู้ด้านพรรณพืชและระบบนิเวศในการจัดการต้นไม้ และต้องมีใบรับรองวิชาชีพจากหน่วยงานอย่างถูกต้อง ในประเทศไทย รุกขกรยังคงไม่เป็นที่แพร่หลาย จนทำให้เกิดข้อสงสัยว่า “รุกขกร” แตกต่างกับ “ช่างตัดต้นไม้” อย่างไร แท้จริงแล้วการจัดการต้นไม้ใหญ่ให้สามารถอยู่ร่วมกับคนอย่างยั่งยืน ไม่ได้ทำโดยการตัดแต่งเพียงอย่างเดียว แต่ต้องอาศัยความรู้ความเข้าใจว่าต้นไม้แต่ละชนิดควรอยู่ในสิ่งแวดล้อมอย่างไร มีความรู้เรื่องโรคของต้นไม้ต่าง ๆ ควรแก้ปัญหาหรือตัดแต่งอย่างไรให้สามารถอยู่ได้ และไม่สร้างความเดือดร้อนให้กับชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนโดยรอบ โดยรุกขกรจะเข้าใจวิธีการแก้ปัญหาที่หลากหลายและยั่งยืน
ในปัจจุบัน “สมาคมรุกขกรรมไทย : Thai Arboriculture Association – TAA” กำลังผลักดันให้เกิดองค์ความรู้ในวงกว้างมากยิ่งขึ้น รวมทั้งมีจัดสอบเพื่อรับรองการทำงานให้แก่บุคคลทั่วไปที่มีความสนใจในการทำงานรุกขกรรมด้วย
ขั้นตอนการทำงาน
- ทำความเข้าใจเรื่องรายละเอียดงานกับลูกค้าถึงปัญหาและจำนวนต้นไม้ที่ต้องดูแล และแต่ละต้นต้องแก้ปัญหาอย่างไร โดยต้องมีการนัดดูต้นไม้ที่สถานที่จริง เพื่อประเมินวิธีการแก้ไขและประเมินราคา
- ออกใบเสนอราคาพร้อมรายละเอียด แล้วจึงทำการนัดวันดำเนินงาน
- พาทีมงาน tree worker เข้าไปทำแล้วแต่เคส อาจจะ 1-10 วัน แล้วแต่โครงการ โดยทีมงานประกอบ คนตัดต้นไม้ คนทำงานพื้นล่าง หากคนเป็น tree worker มีองค์ความรู้แบบรุกขกรอยู่แล้วก็จะง่ายขึ้น
- หากเป็นลูกค้าที่เคยดูแลต้นไม้ให้ อาจมีการกลับมาดูงานซ้ำในบางกรณี
สถานที่ทำงาน
- งาน outdoor ที่อยู่อาศัยอย่างบ้าน ส่วนกลางของหมู่บ้านจัดสรร
- งาน outdoor ออฟฟิศสำนักงาน โรงแรม ห้างสรรพสินค้า
ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
- ลูกค้า
- เพื่อนร่วมงานทั้งที่เป็นรุกขกร และเป็น ทีมงานตัดต้นไม้
ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต
ปัจจุบัน รุกขกร ยังคงเป็นอาชีพอิสระ และภาครัฐยังไม่มีใบรับรองระดับสากลรองรับตามหลัก ISA หรือ International Society of Arboriculture โดยหากรุขกรท่านใดสนใจ สามารถสมัครสอบเพื่อผ่านการรับรองและได้รับใบรับประกันความสามารถได้ โดยในประเทศไทยแม้จะยังไม่มีการผลักดันวิชาชีพดังกล่าวอย่างเป็นทางการ แต่ทางสมาคมรุขกรรมไทยได้มีการเปิดสอบเพื่อวัดความสามารถเบื้องต้นแล้ว
รายได้
รายได้ขึ้นอยู่กับแต่ละเคส ทั้งเรื่องความยากง่าย วิธีการจัดการรวมทั้งจำนวนต้นไม้ของต้นไม้ และความยาก มีไปถึงระดับหลักพันถึงหมื่นต่อต้นไม้หนึ่งต้น
การแข่งขันและเส้นทางการเติบโต
อาชีพนี้อาจจะเติบโตได้ หากคนในสังคมเข้าใจว่า งานรุกขกรเป็นวิชาชีพที่จำเป็นในการจัดการต้นไม้และพื้นที่สีเขียวของสังคมเมือง การเติบโตของสายงานนี้ก็เริ่มมีแนวโน้มที่ดีขึ้น เแต่จำนวนผู้ประกอบอาชีพยังคงน้อยอยู่ จึงทำให้ยังไม่มีการแข่งขันสูงเกินไป
- ไม่จำเจ เพราะเจอโจทย์ใหม่ๆ ในทุกเคส
- เป็นอาชีพที่ทำให้บ้านและโลกของเราดีขึ้น ถือเป็นอาชีพที่ทำให้ต้นไม้และเมืองน่าอยู่ ให้คนต้นไม้อยู่ด้วยกันอย่างมีความสุข
- ได้เผยแพร่ความรู้ให้กับลูกค้าเรื่องการดูแลตันไม้เบื้องต้น
- เป็นงานที่ใช้แรงเยอะ หากจะต้องปีนต้นไม้เพื่อดูแลด้วยตัวเอง ต้องมีใจรักจริงๆ ชอบและอยากที่จะทำ
- ต้องใช้ความอดทนสูง
- ต้องรับความกดดันจากลูกค้า และต้องโน้มน้าวให้ลูกค้าเข้าใจถึงการทำงานและองค์ความรู้ของรุกขกร
- เป็นคนละเอียดรอบคอบ เพราะทุกปัญหาของต้นไม้และผู้คนต้องวิเคราะห์และจัดการอย่างรอบคอบ เพื่อไม่ให้เกิดขึ้นซ้ำ หรือส่งผลกระทบได้
- มีไหวพริบในการจัดการและแก้ไขปัญหา
- มีความยืดหยุ่น ไม่ยึดติดกราบและวิธีการเดิม ๆ
- เป็นคนแข็งแรงอดทน ชอบทำงานกลางแจ้ง รักและชอบต้นไม้
- คล่องแคล่ว มีความกระตือรือร้นสูง
- ทักษะการแก้ไขสถานการณ์เฉพาะหน้าได้ดี ในบางครั้ง หน้างานอาจมีปัญหาที่เกิดขึ้นกระทันหัน เช่น จากตัวเนื้องาน หรือจากความไม่เข้าใจของลูกค้า
- ทักษะการสื่อสาร ยิ่งโดยเฉพาะคุยกับลูกค้า หรือการสื่อสารขณะทำงานกับคนในทีม
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ ในช่วยลูกค้าแก้ปัญหาเรื่องต้นไม้ใหญ่อย่างยั่งยืนและไม่ทำให้ต้องคอยแก้ปัญหาเดิม ๆ บ่อยครั้ง
- ทักษะด้านคณิตศาสตร์หรือฟิสิกส์เบื้องต้น เช่น เรื่องแรง การกระจายแรง การเหวี่ยง ในการตัดต้นไม้ หรือการปีนต้นไม้ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อตนเอง ผู้อื่นและทรัพย์สินได้
- ทักษะการบริการ งานรุกขกรก็ถือเป็นงานบริการอย่างหยค่ง หากต้องรับมือกับลูกค้าที่ไม่เข้าใจ หรือเปลี่ยนใจเรื่องต้นไม้บ่อย รุกขกรจะต้องมีความอดทนและมีใจบริการมากพอสมควร
- ทักษะความเป็นผู้นำ ในการนำทีม คุมงาน เจรจาประสานงานต่าง ๆ
- ทักษะการทำงานเป็นทีม ถือว่าจำเป็นมาก ต้องช่วยเหลือกันตลอดเวลาการทำงาน ทั้งคนทำงานพื้นด้านล่าง คนทำงานอยู่บนต้นไม้ ต้องช่วยกันดูแล เตือน จะทำให้งานที่ทำละเอียดรอบคอบมากขึ้น
การศึกษา
แม้ในปัจจุบันจะยังไม่มีการเรียนการสอนที่ให้ความรู้สำหรับผู้เป็นรุกขกรโดยตรง แต่งานด้านนี้สามารถศึกษาได้ในคณะที่เกี่ยวข้องและใกล้เคียงที่สุด คือ คณะวนศาสตร์ รองลงมาคือ คณะเกษตรศาสตร์ แต่อาจจะต้องมีการอบรมเพิ่มเติมเพื่อมีความเข้าใจการจัดการต้นไม้ในเมือง เพิ่มองค์ความรู้ด้านความปลอดภัยต่อชีวิตและทรัพย์สินในระหว่างปฎิบัติงาน แต่หากไม่ได้จบในสายงานตรงหรือใกล้เคียง ก็ต้องอาศัยความขยันศึกษาหาความรู้และเรียนเพิ่มเติม
การเข้าศึกษาคณะวนศาสตร์(วิทยาศาสตรบัณฑิต วนศาสตร์) ต้องจบมัธยมัธยมศึกษาในสายวิทย์คณิต โดยในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีการแบ่งหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วนศาสตร์) เป็น 8 สาขาวิชา
- วิทยาศาสตร์ชีวภาพป่าไม้
- วิศวกรรมป่าไม้
- วนวัฒนวิทยา
- วนศาสตร์ชุมชน
- อุทยาน นันทนาการ และการท่องเที่ยว
- วิทยาศาสตร์สัตว์ป่าและทุ่งหญ้า
Hard Skills
- เน้นฟิสิกส์ ชีวะ เป็นสิ่งสำคัญในการดูแลต้นไม้
- วิชาศิลปะก็จำเป็นเพราะเวลาตัดต้นไม้ ต้องให้มันดูทรงพุ่มที่สวยงามด้วย การเรื่องกิ่งการวางโครงสร้าง ดังนั้น เรื่องรูปทรงก็สำคัญ
Soft Skills
- เน้นความอดทน
- มีมนุษยสัมพันธ์ดี
- ใจรักการบริการ
กิจกรรมต่าง ๆ
- ชมรใKU รุกขกร ของคณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ มีกิจกรรมปีนสนุกกับรุกขกร ของคณะวนศาสตร์ ให้น้อง ๆที่สนใจ ได้ลองปีนต้นไม้ สอนการปีนเบื้องต้น
วิชาที่เรียน
ภายในคณะวนศาสตร์ จะมีวิชาที่เกี่ยวข้องกับงานด้านรุกขกรมากมาย ตัวอย่างเช่น
- วิชารุกขวิทยา เรียนเกี่ยวกับชื่อ วงศ์ ต้นไม้ ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ตอนสอบ ต้องดูรูปแล้วเขียน ชื่อวิทย์ ชื่อวงศ์ ชื่อไทย เป็นเรื่องพื้นฐานของพรรณไม้
- วิชาโรคพืช เรียนกับโรคที่มักเกิดกับต้นไม้ใหญ่ แม้จะเกิดจากเชื้อราคล้ายกัน แต่จะมีลักษณะการเกิดที่ต่างกัน
- วิชาการปลูกป่า หรือการตัดแต่ง (วนวัฒวิทยา)
- การคัดเลือกชนิดพันธ์ ให้เหมาะกับพื้นที่
- เรื่องการจัดการดิน
- เรื่องการจัดการน้ำ
เคล็ดลับการเรียน
- วิชาคณิตศาสตร์และเคมี ถือว่าเป็นวิชาที่หนัก ควรตั้งใจทำให้วิชาเหล่านี้ให้เต็มที่ เน้นความขยัน และฝึกทำโจทย์ อ่านหนังสือให้เยอะ ๆ
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
แม้คณะวนศาสตร์จะไม่ใช่คณะที่ผลิตอาชีพรุกขกรโดยตรง แต่เนื่องจากผู้ให้สัมภาษณ์มีความสนใจในอาชีพนี้ จึงได้ใช้เวลาช่วงปิดภาคเรียนไปฝึกงานด้านรุกขกร และชื่นชอบจึงกลับมาเปิดชมรมภายในคณะเพื่อเผยแพร่การทำงานและวิชาชีพ จนคนในชมรมสามารถรับงานรุกขกรภายในมหาวิทยาลัยได้ และต่อยอดไปสู่งานอื่น ๆ
- เจ้าหน้าที่กรมป่าไม้
- เจ้าหน้าที่อุทยาน เขตรักษาพันธ์สัตว์
- รับออกแบบตกแต่งสวน
Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร