พยาบาล
พยาบาล
พยาบาล
พยาบาล

       พยาบาล คืออาชีพที่เป็นผู้ช่วยเหลือดูแล รักษาพยาบาลผู้ป่วย ส่งเสริมการป้องกันปัญหาสุขภาพ ทั้งกายและใจ โดยทำงานร่วมกับแพทย์และผู้เชี่ยวชาญในด้านต่างๆ เช่น แพทย์ เภสัชกร นักวิจัย นักโภชนาการ ฯลฯ โดยพยาบาลวิชาชีพ (RN) หมายถึงผู้ที่มีใบประกอบวิชาชีพฯ ซึ่งใบรับรองนี้ได้มาโดยผ่านการสอบที่สภาพยาบาลจัดตั้งขึ้น สามารถประกอบอาชีพพยาบาลในด้านต่างๆ ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย

       พยาบาลวิชาชีพจะสวมชุดเครื่องแบบสีขาว สวมหมวกพยาบาลสีขาว มีแถบหมวกขนาดใหญ่ 1 แถบคาดอยู่ แต่บางโรงพยาบาลก็ไม่มีแถบคาด เช่น โรงพยาบาลจุฬา จะมีเครื่องหมายกาชาตสีแดงติดที่แขนเสื้อแทน

 

พยาบาล  (Nurse)

พยาบาล  (Nurse)

พยาบาล  (Nurse)

ลักษณะงาน

       อาชีพพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องมีใจรักบริการและเสียสละ เพราะงานส่วนใหญ่คือการช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย ผู้ได้รับบาดเจ็บ โดยทำการปฐมพยาบาลขั้นพื้นฐาน ประเมินและวิเคราะห์สภาพอาการ เก็บข้อมูลเบื้องต้น รวมไปถึงช่วยแนะนำส่งเสริมแนวทางการรักษาสุขภาพ ให้ความรู้ความเข้าใจในการปฏิบัติตัวและการดูแลผู้ป่วยแก่ญาติคนไข้ ซึ่งอาชีพพยาบาลสามารถแบ่งออกเป็นสาขาเฉพาะทางต่าง ๆ แยกย่อยได้อีกมากมาย เช่น

  • พยาบาลเวชปฎิบัติ คือพยาบาลผู้สามารถวินิฉัย และทำการรักษาเบื้องต้นได้ (เรียนเพิ่ม 2 ปี / เปิดคลินิกได้เหมือนหมอ) แต่ไม่ได้เจาะลึกแบบแพทย์
  • วิสัญญีพยาบาล พยาบาลที่เป็นผู้ช่วยวิสัญญีแพทย์ (หมอดมยา) ในห้องผ่าตัด โดยมีหน้าที่หลักในการช่วยวิสัญญีแพทย์ในการวางยาสลบให้คนไข้ในห้องผ่าตัด การใส่ท่อต่าง ๆ การดูและระบบไหลเวียนเลือดและระบบหายใจ ฯลฯ
  • พยาบาลจิตเวช เชี่ยวชาญการดูแลผู้ป่วยจิตเวช คอยช่วยเหลือดูแลผู้ป่วย ประเมินผล และประสานงานระหว่างผู้ป่วยกับจิตแพทย์ นักจิตวิทยา นักกิจกรรมบำบัด ญาติผู้ป่วย ฯลฯ
  • พยาบาลชุมชน หรือพยาบาลอนามัยชุมชน เน้นการให้ความรู้ด้วยศาสตร์ต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการป้องกันด้านสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็นการให้คำแนะนำ ตรวจสุขภาพ ติดตามผลอย่างต่อเนื่อง ฯลฯ
  • พยาบาลเด็ก เชี่ยวชาญการดูแลรักษาเด็ก จิตวิทยาและการรับมือกับผู้ป่วยเด็ก การส่งเสริมพัฒนาการตามวัย ให้ความรู้ความเข้าใจแก่พ่อแม่ญาติพี่น้อง เป็นต้น

ขั้นตอนการทำงาน

  • พยาบาลแผนกผู้ป่วยใน โดยทั่วไปจะมีลักษณะการทำงานที่ต้องดูแลผู้ป่วยตลอด 24 ชม. โดยแต่ละที่อาจแบ่งออกการเข้าเวรเป็น 2 - 3 กะ
  1. รับเวร การส่งต่อข้อมูลอาการของคนไข้แต่ละคน เพื่อทราบอาการของคนไข้
  2. ดูแลผู้ป่วย ให้ยาและทำหัตถการต่าง ๆ ตามแผนการรักษาของแพทย์ โดยประเมินอาการผู้ป่วย จัดการกับอาการไม่สุขสบายต่าง ๆ ดูแลความปลอดภัย ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นระหว่างการรักษา เฝ้าดูแลอย่างต่อเนื่อง และคอยสนับสนุนการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วยและครอบครัว
  • พยาบาลแผนกผู้ป่วยนอก การทำงานของพยาบาลแผนกผู้ป่วยนอกนั้นจะเน้นดูแลคนไข้ที่ไม่ต้องนอนรักษาตัว โดยดูแลให้ผู้ป่วยได้รับการตรวจจากแพทย์ ทำหัตถการต่าง ๆ เช่น ทำแผล พ่นยากรณีหายใจไม่สะดวก เป็นต้น และให้รับยากลับไปรักษาต่อที่บ้าน
  • พยาบาลเฉพาะทาง จะมีรายละเอียดแยกย่อยกันไปตามแต่ละสาขา เช่น พยาบาลห้องผ่าตัด ก็ต้องเตรียมอุปกรณ์และความพร้อมในการผ่าตัด และคอยช่วยเหลือแพทย์ผู้ทำการผ่าตัด  พยาบาลห้อง ICU จะดูแลผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ เป็นต้น

สถานที่ทำงาน

  • โรงพยาบาล สถานพยาบาลต่าง ๆ คลินิก ฯลฯ ตามแต่ละสาขาที่เลือก
  • ที่อยู่อาศัยของผู้ป่วย ในกรณีที่เป็นพยาบาลเฝ้าไข้ส่วนตัว 

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย

       สำหรับในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลนั้น ผู้ที่พยาบาลต้องทำงานด้วยหลัก ๆ คือ

  • คนไข้และญาติคนไข้ พยาบาลจะเป็นผู้ที่สื่อสารและดูแลคนไข้โดยตรง ใกล้ชิดกว่าหมอ ต้องคอยเฝ้าสังเกตอาการต่าง ๆ รวมไปถึงได้พบปะพูดคุยกับญาติคนไข้ คอยแนะนำวิธีการดูแลผู้ป่วย
  • แพทย์ พยาบาลกับแพทย์นั้นทำงานกันเป็นทีม โดยแพทย์เป็นผู้ทำการรักษา ส่วนพยาบาลนั้นจะทำการดูแลและคอยสังเกตอาการ ทำหัตถการ เช่น ให้น้ำเกลือ ทำแผล ดูดเสมหะ ให้อ๊อกซิเจน 
  • เภสัชกร คือผู้ที่ดูแลเรื่องการจ่ายยาตามที่แพทย์สั่ง ซึ่งในแผนกผู้ป่วยใน พยาบาลจะรับยาจากเภสัชกรมาจัดให้ผู้ป่วยแต่ละเคสในแต่ละมื้อ
  • ผู้ช่วยพยาบาล(PN) คอยช่วยเหลืองานพยาบาลอีกต่อหนึ่ง เช่น ช่วยเหลือในการทำแผลให้คนไข้ เช็ดตัวดูแลคนไข้ วัดสัญญาณชีพ
  • พนักงานผู้ช่วย(NA) ทำงานคล้ายผู้ช่วยพยาบาล ในขอบข่ายที่แคบกว่า
  • เวรเปล เจ้าหน้าที่เข็นคนไข้  
  • นักโภชนากร ผู้ที่ดูแลเรื่องอาหารผู้ป่วยในโรงพยาบาล การจัดอาหารประเภทต่าง ๆ ที่เหมาะสมกับผู้ป่วยแต่ละโรค เช่น ผู้ป่วยเบาหวาน โรคหัวใจ ฯลฯ
  • การเงิน เมื่อถึงเวลาที่คนไข้แอดมิทได้กลับบ้าน พยาบาลต้องสรุปรายการต่าง ๆ ส่งให้การเงินเพื่อคิดเงิน
  • นักสังคมสงเคราะห์ เวลาที่คนไข้ไม่มีเงินรักษา นักสังคมสงเคราะห์จะไปคุยเรื่องสถานภาพทางการเงิน / ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ให้

ทางเลือกอาชีพๆ

  • รับเฝ้าไข้พิเศษ เป็นพยาบาลเฝ้าไข้พิเศษหรือพยาบาลส่วนตัว
  • สายวิชาการก็สามารถไปเป็นอาจารย์พยาบาล ทำวิจัยต่าง ๆ ได้
  • เป็นเซลล์ขายเครื่องมือ อุปกรณ์ทางการแพทย์ หรือเป็นดีเทลยา
  • บริษัทประกัน จะรับพยาบาลเพื่อเป็นผู้อนุมัติการเคลมเงินประกัน ต้องมีความรู้ทั้งเรื่องโรคและเรื่องระบบของประกัน โดยจะคอยเป็นตัวกลางระหว่างรพ. คนไข้ และบริษัทประกัน
  • ทำธุรกิจเปิด Nursing Home สถานดูแลคนชรา
  • ทำงานเป็นพยาบาลประจำสถานศึกษา

เงินเดือน พยาบาล

 

ตำแหน่งและเส้นทางการเติบโต

       อาชีพพยาบาลเป็นสายงานที่มีรายละเอียดหลากหลายมากสามารถต่อยอดไปได้มากมาย เช่นการเรียนสายย่อยเพื่อเลือกสาขาเฉพาะทาง ต่อปริญญาโทและปริญญาเอก เพื่อเป็นอาจารย์ เรียนต่อแพทย์ ขึ้นเป็นผู้บริหาร รับราชการในโรงพยาบาลรัฐ หรือหากได้ภาษาก็สามารถปต่อยอดที่ต่างประเทศได้

เงินเดือน

       อาชีพพยาบาลนั้นถือเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงและใช้ประสบการณ์ รวมถึงองค์ความรู้เฉพาะทางในสาขาต่าง ๆ  รายได้ของอาชีพนี้จึงมีตัวแปรหลายอย่างร่วมกัน โดยจะมีเงินเดือน (ที่รัฐบาลกับเอกชนจะมีฐานเงินเดือนไม่เท่ากัน) รวมกับค่าใบประกอบวิชาชีพ ค่าโอที ค่าขึ้นเวร และค่าสวัสดิการเพิ่มเติมอื่น ๆ  หากขยันขึ้นเวร ในบางเดือนอาจมีรายได้รวมถึง 50,000+ บาท (ขึ้นอยู่กับสายงานและสถานที่ทำงานด้วย)

       หากเป็นพยาบาลในโรงพยาบาลเอกชน เริ่มต้นที่ 18,000 - 20,000+ บาทขึ้นไป แต่หากรับราชการเป็นพยาบาลในโรงพยาบาลของรัฐ เงินเดือนจะเริ่มต้นที่ประมาณ 15,000+ บาทขึ้นไป โดยหากได้รับการบรรจุจะถือว่าเป็นข้าราชการและมีสวัสดิการของรัฐให้ด้วย

การแข่งขันและความต้องการของตลาด

       ความเจ็บป่วยและการรักษาพยาบาลนั้นเป็นส่วนหนึ่งของของชีวิต นอกจากการรักษาแล้ว การดูแลก็เป็นเรื่องที่สำคัญไม่แพ้กัน พยาบาลคือผู้ที่คอยสนับสนุนดูแล ให้ผู้ใช้บริการได้มีสุขภาพที่ดี และไม่ว่าเมื่อไรอาชีพพยาบาลก็ยังคงมีความสำคัญและขาดแคลนผู้ที่จะมาทำงานในจุดนี้เสมอ ทุกที่ต่างก็ขาดคนและต้องการตัว นอกจากนี้มหาวิทยาลัยบางแห่งยังมีสถานที่ทำงานซึ่งรองรับนักศึกษาที่จบออกไปอีกด้วย ดังนั้นผู้ที่เลือกอาชีพพยาบาลจะไม่มีวันตกงานเป็นอันขาดแน่นอน

 

  • สุขภาพและการรักษาถือเป็นเรื่องสำคัญที่เป็นปัจจัยสี่ของมนุษย์ พยาบาลจึงเป็นอาชีพที่สำคัญ มีความต้องการสูงมากไม่แพ้แพทย์ ไม่มีทางตกงานแน่นอน 
  • มีความรู้เรื่องการดูแลรักษาตนเองและคนรอบข้างในชีวิตประจำวัน
  • รายได้ดี ตามความขยันและจำนวนงานที่มีตลอดไม่ขาดสาย
  • เป็นอาชีพที่สามารถต่อยอดไปในสายงานอื่นได้หลากหลาย
  • ได้รับประสบการณ์และฝึกฝนทักษะที่จำเป็นกับชีวิตทุกด้าน ทั้งจิตวิทยา การบริหารจัดการ การสื่อสาร  และฝึกฝนความอดทน กล่าวได้ว่าผู้ที่เคยเป็นพยาบาลนั้นไม่ว่าจะต้องเจอกับอะไรก็จะสามารถผ่านไปได้ด้วยความแข็งแกร่ง
  • ไม่มีเวลาเป็นของตนเองหรือให้กับครอบครัวเพราะต้องขึ้นเวรตลอด
  • ปริมาณงานค่อนข้างมาก และมีความกดดันสูงเพราะต้องรับผิดชอบชีวิตคน
  • มีความเสี่ยงด้านสุขภาพ จากการทำงานและพักผ่อนน้อย
  • มีมนุษยสัมพันธ์และมีใจรักการบริการ (Service Mind) รวมทั้งมีวุฒิภาวะทางอารมณ์ที่สามารถควบคุมสติตนเองได้ดี เพราะพยาบาลต้องเจอกับผู้คนมากมายที่การเจ็บป่วยอาจะส่งผลต่ออารมณ์ของพวกเขา
  • มีความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น เพราะคือพื้นฐานของการทำงานพยาบาล ที่ต้องช่วยเหลือและเข้าใจถึงความทุกข์ทั้งทางกายและใจของคนไข้
  • สุขภาพแข็งแรงสมบูรณ์และมีสุขภาพจิตดี
  • ใส่ใจรายละเอียดและช่างสังเกต 
  • มีความคล่องตัวและสามารถทำงานในสภาวะกดดันได้
  • สูงอย่างน้อย 150 ซม. ขึ้นไป และตามกำหนดค่า BMI เพราะบางครั้งต้องดูแลผู้ป่วยที่มีน้ำหนักมาก
  • ทักษะการคิดเชิงวิพากษ์ (Critical Thinking) ซึ่งพยาบาลต้องใช้ในการประเมินสุขภาพคนไข้ในแต่ละช่วงการรักษา และช่วยกำหนดและตัดสินใจในการดูแลและทำการรักษาคนไข้
  • ทักษะการสื่อสาร มีมนุษยสัมพันธ์ รับมือกับคนเป็นทั้งคนไข้และญาติของคนไข้ เพราะพยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องปฏิสัมพันธ์กับผู้คน และเป็นคนกลางที่คอยประสานงานแต่ละฝ่าย เพื่อสื่อสารวิธีการรักษาและดูแลคนไข้หลังการรักษาในโรงพยาบาล 
  • ทักษะการอ่าน ท่องจำ ทำความเข้าใจ และการรวบรวมข้อมูล
  • ทักษะภาษาอังกฤษ เพราะในการเรียนศัพท์เทคนิคทางการแพทย์ต่าง ๆ จะเป็นภาษาอังกฤษทั้งหมด
  • ทักษะการจัดการ เนื่องจากในแต่ละวัน พยาบาลต้องดูแลคนไข้มากมาย ซึ่งมีปัญหาสุขภาพแตกต่างกันไป การจัดการที่ดีจะทำให้ผู้ป่วยทุกคนได้รับการพยาบาลที่เหมาะสมเต็มที่
 เรียน พยาบาล

การศึกษา

       การศึกษาในระดับมัธยมปลายนั้นต้องเลือกสายวิทยาศาสตร์ (วิทย์-คณิต) เท่านั้น เกรดเฉลี่ย 2.5 ขึ้นไป ระดับปริญญาตรี ศึกษาต่อคณะพยาบาลศาตร์ วุฒิการศึกษาพยาบาลศาสตรบัณฑิต (พย.บ.)จากนั้นจึงสอบใบประกอบวิชาชีพกับสภาพยาบาล เพื่อเป็นพยาบาลวิชาชีพ สำหรับผู้ที่ต้องการศึกษาต่อด้านเฉพาะทาง ส่วนมากมักจะเริ่มทำงานทั่วไปจนมีประสบการณ์ แล้วจึงค่อยไปศึกษาต่อเฉพาะทางในด้านที่สนใจ

       

       พยาบาลเป็นอาชีพที่ต้องมีความรอบคอบและแม่นยำ ควรหมั่นอ่านหนังสือศึกษาและท่องจำทฤษฎีให้แน่น ขณะเดียวกันก็ไม่ละเลยโอกาสที่จะได้ฝึกฝนการปฏิบัติด้วย เพราะมนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความหลากหลายในด้านชีวภาพสูง ในสถานการณ์ที่ต่างกันอาจสามารถใช้วิธีแก้ปัญหาที่ไม่เหมือนกันได้ ประสบการณ์จึงเป็นบทเรียนที่ล้ำค่ามาก

Hard Skill

  • ฝึกการอ่าน การทำความเข้าใจ การท่องจำเนื้อหาให้แม่นยำ
  • หมั่นติดตามข่าวสาร วิทยาการต่าง ๆ เพื่อให้ก้าวทันการพัฒนาอยู่เสมอ
  • ฝึกทักษะภาษาอังกฤษให้มาก ทั้ง ฟัง พูด อ่าน เขียน

Soft Skill

  • ฝึกการพูดและการสื่อสาร ทำความเข้าใจ การใช้จิตวิทยาสื่อสารกับผู้คน
  • ย้ำกับตัวเองเสมอให้มีความรอบคอบและช่างสังเกต จับความผิดปกติต่าง ๆ
  • ฝึกการรับมือกับภาวะอารมณ์ต่าง ๆ การควบคุมอารมณ์ของตนเอง
  • ฝึกการจัดลำดับความสำคัญ การแบ่งเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

กิจกรรมต่างๆ

  • อ่านเรื่องราวประสบการณ์การทำงานต่าง ๆ ของอาชีพพยาบาล จากสื่อต่าง ๆ เพื่อศึกษาเรียนรู้จากผู้ที่ประกอบอาชีพอยู่จริง ประกอบการตัดสินใจ ซึ่งในปัจจุบันที่เทคโนโลยีก้าวไกล ได้มีการตั้งกลุ่มหรือพื้นที่รวมตัวสำหรับให้ความรู้เรื่องอาชีพต่าง ๆ อยู่มากมาย เช่น ตามเว็บบอร์ด หรือเพจต่าง ๆ
  • ศึกษาข้อมูลจากสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย The Nurses' Association of Thailand ที่คอยให้ข่าวสารข้อมูลของอาชีพพยาบาลในประเทศไทย 

คำบอกเล่าจากคนในสายอาชีพ

       "พยาบาลเป็นงานที่ทั้งเหนื่อยและหนัก ต้องมีความทุ่มเทและใส่ใจ พลาดไม่ได้เพราะเป็นงานที่ทำกับชีวิตคน สิ่งที่เราได้รับจากอาชีพนี้นอกจากเงินทองแล้ว สิ่งที่สำคัญกว่าคือความสุขใจที่ได้เห็นคนที่เราดูแล อาการดีขึ้น จากสีหน้าเจ็บปวดเศร้าหมองก็แปรเปลี่ยนเป็นได้เห็นรอยยิ้ม ทั้งจากตัวผู้ป่วยเองและคนที่อยู่รอบๆ มันเป็นความภูมิใจ อิ่มเอมใจ และถือว่าเป็นสิ่งที่ล้ำค่ามากกว่าเงินทองที่จับต้องได้เสียอีก"

พอใจ สันติเวส อาจารย์พยาบาล

วิชาที่เรียน

       การเรียนพยาบาล นอกจากต้องเรียนเกี่ยวกับการดูแล รักษาผู้ป่วยเบื้องต้นทั้งทางร่างกายและจิตใจ  โดยนอกจากการสังเกต สอบถาม จดบันทึกอาการ และคอยให้ความช่วยเหลือแพทย์ในโรงพยาบาล หรือสถานพยาบาลต่าง ๆ แล้ว ยังจำเป็นต้องมีคุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ มีจิตสาธารณะ มีความเมตตากรุณา อดทนอดกลั้น มีใจรักบริการ และสามารถทำงานในสภาวะที่มีความกดดันสูงได้เป็นอย่างดี

       วิชาที่สำคัญมีหลายวิชา เช่น กายวิภาคศาสตร์และสรีรวิทยา เคมี ภาษาอังกฤษ พื้นฐานการพยาบาล การดูแลพื้นฐาน โรคต่าง ๆ ทั้งเด็ก ผู้ใหญ่ และผู้สูงอายุ จิตเวช  อนามัยชุมชน - การป้องกันโรคต่าง ๆ การให้ความรู้กับผู้คน

 

ตัวอย่างวิชาบังคับ

  • หมวดวิชาทั่วไปและวิทยาศาสตร์ เช่น ภาษาอังกฤษพื้นฐาน จิตวิทยา สถิติพื้นฐาน ชีวเคมีพื้นฐาน กายวิภารศาสตร์ จุลชีววิทยา พยาธิวิทยา ฯลฯ
  • หมวดวิชาการพยาบาล เช่น การพยาบาลพื้นฐาน การพยาบาลเด็กและวัยรุ่น การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ การพยาบาลอนามัยชุมชน การพยาบาลจิตเวช การผดุงครรภ์ กฎหมายวิชาชีพและจรรยาบรรณ การบริหารการพยาบาล ฯลฯ

เคล็ดลับการเรียน

       การอ่านและจดจำ คือหัวใจสำคัญ เราต้องมีระเบียบวินัยกับตัวเอง รู้จักแบ่งเวลาให้เป็น ตั้งใจเรียนในคาบให้ดี ไม่เกียจคร้าน และสิ่งที่สำคัญในการเป็นพยาบาลก็คือความเอาใจใส่ เพราะงานของพยาบาลคือการช่วยเหลือดูแล เยียวยาร่างกายและจิตใจของผู้ป่วย ขณะเดียวกันพยาบาลเองก็ต้องมีจิตใจที่เข้มแข็ง และหากใจเรารักในวิชาชีพนี้ การทำงานไม่ว่าจะเจอกับอุปสรรคใด ๆ ก็จะสามารถผ่านไปได้แน่นอน

ชีวิตในรั้วมหาวิทยาลัย

  • ปี 1 เรียนวิชาพื้นฐาน pure science กายวิภาคศาสตร์และสรีระวิทยา เคมี ฟิสิกส์ ภาษาอังกฤษ
  • ปี 2 เรียนการพยาบาลพื้นฐาน เภสัชวิทยา และตั้งแต่ปี 2 ขึ้นไปนี้จะมีการฝึกงานทุกปีหลังเรียนทฤษฏีเสร็จ
  • ปี 3 เรียนจิตเวช วิชาเด็ก  มารดาและทารก
  • ปี 4 เรียนเรื่องอนามัยชุมชน การบริหารจัดการต่าง ๆ

ทั้งนี้ การจัดวิชาของแต่ละปีอาจแตกต่างกันไปตามหลักสูตรของแต่ละสถาบัน

ค่าเทอมตลอดหลักสูตร

ประมาณการค่าใช้จ่ายตลอดหลักสูตร

  • มหาวิทยาลัยรัฐบาล : 120,000 - 160,000+ บาท
  • มหาวิทยาลัยเอกชน :400,000 - 800,000+ บาท


ทุนการศึกษา

  • ทุนการศึกษาแบบกู้ยืมของกยศ.
  • ทุนการศึกษาของแต่ละมหาวิทยาลัย ซึ่งมีเงื่อนไขต่างกันไปในแต่ละสถาบัน


มหาวิทยาลัยชั้นนำระดับโลก 

  • University of Pennsylvania
  • Johns Hopkins University
  • University of Toronto
  • University of Alberta
  • Karolinska Institute
  • King's College London (KCL)
  • University of Michigan
  • University of Manchester
  • University of North Carolina, Chapel Hill
  • University of California, San Francisco (UCSF)
  • University of Cambridge
  • University of Oxford

 


Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร