นักจัดการขนส่งสินค้า
นักจัดการขนส่งสินค้า
นักจัดการขนส่งสินค้า
นักจัดการขนส่งสินค้า
รู้จักอาชีพ > นักจัดการ (Organize) > นักจัดการขนส่งสินค้า

       โลจิสติกส์  (logistics) ในความหมายเชิงธุรกิจ คือ ระบบการขนส่งข้อมูล สินค้าหรือทรัพยากร เริ่มต้นจากผู้ผลิตไปถึงผู้บริโภค โดยคำนึงถึงการจัดการต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการขนส่งให้ต่ำที่สุด  ไปถึงจุดหมายอย่างรวดเร็วที่สุด โดยสินค้ายังคงคุณภาพและเป็นที่พึงพอใจของทุกฝ่าย ดังนั้นในการทำงานการขนส่ง จึงประกอบไปด้วยหลายส่วน เช่น การบริหารจัดการสินค้า ดูแลคลังสินค้า การบรรจุหีบห่อ การตัดสินใจด้านเลือกวิธีการขนส่งไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ำ หรือทางอากาศ เป็นต้น

 

หน้าที่ นักจัดการขนส่งสินค้า
หนึ่งวันของการทำงาน นักจัดการขนส่งสินค้า
ความก้าวหน้าทางอาชีพ

ลักษณะงาน

       ผู้ที่ทำงานด้านโลจิสติกส์ สามารถแบ่งหน้าที่ออกได้หลายตำแหน่งทั้งผู้ประสานงาน นักวิเคราะห์ ผู้จัดการการขนส่ง โดยในสายงานนี้ต้องมีความเข้าใจในการบริหารจัดการ วิเคราะห์และประสานงานในกระบวนการต่าง ๆ  เพื่อเป้าหมายสูงสุดคือการลดต้นทุนด้านการผลิตและขนส่ง โดยเนื้องานโดยหลักประกอบด้วยหลายส่วน เช่น การจัดสรรวัตถุดิบและบริการจัดการให้ได้เพียงพอเหมาะสม การควบคุมการผลิต การกำหนดแหล่งกระจายสินค้าให้ทั่วถึงตามกลุ่มเป้าหมาย การบริหารจัดการคลังสินค้า คัดเลือกบรรจุภัณฑ์ การรับและส่งสินสินค้าซึ่งรวมถึงการขนส่งสินค้าทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ

       โดยตำแหน่งการทำงานอาจแบ่งได้หลากหลาย อาทิ พนักงานฝ่ายจัดซื้อ พนักงานฝ่ายควบคุมวัตถุดิบ ฝ่ายผลิต ฝ่ายจัดส่งและคลังสินค้า ฝ่ายการขนส่ง และสามารถต่อยอด เติบโตเป็นผู้บริหารที่จะทำงานด้านการวางแผนนโยบาย วางกลยุทธ์และคุมงบประมาณได้ 

ขั้นตอนการทำงาน

ขั้นตอนการทำงานแสดงให้เห็นภาพรวมทั้งหมดของผู้ทำงานด้านโลจิสติกส์ ซึ่งเนื้องานหลากลาย เพื่อให้เห็นภาพกว้างของลักษณะนี้ในเบื้องต้นก่อน 

  • วางแผนและจัดการวงจรขนส่งของสินค้าตามกระบวนการที่กำหนด โดยตั้งกลยุทธ์ในการทำงานเพื่อให้สูญเสียเวลาและเงินที่น้อยที่สุดในการขนส่งสินค้า
  • ตรวจสอบลักษณะสินค้า ความปลอดภัย และการเคลื่อนย้ายไปยังจุดหมาย โดยต้องดูแลการเคลื่อนย้ายสินค้าเข้า-ออกคลังสินค้าให้เรียบร้อย
  • จัดเตรียมและตรวจสอบสถานที่ในการเก็บรักษาสินค้า ให้เหมาะสมกับประเภทสินค้า ไม่ทำให้เกิดความเสียหาย
  • จัดรายการสินค้าให้เป็นหมวดหมู่ เพื่อให้ง่ายต่อการเข้าถึงและดูแล
  • รายงานขั้นตอนต่าง ๆ ทุกครั้งในการทำงาน พร้อมจัดเตรียมการ ป้องกันแก้ไขเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่คาดฝัน
  • ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกองค์กร  เพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปด้วยความเรียบร้อย 

สถานที่ทำงาน

  • สำนักงาน  ที่พนักงานสายงานนี้ต้องเข้ามาทำงานด้านเอกสาร ประชุมทีมงาน หรือคุยกับผู้บริหาร แต่ในบางตำแหน่งอาจไม่ได้นั่งทำงานประจำในออฟฟิศ แต่อาจจะประจำอยู่สำนักงานขนส่งสินค้า สาขาต่าง ๆ หรือคลังสินค้าสำคัญก็ได้ ขึ้นอยู่กับตำแหน่งและหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย 
  • คลังสินค้า หลายครั้งที่ผู้ทำงานสายนี้จะต้องเข้ามาตรวจสอบการส่งสินค้า ตรวจสอบ Stock การจัดการความปลอดภัย และขนส่ง หรือบางครั้งอาจจะต้องติดต่อกับลูกค้าและ Supplier ด้วยตนเอง 

ผู้ที่ต้องทำงานด้วย

  • หัวหน้างานหรือผู้บริหาร นักจัดการโลจิสติกส์ที่อยู่ในระดับปฏิบัติการไม่ว่าจะสายงานใดก็ตาม ต้องมีการทำรายงานประจำวันหรือสัปดาห์  เพื่อส่งถึงผู้บริหาร รวมทั้งมีการประชุมเพื่อร่วมกันประเมินและพัฒนาขั้นตอนการทำงาน
  • Supplier หากเป็นพนักงานปฏิบัติการที่ต้องติดต่อประสานงานด้านการขนส่ง แผนกจัดซื้อ  หรือแน่นอนว่าจะต้องติดต่อกับ supplier อย่างสม่ำเสมอ เช่น ผู้ผลิตวัตถุดิบที่ฝ่ายจัดซื้อต้องประสานงานสั่งมาให้ตามความต้องการ หรือผู้ให้บริการด้านพาหนะที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายขนส่งจะต้องประสานจำนวนและประเมินระยะเวลาเพื่อให้การขนส่งสินค้าทันเวลาและมีคุณภาพ 
  • ทำให้เราเข้าใจบริบททุกอย่าง มองเห็นภาพรวมของการทำงานในภาคธุรกิจ ทำให้ราเป็นคนที่ประสานงานกับทุกคนได้ 
  • ความรู้จากสายงานอาชีพโลจิสติกส์ สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับทุกกลุ่มธุรกิจ

 

  • เป็นอาชีพที่มีความเครียดสูงเพราะต้องทำงานขนส่งได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ ต้องมั่นใจว่ามีการจัดการตามตารางที่กำหนดและต้องแก้ไขปัญหาที่อย่างรวดเร็วเมื่อเกิดปัญหาขึ้น 
  • บางครั้งอาจมีการทำงานล่วงเวลา หรือต้องเดินทางไปยังโรงงานอุตสาหกรรมหรือศูนย์จำหน่ายสินค้าทันที หากมีปัญหาเร่งด่วนเกิดขึ้น

 

  • เรียนรู้และพัฒนาตัวเองตลอดเวลา เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำงานโลจิสติกส์ เติบโตและพัฒนาขึ้นไปทุกวันตามโครงสร้างธุรกิจที่ขยายวงกว้างขึ้น ดังนั้นนักจัดการโลจิสติกส์จึงควรพัฒนาตัวเองให้เข้ากับสถานการณ์โลกที่เปลี่ยนไปรวดเร็ว 
  • มีความรู้ความสามารถด้านโลจิสติกส์ ด้วยเป็นศาสตร์ด้านนี้ เป็นความรู้เฉพาะทางที่ต้องอาศัยความเข้าใจพื้นฐาน ปัจจุบันจึงมีการเปิดการเรียนการสอนหลักสูตรการจัดการโลจิสติกส์ในหลายสถาบัน 
  • ละเอียดรอบคอบ  งานการจัดการโลจิสติกส์ เป็นหนึ่งในห่วงโซ่อุปทานการผลิตที่ส่งผลต่อธุรกิจเป็นอย่างมาก การทำงานแต่ละขั้นตอนจึงต้องรอบคอบ ระมัดระวังและประเมินสถานการณ์อย่างแม่นยำ เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าและการบริการ

 

  • ทักษะการสื่อสาร ต้องมีการสื่อสารที่ดีในการประสานงานระหว่างผู้ร่วมงานและการทำธุรกิจกับลูกค้า
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ ในการทำงานขนส่งแต่ละครั้ง ต้องมีการวิเคราะห์ข้อมูลและพัฒนา ปรับปรุงและดำเนินการขนส่งให้เป็นไปตามแผนที่กำหนด พวกเขาต้องหาวิธีในการลดค่าใช้จ่ายและพัฒนาการขนส่งให้มีประสิทธิภาพ
  • ทักษะการจัดการ ทำหน้าที่ต้องสามารถมีการจดจำรายละเอียดและบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพในงานที่แตกต่างกัน
  • ทักษะการแก้ไขปัญหา ทำหน้าที่รับมือกับปัญหา เช่น ปัญหาด้านการขนส่งและการปรับแก้แผนงานเพื่อแก้ปัญหาได้
  • ทักษะภาษาอังกฤษ ถือเป็นทักษะที่สำคัญของสายงานนี้ เนื่องจากทำงานต้องมีการติดต่อกับต่างประเทศ ทั้งเรื่องเอกสารและการประสานงาน โดยเฉพาะแผนกที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าส่งออกสินค้าจากต่างประเทศ 
  • ทักษะด้านคอมพิวเตอร์ ในการจัดการระบบโลจิสติกส์ คอมพิวเตอร์เป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการ Data ข้อมูลมหาศาล และระบบเฉพาะต่างๆ 
  • ทักษะการทำงานเป็นทีม ในการทำงานบางครั้งต้องมีการร่วมมือกันจากหลายฝ่าย นักจัดการโลจิสติกส์จึงควรเป็นได้มั้งผู้นำและผู้ตามที่ดี 
  • ทักษะด้านการบริการ งานด้านโลจิสติกส์ถือเป็นการบริการอย่างหนึ่ง ซึ่งต้องประสานกับหลายฝ่าย ดังนั้น การบริการจึงจำเป็นสำหรับนักจัดการโลจิสติกส์

 

 เรียน โลจิสติกส์

 

การศึกษา 

       งานโลจิสติกส์เป็นสายงานผสมผสานศาสตร์หลัก ๆ หลายแขนง อาทิ วิศวกรรมอุตสาหกรรม ทีเป็นหลักการด้านการขนส่งขนย้ายสินค้าโดยใช้เวลาและทรัพยากรให้ได้น้อยที่สุด  ศาสตร์ด้านบริหารธุรกิจซึ่งการดูแลการขนส่ง ภาษี กฎหมาย และ และการจัดการสารสนเทศี่จะช่วยแก้ปัญหาและพัฒนาระบบการจัดการโลจิสติกส์ให้คล่องตัวมากขึ้น

       สถาบันที่เปิดหลักสูตรด้าน Logistics

  • มหาวิทยาลัยบูรพา 
  • มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 
  • มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ 
  • มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง 
  • มหาวิทยาลัยศิลปากร 
  • มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ 
  • มหาวิทยาลัยศรีปทุม 
  • มหาวิทยาลัยกรุงเทพ 
  • มหาวิทยาลัยเกริก 
  • มหาวิทยาลัยธนบุรี 
  • มหาวิทยาลัยหัวเฉียวเฉลิมพระเกียรติ 

Hard Skill

  • พัฒนาทักษะการคำนวณให้แน่นปึ๊ก เพราะต้องใช้เตรียมตัวสำหรับสอบเข้าคณะและเป็นพื้นฐานในการเรียนคณะโลจิสติกส์ด้วย
  • ทักษะด้านภาษาอังกฤษมีความสำคัญไม่แพ้กัน เพราะงานโลจิสติกส์มีส่วนที่ต้องประสานงานกับต่างประเทศ 
  • ทักษะการคิดวิเคราะห์ การประเมินผล การพยากรณ์ความเป็นไปได้ เป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้คนในสายงานนี้ก้าวหน้าและประสบความสำเร็จได้
  • หาความรู้เพิ่มเติมด้านความต้องการทางการตลาด ธุรกิจ ความต้องการของผู้บริโภค ห่วงโซ่อุปทาน เพราะถือเป็นหนึ่งในพื้นฐานที่มีโลจิสติกส์เป็นส่วนหนึ่งด้วย

Soft Skill

  • พัฒนาทักษะการสื่อสาร เพราะการสื่อสารที่ชัดเจน รวดเร็วทันใจจะช่วยให้งานด้านการจัดการโลจิสติกส์มีประสิทธิภาพอย่างมาก  

กิจกรรมต่างๆ 

  • อ่านบทความหรือติดตามเรื่องราวเกี่ยวกับงานโลจิสติกส์ตามช่องทางต่าง ๆ 
  • ลองจัดการธุรกิจขนาดเล็ก ๆ เพื่อฝึกการคำนวณ วัตถุดิบ การคำนวณปริมาณการสั่งซื้อของ การส่งสินค้า เพื่อให้เข้าใจระบบธุรกิจและการจัดการมากขึ้น
  • ลองเข้ามาฝึกงานกับโครงการ ทำ ก่อน ฝัน ของ ทรูปลูกปัญญา ที่เปิดโอกาสให้น้อง ๆ ได้ลองทำงานจริงกับพี่ ๆ            สายงานโลจิสติกส์มืออาชีพ

 

 

 

อาชีพใกล้เคียงหรือมีลักษณะงานที่คล้ายคลึงกัน อาทิ

• เจ้าหน้าที่ฝ่ายจัดซื้อ

• ที่ปรึกษาด้านการจัดการธุรกิจ

• ผู้บริหารหรือเจ้าของกิจการ

• เจ้าหน้าที่ฝ่ายผลิต

• นักวิเคราะห์ด้านธุรกิจ


Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร