นักเขียนออนไลน์ จะเรียกว่าเป็นอาชีพใหม่ ก็ไม่ใช่ จะเก่าก็ไม่เชิง เนื่องจากอาชีพนักเขียนมีมาแต่ไหนแต่ไร แต่ด้วยยุคสมัยที่โลกดิจิทัลมีอิทธิพลมากขึ้น ผู้คนจึงนิยมเสพสื่อเนื้อหา ข้อมูล ข่าวสารเสพผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น อาทิ Website, Blog, Facebook, Instagram, Youtube, Pantip, Line นักเขียนออนไลน์จึงกลายเป็นทางเลือกอาชีพใหม่ที่น่าสนใจและกำลังเป็นที่ต้องการในปัจจุบัน จึงทำให้เกิดเป็นอาชีพ โดยหน้าที่หลักๆ คือสร้างสรรค์เนื้อหา บทความ หรือที่เรียกกันในวงการว่า คอนเทนต์ (Content) ผ่านสื่อต่างๆ อย่างรูปภาพ วิดีโอ ไม่ว่าจะเป็นแนวให้ความรู้ทั่วไป ความรู้เฉพาะทาง บันเทิง กีฬา ข่าวสาร กระแสปัจจุบัน รีวิวสินค้า เพื่อถ่ายทอด สื่อสารให้ผู้อ่าน (กลุ่มเป้าหมาย) ได้รับประโยชน์ หรือตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
ลักษณะงาน
นักเขียนออนไลน์ จะทำหน้าที่สร้างสรรค์งานเขียนออกมาในรูปแบบต่าง ๆ เช่น บทความ รูปภาพ วิดีโอ ซึ่งความยากในการสร้างงานลักษณะนี้คือ ย่อยข้อมูลให้เข้าใจง่ายที่สุด ผู้ที่เป็นนักเขียนออนไลน์จะต้องรู้จักหาแหล่งข้อมูลเชิงลึก ไม่ว่าจะเป็นจากเว็บไซต์ของไทยหรือต่างประเทศ การสัมภาษณ์ผู้รู้ ผู้เชี่ยวชาญ ค้นคว้าจากหนังสือเอกสาร นำมาผลิตงานเขียนให้ดึงดูดใจคนอ่าน สร้างความแตกต่าง มีเอกลักษณ์ มีสไตล์ ทั้งสำนวนภาษา วิธีการเล่าเรื่อง และรูปแบบการนำเสนอ ประเภท งานเขียนออนไลน์ แบ่งเป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ดังนี้
- Inform คือ ให้ข้อมูล แจ้งให้ทราบ ทางการ เช่น ข่าวสารต่าง ๆ
- Instruct ให้ความรู้ทั่วไป เรื่องเฉพาะทาง เช่น ไอที กีฬา ความงาม เป็นต้น
- Inspire สร้างแรงบันดาลใจ
- Emotion ให้ความบันเทิง เอนเตอร์เทน
- Educate ให้ความรู้เชื่อมโยงไปถึงสินค้า
นักเขียนออนไลน์จำแนกออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ได้อีก เช่น
- Brand (แบรนด์) คือผู้ที่ดำเนินธุรกิจต่างๆ และต้องการคอนเทนต์สร้างการดึงดูด สร้างยอดขาย มีพนักงานประจำผลิตงานเขียนโดยเฉพาะ วางแพลนไทม์ไลน์งานแต่ละเดือน ทุกเดือน เช่น แบ่งเป็น 5 Category
- Relations Content เป็นคอนเทนต์ที่รีเรทกับชีวิตซึ่งเชื่อมโยงกับตัวสินค้า หรือแบรนด์นั้นๆ
- Brand & Corporate ซับพอร์ทสิ่งที่บริษัทมี เช่น สินค้า โปรเจ็กต์ สะท้อนตัวตนความเป็นแบรนด์
- Activties & Promotion โปรโมทโปรโมชั่นให้น่าสนใจ และสร้างกิจกรรมร่วมสนุกกับฐานลูกค้า เพื่อรักษาฐานลูกค้าเดิม และสร้างฐานลูกค้าใหม่ให้เข้ามาสนใจแบรนด์
- Testimonial สัมภาษณ์บุคคลที่เป็นที่รู้จักในวงการของแบรนด์ เพื่อสร้างความน่าเชื่อถือ และเป็นที่ยอมรับ
- 5.Article บทความในเว็บไซต์ ซึ่งสามารถแบ่งได้หลาย Topic เช่น ไลฟ์สไตล์ เรื่องราวน่ารู้ สัมภาษณ์ รีวิว
- Agency (เอเจนซี) คือผู้ที่ได้รับจ้างจากแบรนด์ให้ทำคอนเทนต์ให้แบรนด์ลูกค้าเจ้าต่างๆ ต้องรับบรีฟจากลูกค้า ซึ่งเป็นได้ทั้งในนามบุคคล หรือนามบริษัทลักษณะงานของเอเจนซีจะรับงานเป็นชิ้นๆ ใช้งบประมาณสูง ยิ่งรูปแบบวิดีโอ คือ รูปแบบที่ใช้เงินสูงที่สุด ใช้เวลาทั้งการถ่ายทำ ตัดต่อนาน แต่ได้รับความสนใจในโลกโซเชียลมีเดียสูง มีทีมงานเพื่อซับพอร์ทงานด้านนนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็น นักเขียน กราฟิก ช่างภาพ ช่างตัดต่อ ที่มีความเชี่ยวชาญ
- Freelance (ฟรีแลนซ์) จะรับงานเป็นจ๊อบๆ ตามแต่ผู้ว่าจ้าง เช่น เขียนบทความลงเว็บไซต์เกี่ยวกับการศึกษา หรือทำบล็อกรีวิวสินค้า รีวิวสถานที่ท่องเที่ยว ร้านอาหาร เป็นงานเล็กๆ ค่าใช้จ่ายในการจ้างไม่สูงมากนัก อาจจะเป็นคนเดียวทำหรือมีทีมเล็กๆ 2-5 คน ต้องมีความรู้รอบด้านทั้งงานเขียนออนไลน์ ถ่ายรูป กราฟิก ตัดต่อ ซึ่งสามารถรับงานได้โดยที่ยังไม่จบการศึกษา เพียงแต่มีความรู้ มีทักษะ มีผลงานด้านนี้มาก่อน ก็จะได้รับความสนใจจ้างจากบริษัทได้เช่นกัน
ขั้นตอนการทำงาน
- ประชุมทีม กำหนดกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจนว่าจะทำงานชิ้นนี้เพื่อใคร แล้วเขาจะได้อะไร เช่น ทำเพื่อนักเรียนชั้นมัธยมปลาย เมื่อได้อ่านแล้วจะทำให้รู้เส้นทางสู่อาชีพที่ตัวเองอยากเป็น คิด Topic ให้ครอบคลุม ว่าสิ่งที่กลุ่มเป้าหมายอยากรู้ หรือสิ่งที่เขาควรรู้คืออะไร
- นำหัวข้อเรื่อง (Topic) มาลงใน Calendar เพื่อกำหนดวันเวลาในการนำขึ้นบนสื่อออนไลน์ และกำหนดว่าจะโพสต์ที่ช่องทางไหนบ้าง ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องอาศัยความรู้เรื่องสถิติ ช่วงเวลาของสื่อออนไลน์ในโซเชียลมีเดียต่าง ๆ )
- ค้นคว้าข้อมูล วางโครงเรื่องที่จะเขียน กำหนดกรอบการเขียนให้ครอบคลุมทุกประเด็นที่ต้องการจะสื่อสาร และไม่วกวนไปมา หรือผิดแผกไปจากหัวข้อที่ตั้งไว้
- เลือกสำนวนที่จะใช้ในงานเขียน ซึ่งงานเขียนออนไลน์ส่วนใหญ่ หากไม่ใช่งานวิชาการ สามารถเลือกสำนวนที่ถนัดได้ตามสะดวก หรือหากผู้ว่าจ้างอาจมีสำนวนในแบบที่ชอบ เพื่อให้สอดคล้องกับภาพลักษณ์ของธุรกิจมากที่สุด
- ลงมือเขียนตามแผนงานที่วางไว้ จากนั้นส่งข้อความให้กับกราฟิก หรือช่างตัดต่อภาพ เพื่อนำมาทำเป็นภาพประกอบบทความ หรือวิดีโอ หรือภาพอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับรูปแบบการนำเสนอ พร้อมกับตรวจพิสูจน์อักษรทั้งข้อความ รูปภาพ ให้ถูกต้อง
- ส่งตรวจ ในขั้นตอนนี้เมื่อส่งตรวจแล้ว ผู้ว่าจ้างอาจจะมีปรับแก้เพิ่มเติมได้ ขึ้นอยู่กับการตกลงก่อนว่าจ้างว่าสามารถปรับแก้ในลักษณะไหน จำนวนกี่ครั้ง
-
โพสบทความเหล่านั้น ให้ออนไลน์ตามวัน เวลา ที่กำหนด
-
หลังจากนั้นจะต้องมีการเก็บสถิติในช่องทางออนไลน์ที่โพสต์ลงไป เพื่อนำมาเป็นตัววัดคุณภาพของนักเขียนออนไลน์ และผลลัพธ์ของแบรนด์ที่จะได้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
สถานที่ทำงาน
โดยทั่วไปแล้วนักเขียนออนไลน์สามารถทำงานที่ใดก็ได้ เพียงแค่มีอุปกรณ์ในการทำงานให้พร้อม เช่น คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊ค สมุดจดบันทึก เครื่องอัดเสียง ไม่น่าแปลกที่มักจะเห็นนักเขียนออนไลน์ทำงานอยู่ตาม co-working space หรือคาเฟ่ต่าง ๆ แต่หากจะต้องจำแนกสถานที่ทำงานแล้วอาจมีดังนี้
- ออฟฟิศหรือสำนักงานของผู้ว่าจ้าง(ในกรณีเป็นนักเขียนประจำ) หรือออฟฟิศของนักเขียนประจำนั้นๆ
- ร้านคาเฟ่ที่มีจุดเสียบปลั๊กไฟ และ อินเทอร์เน็ต สไตล์คนชอบดื่มกาแฟไปด้วย ทำงานไปด้วยแล้วทำให้สมองคิดงานครีเอทได้ดี ยิ่งคาเฟ่ที่เปิด 24 ชม. ก็จะได้รับความนิยมที่นักเขียนออนไลน์จะไปนั่งผ่อนคลายสมองคิดงานดี ๆ ออกมา
- Co-Working Space เพื่อคนอยากทำงาน แต่ไม่อยากนั่งทำที่บ้าน ก็สามารถมานั่งทำงานที่นี่ได้ มีทั้งฟรีและเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งในแต่ละที่ก็จะมีการจัด ตกแต่งสถานที่ตามสไตล์ของคนที่จะไปนั่งทำงาน ยิ่งเป็นการช่วยซับพอร์ทให้ความคิดสร้างสรรค์ไหลลื่นได้ดีทีเดียว
- บ้านพักอาศัย หลายๆ คนไม่อยากมานั่งทำงานที่บ้าน อาจจะต้องจัดมุมที่นั่งทำงานให้ผ่อนคลาย เป็นมุมที่มีดีไซน์ หรือจะเปลี่ยนบรรยากาศไปนั่งในสวนหลังบ้าน เสพบรรยากาศผ่อนคลาย เพื่อให้สมองแล่นคิดงานสร้างสรรค์ได้
ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
- กราฟิกดีไซเนอร์ โดยพวกเขาทำหน้าที่ออกแบบรูปแบบแบนเนอร์ให้สอดคล้องกับบทความที่นักเขียนออนไลน์ได้สร้างสรรค์เอาไว้
- ช่างภาพ ในบางงานเขียนของออนไลน์ จำเป็นที่จะต้องใช้ภาพประกอบ ซึ่งช่องทางในการใช้รูปคือ เว็บซื้อรูป เว็บรูปฟรี ถ่ายรูปเอง ขึ้นอยู่กับรูปแบบงานเขียนและวิธีการนำเสนอว่าต้องการแบบใด
- ช่างตัดต่อ หากเป็นงานเขียนลักษณะที่ต้องการนำเสนอในรูปแบบ วิดีโอ จำเป็นที่จะต้องใช้ช่างตัดต่อที่มีความรู้ ความสามารถ และคอมพิวเตอร์ที่ซับพอร์ทโปรแกรม
ทางเลือกอาชีพ
- นักข่าว
- สำนักพิมพ์
- นักแปล
- งานท่องเที่ยว ไกด์ ล่าม
- กองบรรณาธิการ
- สถานทูต หรือองค์กรระหว่างประเทศ
- งานด้านสื่อมวลชนหรืองานด้านวงการบันเทิง
- นักประวัติศาสตร์/นักโบราณคดี
ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต
นักเขียนออนไลน์ ลำดับการเลื่อนขั้นจะเหมือนอาชีพในองค์กรอื่น ๆ แต่สำหรับฟรีแลนซ์ หรือเอเจนซี การเติบโต จะวัดจากผลงาน ประสบการณ์ ยิ่งเป็นที่รู้จักหรือเป็นที่ยอมรับมากเท่าไหร่ ค่าตอบแทนก็จะสูงขึ้นตามไปด้วย
เงินเดือน
อาชีพนักเขียนออนไลน์เป็นอาชีพที่ได้รับความนิยม และมีการแข่งขันกันค่อนข้างสูง โดยผู้ที่เป็นนักเขียนออนไลน์ประจำ มีค่าตอบแทนเป็นเงินเดือนตั้งแต่ 15,000 - 30,000 บาทขึ้นไป ขึ้นอยู่กับความสามารถ ประสบการณ์ ขนาดขององค์กรต้นสังกัด หากเป็นทำงานอิสระเป็นฟรีแลนซ์ ค่าตอบแทนในการเขียนบทความ เริ่มต้นที่หลักพัน ไปจนถึงหลักหมื่นต้น ๆ ขึ้นอยู่กับการตกลง
ส่วนเอเจนซีจะเป็นงานที่สเกลขนาดใหญ่ขึ้น รูปแบบนำเสนอมีความหลากหลาย ทั้งรูปภาพ วิดีโอ ภาพยนตร์โฆษณา ค่าตอบแทนจึงเริ่มต้นที่หลักหมื่นปลายไปจนถึงหลักล้าน ขึ้นอยู่กับขนาดของงานแต่ล่ะงาน และสัญญาว่าจ้าง
การแข่งขันและความต้องการของตลาด
อาชีพนักเขียนออนไลน์ เป็นอาชีพที่มีการแข่งขันสูง แม้จะเป็นคนที่ทำอาชีพอื่นที่มีทักษะการเขียน ชอบการเล่าเรื่อง ก็สามารถทำได้ ฉะนั้นการที่จะทำอาชีพนักเขียนออนไลน์ให้แตกต่างจากอาชีพอื่น จะต้องเพิ่มทักษะที่ช่วยเสริมสร้างมูลค่าให้งานเขียน และสร้างสรรค์งานเชิงลึก เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย เช่น เข้าใจสื่อโซเชียลมีเดีย ทั้งการใช้เครื่องมือ ความเหมาะสมของเนื้อหาต่อช่องทางนั้นๆ รวมทั้ง ติดตามสถิติและนำมาปรับงานเขียนการเก็บสถิติงานเขียนออนไลน์ เป็นเครื่องมือชั้นดีที่ช่วยให้เดินถูกทาง และวัดผลคุณภาพตาม KPI ที่ตั้งไว้ สิ่งนี้จะทำให้เห็นสถิติหลังบ้าน ที่จะนำมาวิเคราะห์ แปรผล ปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้อย่างดี
- ทำงานแบบอิสระได้ กรอบเวลาทำงานไม่ตายตัว เพียงแต่ต้องทำให้เสร็จตามกำหนดเวลาที่ตั้งไว้
- ค่าตอบแทนสูง หากมีประสบการณ์ ผลงานเป็นที่ยอมรับ อาจสามารถสร้างรายได้หลักแสนต่อเดือน
- มีความรู้รอบตัวเยอะ เพราะได้ค้นคว้าหาข้อมูลจากหลายช่องทาง เป็นผลดีต่อยอดในการพัฒนาทักษะการทำงาน
- เป็นอาชีพที่ต้องอัปเดตเทรนด์และสถานการณ์ตลอดเวลา ปรับตัวเร็ว ฉะนั้นอาจจะไม่ค่อยมีเวลาว่าง เพราะต้องใช้เวลาไปกับการศึกษา หาข้อมูลให้รอบด้านอยู่เสมอ
- เป็นอาชีพที่มีความเสี่ยงเช่นกัน เพราะการแข่งขันที่สูงขึ้น คนหันมาเป็นนักเขียนออนไลน์กันมากขึ้น กระทั่งจากคนที่เป็นนักเขียนแบบออฟไลน์ ก็ปรับตัวเข้ามาเป็น นักเขียนออนไลน์ หรือคนทำงานอาชีพอื่นที่ชอบในงานเขียน งานภาพ ก็จะเข้ามาทำตำแหน่งงานด้านนี้ได้
- ใจรักงานเขียนรักที่จะเขียน และรักที่จะอ่านและค้นคว้าหาความรู้อยู่เสมอ การเป็นนักเขียน ต้องทำให้คนอ่านรู้สึกสะดุดตา อยากอ่าน อยากติดตาม เขียนได้ทั้งแบบสั้นกระชับได้ใจความ และแบบยาวเพื่อนำเสนอข้อมูลรอบด้าน
- กระตือรือร้น ขยันหาข้อมูลในการเขียน อัปเดตตลอด ต้องฝึกเขียนบ่อยๆ อ่านให้มาก รอบรู้ คอยอัปเดต ติดตามข้อมูลทั้งของไทยและต่างประเทศ ไม่จำกัดการอ่านของตัวเอง อ่านทุกอย่าง ไม่ว่าจะข่าว สารคดี บทความ การ์ตูน ฯลฯ เพราะสิ่งนี้จะช่วยให้นักเขียนมีความรู้ในหลายแง่มุม หลายมิติ ได้แรงบันดาลใจ เกิดเป็นความคิดสร้างสรรค์ใหม่ๆ ได้
- มีความเข้าใจในโลกออนไลน์ นักเขียนออนไลน์ต้องรู้จักการโปรโมทผลงานตัวเองในช่องทางออนไลน์ มีนักเขียนออนไลน์หลาย ๆ คนที่ใช้โซเชียลมีเดียในการลงงานเขียนของตัวเอง หรือแม้กระทั่งรับงานเขียนอิสระ เช่น blog ท่องเที่ยว รีวิวอาหาร สินค้า ที่พัก หากเข้าตาสปอนเซอร์ต่างๆ ที่ต้องการให้ลงโฆษณาหรือเขียนบทความรีวิวสินค้า บริการต่างๆ ให้ ก็เป็นการเพิ่มโอกาสในอาชีพนักเขียนออนไลน์ได้กว้างขึ้น
- ก้าวตามเทคโนโลยีให้ทัน นักเขียนออนไลน์ต้องรู้ว่าเทรนด์ในแต่ละปี โซเชียลมีเดียตัวไหนที่ได้รับความนิยม ซึ่งนักเขียนออนไลน์จะต้องสร้างสรรค์งานเขียนให้เข้ากับแพลตฟอร์มที่จะเอาไปลงด้วย เช่น Facebook ที่มีได้ทั้งข้อความสั้น ยาว หรืออย่าง IG ที่เน้นไปที่รูปภาพส่วนใหญ่ นักเขียนออนไลน์ก็จะต้องสามารถคิดเล่าเรื่องเป็นภาพ และข้อความให้เล่าเรื่องได้
- มีความคิดสร้างสรรค์ กล้าทำในสิ่งที่แตกต่าง ช่างสังเกต มองในมุมที่น้อยคนจะรู้
- ทักษะการคิดวิเคราะห์ข้อมูล เมื่อได้ข้อมูลมาจากหลายแหล่ง สิ่งที่นักเขียนออนไลน์จะต้องทำต่อ คือนำมาวิเคราะห์ ตีความให้ได้
- ทักษะด้านเทคนิคเฉพาะทางออนไลน์ ที่จะช่วยให้งานเขียนประสบความสำเร็จ เช่น การทำ SEO (Search Engine Optimization) โดยทำงานควบคู่กับทีมเว็บไซต์ คือการที่ทำให้โครงสร้างเว็บไซต์เข้าถึงเร็ว มีข้อมูลที่ถูกต้อง ซึ่งหากทำ SEO แล้ว จะช่วยให้งานเขียน บทความนั้นอยู่อันดับต้น ๆ ของการค้นหา ด้วยคีย์เวิร์ด (Keyword) หรือคำค้นหาอื่น ๆ ที่ตั้งไว้จากการดูสถิติการค้นหาจาก Google Adwords* การได้รับเข้าเยี่ยมชมบ่อยครั้ง จะทำให้อันดับการแสดงผลสูงขึ้น อยู่ในหน้าการค้นหาไม่เกินหน้าที่ 2 สิ่งนี้คือทักษะที่นักเขียนออนไลน์ควรจะมี เพื่อรู้ว่าควรใช้คำที่เป็นหัวข้ออย่างไรให้คนค้นหาเจอ หรือในตัวบทความต้องมีคำแบบไหนให้สอดคล้องกับสิ่งที่คนค้นหาด้วย
- ทักษะด้านแบรนด์และการตลาดจะทำให้รู้ว่างานเขียนที่จะผลิตนั้นตอบโจทย์ และตรงกลุ่มเป้าหมายหรือไม่ เทรนด์การตลาดแบบไหน ถึงจะได้ผลลัพธ์ที่สุด ถ้ามีความเข้าใจเรื่องเหล่านี้ จะช่วยให้มีโอกาสในการรับงาน และการผลิตเนื้อหาที่โดนใจทั้งลูกค้ารวมทั้งกลุ่มเป้าหมาย ซึ่งนักเขียนออนไลน์อาจจะวางรูปแบบการปล่อยคอนเทนต์ตามทฤษฎี Viral ของ Google
- ทักษะการออกแบบงานหรือการตัดต่อวิดีโอ มีหลายทักษะในคนๆ เดียว จะเพิ่มค่าตอบแทนให้ได้อย่างมากเลยทีเดียว เช่น ภาพกราฟิกดีไซน์ ภาพเคลื่อนไหวเพราะจะทำให้การทำงานง่ายขึ้น คุยงาน บรีฟงานกันรู้เรื่อง สอดคล้องกันทั้งการเขียน การออกแบบภาพ
- ทักษะการเรียนรู้ โดยเฉพาะทักษะนี้เลย Content Marketing, Digital Marketing ต้องตามให้ทัน จะได้ทั้งไอเดียใหม่ๆ มาสร้างสรรค์งานของเรา หรือไว้สำหรับขายงานให้ลูกค้าก็ได้ ซึ่งจะมีทั้งแบบอบรมฟรี และแบบเสียค่าใช้จ่าย ซึ่งราคาต่อคอร์สก็ไม่น้อยเลยทีเดียว เพราะเมื่อมาอบรมแล้ว สามารถไปต่อยอดสร้างมูลค่าให้งานเขียนออนไลน์ต่อไปอีกได้
- ทักษะด้านวางกลยุทธ์หรือแผนงาน ทักษะนี้ต้องเป็นคนที่มีประสบการณ์ และวางแผนเก่ง เพราะจะทำให้รับงานที่ใหญ่ขึ้นได้ แต่จะต้องเข้าใจทักษะ กระบวนการทำงานทั้งหมดแล้ว การวางแผนที่ดีก็เพื่อให้งานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย กำหนดเสร็จตามเวลา
- ทักษะด้านภาษา นักเขียนออนไลน์จะต้องมีความรู้ด้านภาษาที่ไม่ใช่แค่ภาษาไทย เพราะจะทำให้การหาข้อมูลนั้นกว้างขึ้น เอาข้อมูลแต่ละภาษามาแปลได้
การศึกษา
- มัธยม สายวิทย์หรือสายศิลป์ หรือปวช. หรือ ปวส. สาขาที่เกี่ยวข้องสามารถเข้าศึกษาโดยการสอบคัดเลือก ตามเงื่อนไขของแต่ละสถาบัน
- ปริญญาตรี ศึกษาคณะอักษรศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือคณะศิลปศาสตร์ ใช้เวลาเรียน 4 ปี วุฒิการศึกษา อักษรศาสตรบัณฑิต (อ.บ.) หรือศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.)
- รายวิชาที่เลือกเรียนได้
รายวิชาภาษา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส ภาษาเยอรมัน ภาษาอิตาเลียน ภาษาสเปน ภาษาโปรตุเกส ภาษารัสเซีย ภาษาจีน ภาษาญี่ปุ่น ภาษาเกาหลี ภาษาบาลีสันสกฤต ภาษามาเลย์
- มหาวิทยาลัยที่เปิดสอน
- คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
- คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่โจ้
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยนราธิวาสราชนครินทร์
- คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนครพนม
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
- คณะศิลปศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง
- คณะศิลปศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
- คณะศิลปศาสตร์ คณะสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
- คณะศิลปศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
- สำนักวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
- สาขาวิชาศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
- คณะมนุษยศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาการจัดการ คณะศิลปศาสตร์และวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
- คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุดรธานี
- คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนครศรีอยุธยา
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยสยาม
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต
- คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย
- คณะศิลปศาตร์ มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ
- คณะมนุษยศาสตร์และประยุกต์ศิลป์ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย
ผู้ที่จะประกอบอาชีพนักเขียนออนไลน์ จะต้องศึกษาหาความรู้อยู่เสมอ ควบคู่กับการพัฒนาทักษะต่างๆ ให้พร้อมอยู่ตลอด หมั่นฝึกฝนเขียนให้ได้หลายๆ แนว อ่านให้ได้หลายภาษา เพราะจะทำให้ได้เปรียบคู่แข่ง
Hard Skill
- หมั่นศึกษาเรื่องการใช้คำ ข้อความ เขียนให้ถูกต้องตามหลักไวยากรณ์ โดยจะต้องอ่านให้มาก ดูงานคนอื่นๆ หรือหาไอเดียอยู่เสมอ
- เมื่อคิดงานอะไรออก ให้จดไว้ทันที ไม่ว่าจะเป็นข้อความ ออกแบบภาพประกอบ เพราะอาจกลายเป็นท่อนฮุกหรือเป็นรูปภาพที่น่าจดจำของบทความนั้นๆ ได้เลย
- อ่านหนังสือหรือบทความต่าง ๆ ให้มาก อาจเริ่มจากเรื่องราวที่ตนเองสนใจก่อนก็ได้ เพราะนอกจากจะเพิ่มพูนความรู้แล้ว การอ่านจะช่วยให้เราเข้าใจวิธีการเล่าเรื่องของนักเขียนที่หลากหลาย และคุ้นเคยกับสำนวนการเขียนแต่ละแบบด้วย
- พัฒนาทักษะด้านการตลาด เพราะเป็นสิ่งที่ต้องควบคู่กับการทำงานอาชีพ นักเขียนออนไลน์
Soft Skill
- ลองฝึกให้เป็นคนช่างสังเกต ช่างสงสัย กับผู้คนและเกตุการณ์ต่างๆ เพราะสามารถกลายมาเป็นส่วนหนึ่งของงานเขียนได้
- ฝึกทักษะการสื่อสาร การพูดคุยกับผู้คนใหม่ ๆ เพราะในหลาย ๆ ครั้ง งานเขียนเกิดจากการสัมภาษณ์ผู้คนแปลกใหม่หลากหลายอาชีพ
กิจกรรมต่างๆ
- หากมีโอกาสแนะนำให้เข้าค่ายอบรมนักเขียน ซึ่งมีอยู่ด้วยกันหลาย ๆ ค่าย มีทั้งที่จัดโดยรัฐ เอกชน เป็นข้อดีคือได้ใกล้ชิดกับนักเขียนมืออาชีพ ได้เจอเพื่อนร่วมค่ายแลกเปลี่ยนความคิด ได้มุมมองใหม่ ๆ เช่น ค่ายบางจากสร้างนักเขียนเยาวชน, ค่ายลายลักษณ์วรรณศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ, ค่ายบ่มเพาะนักเขียนหน้าใหม่, ค่าย TK young Writer, ค่ายนิตยสารสารคดี, ค่ายสารคดีสำรวจโลก, ค่าย Young Writer Camp, ค่ายนักเขียนสัญจร
- ประลองฝีมือตัวเองอยู่บ่อย ๆ โดยการเขียนส่งประกวดในเวทีต่าง ๆ หาข้อมูลได้จากหลายช่องทาง เช่น ประกวดงานเขียน Contest War
- หาข้อมูลการเขียนเพิ่มเติมได้ จากสมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย
- ฝึกถ่ายรูป หามุมมองใหม่ในการถ่ายรูปที่เล่าเรื่องได้
วิชาที่เรียน
ตัวอย่างวิชาสุดหินอันดับต้น ๆ ที่ต้องเจอมีดังนี้
- วิชาการใช้ภาษาไทย (Use Thai Lang) เป็นวิชาที่จะเคยเรียนมาตอนมัธยม แต่จะลึกกว่ามากๆ อาจจะคิดว่าก็ภาษาไทยที่เราใช้กันอยู่แล้ว ไม่ยาก ที่จริงแล้วยากมาก เช่น หลักการใช้ภาษาไทย ไวยากรณ์ การอ่าน การพูด การเขียน มาทั้งหมดเลย จะมีอาจารย์ที่เชี่ยวชาญแต่ล่ะด้านมาสอน ต้องเรียนแบบเข้าใจจริงๆ ถึงจะสามารถทำข้อสอบได้ เพราะข้อสอบไม่ใช่จำหลักการมาตอบ แต่เป็นการประยุกต์หลักการใช้ภาษาไทย เอามาวิเคราะห์ ตีความ ให้เหตุผล
- วิชาภาษาอังกฤษ 1 (English I) เข้มข้นมาก มีอาจารย์ที่สอนทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เนื้อหาการเรียนก็เป็นระดับ Upper Intermediate เป็นระดับที่เรียนต่อจากมัธยม จะได้เขียน Paragraph เยอะ การสอบก็จะมีแบบ Pop Quiz ซึ่งก็คือการสอบแบบไม่บอกก่อนว่ามีสอบ
- วิชาการใช้เหตุผล (Reasoning) เรียนการอ้างเหตุผลแบบนิรนัย และอุปนัย คือต้องเป็นคนคิดแบบเป็นขั้น เป็นตอน ทำไม เพราะอะไรถึงเป็นเช่นนี้ ซึ่งเวลาที่จะตอบ เหตุผลที่ยกมาก็ต้องมีที่มา เชื่อถือได้ นั่นหมายความว่าต้องอ่านเยอะมาก ติดตามอัปเดตสถานการณ์ตลอด
- วิชาอารยธรรมตะวันออก (East Civilization) อารยธรรมจะเน้นเกี่ยวกับความเป็นมาของวัฒนธรรม เช่น 4 อารยธรรม ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น อินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เนื้อหาเพียบ ต้องจำให้ได้ ข้อสอบก็มีแบบวิเคราะห์ซึ่งอาจทำให้จำสลับอารยธรรมได้
เคล็ดลับการเรียน
การจะทำอาชีพนักเขียนออนไลน์ได้นั้น คงหนีไม่พ้นการเขียน และการอ่านมากๆ เพื่อสั่งสมประสบการณ์ของตัวเอง หรือในระหว่างเรียนควรหาประสบการณ์เพิ่มเติม เช่น การไปค่ายนักเขียน ส่งผลงานประกวด เพื่อเป็นการทดสอบฝีมือของเราในแต่ละระดับ อาจจะเริ่มจาก ในโรงเรียน ขยับเป็นมหาวิทยาลัย ระดับจังหวัด ระดับประเทศ ไปจนถึงระดับโลก สิ่งนี้จะเป็นการตอกย้ำความสามารถ และรู้ว่าใช่ทางของเราหรือไม่
ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย
- ปี 1 จะยังเริ่มเรียนรวมกันโดยไม่แยกสาขาวิชาเอก โดยจะเริ่มด้วยวาพื้นฐานอย่างการใช้เหตุผล อารยธรรมตะวันออก-ตะวันตก การค้นคว้าและการเขียนรายงาน ปริทัศน์ศิลปะการละคร การใช้เหตุผล ภาษาทัศนา ภาษาอังกฤษ 1-2 และการแปลขั้นต้น
- ปี 2 เทอม 1 ยังเรียนพื้นฐานโดยนักศึกษาต้องเลือกวิชาพื้นฐานที่ใช้สำหรับการเลือกสาขาวิชาเอก (ตัวอย่างเช่น หากอยากเลือกวิชาเอกภาษาอังกฤษ จะต้องผ่านวิชาภาษาอังกฤษพื้นฐาน 1 และ 2 ตามเกณฑ์ที่กำหนด) เมื่อเข้าเทอม 2 นักศึกษาจะได้เลือกสาขาวิชาเอก โดยการเรียนจะเข้มข้นขึ้น เรียนการอ่าน การแปล วิชาวรรณกรรม วัฒนธรรมของเจ้าของภาษานั้น ๆ เพื่อศึกษาความเข้าใจของคนในชาติ
- ปี 3 เรียนศัพท์ยากแบบเจาะลึก รวมทั้งอ่านเป็นบริบทยาว ๆ
- ปี 4 เรียนเรื่องสื่อ วรรณกรรม อ่านกวี อ่านนวนิยาย ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ และสังคมศาสตร์ เพื่อเข้าใจชีวิตคนเกาหลีก่อนถึงจะเข้าใจการใช้ภาษาที่ถ่ายทอดออกมา
ค่าเทอมตลอดหลักสูตร
ประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร ประมาณ 136,000 บาท
ทุนการศึกษา
- ทุน Bitch Media
- ทุน Journalism in the Digital World
- ทุนจากหน่วยงานของรัฐ เอกชน ที่จัดประกวดงานเขียน (สำหรับผู้ที่ได้รับรางวัล ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่การประกวดกำหนด)
มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก
- นักข่าว
- นักแปล
- มัคคุเทศก์ หรือล่าม
- บรรณารักษ์
- นักพิสูจน์อักษร
- ครูสอนภาษา
- ครีเอทีฟโฆษณา
- PR หรือสื่อสารองค์กร
- พิธีกร
- ผู้ทำงานด้านเอกสารที่ต้องใช้ทักษะด้านภาษา การเขียน การสื่อสาร เช่น ผู้ประสานงาน
Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร