นักบินสายการบินและนักบินพาณิชย์ทำหน้าที่นำบินและบังคับเครื่องบิน เครื่องเฮลิคอปเตอร์ และยานพาหนะการบินอื่นๆ เพื่อขนส่งสินค้าหรือผู้โดยสารเพื่อให้ถึงปลายทางอย่างปลอดภัย
ลักษณะงาน
นักบินทำหน้าที่วางแผนการบินทั้งหมด ตั้งแต่การตรวจสอบเครื่องบินว่าอยู่ในสถานพร้อมใช้งานเพื่อให้ทำงานได้อย่างปลอดภัย โดยตรวจสอบสินค้าที่บรรทุกว่าโหลดขึ้นเครื่องอย่างถูกต้องและสามารถบินได้อย่างเหมาะสมตามสภาพอากาศ การที่มีจราจรทางอากาศที่หนาแน่นอาจส่งผลให้แผนหรือตารางการบินต้องเปลี่ยนแปลง อาจเนื่องด้วยสาเหตุของสภาพอากาศหรือปัจจัยอื่นๆ
การนำเครื่องบินขึ้นหรือลงจอดสามารถควบคุมโดยศูนย์ควบคุมการบิน โดยพวกเขาต้องมีการสื่อสารที่ดีระหว่างนักบิน ผู้ช่วยนักบิน วิศวกรการบิน พนักงานควบคุมการบินและพนักงานภาคพื้น เมื่อเครื่องถูกนำขึ้น นอกจากกัปตันหรือนักบินจะมีหน้าที่นำเครื่องขึ้นพวกเขาต้องรับผิดชอบทุกๆเรื่องภายในเครื่อง และเมื่อนำเครื่องลงจอดแล้วนักบินจะต้องกรอกข้อมูลเอกสารของการบินในเที่ยวบินนั้น ๆ ร่วมถึงระบุสถานะของเครื่องบินอีกด้วย
อาชีพนักบินสามารถแยกสายงานออกเป็นหลายสาขา ดังนี้
- นักบินประจำสายการบิน โดยทำงานให้กับสายการบิน เพื่อนำส่งผู้โดยสาร สัมภาระและสินค้าให้ตรงตามตารางที่กำหนด กัปตันหรือนักบินทำหน้าที่สั่งการโดยส่วนมากจะเป็นผู้ที่มีประสบการณ์สูงที่สุด ซึ่งจะคอยดูแลลูกเรือและรับผิดชอบในการบังคับและควบคุมเครื่องบินทั้งเรื่องเส้นทาง ความเร็ว และการนำทาง โดยผู้ช่วยนักบินทำหน้าที่แบ่งเบาภาระความรับผิดชอบจากกัปตัน รัฐบาลกำหนดให้นักบินสามารถเกษียณอายุได้ที่อายุ 65 ปี เพราะในการบินนั้นต้องใช้สมาธิและสติอย่างสูง รวมทั้งต้องทำงานภายใต้ความเหนื่อยล้าของร่างกายและความเครียด พวกเขาจึงต้องมีจิตใจและร่างกายที่พร้อมจะตื่นตัวตลอดเวลาการทำงาน ที่การดูแลความปลอดภัยของผู้โดยสารเป็นเรื่องสำคัญที่สุด
- นักบินพาณิชย์ มักทำงานโดยไม่มีตารางงานที่ตายตัว โดยจะทำหน้าที่ขับเครื่องบินเหมาลำ เครื่องบินทัวร์ทางอากาศ เป็นต้น นักบินพาณิชย์อาจจะมีหน้าที่อื่น ๆ ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการบินเพิ่มขึ้น บางรายอาจทำหน้าที่ตั้งแต่การวางแผนตารางการบิน การซ่อมแซมบำรุงเครื่องและโหลดกระเป๋าสัมภาระด้วยตนเอง
- นักขับเฮลิคอปเตอร์ สามารถทำงานได้ทั้งในหน่วยงานรัฐ เช่น ศูนย์เตือนภัย กรมป่าไม้ หรือหน่วยงานเอกชนอย่าง สถานีโทรทัศน์ สำนักข่าวต่าง ๆ นอกจากนี้ เราจะเห็นได้ว่าในหลายครั้งที่เกิดภัยพิบัติหรืออุบัติเหตุ เฮลิคอปเตอร์จะมีประโยชน์ในการขนส่งคนเจ็บ หรือขนส่งวัสดุอุปกรณ์ยังชีพไปยังพื้นที่ประสบภัยได้
ขั้นตอนการทำงาน
- ตรวจสอบสภาพของเครื่องก่อนและหลังบิน ทั้งเส้นทาง เวลาบิน เชื้อเพลิง น้ำหนักสัมภาระ เป็นต้น
- จัดเตรียมตารางการบินเพื่อจัดการจราจรการบิน
- สื่อสารการจราจรทางอากาศผ่านระบบวิทยุสื่อสาร โดยนักบินจะขออนุญาตหอบังคับการบินเพื่อนำเครื่องขึ้นและลง
- ควบคุมเครื่องบินให้ตรงตามเส้นทางที่กำหนดและเวลาการนำเครื่องขึ้นและลงจอดให้เหมาะสม
- ควบคุมระบบเครื่องยนต์และระบบอื่นที่เกี่ยวข้องของการบิน
- รับผิดชอบและดูแลตามสภาวะที่เปลี่ยนแปลง เช่น สภาพอากาศหรือเหตุฉุกเฉิน(เครื่องยนต์ขัดข้อง)
- ขับเคลื่อนเครื่องบินและดูแลแผงอุปกรณ์ควบคุมประกอบกับการมองทัศนวิสัยโดยรอบ
- หลังจากนำเครื่องยนต์ลงเรียบร้อยแล้ว หลังจากดับเครื่องยนต์ นักบินต้องทำการบันทึกข้อมูลการบินทุกครั้ง
สถานที่ทำงาน
- ห้องนักบิน ไม่ว่าจะเป็นเครื่องบินโดยสารหรือเฮลิคอปเตอร์ แน่นอนว่าการเป็นนักบินนั้น ห้องทำงานที่สำคัญและประกอบไปด้วยปุ่มเครื่องมือมากมาย โดยห้องนี้แทบจะเป็นเกือบทั้งชีวิตของผู้ประกอบอาชีพนี้เลยทีเดียว เพราะนักบินต้องใช้ตารางบิน
- สนามบินหรือลานบิน ในบ้างครั้งอาจะต้องมีการประชุมกับทีมการทำงานเรื่องข้อมูล สภาพอากาศที่มีผลต่อการขึ้นบินแต่ละครั้ง
ผู้ที่ต้องทำงานด้วย
- ผู้ช่วยนักบิน ถือเป็นเพื่อนร่วมงานของนักบินที่จะต้องทำงานร่วมกันตลอดชั่วโมงการบินเลยทีเดียว โดยผู้ช่วยนักบินจะต้องคอยช่วยเหลือนักบินที่หนึ่งให้ควบคุมการบินได้อย่างมีประสิทธิภาพและปลอดภัย
- เจ้าหน้าที่หอบังคับการบิน ในการทำการบินแต่ละครั้ง นักบินต้องทำการติดต่อกับหอบังคับการบินผ่านทางวิทยุสื่อสารเพื่อขออนุญาตทำเครื่องขึ้นลง หรือแม้แต่สอบถามสภาพข้อมูลทางการบินต่าง ๆ
- ลูกเรือ (หากเป็นนักบินของสายการบิน) กัปตันต้องทำการให้ข้อมูลการบินแก่ลูกเรือ ในขณะที่ลูกเรือต้องคอยรายงานข้อมูลรวมถึงปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในห้องผู้โดยสาร เพื่อหารือและให้กัปตันตัดสินใจแก้ปัญหาได้อย่างทันท่วงที
- รายได้ค่อนข้างสูง เนื่องจากเป็นงานที่ต้องรับผิดชอบชีวิตผู้คนจำนวนมาก และใช้ทักษะความชำนาญค่อนข้างสูง ยิ่งประสบการณ์หรือชั่วโมงบินสูง ยิ่งทำให้รายได้เติบโตขึ้นด้วย
- มีโอกาสได้ได้เปิดโลกทัศน์ ท่องเที่ยวในหลายประเทศ
- เนื่องจากเป็นอาชีพที่ต้องใช้ทักษะ ใช้เวลา และความสามารถสูง อาชีพนักบินจึงยังขาดแคลนและเป็นที่ต้องการมากในประเทศไทย
- นักบินห้ามตาบอดสี และยังเป็นกฎเหล็กข้อห้ามในหลาย ๆ ประเทศ ยกเว้นแต่ประเทศออสเตรเลียที่ทางองค์การด้านความปลอดภัยทางการบิน อนุญาตให้ผู้ที่ตาบอดสีได้รับตำแหน่งกัปตันบนเครื่องได้
- นักบินที่ทำหน้าที่บินเที่ยวบินที่มีระยะทางไกลอาจะทำให้เกิดอาการเหนื่อยและอาการผิดปกติในการนอนหลับ(Jetlag)ได้ สภาพอากาศที่แปรปรวนอาจส่งผลทำให้นักบินต้องปรับเปลี่ยนวิถีการบินซึ่งจะทำให้เที่ยวบินเสียเวลามากขึ้นและการประชุมเจรจาจะเกิดขึ้นในกลุ่มของทีมนักบินจนกว่าจะได้ข้อสรุปที่ดี
- นักบินเฮลิคอปเตอร์ของหน่วยงานที่ต้องทำการช่วยเหลืออพยพอาจจะต้องมีวิถีการบินที่ต่ำและบินในสภาพอากาศที่แย่หรือเวลากลางคืน และต้องนำจอดในสถานที่เต็มไปด้วยสายไฟ ทางด่วนและสิ่งกีดขวางอื่นๆ นอกจากนี้พวกเขาต้องสวมใส่อุปกรณ์ป้องกันเสียงลดเสียงรบกวนของเครื่องยนต์
- ช่างสังเกต การทำงานต้องอาศัยการดูหน้าจอแสดงผล เครื่องมาตรวัดและหน้าปัดแผงควบคุมเพื่อให้มั่นใจว่าระบบทำงานได้อย่างสมบูรณ์ พวกเขาต้องมีการตื่นตัวตลอดเวลาเพื่อสังเกตการทำงานของเครื่องบินหรือสิ่งกีดขวาง นักบินจะต้องสามารถมองเห็นได้อย่างชัดเจนและสามารถคาดเดาวัตถุและไม่มีการบกพร่องในการเห็นสี
- ละเอียดรอบคอบ เป็นคุณสมบัติที่สำคัญเพราะการทำงานแทบจะทุกอาชีพ แต่เนื่องด้วยนักบินคือความรับผิดชอบชีวิตและทรัพย์สินของตนเองและผู้อื่น ความรอบคอบจึงเป็นคุณสมบัติในลำดับต้น ๆ
- ทักษะการสื่อสาร การสื่อสารที่ชัดเจนเพื่อนำส่งข้อมูลการควบคุมการบินแก่ลูกเรือทุกคนเป็นสิ่งที่สำคัญอย่างยิ่งและการฟังคำสั่งต่างๆก็สำคัญเช่นกัน
- ทักษะการแก้ไขปัญหา การระบุปัญหาและแก้ไขปัญหาเป็นสิ่งที่จำเป็น เมื่อเกิดสถานการณ์แปรปรวน เช่น สภาพอากาศที่ไม่ดี นักบินต้องมีการแก้ไขปัญหาโดยการเปลี่ยนเส้นทางหรือเลือกบินในวิถีที่ต่ำลง
- ทักษะการตอบสนองที่รวดเร็ว การตอบสนองที่รวดเร็วและมีการตัดสินใจที่ดีในสถานการณ์อันตราย
- ทักษะด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้หากอยากประกอบอาชีพดังกล่าว และหากชอบที่จะเรียนรู้เรื่องเครื่องกลด้วยจะยิ่งเป็นประโยชน์
- ทักษะภาษาอังกฤษ ข้อมูลทางการบินส่วนใหญ่ต้องใช้ภาษาอังกฤษ ดังนั้นการฝึกฝนทางภาษาเป็นสิ่งจำเป็น
การประกอบอาชีพนักบินพาณิชย์ แบ่งได้เป็น 3 รูปแบบคือ
- วุฒิระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า แล้วสมัครเรียนปริญญาตรีในมหาวิทยาลัยที่เปิดสอนคณะเกี่ยวกับนักบินพาณิชย์ เพื่อสอบขอรับใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ขั้นต้นที่เรียกว่า "ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี" หรือ "Commercial Pilot License (CPL)" หลังจากนั้นจึงทำการสอบ Qualified Pilot คือการสอบแข่งขันระหว่างนักบินที่มีใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ด้วยกัน เพื่อเข้าทำงานในสายการบินต่าง ๆ
- จบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ แล้วสมัครเข้าเรียนสถาบันกวดวิชาหรือสถาบันการบินเองเพื่อให้ได้ใบอนุญาตนักบินพาณิชย์ตรี แล้วสอบ Qualified pilot เพื่อเข้าทำงานในสายการบิน
- สอบชิงทุนของสายการบิน เพื่อเข้ารับการศึกษาและได้เข้าทำงานในสายการบินให้ทุน โดยผู้มีคุณสมบัติเข้าสอบชิงทุนนี้ จะจบปริญญาตรีสาขาใดก็ได้ ขึ้นอยู่กับข้อกำหนดของแต่ละสายการบิน โดยจะมีการตรวจร่างกาย สอบทั้งข้อเขียน สัมภาษณ์และ Aptitude Test เมื่อคุณสอบผ่านจะถูกไปเรียนในสถาบันของสายการบินนั้นๆ
การศึกษา
สถาบันด้านการบิน มีอยู่ราว 10 แห่งในปัจจุบัน คือ
- สถาบันการบินพลเรือน Civil Aviation Training Center
- โรงเรียนการบินกรุงเทพ บริษัท บางกอกเอวิเอชั่น เซ็นเตอร์ จำกัด
- วิทยาลัยการบินนานาชาติ (International Aviation College : IAC) มหาวิทยาลัยนครพนม
- มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ คณะวิศวกรรมการบิน Major MPL (Multi Crew Pilot License) และ Major CPL (Commercial Pilot License)
- สถาบันการบิน มหาวิทยาลัยรังสิต
- โรงเรียนการบินศรีราชา บริษัท ศรีราชาเอวิเอชั่น จำกัด หลักสูตรนักบินส่วนบุคคลPPL)
- สถาบันการบิน Royal Sky Aviation Center
- มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาบริหารกิจการการบิน
- โรงเรียนการบินกำแพงแสน ซึ่งจะผลิตเฉพาะนักบินที่จบการศึกษาระดับปริญญาตรีจากโรงเรียนนายเรืออากาศเท่านั้น
- สถาบันเทคโนโลยีการบิน ม.เทคโนโลยีราชมงคลตะวันออก หลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิต สาขาวิทยาศาสตร์การบิน
Hard Skill
- พัฒนาทักษะทั้งด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และภาษาอังกฤษ
- ฝึกฝนและลองทำข้อสอบเชาวน์ปัญญาบ่อย ๆ (Aptitude Test)
- ฝึกการสังเกตและทักษะการตอบสนองอันรวดเร็วของร่างกาย อาจฝึกจากการเล่นกีฬาที่ใช้ทักษะความรวดเร็วของสายตาและประสาทสัมผัส
Soft Skill
- การแก้ปัญหาเฉพาะหน้าและการกล้าตัดสินใจเป็นทักษะที่ควรติดตัวสำหรับนักบิน ดังนั้นลองฝึกทักษะด้านนี้ผ่านการทำกิจกรรมใด ๆ ที่ได้รับเลือกให้เป็นผู้นำหรือหัวหน้า เพื่อหาโอกาสในการแก้ปัญหาต่าง ๆ ภายใต้ความกดดัน
กิจกรรมต่างๆ
- ศึกษาเพิ่มเติมด้านข้อมูลการบินทั้งทางออนไลน์และห้องสมุด หาเวลาเข้าพิพิธภัณฑ์หรือแหล่งการเรียนรู้ที่เล่าเรื่องประวัติศาสตร์การบินที่สำคัญ
- ในประเทศไทยได้มีการจัดตั้งสมาคมนักบินไทย น้อง ๆ สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ทาง Facebook ของสมาคม
- อ่านบทความหรือติดตามเรื่องราวข่าวสารด้านนักบินได้ ตามช่องทางต่าง ๆ ทั้ง online, podcast , YouTube
อาชีพใกล้เคียงหรือมีลักษณะงานที่คล้ายคลึงกัน อาทิ
- วิศวกรการบิน
- ผู้เชี่ยวชาญหรือที่ปรึกษาด้านการบิน
- เจ้าของโรงเรียนหรือครูผู้สอนด้านการบิน
- เจ้าหน้าที่ประจำหน่วยงานด้านอากาศยานหรืออวกาศ
Copyright © 2019 TruePlookpanya. All rights reserved.
สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ห้ามมิให้ผู้ใดคัดลอก ทำซ้ำ ดัดแปลง แก้ไข หรือเผยแพร่ส่วนหนึ่งส่วนใดของบทความนี้ก่อนได้รับอนุญาตเป็นลายลักษณ์อักษร