นักพัฒนาแอพลิเคชั่น
นักพัฒนาแอพลิเคชั่น
นักพัฒนาแอพลิเคชั่น
นักพัฒนาแอพลิเคชั่น
รู้จักอาชีพ > นักวิเคราะห์ (Think) > นักพัฒนาแอพลิเคชั่น

       อาชีพ Application Developer หรือนักพัฒนาโปรแกรมประยุกต์ หรือที่เรียกกันอย่างคุ้นหูว่า Application  
พวกเขาคือผู้สร้างและพัฒนา Application/Software ต่าง ๆ ให้เราใช้งานกันในชีวิตประจำวัน ซึ่งในปัจจุบันมีการใช้กันทั้งกันเพื่อประโยชน์ทงธุรกิจ การเงินการธนาคาร อย่าง Mobile Banking ธุรกิจด้านคมนาคมที่ใช้เรียกรถโดยสารสาธารณะ หรือใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างบุคคลอย่าง Social Application มากมาย โดยพวกต้องเขียนออกมาในรูปแบบของโปรแกรม เพื่อให้ตรงความต้องการของลูกค้าและความต้องการ รวมทั้งต้องสะดวกและง่ายกับผู้ใช้งานด้วย อาชีพนี้จึงถือเป็นสายงานที่ใกล้เคียงกับ Programmer, Software Engineer, Software Developer ฯลฯ เพียงแต่จะเน้นเฉพาะด้าน Application บนมือถือมากกว่าเท่านั้น 

นักพัฒนาแอพลิเคชั่น (Application Developer)

นักพัฒนาแอพลิเคชั่น (Application Developer)

นักพัฒนาแอพลิเคชั่น (Application Developer)

ลักษณะงาน 

       Application Developer จะรับโจทย์เพื่อออกแบบ พัฒนาและสร้างสรรค์ Application ขึ้นให้ตรงตามโจทย์ของงาน หรือของผู้ว่าจ้าง โดยสิ่งสำคัญคือการเขียนโปรแกรม จะต้องใช้ภาษาสำหรับพัฒนาโปรแกรม (Programming Language) ที่มีอยู่หลายภาษา ให้ได้ศึกษาและเลือกใช้งานตามความสมสำหรับการพัฒนาโปรแกรมในแต่ละงานด้วย
       งานสายนี้ส่วนใหญ่จะแบ่งสายงานตามประเภทของโปรแกรมที่ต้องพัฒนาขึ้นมา เช่น Mobile Developer, Website Developer และในแต่ละสายงาน ก็อาจจะมีหน้าที่ที่แบ่งย่อยลงไปอีก เช่น งานด้าน Website ก็จะมีงานของฝั่ง Frontend Developer ที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนา UX/UI ให้เป็นไปตาม Design ที่ UX/UI Designer ได้ออกแบบไว้ใและเป็นการจัดการรับข้อมูลจาก Frontend  เพื่อมาแสดงผลให้กับผู้ใช้งาน หรือรับข้อมูลจากผู้ใช้งาน เพื่อส่งไปให้ทาง Backend (ระบบหลังบ้าน)  จัดการประมวลผลและเก็บข้อมูลใน Database งานของ Backend Developer ที่จะเกี่ยวข้องกับระบบหลังบ้าน หรือการจัดการกับข้อมูล ที่ได้รับจาก Frontend และการส่งข้อมูลให้ทาง Frontend นำไปแสดงผล
       ในแต่ละสายงานที่ต้องแบ่งออกจากกัน เพราะส่วนใหญ่แล้วแต่ละสายงานจะมี Programming Language และ Tools ที่ใช้งานแตกต่างกัน (ตามความเหมาะสมของงาน) Developer แต่ละคนก็จะเชี่ยวชาญในสายงานที่แตกต่างกันไป แต่ก็อาจจะมีคนที่เข้าใจในหลาย ๆ ด้าน สามารถทำงานได้ในหลาย ๆ สายงานได้ด้วยเช่นกัน

ขั้นตอนการทำงาน 

  • เก็บข้อมูล สอบถาม Requirement ของโปรแกรมที่ต้องการ ขอข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็น รวมถึง Design ที่ทาง UX/UI Designer ออกแบบไว้
  • นำข้อมูลทั้งหมดที่ได้มาคิด ออกแบบระบบ วางแผนการทำงานร่วมกับทีม Dev ด้วยกัน ส่วนใหญ่แล้วจะเป็นการแบ่งงานใหญ่ออกมาเป็นเรื่องย่อย ๆ ให้แต่ละคนหยิบไปทำกัน แล้วเอามารวบรวมประกอบกันอีกครั้ง
  • ทำการทดสอบผลลัพธ์ ว่าสิ่งที่ได้ทำไปนั้นตรงตามที่ต้องการหรือไม่ หลังจากมีส่วนใดส่วนหนึ่งเสร็จแล้ว ก็จะมีการ Update กับทาง ลูกค้า หรือ Product Owner ให้เข้ามาตรวจสอบอีกครั้งหนึ่ง และเริ่มทำงาน Task อื่น ๆ เพื่อส่งมอบต่อไป จนกระทั่งสมบูรณ์ทั้ง Project

สถานที่ทำงาน 

  • ออฟฟิศหรือสำนักงาน หากเป็นพนักงานประจำขององค์กร สถานที่ประจำก็คือ ออฟฟิศของคุณเอง แต่หากเป็นคุณทำงานอิสระก็สามารถทำงานระยะทางไกลจากที่บ้านได้ โดยไม่ต้องเข้าออฟฟิศ ขึ้นอยู่กับการตกลงกันของทุกฝ่าย 

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย

       รูปแบบการทำงานของ Developer จะมีทั้งแบบที่ทำด้วยตัวคนเดียว และแบบที่ทำงานร่วมกันเป็นทีม โดยจะแบ่งงานกันตามสายงานย่อยที่ตนเองรับผิดชอบ ส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับระบบการทำงานที่วางไว้

  • UX/UI Designer       ผู้ออกแบบ UX/UI หน้าตาการใช้งานโปรแกรมต่าง ๆ ให้เป็นแนวทางกับ Developer นำไปพัฒนาโปรแกรมต่อตาม Design ที่วางไว้
  • Software Tester / QA       เป็นคนที่ช่วยทดสอบโปรแกรม, ระบบ ที่ Developer ได้พัฒนาไว้ ก่อนที่จะส่งมอบงาน เป็นคนที่ช่วยตรวจสอบคุณภาพงาน และเมื่อพบข้อผิดพลาด ก็จะแจ้งให้ทาง Developer กลับไปแก้ไขอีกครั้ง
  • Customer / Project Owner / Project Manager / System Analysis       เป็นคนที่พูดคุย บอกถึงความต้องการ Requirement ต่าง ๆ ของโปรแกรม เพื่อให้ Developer ทำงาน พัฒนาโปรแกรมออกมาตาม Requirement ที่ได้รับ
  • SA อาจจะเป็นคนที่ลงรายละเอียดทางเทคนิค วางระบบ ออกแบบโครงสร้างให้ Developer เขียนตามแนวทางที่วางไว้
  • Project Owner/Project Manager อาจจะเป็นเหมือนตัวแทนที่จะพูดคุยกับลูกค้า และคอยประสานงานต่างๆ ให้

ทางเลือกอาชีพอื่น ๆ 

  • สายงาน Cyber Security
  • สายงาน Machine Learning
  • SALE ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

เงินเดือน นักพัฒนาแอพลิเคชั่น

ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโตในสายอาชีพ 

ตรงสาย
       เริ่มต้นจาก Developer ระดับ Junior แล้วจึงเลื่อนขั้นเป็น Senior และ Team Lead ตามลำดับ โดยระดับเงินเดือนจะขึ้นอยู่กับความสามารถและประสบการณ์ในการทำงาน
ไม่ตรงสาย
       อาชีพสายข้างเคียงที่มีความเกี่ยวข้อง
       สายการบริหาร Project Manager / Scrum master ฯลฯ
       สายการตลาดและการวิเคราะห์ Marketing / Business Analyst / Data Scientist ฯลฯ
       หรือใครจะเปิดกิจการเป็นของตัวเองก็ได้เช่นกัน

เงินเดือนโดยประมาณ 

ระดับ Junior จะอยู่ที่ประมาณ 18,000 – 50,000 บาท

ระดับ Senior จะอยู่ที่ประมาณ 40,000 – 80,000 บาท

ระดับ Team Lead / Manager จะอยู่ที่ประมาณ 60,000 – 100,000 บาท ขึ้นไป

ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับโครงสร้างบริษัท รวมถึงเป็นองค์กรสัญชาติไทยหรือต่างชาติด้วย

 

การแข่งขันและความต้องการของตลาด

ในปัจจุบันโลกได้ก้าวเข้าสู่ยุคออนไลน์ ทั้งยังมีการพัฒนาเทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อช่วยอำนวยความสะดวก ซึ่งสิ่งเหล่านี้ล้วนต้องมีวิทยาการของ Application เข้ามาเกี่ยวข้อง ทำให้ความต้องการนักพัฒนาโปรแกรมและ Application ในตอนนี้มีค่อนข้างมาก ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ และจะมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต สิ่งสำคัญคือการค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อตามความต้องการของตลาดและโลกให้ทันอยู่เสมอ

  • มีโอกาสได้พัฒนาตัวเองตลอดเวลา เพราะเทคโนโลยีและกระแสโลกเปลี่ยนไปตลอด ต้องคอยค้นคว้าหาความรู้ใหม่ ๆ อยู่เสมอเพื่อตามให้ทัน
  • ค่าจ้างและผลตอบแทนค่อนข้างดี มีโอกาสเติบโตสูง
  • ความต้องการของตลาดสูง หางานง่าย ทั้งในและนอกประเทศ
  • เป็นสายอาชีพที่ไม่เน้นวุฒิ มองผลงาน ความสามารถ และประสบการณ์เป็นหลัก
  • ต่อยอดได้หลากหลาย ทั้งตรงสายและไม่ตรงสาย

 

  • มีโอกาสที่จะต้องทำงานในภาวะกดดันบ่อย ๆ
  • เนื้องานมีความเปลี่ยนแปลงตามกระแสโลกที่หมุนไปอย่างรวดเร็ว ต้องคอยวิ่งตามให้ทันอยู่เสมอ
  • เสี่ยงต่อภาวะออฟฟิศซินโดรม และมีปัญหากับสายตา เนื่องจากต้องนั่งอยู่หน้าจอคอมพิวเตอร์เป็นเวลานาน
  • รักการเรียนรู้และพัฒนาตนเองอยู่เสมอ สำคัญที่สุดในการทำงานสายโปรแกรมและเทคโนโลยี เพราะเทคโนโลยีต่าง ๆ นั้นมีการเปลี่ยนแปลงพัฒนาไปอย่างรวดเร็ว มีองค์ความรู้ใหม่ ๆ ให้เราต้องศึกษาและเรียนรู้อยู่ตลอดเวลา หยุดนิ่งไม่ได้
  • มีความอดทนและมีความละเอียดรอบคอบ ใส่ใจรายละเอียดเล็ก ๆ น้อย ๆ
  • ทำงานภายใต้ภาวะกดดันได้ มีความยืดหยุ่น พร้อมรับความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา
  • มีความคิดสร้างสรรค์ เพื่อสร้างความแปลกใหม่ให้กับการพัฒนาแอพลิเคชั่นและเข้าถึงผู้ใช้ในยุคดิจิทัลที่มีคู่แข่งมากมาย 
  • มีมนุษยสัมพันธ์ดี เพราะต้องประสานงานกับทีมหลายฝ่าย การเข้ากับผู้อื่นได้จะยิ่งทำให้การทำงานราบรื่น

 

  • การใช้คอมพิวเตอร์ และความรู้เกี่ยวกับภาษาต่าง ๆ ที่ใช้ในการเขียนโปรแกรม
  • การคิดวิเคราะห์ ต้องวิเคราะห์และทำคามเข้าใจถึงความต้องการของผู้บริโภค เพื่อตอบสนองความต้องการตลาดให้ได้ 
  • การแก้ปัญหา สามารถมองเห็นต้นเหตุและทางแก้ไขปัญหาได้ เพื่อนำมาเขียนโปรแกรมที่สามารถตอบโจทย์ความต้องการนั้น ๆ ได้
  • ภาษาอังกฤษ อย่างน้อยควรมีสกิลการอ่านภาษาอังกฤษได้ เพื่อให้สามารถศึกษาบทความต่าง ๆ เรียนรู้ด้วยตัวเองได้ ซึ่งองค์ความรู้ในด้านนี้นั้นมักจะเป็นบทความภาษาอังกฤษเสียส่วนมาก
  • การสื่อสาร ในการอธิบายขั้นตอนการทำงาน หรือสื่อสารให้ลูกค้าเข้าใจวิธีการคิด การใช้ให้ถูกต้อง 
 เรียน พัฒนาแอพลิเคชั่น

การศึกษา  

     หากต้องการเรียนสายพัฒนาและเขียนโปรแกรมโดยตรงควรเลือกเรียนสายการเรียนวิทย์-คณิตในระดับมัธยมปลาย 
สำหรับคณะและสาขานั้นจะมีชื่อเรียกต่างกันไปในแต่ละมหาวิทยาลัย เช่น

  • สาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์
  • สาขาวิศวกรรมซอฟต์แวร์
  • สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ

       ทั้งนี้ ผู้ที่เรียนสายอื่นมาก็มีโอกาสที่จะศึกษาค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง หรือเข้าคอร์สต่าง ๆ และฝึกฝนจนสามารถเป็น Application Developer ได้เช่นกัน

 

Hard skills 

  • ศึกษาความรู้พื้นฐานทางภาษาที่ใช้ในการเขียนและพัฒนาโปรแกรมต่าง ๆ ที่สนใจ และหมั่นฝึกฝนเสมอ
  • พัฒนาทักษะด้านการสื่อสาร เพราะในการทำงานนั้นต้องติดต่อกับผู้คนหลายฝ่าย ควรจะปรับตัวเข้าหาผู้อื่นและสามารถทำงานเป็นทีมได้ในระดับหนึ่ง
  • พัฒนาไอเดียและความคิดสร้างสรรค์ มีจินตนาการอยู่เสมอ ซึ่งจะช่วยในการเชื่อมโยงความคิดและเห็นภาพของสิ่งที่โจทย์ต้องการได้ง่ายขึ้น

Soft skills

  • หัดตั้งคำถามและศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง ฝึกมองภาพรวมและวิเคราะห์ปัญหา
  • ตามกระแสของโลกให้ทัน เพื่อให้เข้าใจความต้องการของตลาดและเทรนด์ในปัจจุบัน
  • ฝึกบริหารเวลาให้ดี การวางแผนและแพลนสิ่งที่ต้องทำล่วงหน้าจะช่วยจัดระเบียบความคิดและตารางงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรมต่าง ๆ

  • ลองเข้ามาฝึกงานกับโครงการ ทำ ก่อน ฝัน ของ ทรูปลูกปัญญา ที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ลองทำงานจริงกับมืออาชีพ 
  • เข้าร่วม Stack Overflow คอมมิวนิตี้ที่รวบรวม Q&A เป็นเหมือนศูนย์รวมเหล่า Developer ทุกสาขาไว้ https://stackoverflow.com/
  • เข้าร่วมกลุ่มต่าง ๆ ในโซเชียลเน็ตเวิร์ค เช่นใน Facebook ก็จะมีกลุ่มสำหรับพูดคุยแลกเปลี่ยนเรื่องราวความคิดเห็นและองค์ความรู้อยู่มากมายเช่นกัน
  • การทำแอปพลิเคชั่นสำหรับไอโฟน หลักสูตรออนไลน์ของมหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด (Stanford University) http://web.stanford.edu/class/cs193p/cgi-bin/drupal/ 
  • แบบฝึกหัดสำหรับการทำกราฟิกเบื้องต้น http://unity3d.com/unityhttp://www.adobe.com/devnet/games.html 
  • ออกแบบ User Interface หลักสูตรออนไลน์ มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (Harvard University) http://www.extension.harvard.edu/courses/course-formats/video-course-guidelines 
  • ความรู้สำหรับการเขียนโปรแกรมเบื้องต้น หลักสูตรออนไลน์เข้มข้น มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด (HarvardUniversity)  http://www.extension.harvard.edu/open-learning-initiative/intensive-introduction-computer-science  และ https://www.edx.org/course/introduction-computer-science-harvardx-cs50x#.VJhZaV4AFA 
  • การเขียนโปรแกรม Java เบื้องต้น หลักสูตรออนไลน์ มหาวิทยาลัยการ์โลสที่สามแห่งมาดริด (Universidad Carlos III de Madrid) https://www.edx.org/course/introduction-programming-java-part–ucmx-it–1x#.VJhZvl4AFA 

คำบอกเล่าจากคนในสายอาชีพ
       "งานของ Developer ก็ตามชื่อเลยคือ เป็นคนพัฒนา Application ให้ทุกคนได้ใช้งานกัน พร้อมๆ ไปกับ การพัฒนาตัวเราเองอย่างสม่ำเสมอ พร้อมที่จะเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ตลอดเวลา โดยไม่หยุดนิ่ง"
                                                                                                                                   ทศพล ไชยวงศ์ Application Developer

 

ติดตามเรื่องราวของอาชีพนักพัฒนาแอพลิเคชั่นได้ใน "รายการ I AM : APPLICATION DEVELOPER นักพัฒนาแอปพลิชั่น"

วิชาเรียน 
       คนที่มาทำงานเป็น Developer ส่วนใหญ่จะจบมาจากคณะวิทยาศาสตร์ (วิทยาการคอมพิวเตอร์) หรือไม่ก็จากคณะวิศวกรรมศาสตร์ (วิศวะคอมพิวเตอร์ หรือ วิศวกรรมซอฟต์แวร์) ซึ่งในแต่ละคณะ/ภาควิชา ก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันเล็กน้อย แต่โดยรวมแล้ว วิชาหลัก ๆ ที่ทุกคณะจะได้เรียนเหมือนกัน จะมีดังนี้

       1.วิชาพื้นฐานการเขียนโปรแกรม (Computer Programming) 
       สำหรับคนที่ไม่เคยศึกษาการเขียนโปรแกรมาก่อนจะเริ่มต้นจากวิชานี้เป็นวิชาแรก ที่จะเป็นการทำความรู้จักว่าการเขียนโปรแกรมคืออะไร

       2. Data Structure and Algorithm
       วิชานี้ เป็นการสอนแนวคิดในการวิเคราะห์และแก้โจทย์ปัญหาต่าง ๆ โดยใช้การเขียนโปรแกรมเข้ามาเป็นตัวช่วยในการเรียนรู้ วิชานี้จะช่วยพัฒนาระบบความคิดที่เข้าใจถึงการเขียนโปรแกรม เพื่อแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และเห็นภาพการทำงานการเขียนโปรแกรมที่ชัดเจนขึ้น

       3. Database System / Design
       การเขียนโปรแกรมส่วนใหญ่จะมีการทำงานที่เกี่ยวข้องกับระบบฐานข้อมูล (Database) อยู่เสมอ
วิชานี้ก็จะเน้นในเรื่องของการจัดการกับ Database เป็นหลัก และสอนให้เราสามารถออกแบบ Database สำหรับเก็บข้อมูลในการใช้งาน เขียนโปรแกรมต่าง ๆ ได้ด้วย

รายละเอียดย่อยในวิชาอื่น ๆ จะแตกต่างกันในแต่ละคณะ หรือในแต่ละมหาวิทยาลัย 

       วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ จะแตกต่างตรงที่ภาควิชานี้ ไม่ได้มีเป้าหมายที่จะให้จบออกมาเพื่อเป็น Developer แต่จะพยายามให้รู้จักกับภาพรวมของการทำงานที่เกี่ยวข้องกับคอมพิวเตอร์ในทุก ๆ ด้านมากกว่า เช่นในด้านของ Network, Computer Architechure ฯลฯ วิชาเรียนจะค่อนข้างกว้าง แต่จะไม่ลงลึกไปทางใดทางหนึ่งเลย สาขานี้มีทางเลือกอาชีพที่หลากหลายมาก ไม่ได้เจาะจงว่าจะมาทำงานแค่ในด้านของ Software Development

       วิทยาการคอมพิวเตอร์ จะเป็นสายทฤษฎี มีรายวิชาที่ค่อนข้างเน้นทางด้านการเขียนโปรแกรมหลายวิชามาก จะเจาะลึกการเรียนภาษาโปรแกรมแต่ละตัว ลงรายละเอียดทาง Concept ต่าง ๆ หรือเป็น Programming ในแต่ละด้าน เช่น Web Programming, Game Programming, Programming in Business ฯลฯต ซึ่งตรงสายกับการมาทำงาน Developer มากที่สุด จะได้เรียนรู้ในเชิงลึกเกี่ยวกับการเขียนโปรแกรมตลอด 4 ปีที่เรียน

       วิศวกรรมซอฟต์แวร์ ที่เป็นสาขาที่เพิ่งเกิดใหม่ไม่นานมาก น่าจะได้เห็นกระบวนการต่าง ๆ ที่ใกล้เคียงกับการทำงานจริงมากที่สุด เพราะในขณะที่วิทยาการคอมพิวเตอร์ จะเป็นทางสาย Technical และทฤษฎี  แต่วิศวกรรมซอฟต์แวร์ จะเน้นในด้านกระบวนการทำงาน ของสายงานพัฒนาซอฟต์แวร์เป็นหลักเลย เช่นในเรื่องของการวิเคราะห์และออกแบบระบบ, กระบวนการทดสอบซอฟต์แวร์, กระบวนการในการติดตั้ง และบำรุงรักษาซอฟต์แวร์ ฯลฯ สายนี้จะมีความใกล้เคียงกับวิทยาการคอมพิวเตอร์ อาจไม่ได้ลงลึกทางทฤษฎี หรือทาง Technical มากเท่า แต่ได้เห็นภาพที่ใกล้เคียงกับกระบวนการทำงานจริง ดังนั้นอาจผันตัวไปในทาง Project Management มากกว่า เพราะเป็นคนที่เข้าใจทั้ง Technical ระดับหนึ่ง และก็เข้าใจกระบวนการทำงาน ทำให้สามารถเป็นคนกลางในการประสานงานได้ดี

เคล็ดลับการเรียน 
       ทักษะและศาสตร์ของการ coding หรือการเขียนโปรแกรมต่าง ๆ นั้นจะเชี่ยวชาญได้ต้องมีการหมั่นฝึกฝน และแสวงหาความรู้ใหม่ ๆ เพื่อให้ทันต่อยุคสมัยและสถานการณ์อยู่เสมอ เพราะเทคโนโลยีในปัจจุบันนั้นมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว จึงต้องหมั่นตามข่าวสารและอัปเดทให้ทันโลก หมั่นทดลองตั้งคำถามในสิ่งที่สงสัย ตั้งโจทย์ และทดลองหาวิธีแก้ โดยศึกษาเพิ่มเติมจากแหล่งต่าง ๆ หรือถามจากผู้มีความรู้ หลักสำคัฯคือต้องมีความตั้งใจ กระตือรือร้นในการเรียนรู้ ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ มีความรับผิดชอบในหน้าที่ และแบ่งเวลาให้เป็น

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย 
      ปี 1  จะยังคงเรียนวิชาพื้นฐานร่วมกับคณะอื่น ไม่แบ่งแยกสาขา มีวิชาคำนวณทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ และการเขียนโปรแกรมระดับพื้นฐาน
       ปี 2  เริ่มลงลึกมากขึ้น จะได้ทดลองเรียนและค้นพบความชอบหรือความถนัดของตัวเอง หลายคนพบแนวทางของตนและใช้เวลาว่างทำโปรเจคส่วนตัวเพื่อสั่งสมประสบการณ์ในการทำงานจริง
       ปี 3  จะมีวิชาสำคัญ ๆ หลายตัว และจะได้เริ่มเลือกสายที่จะไปต่อ เริ่มเห็นความชัดเจนในสายงานของแต่ละคนมากขึ้น
       ปี 4  ต่อยอดสิ่งที่เรียนมาในปี 3 จะได้เลือกสายที่คิดว่าเหมาะกับตนเอง ลงลึกในด้านนั้นยิ่งขึ้น และเริ่มทำโปรเจคจบ

 

อยากทำความรู้จักกลุ่มคณะด้านนี้มากขึ้น สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ [รีวิว] มาทำความรู้จัก คณะ ICT ม.มหิดล

ค่าเทอมตลอดหลักสูตร
       สำหรับหลักสูตรระดับปริญญาตรีในมหาวิทยาลัย
       ม.รัฐบาล ค่าเทอมโดยประมาณอยู่ที่ 200,000 – 400,000 บาท 
       ม.เอกชน ค่าเทอมโดยประมาณอยู่ที่ 280,000 – 500,000 บาท

ทุนการศึกษา
       สามารถตามข่าวทุนการศึกษาในแต่ละปีได้ตามสื่อต่าง ๆ เช่น
       https://www.scholarship.in.th
       https://worldscholarshipforum.com

มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก 

  • Columbia University (No. 1 in problem solving)
  • University of Toronto (No. 1 in language proficiency)
  • University of Southern California (No. 1 in both data structures knowledge and CS fundamentals)
  • UC Irvine (No. 2 in problem solving)
  • Northeastern University (No. 2 in language proficiency)
  • Carnegie Mellon (No. 2 in both data structures knowledge and CS fundamentals)

       (อ้างอิง https://www.techrepublic.com/article/the-5-colleges-that-produce-the-best-developers/ )
โดยมหาวิทยาลัยในประเทศสหรัฐอเมริกาและอินเดียค่อนข้างมีชื่อเสียงในด้านเทคโนโลยีและวิทยาการคอมพิวเตอร์ และยังมีบริษัทชั้นนำมากมายที่ตั้งอยู่ในประเทศเหล่านี้อีกด้วย

 

  • UX / UI Designer ออกแบบการใช้งานในด้านรูปแบบ หน้าตา ความสะดวก ความสวยงามของโปรแกรม
  • System Administrator / Computer Systems Analyst
  • Software Tester
  • งานสาย Cyber Security
  • งานสาย Machine Learning
  • SALE ขายอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ หรือฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ

 


Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร