ปฐพี หมายถึง ดินหรือแผ่นดิน ปฐพีวิทยาจึงเป็นศาสตร์แขนงหนึ่งศึกษาเกี่ยวเรื่องของดินทั้งเรื่องต้นกำเนิดและความสำคัญทั้งด้านกายภาพ เคมี และชีวภาพ โดยนักปฐพีวิทยาจะทำการสำรวจ จำแนกวิจัยเพื่อศึกษาและอนุรักษ์ดินเพื่อประโยชน์แก่และมนุษยชาติอย่างยั่งยืน โดยจะแยกนักปฐพีวิทยาได้อีกสองประเภทใหญ่ ๆ คือ นักปฐพีธรรมชาติ (Pedologist) และนักปฐพีวิทยาสัมพันธ์ (Edaphologist)
ลักษณะงาน
นักปฐพีวิทยา แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
เป็นการศึกษานำดินไปใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืช สาขาที่เกี่ยวข้อง คือ สาขาวิชาความอุดมสมบูรณ์ของดิน (soil fertility) ศึกษาด้านความอุดมสมบูรณ์ของดิน การปรับปรุงดิน ปริมาณธาตุอาหารที่เหมาะสมในการเจริญเติบโตของพืช สาขาวิชาฟิสิกส์ของดิน (soil physics) ศึกษาด้านคุณสมบัติทางกายภาพของดิน มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโตของพืช สาขาเคมีดิน (soil chemistry) ศึกษาด้านคุณสมบัติทางเคมีของดิน ปฏิกิริยาของดิน สาขาชีววิทยาของดิน ( soil microbiology ) ศึกษาด้านสิ่งมีชีวิตในดิน และกิจกรรมของสิ่งมีชีวิตในดิน สาขาการจัดการและการอนุรักษ์ดิน (soil management and conservation) ศึกษาด้านการจัดการดิน การป้องกัน การแก้ไข การใช้ดินอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้ดินมีความอุดมสมบูรณ์เหมาะสมกับการใช้ประโยชน์ในการเกษตร และ สาขาดินสำหรับป่าไม้ (forest soils) ศึกษาด้านความอุดมสมบูรณ์ของดินป่าไม้ ในด้านกายภาพ เคมี และชีววิทยา รวมถึงการสะสมของอินทรียวัตถุในดินด้วย
ในประเทศไทยจะมีแต่ “นักปฐพีวิทยาสัมพันธ์” ส่วนใหญ่เป็นนักวิชาการตามหน่วยงานราชการและบริษัทเอกชน ที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร
ขั้นตอนการทำงาน
- ตรวจวิเคราะห์ตัวอย่างดิน น้ำ พืช ในห้องปฏิบัติการ
- ทำงานวิจัยด้านการเกษตร
- ทำระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ (GIS)
- ให้คำแนะนำในการจัดการด้านเกษตร
สถานที่ทำงาน
- กรมวิชาการเกษตร ตามจังหวัดต่างๆ
- กรมพัฒนาที่ดิน
- สถานีพัฒนาที่ดิน ตามจังหวัดต่างๆ
- บริษัทเอกชน ที่เป็นธุรกิจด้านการเกษตรและสิ่งแวดล้อม
- สถาบันการศึกษา
ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
- โปรแกรมเมอร์
- นักวิชาการเกษตร
- นักโรคพืช/นักกีฏะ
- นักปรับปรุงพันธุ์พืช
- ฝ่ายขาย
- เป็นงานสามารถต่อยอดทำงานร่วมกับส่วนงานอื่น เพื่อพัฒนาการจัดการด้านเกษตร
- ได้ช่วยเหลือเกษตรกร
- งานที่ทำมีความหลากหลาย ไม่น่าเบื่อ
- สำหรับคนที่ชอบทำงานเป็นหลักแหล่ง งานนี้ทำให้ต้องทำงานนอกสถานที่บ่อยครั้ง เช่น การสำรวจพื้นที่ ลงแปลงเกษตร และแต่ละครั้งมักเป็นงานกลางแจ้ง
- รายได้ไม่แน่นอน ฐานเงินเดือนเริ่มต้นไม่สูงมาก การปรับเงินเดือนมักขึ้นอยู่ทักษะที่พัฒนาได้
- ถึงจะได้วุฒิการศึกษาเป็น วทบ. แต่ไม่สามารถสมัครงานในสายวิทยาศาสตร์ได้
- ศึกษาหาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ
- มีความรับผิดชอบสูง
- ช่างสังเกตและจดจำได้ดี สายงานด้านนนี้จะต้องอยู่กับการทดลอง การช่างสังเกตการจดจำ ความแม่นยำต่างเป็นสิ่งสำคัญ โดยเฉพาะการทำการวิจัยทดลองกลุ่มตัวอย่างดินและข้อมูลต่าง ๆ ที่หากเกิดข้อผิดพลาดขึ้น อาจส่งผลต่อผลลัพธ์ที่เสียหาย
- ทักษะเฉพาะทางการวิเคราะห์ดิน น้ำ พืช ในห้องปฏิบัติการ
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ (Analytical Thinking) ยึดหลักที่เป็นเหตุและผลเสมอ เชิงข้อมูล เพราะการทำงานที่ต้องค้นคว้าวิจัย ออกสำรวจกลุ่มตัวอย่าง และใช้กระบวนการที่หลากหลายอตกต่าง จึงต้องมีทักษะในการวิเคราะห์ประยุกต์ใช้ข้อมูลอย่างถูกต้องเหมาะสม มีความเข้าใจในข้อมูลและหาคำตอบจากสมมุติฐานในเรื่องที่ทำอยู่ได้ดี
- ทักษะเชิงวิพากษ์ (critical thinking) นักปฐพีวิทยาต้องใช้ความเชี่ยวชาญในการหาคำตอบและข้อเท็จจริง หรือการเชื่อมโยงคำตอบให้ใกล้เคียงต่อการวิตับให้มากที่สุด ดังนั้นการคิดเชิงวิพากษ์โดยอาศัยปัจจัยรอบด้านเป็นพื้นฐานสำคัญที่จำเป็น
- ทักษะการตัดสินใจ นอกจากทักษะความรู้ความเชี่ยวชาญ ประสบการณ์เฉพาะทางแล้ว การตัดสินใจเลือก ค้นหาทดลองเพื่อหาคำตอบต่องานที่ทำ ส่งผลต่องานวิจัยและการทดลองของเป็นอย่างมาก
- ทักษะทางคณิตศาสตร์ เช่นเดียวกับนักวิทยาศาสตร์สาขาอื่น ๆ ความเข้าใจพื้นฐานทางคณิตศาสตร์เป็นพื้นฐานที่สำคัญมาก
- ทักษะด้านการสื่อสาร สำหรับการอธิบายสิ่งที่กำลังศึกษาวิจัย กระบวนการที่ใช้และค้นพบอะไรบ้างเพื่อให้ให้คนอื่นเข้าใจและทำงานร่วมกันได้ง่ายขึ้น ไม่ว่าจะเป็นสิ่งที่วิจัยอยู่ กระบวนการหรือวิธีที่ใช้ ความคืบหน้าในการค้นพบ และความหมายจากการค้นพบเหล่านั้นคืออะไร ส่งผลต่อการพัฒนาดินและเป็นประโยชน์อย่างไร
การศึกษา
- ระดับมัธยมศึกษา เรียนสายสามัญ สายวิทย์-คณิตเท่านั้น
- ระดับอุดมศึกษา ปริญญาตรี - ศึกษาต่อคณะเกษตร ภาควิชาปฐพีวิทยา ซึ่งมีหลายสาขา โดยวุฒิการศึกษาจะเป็น วิทยาศาสตร์บัณฑิต(เกษตร) (วทบ.เกษตร) ใช้เวลาเรียน 4 ปี ในบางสถาบันอาจมีการเลือกภาควิชาตอนปี 2 โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศที่เปิดสอนในหลักสูตรนี้ได้แก่
- สาขาวิชาปฐพีศาสตร์ คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- สาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- สาขาปฐพีวิทยา คณะเกษตร กำแพงแสน มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน
- สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และอนุรักษศาสตร์ ภาควิชาพืชศาสตร์และปฐพีศาสตร์ คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- สาขาวิชาปฐพีศาสตร์และสิ่งแวดล้อม คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สาขาปฐพีวิทยา ภาควิชาเทคโนโลยีการผลิตพืช คณะเทคโนโลยีการเกษตร สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- สาขาวิชาปฐพีศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์
Hard Skills
- ตั้งใจเรียนวิชาของสายวิทย์คณิต เพื่อเป็นเส้นทางสู่เส้นทางอาชีพนี้ และเป็นพื้นฐานในการทำงาน
- แม้นักปฐพีวิทยนั้น แม้จะทำงานด้านเกษตร แต่ก็ต้องพัฒนาด้านภาษาอังกฤษด้วย เพราะการเกษตรไม่ได้หยุดอยู่แค่ในประเทศเท่านั้น ต่างประเทศก็มีเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่ต้องศึกษาและนำมาใช้
Soft Skills
-
ลองทดลองสังเกตผู้คนและเกตุการณ์ต่างๆ เพื่อสร้างนิสัยเป็นคนช่างสังเกต
-
ฝึกทักษะการสื่อสาร หรือการอธิบายเรื่องยาก ๆ ให้เข้าใจง่ายให้ผู้อื่นฟัง
ตัวอย่างของหนึ่งในหลักสูตรที่ผลิตบัณฑิตที่สามารถประกอบอาชีพนักปฐพีวิทยา คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (เกษตรศาสตร์) สาขาวิชาปฐพีวิทยา ชื่อภาษาอังกฤษ : Bachelor of Science (Agriculture) Program in Soil Science ของสถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
หลักสูตรปฐพีวิทยา เปิดสอนระดับปริญญาตรี ทำการสอนและวิจัยทางปฐพีวิทยา ผลิตบัณฑิต ให้มีความรู้และทักษะทางด้านเทคโนโลยีใหม่ๆ ในด้าน การใช้ปุ๋ยชีวภาพและปุ๋ยเคมีเพื่อการเกษตร การใช้ภาพถ่ายดาวเทียมเพื่อการอนุรักษ์ การจำแนกดิน ความอุดมสมบูรณ์ของดิน สมบัติทางเคมีและฟิสิกส์ของดิน นอกจากการเรียนการสอนและการวิจัยแล้ว หลักสูตรยังได้ดำเนินการเผยแพร่ความรู้ และให้บริการทางวิชาการ รวมทั้งบริการวิเคราะห์ดินและพืชแก่ประชาชนทั่วไปด้วย
วิชาที่เรียน
- วิชาทั่วไป ได้แก่กลุ่มวิชาสังคมศาสตร์ มนุษย์ศาสตร์ ภาษา คณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์
- วิชาเฉพาะ
- กลุ่มวิชาแกนวิทยาศาสตร์ : วิชาคณิต, ฟิสิกส์, เคมี, ชีวะ, พันธุศาสตร์, พฤษศาสตร์ ทั้งทฤษฎีและปฏิบัติในห้องปฏิบัติการ
- กลุ่มวิชาแกนเกษตรศาสตร์ : เป็นกลุ่มวิชาด้านการเกษตรพื้นฐานทั้งหมด เช่น เทคโนโลยีการผลิตพืชทั้งพืชไร่ พืชสวนและพืชผัก, หลักการเลี้ยงสัตว์, ศัตรูพืชเบื้องต้น, เศรษฐศาสตร์เกษตรเบื้องต้น,การวางแผนการทดลองทางการเกษตรเบื้องต้น, หลักการพัฒนาและส่งเสริมการเกษตร
- กลุ่มวิชาเฉพาะบังคับ : กลุ่มวิชานี้จะเป็นกลุ่มวิชาเฉพาะของภาควิชา เช่น พืชเศรษฐกิจ,นิเวศวิทยาและการปรับตัวของพืช, ความอุดมสมบูรณ์ของดิน, ปุ๋ยและการใช้ปุ๋ย, การวิเคราะห์ดินและพืช, จุลชีววิทยาทางดิน, การสำรวจดิน, การอนุรักษ์ดินและน้ำ, ปฏิบัติการในชุมชน
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
ในชั้นปี 1 – 2 จะเรียนวิชาพื้นฐานทั้งวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และส่วนใหญ่มักเรียนรวมกับคณะวิทยาศาสตร์ ควรมีวิชาเลือกในกลุ่มภาษา, กลุ่มสังคมศาสตร์และกลุ่มมนุษยศาสตร์ เพื่อดึงให้คะแนนเกาะกลุ่มปานกลางถึงสูง สะสมไว้เพื่อเกรดเฉลี่ยสะสมตอนจบ
ส่วนในชั้นปี 3 – 4 จะเรียนวิชาของภาควิชาปฐพีวิทยา มีทั้งวิชาบังคับเรียนและสามารถเลือกเรียนได้ตามความสนใจ และควรมีวิชาเลือกนอกสาขาเพื่อผ่อนคลายจากการเรียนวิชาภาค ปี 3 มีฝึกงาน 2 แบบ คือ แบบที่ 1 ถ้าฝึกงาน 2 เดือน ต้องกลับมาทำงานวิชาพิเศษ เรียกว่า ทำปัญหาพิเศษในตอนปี 4 แบบที่ 2 ถ้าฝึกแบบสหกิจศึกษา 4 เดือน จะมีโครงการร่วมกับที่ฝึกงาน 1 เรื่อง นอกจากวิชาเรียนปกติแล้วยังมีสัมมนา สหกิจ/ปัญหาพิเศษ เคล็ดลับอยู่ที่การเลือกอาจารย์ที่ปรึกษา ควรเลือกอาจารย์ที่ถนัดหรือเชี่ยวชาญสาขาที่เราสนใจ จะทำให้เราไม่เครียดและสนุกกับมันจริงๆ
ค่าเทอมตลอดหลักสูตร
ค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 112,000 - 240,000 บาท (โดยประมาณ)
มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
- University of Arizona /College of Agriculture and Life Sciences
- Iowa State University /College of Agriculture and Life Sciences
- The Ohio State University /College of Food, Agricultural, and Environmental Sciences
- Wilmington /College Agriculture Program
- Oregon State University /College of Agricultural Sciences
- University of Kentucky /College of Agriculture
- New Mexico State University /College of Agricultural, Consumer, and Environmental Sciences
- Texas Tech University /College of Agricultural Sciences and National Resources
- University of Wisconsin-Madison /College of Agricultural and Life Sciences
- University of British Columbia /Faculty of Land and Food Systems
Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร