นักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร
นักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร
นักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร
นักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร
รู้จักอาชีพ > นักสร้างสรรค์ (Art) > นักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร

       ในยุคที่โซเชียลมีเดียเข้ามามีบทบาทมาก ประกอบกับพฤติกรรมผู้บริโภคอาหารที่เปลี่ยนไป เน้นเสพคอนเทนต์รูปภาพสวย ๆ ที่มีเรื่องราวน่าสนใจ ดึงดูดผ่านรูปภาพอาหารจานนั้น ๆ จึงทำให้เกิดอาชีพที่เรียกว่า Food Stylist หรือนักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร ซึ่งจะมีหน้าที่จัดจาน ตกแต่งอาหารให้สวยงาม น่าทาน เพื่อถ่ายโฆษณา ประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่าง ๆ ของทางร้านหรือแบรนด์ อาชีพนี้ไม่จำเป็นต้องเป็นคนที่ทำอาหารเก่ง ทำอาหารอร่อย แต่จะต้องเป็นคนที่มีทักษะความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการ เข้าใจการจัดวางองค์ประกอบบนจานอาหารให้น่าทาน เพื่อให้การถ่ายภาพเพื่อการโฆษณาออกมาดูดีมีสไตล์ ช่วยสร้างมูลค่าของอาหารได้อย่างดี 

       อาชีพนี้มีทั้งในประเทศไทย และในหลายประเทศทั่วโลก เพราะฉะนั้นตลาดในการทำงานจะกว้างมากๆ ถ้าหากสามารถเก็บประสบการณ์ได้เยอะ หลากหลาย จะทำให้โอกาสประสบความสำเร็จในอาชีพนี้มีสูงมาก

นักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร

นักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร

นักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร

 

ลักษณะงาน 

       เป็นงานที่ต้องใช้ความคิดสร้างสรรค์ และเข้าใจในการจัดองค์ประกอบภาพ จึงจัดอยู่ในหมวด Art แต่ความสวยงามทั้งหมดที่ต้องรังสรรค์ จะอยู่รูปแบบของอาหารและวัตถุดิบที่สวยงาม โดยอาชีพนี้มันจะต้องทำงานร่วมกับช่างภาพ เชฟ และลูกค้าที่จะบรีฟโจทย์ให้ จึงมีลักษณะการทำงานเป็นทีม

ขั้นตอนการทำงาน

  • รับโจทย์จากลูกค้า ผู้ว่าจ้างว่าต้องการอะไร คอนเซ็ปต์แบบไหน เป็นเมนูเกี่ยวกับอะไร แต่ละเมนูมีจุดเด่นยังไง ในส่วนนี้จะต้องทำการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเชฟ หรือคนทำอาหารของร้าน เพื่อทำให้เราตีโจทย์และเข้าใจวัตถุดิบที่ต้องการนำเสนอมากยิ่งขึ้น
  • คิด Concept งานตามโจทย์ พร้อมกับประชุมร่วมกับทีมงาน
  • นำเสนอภาพตัวอย่าง หรือวาดภาพสเก็ตให้ลูกค้าเห็นภาพว่างานจะออกมาในทิศทางไหน เพื่อให้ลูกค้าเห็นภาพตรงกัน
  • กำหนดเวลาการทำงาน ลำดับการจัดตกแต่งจาน จัดอุปกรณ์ประกอบฉากในการถ่ายรูปเพื่อโฆษณา เพื่อเป็นการลดข้อผิดพลาดในการทำงาน และอยู่ในเวลาที่วางไว้
  • จัดเตรียมอุปกรณ์ อาจจะทำเช็คลิสต์เพื่อเตรียมอุปกรณ์ให้ครบ เช่น ถ้วย จาน ชาม ช้อน ส้อม มีด อุปกรณ์สำหรับจัดตกแต่งที่ขาดไม่ได้อย่างเช่น ที่คีบอันเล็ก กรรไกร กาว ไม้จิ้มฟัน พู่กัน ขวดสเปร์ย ของตกแต่งทั้งของสด ของแห้ง เป็นต้น 
  • จัดตกแต่งอาหาร เพื่อการถ่ายภาพโฆษณา ในระหว่างจัดตกแต่งจะต้องดูในส่วนของมุมกล้องต่าง ๆ ประกอบไปด้วย เพื่อดูว่าสิ่งที่เราจัดวาง ตกแต่งไปแล้วนั้น ภาพที่ได้ออกมาเป็นอย่างไร ทำเช่นนี้เพื่อให้ลูกค้าได้งานที่ดีมีคุณภาพจริง ๆ

สถานที่ทำงาน 

  • สตูดิโอหรือ Home Office หากมีสตูดิโอประจำ เพราะสถานที่จะสะดวกและมีอุปกรณ์พร้อมสำหรับการถ่ายทำ
  • ร้านอาหาร โดยเป็นร้านของลูกค้าที่ว่าจ้าง Food Stylist มาเพื่อตกแต่งจานในการโฆษณาให้ ซึ่งจะมีความสะดวกมากขึ้นเพราะเชฟจะสามารถทำเสร็จแล้วนำมาจัดวางตกแต่งได้ทันที

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย

  • เชฟ
  • ช่างภาพ
  • อาร์ตไดเรกเตอร์
  • ลูกค้า ผู้ว่าจ้าง

 

 

เงินเดือน นักตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร

     ในสายอาชีพนี้ความสามารถ และประสบการณ์ รวมถึงความคิดสร้างสรรค์ เป็นส่วนสำคัญกับค่าตอบแทนอย่างมาก ยิ่งถ้าในปัจจุบันนี้การแข่งขันถือว่าค่อนข้างสูง หากใครมีประสบการณ์ มีเทคนิคเฉพาะตัวที่โดดเด่น จะทำให้เป็นที่รู้จักเร็ว โอกาสประสบความสำเร็จจะสูงกว่า 

Food Stylist ถ้าแบ่งตามสายงานก็สามารถทำได้ทั้ง

  • พนักงานประจำ นิตยสารคอลัมน์อาหาร ค่าตอบแทนโดยประมาณ 15,000 ขึ้นไป
  • บริษัทส่วนตัว โดยมีทีมเป็นของตัวเอง จ้างโดยลูกค้าแบรนด์ทั้งขนาดเล็ก และขนาดใหญ่ ค่าตอบแทน หลักหมื่น ถึง หลักแสนต่องาน
  • ฟรีแลนซ์ทีมเล็กๆ ไม่เกิน 3 คน หลักพันปลายๆ ถึงหลักหมื่น

*ขึ้นอยู่กับดีเทลของงานแต่ละงาน และประสบการณ์

  • ได้ทำงานที่ใช้ความคิดสร้างสรรค์ตลอด ทำให้รู้สึกท้าทาย และไม่น่าเบื่อ
  • ทำให้เป็นคนใส่ใจในรายละเอียดเล็ก ๆ น้อยๆ มากขึ้น 
  • ได้เรียนรู้วัฒนธรรมอาหารจากการทำงาน หรือได้พูดคุยกับเจ้าของเมนู
  • รู้จักสังเกตสิ่งรอบตัวมากขึ้น เพื่อนำมาเป็นไอเดียในงานต่อได้

 

  • ทำงานไม่เป็นเวลา 
  • ต้องรับแรงกดดันจากลูกค้า
  • รายได้ไม่แน่นอน หากเป็นพนักงานประจำโอกาสได้ค่าตอบแทนจะน้อยกว่าบริษัทที่ทำเรื่องนี้อย่างเดียว โดยเฉพาะ หรือฟรีแลนซ์ที่รับงานได้มากกว่าในหนึ่งเดือน

 

  • กล้าทำในสิ่งที่แตกต่าง
  • เข้าใจธรรมชาติของวัตถุดิบและวิธีการปรุงอาหาร
  • มีความคิดสร้างสรรค์ สร้างความแปลกใหม่
  • ใส่ใจรายละเอียด พิถีพิถัน
  • ใช้สมาธิจดจ่อกับรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ
  • เรียนรู้สิ่งใหม่อยู่ตลอดเวลา
  • รู้จักดัดแปลงอุปกรณ์
  • มีความรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ เข้าใจหลักการถ่ายภาพ มุม แสง องค์ประกอบภาพต่างๆ
  • ช่างสังเกต เพื่อนำมาเป็นไอเดียในงานของเราได้
  • ทักษะการจัดการเวลา เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะการถ่ายภาพอาหารต้องจัดการเวลาให้เหมาะสม ทั้งเรื่องการใช้แสง สีของอาหารที่สดใหม่ และคิวกล้องหรือช่างภาพที่จำกัด
  • ทักษะด้านองค์ประกอบศิลป์ ความรู้เรื่ององค์ประกอบศิลป์ ถืิอเป็นสิ่งสำคัญสำหรับ อาชีพด้าน Stylist มาก ในการดูเรื่องการวางภาพ การจับคู่สีต่าง ๆ 
  • ทักษะพื้นฐานด้านการถ่ายภาพ เพื่อสามารถเข้าใจการทำงานของช่างภาพ และผู้ช่วยช่างภาพเข้าใจในโจทย์ที่เราต้องการ
  • ทักษะด้านการสื่อสาร เนื่องจากต้องสื่อสารกับคนในทีม และประสานงานกับลูกค้าถึงความต้องการของพวกเขา
  • ทักษะการใช้มืออย่างคล่องแคล่ว เนื่องจากในหลายๆ ครั้งเราต้องจัดวางตกแต่งอาหารที่มีขนาดเล็ก หรือเป็นของเหลว ซึ่งต้องใช้น้ำหนักมืออย่างระแวดระวัง

เรียน ตกแต่งศิลปะบนจานอาหาร

การศึกษา 

  • มัธยม สายวิทย์หรือสายศิลป์ปวช. หรือ ปวส. สาขาที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าศึกษาโดยการสอบคัดเลือก โควต้า ตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบัน
  • ปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์และการจัดการการท่องเที่ยว สาขาศิลปะการประกอบและออกแบบอาหาร Culinary Arts and Design มหาวิทยาลัยกรุงเทพ (International Program) เรียน 4 ปี

Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร