หลายพันล้านปีแล้วที่โลกถือกำเนิดขึ้นกลายมาเป็นบ้านของมนุษย์ และได้มอบทรัพยากรธรรมชาติต่าง ๆ มากมายให้มนุษย์ได้ใช้สอย จึงเป็นธรรมดาที่มนุษย์เราต้องทำการศึกษาเรื่องราวต่าง ๆ ของโลก โดยเฉพาะที่อยู่ใต้พื้นผิวโลก ทั้งในเรื่องโครงสร้างโลก สสารที่เป็นส่วนประกอของโลก เช่น แร่ หิน ดิน และกระบวนการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ ซี่งส่งผลต่อสิ่งแวดล้อมที่เราอาศัยอยู่ เพื่อนำองค์ความรู้มาพัฒนาชีวิตมนุษย์ให้อยู่ร่วมกับธรรมชาติอย่างสมดุล นอกจากนี้ยังสามารถคาดการณ์ภับพิบัติเพื่อวางแผนป้องกัน และอาชีพที่ทำหน้าที่ดังกล่าวมานี้ คือ นักธรณีวิทยา
ลักษณะการทำงาน
นักธรณีวิทยาต้องใช้อุปกรณ์ที่หลากหลาย ทั้งเรียบง่ายและซับซ้อนในระหว่างการทงาน บางครั้งก็ใช้ค้อนใช้สิ่วในการสกัดตัวอย่างหิน หรือเครื่องหยั่งความลึกด้วยสัญญาณเรดาร์เพื่อตรวจหาน้ำมันหรือแร่ธาตุ เมื่อพวกเขาต้องอยู่ในแลป ก็จะมีเครื่องเอ็กซเรย์ และเครื่องจุลทัศน์เพื่อตรวจสอบสารเคมีและโครงสร้างทางฟิสิกส์ของตัวอย่างหินที่เก็บได้จากการสำรวจ นอกจากนี้ยังต้องจัดเก็บข้อมูลจากอุปกรณ์การสำรวจระยะไกล และระบบสารสนเทศทางภูมิศาสตร์เพื่อวิเคราะห์ข้อมูล
ขั้นตอนการทำงาน
- วางแผนและจัดการการออกสำรวจพื้นที่ภาคสนาม เพื่อเก็บตัวอย่างสิ่งที่ต้องการทำมาวิจัยตรวจสอบ (ตัวอย่างเช่น แร่ หิน)
- วิเคราะห์ข้อมูลจากแหล่งข้อมูลจากที่มาต่าง ๆ อย่างภาพถ่ายทางอากาศ ข้อมูลจากการเจาะสำรวจหลุมธรณี ตัวอย่างแร่หิน หรือข้อมูลอื่น ๆ ที่ได้รับ เพื่อประเมินชั้นการทับถม ขนาด และแหล่งที่ขุดพบ
- จัดการทดลองและเก็บตัวอย่างที่ได้ โดยทำทะเบียนไว้อย่างเป็นระบบ
- สร้างแผนที่หรือแผนผังทางธรณีวิทยา
- รวบรวมข้อมูล และเขียนสรุปผลรายงานการสำรวจหรือการวิจัยทางวิทยาศาสตร์
- นำเสนองานแก่ลูกค้า เพื่อนร่วมทีม หรือกลุ่มคนทั่วไปที่อาจไม่มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ให้เข้าใจได้ง่าย
- หมั่นติดตามและวิเคราะห์การค้นพบและงานวิจัยของนักวิทยาศาสตร์หรือนักธรณีวิทยาท่านอื่น ๆ เพื่อเพิ่มเติมความรู้
สถานที่ทำงาน
- งานกลางแจ้ง / ภาคสนาม / นอกสถานที่ โดยขึ้นอยู่กับสายงานย่อยของนักธรณีวิทยาด้วย หากอยู่ในสายงานปิโตรเลียม อาจมีการต้องเดินทางไปยังจุดขุดเจาะกลางทะเล หรือเป็นนักธรณีวิทยาที่ต้องทำงานกับหิน แร่ อาจจะต้องเดินไปสำรวจตามพื้นที่กลางแจ้งต่าง ๆ ขึ้นเขาลงห้วย หรือทำงานในเหมือง เป็นต้น
- ห้องทดลองหรือห้องวิจัย หลังจากการออกภาคสนาม นักธรณีวิทยาอาจมีการเก็บตัวอย่างทรัพยากรใด ๆ ก็ตาม มาทำการตรวจสอบ วิจัย ทดลอง ตั้งสมมุติฐานเพื่อสรุปข้อมูลแล้วนำเสนอต่อไป
- สำนักงานประจำองค์กร งานส่วนอื่นๆ ของนักธรณีวิทยาจะเป็นงานด้านเอกสาร การประชุม ทำรายงานและพูดคุยกับลูกค้า กลุ่มผู้บริหารที่จะนำงานวิจัยหรือการวิเคราะห์ข้อมูลของเราไปทำงานต่อด้วย
ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
- นักธรณีวิทยาหรือนักวิทยาศาสตร์ท่านอื่น ๆ บางครั้งอาจต้องทำงานร่วมกับนักธรณีวิทยาด้วยกันซึ่งอาจจะมีความถนัดหรือเชี่ยวชาญในเรื่องที่ต่างกันมาร่วมทำงานกับทีมด้วย
- เจ้าหน้าที่ ช่างเทคนิคในห้องวิจัย พวกเขาจะทำหน้าที่สนับสนุนการทำงานของนักธรณีวิทยาในการเป็นผู้ช่วยในการทดสอบ จดบันทึกรายงานทางวิทยาศาสตร์
- เจ้าหน้าที่ภาครัฐ บ่อยครั้งที่การทำงานของภาครัฐ ในการกำหนดนโยบายในการพัฒนาต่าง เช่นการสร้างสาธาณูปโภคขนาดใหญ่ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมได้ ๆ จึงต้องอาศัยความรู้ความสามารถของนักธรณีวิทยาที่จะให้คำปรึกษาในการสร้างหรือพัฒนาสิ่งต่าง ๆ รวมทั้งคาดการณ์เรื่องภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นด้วย
- ถือเป็นอาชีพที่ได้สร้างสมดุลระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติเพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีและยั่งยืน
- ได้ถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์ต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อม และเนื่องจากได้ใช้พื้นฐานทางวิชาวิทยาศาสตร์ จึงสามารถต่อยอดไปด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติสาขาอื่นได้ง่าย
- นักธรณีวิทยาจึงเป็นอาชีพที่เป็นที่ต้องการมากขึ้น ในโลกที่สิ่งแวดล้อมกำลังเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วจากฝืมือมนุษย์
- สำหรับผู้ที่ชอบผจญภัย ทำงานกลางแจ้ง นี่ถือเป็นอาชีพที่จะไม่ทำให้เราอยู่แต่กับสถานที่ซ้ำซากจำเจ แต่จะได้สำรวจท่องโลกไปตามแหล่งธรรมชาติต่าง ๆ
- การออกสำรวจแต่ละครั้ง อาจจะต้องเจอปัจจัยรอบด้านที่ทำให้งานไม่ประสบผลสำเร็จ ดังนั้นขั้นตอนการทำงานจึงไม่ค่อยแน่นอน
- เนื่องจากการทำงานภาคสนามทำให้ต้องเดินสำรวจและใช้กำลังร่างกายค่อนข้างเยอะ นอกจากนี้ยังอาจเสี่ยงอันตรายจากธรรมชาติที่ไม่แน่นอนด้วย
- มีความสนใจด้านวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ
- ชอบทำงานกลางแจ้ง ออกทำงานภาคสนาม
- มีความสามารถพื้นฐานในการออกภาคสนามเป็นเวลายาวนาน อาทิ การตั้งแคมป์ พายเรือ เป็นต้น
- ร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์
- ช่างสังเกต
- การคิดเชิงวิพากษ์ (critical thinking) โดยทักษะเหล่านี้ต้องนำไปใช้กับการวิเคราะห์ หาคำตอบ การสังเกตการณ์และการคาดการณ์สถานกาณ์ภับภัยพิบัติต่าง ๆ
- การสื่อสาร ทั้งการทำรายการ การทำงานวิจัย รวมทั้งการอธิบายให้คนทั่วไปที่ไม่ได้มีพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เข้าใจ ล้วนเป็นการสื่อสารสารทั้งการฟัง พูด และเขียนที่นักธรณีวิทยาควรมีเป็นพื้นฐาน
- การแก้ปัญหาตัดสินใจ นักธรณีวิทยาต้องทำงานที่ซับซ้อนและท้าทาย ดังนั้นหลายครั้งที่ข้อมูลการวิจัยและผลการสำรวจทางธรรมชาติ ต้องทำให้นักธรณีวิทยาต้องตัดสินใจแก้ปัญหา เพื่อให้ข้อมูลแกทีมงานในการวางแผนดำเนินการต่อไป
Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร